Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545
Game Theory (ตอนที่ 2)             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

Game Theory ตอนที่ 1
Game Theory ตอนที่3 (ตอนจบ)




คราวที่แล้ว ผมได้แสดงตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่ออธิบายหลักพื้นฐานของ วิชา Game Theory ให้ท่านได้ลิ้มลอง คราวนี้ผมขอสาธยายสาระสำคัญของ Game Theory ในเบื้องต้นต่อ ผมขอเข้าเรื่องเลยนะครับ

Game Theory คือ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของกรรมวิธีคิดที่มีระบบ เพื่อวิเคราะห์การใช้กลยุทธ์ของผู้เล่นที่ต้องต่อสู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้ตัวเองได้รับ ผลตอบแทนหรือประโยชน์สูงสุด ซึ่งกระบวนการคิดดังกล่าวเป็นการสร้างแบบจำลองเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ หรือกิจกรรมในสังคม ในแง่เศรษฐศาสตร์ การค้า ธุรกิจ การตลาด การสงคราม การต่อรอง ฯลฯ กระบวนการคิดเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีส่วนประกอบคือ

- ผู้เล่น (Players) ซึ่งจะมีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

- ปฏิสัมพันธ์ (Interactions) คือการกระทำของฝ่ายหนึ่งจะมีผลกับอีกฝ่ายหนึ่งในการเล่นเกม

- กลยุทธ์ (Strategies) คือ วิธีปฏิบัติการของผู้เล่นภายใต้เงื่อนไขสภาพแวดล้อมของการปฏิสัมพันธ์

- ความสมเหตุสมผล (Rationalization) เป็นพื้นฐานความคิดของผู้เล่นที่มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ เพื่อใช้กลยุทธ์ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง

- ผลลัพธ์ (Outcome) จากที่มีหลาย ผู้เล่น และแต่ละผู้เล่นก็มีหลายกลยุทธ์ ผลลัพธ์ ก็คือ ความเป็นไปได้หรือความหลาก หลายที่เกิดขึ้นจากการใช้กลยุทธ์ของแต่ละผู้เล่น ยกตัวอย่างเช่น เกมของผู้เล่น 2 คน ถ้าผู้เล่นแต่ละคนมี 2 กลยุทธ์ ความเป็นไปได้ของผลลัพธ์จะมี 4 ความเป็นไปได้

- ฟังก์ชั่นผลตอบ (Payoff or Utility Function) ในแต่ละความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ จะแสดงนัยเพื่อการประเมินประโยชน์ที่ได้ รับซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวเลข เช่น ผลกำไร จำนวนเงิน หรือระดับของความพอใจ ฯลฯ หรือค่าตรรกะ เช่น ผิด หรือ ถูก, ดี หรือ เลว เป็นต้น ฟังก์ชั่นคือ รูปแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้คำนวณหรือแสดงที่มาของค่าเหล่านี้ ค่า Payoff จะใช้ในการประเมินแบบจำลองเพื่อหาคุณสมบัติในแต่ละองค์ประกอบของเกมนั้นๆ และยังใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกใช้กลยุทธ์

ในการวิเคราะห์เกมแต่ละเกม เราจะนำองค์ประกอบที่กล่าวมา แปลงโฉมหรือนำเสนอ (Representation) เพื่อให้การวิเคราะห์กระทำได้สะดวกขึ้น ซึ่งวิธีการนำเสนอมีอยู่ 2 วิธีคือ วิธีแรกเรียกว่า Normal Form และอีกวิธีเรียกว่า Exten-sive Form

