|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2548
|
|
ประเทศไทยจัดให้การท่องเที่ยวเป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการสร้างรายได้ให้ประเทศมาแล้วกว่า 3 ทศวรรษ และที่ผ่านมา รายได้จากการท่องเที่ยวก็เป็นรายได้หลักแหล่งหนึ่งนอกเหนือจากการส่งออก
แต่ดูเหมือนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยที่ผ่านมา ยังมีลักษณะคล้ายกับว่าเป็นการเกาไม่ถูกที่คัน
โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิซัดถล่ม 6 จังหวัดชายแดนภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน โดยเฉพาะ 3 จังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต พังงา และกระบี่
หลายคนมองว่านโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย เน้นในเชิงปริมาณมากเกินไป ให้ความสำคัญกับตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา มากกว่าการดูว่าแต่ละคนที่เดินทางเข้ามานั้นเป็นเช่นไร
ความพยายามสร้างจุดขายในหลายพื้นที่ แทนที่จะเป็นการสร้างสรรค์ กลับกลายเป็นการทำลายเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ไปโดยปริยาย
ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พยายามประกาศตัวเลขเป้าหมายว่าปีนั้น ปีนี้ จะเข้ามากี่ล้านคนนั้น
บางครั้งคนเหล่านี้ก็เป็นนักท่องเที่ยวเกรดที่แบกเป้เข้ามาท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวไม่ยอมใช้จ่ายอะไรมากนัก
หรือในทางตรงกันข้าม เมื่อเขาได้เข้ามาแล้ว แหล่งท่องเที่ยวแต่ละที่ที่เขาไปมาไม่มีอะไรดึงดูดใจให้เขาอยากควักกระเป๋าจ่าย
ความแตกต่าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่ง ที่จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้นักท่องเที่ยวระดับที่มีคุณภาพเข้าไปเที่ยว และใช้จ่าย ถูกสลายไปจากรูปแบบของการก่อสร้าง และธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นโมเดลเดียวกัน อย่างเช่นบาร์เบียร์ ซึ่งนักท่องเที่ยวเหล่านี้ ไม่ว่าจะไปเที่ยวยังแหล่งใด ก็ได้พบเห็นเหมือนกันหมด
บางคนเข้ามาประเทศไทย เพื่อใช้เพียงเป็นทางผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่บริสุทธิ์กว่า อย่างในลาว เขมร หรือเวียดนาม ที่ยังมีเอกลักษณ์เป็นแม่เหล็กดึงดูด
เรื่องจากปกฉบับนี้สะท้อนถึงความพยายามของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมองเห็นจุดนี้ และพยายามดิ้นรนช่วยตัวเอง เพื่อผลักดันให้จุดขายที่แท้จริงของประเทศไทยโดดเด่นขึ้นมา
เพราะพวกเขาเชื่อว่ายังมีนักท่องเที่ยวระดับคุณภาพอีกเป็นจำนวนมาก ที่พร้อมควักกระเป๋าจ่าย หากเห็นว่าจุดขายที่แท้จริงของประเทศไทยนั้น คุ้มกับราคาที่เสนอ
จุดขายที่แท้จริงของประเทศไทย ในมุมมองของพวกเขาคืออะไร ลองเข้าไปอ่านได้ในนิตยสารฉบับนี้
|
|
|
|
|