Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545
Elephant and the Flea             
 





งานเขียนสะท้อนความคิดเชิงอัตชีวประวัติของนักปรัชญาธุรกิจคนหนึ่ง

แฟนๆ หนังสือของ Charles Handy จะไม่ผิดหวังกับงานเขียนเล่มล่าสุดของเขา The Elephant and the Flea เช่นเดียวกับผลงานเล่มก่อนๆ Handy อดีตผู้บริหารบริษัทน้ำมัน ที่ได้พลิกผันชีวิตมาเป็นนักปรัชญาการจัดการ ใช้ถ้อยคำคมคายเพียงไม่กี่ประโยค ก็สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและในองค์กรอเมริกัน ซึ่งได้ส่งผลกระทบและจะส่งผลกระทบต่อการเลือกวิถีชีวิตและงานของคนอเมริกัน

ความหวังที่แฝงไว้ด้วยความกลัว

เกี่ยวกับความคิดของ Handy ที่มีต่ออเมริกา เขาเห็นว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในอเมริกาดูเหมือนมีแต่จะยิ่งถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ แต่กลับไม่มีคนอเมริกันคนไหน แม้แต่คนจนเอง ที่คิดจะตั้งคำถามกับระบบทุนนิยม Handy เขียนว่า จากการที่เขาได้ท่องเที่ยวไปทั่วอเมริกาเป็นระยะๆ และได้เห็นความแตกต่างระหว่างย่านที่อยู่อาศัยของคนจนและคนรวย ที่มีสภาพผิดแผกกันราวฟ้ากับดิน ทำให้เขารู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างมาก ว่า เหตุใด ความไม่เท่าเทียมกันที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ ซึ่งเขาเคยคิดว่าเป็นจุดอ่อนที่จะนำพาระบบทุนนิยมอเมริกันไปสู่จุดจบอันน่าสังเวช จึงไม่มีผลอะไรกับความรู้สึกของคนจนโดยส่วนใหญ่ในอเมริกา อย่างที่เขาเคยคิดว่าน่าจะเป็น

Handy สรุปว่า พวก Puritan และพวกที่อพยพมาอเมริการุ่นแรกๆ ซึ่งเชื่อมั่นในการทำงานหนักว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาพวกเขาไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น คือเหตุผลที่อธิบายว่า เหตุใด "ความอิจฉาคนที่ร่ำรวยกว่า ซึ่งถ้าหากเป็นในสังคมทุนนิยมอื่นๆ จะเป็นเครื่องที่กัดกร่อนทำลายระบบทุนนิยม กลับดูเหมือนจะกลายเป็นเชื้อเพลิงที่กระตุ้นให้คนอเมริกันเกิดความมุมานะพยายาม และตั้งความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าให้ได้ในวันหนึ่ง" อย่างไรก็ตาม เขาเตือนว่า ความหวังดังกล่าวเป็นความหวังที่แฝงไว้ด้วยความกลัว เพราะคนจนไม่มีหลักประกันอะไรมากนัก ถ้าหากความพยายามของพวกเขาต้องพบกับความผิดหวังและล้มเหลว Handy คิดว่า ความหวังที่เจือปนด้วยความกลัวนี้เอง คือสิ่งหล่อเลี้ยงพลังที่มีอยู่ในสังคมอเมริกัน แต่ถ้าหากสัดส่วนของส่วนผสมระหว่างความหวังและความกลัวนี้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือถ้าหากความกลัวมีสัดส่วนมากกว่าความหวังแล้วล่ะก็ ทุนนิยมแบบอเมริกันก็จะตกอยู่ในอันตรายทันที

ความสำเร็จคืออะไร

ความคิดคำนึงที่ Handy สะท้อนออกมาในหนังสือเล่มล่าสุดของเขานี้ หลายเรื่องผูกพันกับชีวประวัติของเขา แฟนๆ หนังสือเล่มก่อนๆ ของ Handy อาทิ The Age of Paradox, The Age of Unreason และ The Hungry Spirit จะคุ้นเคยดีกับหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของเขาอยู่แล้ว เช่น เรื่องงานศพของพ่อ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเล็กๆ ในชนบทมาเป็นเวลาถึง 40 ปี Handy เคยเล่าถึงเรื่องนี้แล้ว แต่คราวนี้เขานำกลับมาเล่าใหม่ในประเด็นที่ว่าด้วย "ความสำเร็จ" ได้อย่างคมคาย

Handy ไม่เคยปิดบังความผิดหวังที่พ่อของเขาตัดสินใจ "ใช้ชีวิตที่จืดชืดน่าเบื่อหน่ายในถิ่นชนบทล้าหลังไกลปืนเที่ยง" แต่แล้วเขาได้เห็น "น้ำตาในดวงตาทุกคู่ของผู้คนนับร้อยๆ ซึ่งมาจากทุกสารทิศ เพื่อมาไว้อาลัยพ่อ" เขาได้แต่คิดว่า "ความสำเร็จ คืออะไร ใครกันแน่ที่ประสบความสำเร็จ ข้าพเจ้าหรือพ่อ"

ในที่สุด Handy ตัดสินใจลาขาดจากโลกของการสังกัดองค์กร ซึ่งเปรียบเสมือนการเป็น "ช้าง" ในชื่อของหนังสือเล่มนี้ แล้วขอเป็นเพียง "หมัด" ตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง กล่าวคือ เป็นนักเขียนและนักคิดอิสระ Handy คือคนแรกที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็น "คนทำอาชีพอิสระ" หรือ free agent ของยุคนี้ ในบทที่มีชื่อว่า "The Problems of a Portfolio Life" Handy กล่าวถึงปัญหา 3 ประการ ที่เกิดขึ้นหลังจากเขาตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตอิสระ ได้แก่ การขาดสังคม ความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นตัวเองอยู่เสมอ และความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา 2 ปัญหาแรกเป็นสิ่งที่เขาคาดไม่ถึง

แตกต่างแต่ไม่แตกแยก

ในขณะที่ Handy มีความสุขกับชีวิตการเป็นเพียงตัวหมัดตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง ที่แสนจะมีอิสระเสรี แต่เขาก็เตือนว่าในโลกของการเป็นคนอิสระนั้น จะต้องพบเจอกับการแข่งขันกับคนอื่นๆ อย่างไม่สิ้นสุด "ชีวิตที่ไร้สังกัด ไร้พันธะ หมายถึงชีวิตที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อคนอื่น ชีวิตอิสระอาจนำไปสู่การเป็นคนเห็นแก่ตัวและสังคมที่อยู่อย่างตัวใครตัวมัน"

ทางเลือกที่ดีกว่านี้คือ การเป็นคนอิสระที่มีแรงกระตุ้นที่จะแข่งขัน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่แตกแยกจากคนอื่นๆ แรงกระตุ้นที่จะแข่งขันจะทำให้ผู้ที่ใช้ชีวิตอิสระ มีแรงขับที่จะคิดค้นนวัตกรรมและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่วนการไม่แตกแยกกับสังคมจะทำให้ผู้ที่ยังอยู่ในองค์กร สามารถสร้างความแตกต่างขึ้นในองค์กรได้โดยไม่เกิดการแตกแยกกับคนอื่นๆ ส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตอิสระก็ควรจะสนใจและเข้าไปรับผิดชอบประเด็นปัญหาของชุมชนบ้าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us