วิธีแรก Normal Form ใช้การนำเสนอในรูปของตาราง ที่เรียกว่า Matrix แสดงส่วนประกอบทั้งหมดของเกม (ดังตัวอย่างในตอนที่แล้ว) วิธีนี้เหมาะกับการวิเคราะห์เกมที่มีลักษณะผู้เล่นแต่ละคนปฏิบัติการพร้อมๆ กัน (Simultaneous Move) หรือการวิเคราะห์ในแต่ละครั้งของปฏิบัติการ (แต่ละ Move) ในกรณีที่เกมมีการเล่นต่อเนื่องที่เรียกว่า Sequential Game (เช่นการเล่นหมากรุก ฯลฯ) การใช้ Normal Form ผู้วิเคราะห์จะเห็นกลยุทธ์ของผู้เล่นต่างๆ พร้อมกับความเป็นไปได้ของผลลัพธ์และค่าผลตอบ (Payoff) พร้อมๆ กันทั้งหมด รูปที่ 1 แสดงตัวอย่าง Normal Form ของเกมที่มีผู้เล่น 2 คนและผู้เล่นแต่ละคนมีกลยุทธ์ 2 กลยุทธ์

วิธีที่สอง Extensive Form ใช้วิธีนำเสนอด้วยรูปแบบของกราฟรูปต้นไม้ (Game-Tree) รูปแบบนี้จะเหมาะกับการนำเสนอเกมที่มีการเล่นอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นๆ หรือที่เรียกว่า Sequential Game เกมชนิดนี้มิใช่การตัดสินใจใช้กลยุทธ์กระทำเพียงหนเดียวให้ได้ผลลัพธ์สุดท้าย แต่เกมจะยังคงดำเนินต่อเนื่องอีกหลายขั้นจนกว่าเกมจะจบ ส่วนประกอบของ Game Tree ได้แก่ (ดูรูปที่ 2 ประกอบ)

- Node คือ จุดที่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งกระทำการ

- Initial Node คือ จุดแรกของการเริ่มเกม จะเป็นจุดเริ่มกระทำการของผู้เริ่มเล่นเกมครั้งแรก

- Strategy หรือ Action คือแขน ที่ต่อลงมาจาก Node แสดงการกระทำหรือกลยุทธ์ของผู้เล่น ตัวอย่างในกรณีที่ผู้เล่นใน Node มีกลยุทธ์ 2 ชนิดจะมีแขนต่อออกมา 2 แขน แต่ละแขนเป็นตัวแทนของแต่ละกลยุทธ์

- Subgame คือ แขนงกิ่งก้านซึ่งประกอบด้วยแขนของการกระทำหรือกลยุทธ์ และ Node ที่ต่อลงมาจากนั้น ซึ่งเป็นผลจาก การกระทำการของผู้เล่น (Node) ที่อยู่ในขั้น Step หรือ Move ก่อนหน้า

- Outcome หรือผลลัพธ์ ก็คือ ผลจากการใช้กลยุทธ์ในขั้นสุดท้าย

- Terminal Node คือ Node ปลาย สุดของ Game Tree ซึ่งก็คือ ผลลัพธ์หรือ Outcome

- Payoff เป็นค่าของผลตอบที่ได้จาก Payoff หรือ Utility Function นำเสนอโดยแสดงค่าในวงเล็บประจำในแต่ละ Terminal Node

เพื่อให้เห็นตัวอย่างการนำเสนอ Game-Tree จากตัวอย่างที่ได้เสนอไว้ในตอนที่แล้ว ซึ่งเป็นการแสดงกลยุทธ์การตั้งราคาโทรศัพท์มือถือที่ร้านในมาบุญครอง สามารถนำมาเสนอในรูปแบบของ Game-Tree ได้ดังแสดงในรูปที่ 3

ถ้ามีโอกาส ลองเปรียบเทียบกับการนำเสนอในรูปแบบตารางแบบ Normal Form ของตัวอย่างเดียวกันนี้ ถึงตรงนี้ท่าน พอจะเห็นวิธีการเบื้องต้นและส่วนประกอบ ต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ตามวิธีการของ Game Theory แม้ว่าแนวการ คิดของ Game Theory อาจดูแปลกๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคย (รวมทั้งผมด้วย) แต่ผมคิดว่าเรา (หมายถึงผมและท่านทั้งหลาย) สามารถนำวิธีการและแนวคิดนี้ไปประยุกต์ กับการตัดสินใจในการดำเนินงานหรือวางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ ตอนต่อไปผมจะสรุปสาระสำคัญของวิธีการของ Game Theory เพิ่มเติมและจะนำเสนอแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้งานเพื่อเป็นการส่งท้าย แล้วพบกันครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us