Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545
ห้าง Liberty หนีตายสะเทือนวงการค้าปลีก ฉีกแนวโชว์สินค้าตา trend แทน brand             
 


   
search resources

Liberty




มีนาคมที่ผ่านมา อุตสาหกรรมค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้า ฮือฮากันสุดๆ เมื่อห้าง Liberty ในกรุงลอนดอนได้ฤกษ์เปิดตัวอีกครั้งพร้อมแนวคิดใหม่ในการจัดโชว์สินค้า ที่ฉีกแนวจากธรรมเนียมปฏิบัติ โดยโชว์ตาม trend หรือกระแสความนิยม ในตัวสินค้าประเภทนั้นๆ แทนที่จะโชว์ตาม brand หรือยี่ห้อสินค้าอย่างที่เราๆ ท่านๆ คุ้นกัน.....นิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนมีนาคมเก็บรายละเอียดมารายงาน

ตัวห้างทั้ง 3 ชั้นที่ประกอบด้วยแผนกรองเท้า แผนกความงาม แผนกชุดชั้นในสตรีและเครื่องแต่งกายชาย จึงจัดโชว์สินค้าไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการโชว์รองเท้าตามความสูงของส้นรองเท้าและอยู่ในกระแสนิยม โชว์น้ำหอมตามกลิ่นหลัก 5 กลิ่น และโชว์เสื้อเชิ้ตชายทั้ง 200 แบบโดยแขวนเรียงกันตามเฉดสีสวยงาม ไม่ได้แยกสินค้าตามยี่ห้ออีกต่อไป

แนวคิดในการจัดโชว์สินค้าตาม trend ของห้าง Liberty เป็นไปตามแผนงานของ John Ball กรรมการผู้จัดการซึ่งวางโครงการไว้ 3 ขั้นตอนในระยะ 3 ปี โดยขั้นตอนแรกคืองานปฏิวัติการจัดโชว์สินค้านั่นเอง ขั้นตอนที่สองเป็นการปรับปรุงอาคาร ยุค Tudor ที่เก่าคร่ำคร่าให้ทันสมัย และขั้นตอนที่สามคือ โครงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์ของ Liberty ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายให้ทันสมัยขึ้น

นับจากเริ่มก่อตั้งในปี 1874 Liberty ได้ชื่อว่าเป็นห้างที่มีก้าวย่างเชื่องช้ามากและไล่ตามห้างในเครือเดียวกันคือ Harvey Nichols และ Selfridges ไม่ค่อยจะทัน แต่กับก้าวย่างแบบก้าวกระโดดในครั้งนี้ เล่นเอาวงการค้าปลีกอ้าปากตาค้างไปเลยทีเดียว เป็นการทวนกระแสที่ใช้พลังมหาศาล

เพราะปีนี้เป็นปีที่นักวิเคราะห์พากันชี้ขาดว่า อุตสาหกรรมค้าปลีกก้าวถึงจุดวิกฤติไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าจะออกมาเป็นลูกผีหรือลูกคน จากที่มีข่าวลือเรื่องล้มละลายและผู้ผลิตสินค้า brand ดังๆ ระดับยักษ์พากันรัดเข็มขัดเป็นทิวแถว

นอกจากนี้ เรายังคุ้นเคยกันดีว่า ห้างสรรพสินค้าเป็นเวทีของการจัดโชว์สินค้าสารพัดยี่ห้อมาแสนนาน แต่มาถึงวันนี้ รูปการณ์ได้แปรเปลี่ยนไปแล้วโดยสิ้นเชิง เมื่อบรรดานักออกแบบพากันลงทุนเปิดร้านของตัวเอง และเจ้าของสินค้า brand ยักษ์ใหญ่ก็เลิกทำตัวเป็นเจ้าบุญทุ่มเมื่อเห็นว่าตลาดซบเซาลงเรื่อยๆ

trend ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญ

ห้างสรรพสินค้าเองก็สัมผัสถึงความยากลำบากในการทำให้ธุรกิจอยู่รอด จึงหันมาใช้วิธีรับสินค้าเฉพาะ brand ที่มีสินค้าอยู่ในกระแสความนิยมขณะนั้น และสร้างคุณค่าความสำคัญของตัวห้างขึ้นมาตามคำบอกเล่าของ John Ball ว่า "สิ่งที่คุณได้เห็นทั้งหมดนั้นคือบรรยากาศของ Liberty เมื่อคุณพอใจชอบใจแล้วจึงเดินเข้าไปหาตัวสินค้าที่จัดโชว์ไว้ จากนั้นจึงเข้าถึง brand ของสินค้าเป็นจุดสุดท้าย"

นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ซื้อเองก็เปลี่ยนความคิดในการช้อปปิ้งไปโดยสิ้นเชิง พวกเขาคิดว่าการชอปปิ้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์แห่งตัวตน (building a look) มากกว่าจะเป็นการทุ่มลงทุนไปกับการซื้อสินค้า brand เดียวกันทั้งหมด

ปัจจุบันห้างระดับโลกจึงมีทริคในการเป็นผู้คอยชี้นำแนวทางให้ผู้บริโภคเชื่อว่า พวกเขาได้ค้นพบความเฉพาะตัวและความพิเศษของตนแล้ว ซึ่งผิดกับเมื่อก่อนที่ผู้ซื้อเดินตรงรี่เข้าไปหาชั้นที่จำหน่ายสินค้าของกลุ่มนักออกแบบ ก็จะได้สินค้าที่ตนต้องการอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องแสวงหาจากที่อื่นอีก เพราะทุกอย่างได้จัดวางไว้อย่างลงตัว เพียงแต่ควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อเท่านั้น

"เราใช้วิธีนำเสื้อผ้าคอลเลกชั่นต่างๆ มาจัดกลุ่มเข้าด้วยกันเหมือนกับเราหยิบเอาเสื้อผ้ามาสวมใส่ให้แลดูกลมกลืนเข้ากันนั่นเอง" Damien Shaw ฝ่ายจัดซื้อแผนกเครื่องแต่งกายสตรีอธิบาย "ถ้าคุณเป็นคนมีสไตล์เฉพาะของตัวเอง ความท้าทายจะอยู่ที่ว่า คุณจะเลือกซื้ออะไรเป็นชิ้นต่อไป?"

ทริคใหม่นี้จึงเปรียบเสมือนการทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าได้เดินทางแสวงหา ไม่ว่าจะเป็น brand ใหม่ (new brand) หรือ brand ที่ใหม่ในความรู้สึกของคุณ (new-to-you brand) เช่น แผนกเครื่องสำอาง จะจัดโต๊ะโชว์สินค้าไว้ 8 ตัวแทนเคาน์เตอร์เครื่องสำอางสมัยก่อน แล้วนำเครื่องสำอางที่เป็น testers มาวางไว้ตรงกลางให้ลูกค้าได้ทดลองคุณภาพตาม ใจชอบโดยไม่เน้น brand แต่อย่างใด การจัดแยก brand จะทำเพื่อผลของการเก็บสต็อกเท่านั้น

Liberty ยังใส่แนวคิดใหม่เข้าไปอีกว่า การได้เดินซื้อของนั้นโดยตัวของมันเองก็เป็นความบันเทิงในห้างแบบใหม่ได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งการจัดนิทรรศการใหญ่โต หรือการจัด displays ด้วยมัลติมีเดีย ตัวอย่างเช่น ให้ลองนึกภาพตัวคุณกำลังเลือกซื้อเสื้อผ้าตัดเย็บด้วยผ้าไหมจากตะวันออกไกล ในบรรยากาศของห้างที่ตกแต่งด้วยเครื่องปั้นดินเผาจาก Marrakech ประเทศมอร็อคโก ซึ่งเป็นแบบไม่เคลือบ (terracotta) และใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาแทนการใส่ในเตาเผา ซึ่งเป็นแนวคิดของการเลือกซื้อสไตล์ของสินค้าต่างๆ มากกว่าจะเลือก brand และจุดนี้เองที่ทำให้ห้างสรรพสินค้า มีเสน่ห์ดึงดูดใจลูกค้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us