Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545
New Ideas about New Ideas             
 





ประสบความสำเร็จด้วยการคิดสร้างสรรค์

นวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญต่อความอยู่รอด นวัตกรรมได้สร้าง ความมหัศจรรย์ให้แก่ธุรกิจอย่าง Corning, AOL และ Welch's หรือนักธุรกิจอย่าง Steve Jobs, Michael Dell และ Bill Gates มาแล้ว เมื่อความคิดใหม่ๆ เบ่งบาน ธุรกิจก็เติบโตและลูกค้ารายใหม่ๆ ก็ตามมา

ใน New Ideas about New Ideas ผู้เขียนคือ Shira White ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการและศิลปิน เขียนว่า ความคิดใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และโซลูชันใหม่ๆ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความเจริญรุ่งเรือง แม้กระทั่งในช่วงที่เศรษฐกิจฝืดเคือง ทั้งนี้เพราะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ความคิดเก่าๆ ใช้ไม่ได้ผล ความคิดใหม่ คือสิ่งที่จะช่วยให้เรากลับฟื้นคืนสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้ง ในช่วงที่การแข่งขันยังเงียบสงบ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาถูกลง ต้นทุนการเข้าสู่ตลาดต่ำ การซื้อกิจการถูกกว่า และราคาของความผิดพลาดที่มักจะถูกลงด้วยเช่นกัน

การคิดสร้างคือเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง

New Ideas about New Ideas นำพาคุณเข้าสำรวจตรวจสอบทักษะของบรรดาคนที่ทำให้นวัตกรรมกลายเป็นธุรกิจอย่างใกล้ชิด

ก้าวแรกของการคิดสร้างสรรค์คือ ต้องเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดกว่าเรื่องใดๆ บรรดาคนที่ White พาคุณไปรู้จักอย่างใกล้ชิดนั้น เป็นคนที่จะแสวงหาความคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ และทำงานหนักเพื่อที่จะแปรความคิดนั้นให้เป็นจริงให้ได้ ผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ถือเป็นทรัพยากรอันมีค่า และการจัดระบบระเบียบ การจัดหาบุคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ และการให้รางวัลแก่การคิดสร้างสรรค์ คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้นวัตกรรมเบ่งบาน

ผู้นำแบบดั้งเดิมมักจะขัดแย้งกับผู้นำแบบที่ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ White จึงเสนอกลยุทธ์ที่ผู้นำที่ ให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์เคยใช้ได้ผลมาแล้วใน การช่วยให้คนอื่นๆ สามารถกระโดดข้าม "การทำธุรกิจอย่างปกติเหมือนที่เคยเป็นมา" ได้ White เขียนว่า "หากความคิดสร้างสรรค์มีอยู่เพียงในแผนกการตลาดหรือวิจัยและพัฒนาหรือแผนกวิศวกรรม แต่ไม่มีอยู่เลยในส่วนอื่นๆ ขององค์กร การจะหวังให้นวัตกรรมเบ่งบานก็คงจะเป็นไปไม่ได้" หรือถึงแม้จะเป็นไปได้ White เสริมว่า ก็คงจะไม่ยืนยาว

ในการยกตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรชั้นนำและบุคคลต่างๆ White ได้เล่าเรื่องราวต่างๆ ที่จะสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งให้แก่ผู้อ่าน ผู้ที่รังสรรค์ความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นมิได้มีกระบวนการคิดที่เหมือนกัน แต่ความคิดเกี่ยวกับความคิดใหม่ๆ ของทุกคนมีความสมบูรณ์ และมักจะสามารถจุดประกายให้เกิดความคิดใหม่ๆ ที่ดีกว่า โดยเพียงแต่เล่าประสบการณ์ของพวกเขาเท่านั้น

7 ขั้นของการเกิดความคิดสร้างสรรค์

1. ซุปจุดประกาย (Spark Soup) : จุดที่นวัตกรรมเริ่มต้น บางครั้งการคิดสร้างสรรค์หมายถึงการขัดแย้งกับระบบที่มีอยู่เดิม แม้ว่าสิ่งนี้จะทำให้การประดิษฐ์คิดค้นทำได้ยาก แต่หากอยากได้ นวัตกรรมที่ก้าวกระโดด ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องกระโจน เข้าสู่โลกใหม่ ที่ซึ่งประกายความคิดจะสามารถกลายเป็นกองเพลิงที่ลุกโชติช่วง

2. เดือดเป็นฟอง (Bubbling) : วิธีใหม่ๆ ในการพัฒนาความคิดใหม่ๆ นอกเหนือจากวิธีระดมสมองและกระบวนการวางแผนอย่างเป็นทางการอื่นๆ นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จมักจะมาจากผู้ที่ไม่คิดตามแบบแผน หรือมาจากความบังเอิญได้ความคิดใหม่ๆ มาอย่างไม่คาดหมาย หรือมาจากการใช้ผลิต ภัณฑ์เก่าด้วยวิธีใหม่

3. ต่อรองกับอนาคต (Bargaining with the Future) : ความพยายามประเมินมูลค่า การมองสิ่งต่างๆ ด้วยมุมที่ต่างไปเป็นการขยายคุณค่าของความคิด ความคิดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความรู้ ทรัพยากร และการเชื่อมโยง

4. สู่การมีชีวิต (Going Live) : แปรความคิดใหม่ให้เป็นจริง การเชื่อมช่องว่างระหว่างความคิดกับความจริงไม่ใช่เรื่อง ง่าย แต่การทำงานโดยมีความกลัวเป็นแรงผลักดันเป็นกระบวน การที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ อย่ารังเกียจความเสี่ยงและ ความไม่แน่นอน เพราะนี่คือวิธีที่นักนวัตกรรมใช้ในการนำประกายความคิดของเขาเข้าสู่ตลาดได้สำเร็จ

5. แผงวงจรรวม (Integrated Circuitry) : กลไกของการนำนวัตกรรมมาสู่ความจริง ในขณะที่เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าอย่างทบเท่าทวีคูณ ความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการจัดการและการนำนวัตกรรมที่มีค่าอย่างเช่น ความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ประโยชน์ ก็ก้าวล้ำนำหน้าไม่แพ้กัน การตลาดและการสนับสนุนทางการเงินแก่ความคิดใหม่ๆ ก็ต้องใช้เทคโน โลยีสารสนเทศเช่นกัน

6. ออกแบบจรวด (Rocket Design) : สร้างสรรค์องค์กร ใหม่ ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ต้องการกรอบ เพื่อที่เขาจะได้รู้ขอบเขตของการคิด องค์กรที่ทันสมัยใช้ความคิดใหม่ๆ ในการจัดระเบียบความไร้ระเบียบ และบริหารพนักงานผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ผู้นำและงาน โดยใช้โครงสร้าง กลยุทธ์ และระบบใหม่ๆ

7. ปรุงพายแอปเปิล (Making an Apple Pie) : นอกเหนือจากองค์กร เมื่อคนและบริษัทสร้างชุมชน ครอบครัว มิตรภาพ และองค์กรที่ดีขึ้น ด้วยความรักที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทายาทรุ่นใหม่ของบุคคลผู้มีความคิดสร้างสรรค์จะค่อยๆ เติบโตขึ้นรับสืบทอดความรักในการสร้างสรรค์ต่อไป ความคิดสร้างสรรค์ทำให้คนสามารถเลือกที่จะมีชีวิตอย่างที่ตนต้องการได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us