Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545
"Visit elephant as a short trip to Thailand"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

"Blue elepphant" ในอาคารแห่งประวัติศาสตร์




คำกล่าวข้างบน เป็นแนวคิดหลักของ นูรอ โซ๊ะมณี และมร.คาร์ล สเต็ปเป้ สองสามีภรรยา ที่ได้ทำหน้าที่เป็นเสมือนทูตทางวัฒนธรรมของประเทศ ที่ได้เผยแพร่ความเป็นไทย ผ่านร้านอาหารไทยตำรับชาววังดั้งเดิมในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาตลอดเวลา 20 กว่าปี นูรอ มีบ้านเกิดอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พี่สาวของเธอเคยเปิดร้านอาหารเล็กๆ และเธอก็ได้คลุกคลีกับตำราอาหารพื้นบ้าน และได้ฝึกปรือฝีมือการทำอาหารมาจากมารดาและพี่สาว จนมีความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์เมนูอาหารไทย ด้วยรสชาติของความเป็นไทยแท้ๆ

ต่อมา เธอได้รับการชักชวนจากพี่ชายให้ไปศึกษาต่อที่ยุโรป ซึ่งในขณะนั้นพี่ชายกำลังศึกษาวิชาการโรงแรมอยู่ที่บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ขณะเดียวกันก็ได้ทำงานเป็นนักศึกษาฝึกงานในร้านขายของเก่าของสเต็ปเป้ จากการแนะนำของพี่ชายด้วย และทำให้นูรอได้พบรักและแต่งงานกันในที่สุด ต่อมาเพื่อนสนิทของนูรอ คือชาย เวโน และสมบูรณ์ อินเสือศรี ผู้บุกเบิกร้านอาหารไทยในบรัสเซลส์ ได้มาชักชวนให้คนทั้งคู่เปิดร้านอาหารไทยขึ้น ในปี 2523 ร้านอาหารไทยแห่งแรก "บลูเอเลเฟ่นท์" จึงได้เกิดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์เป็นแห่งแรก

20 ปีแห่งความสำเร็จ นับจากร้านอาหารไทยบลูเอเลเฟ่นท์แห่งแรกได้เปิดตัวขึ้นจนถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 9 สาขา เริ่มจากที่กรุงลอนดอน เป็นสาขาที่ 2 โคเปนเฮเกน ปารีส ต่อจากนั้นก็ได้เปิดสาขาของแฟรนไชส์ โดยเริ่มที่ประเทศแถบตะวันออกกลางคือที่ ดูไบ นิวเดลฮี เบรุต ลีออง มอลตา และสาขาใหม่ที่จะเปิดในปีหน้าที่ประเทศคูเวต แต่ละสาขาจะเป็นร้านขนาดใหญ่ทั้งสิ้น เช่นที่เมืองดูไบมีถึง 440 ที่นั่ง ในกรุงลอนดอนมีถึง 280 ที่นั่ง ที่ปารีส 220 ที่นั่ง และสาขาอื่นๆ ก็ไม่ต่ำกว่า 100 ที่นั่ง ยอดรายได้เมื่อสิ้นปี 2544 ของกรุ๊ปนี้สูงถึง 600 ล้านบาท

ในแต่ละสาขา ทุกๆ อย่างในบลูเอเลเฟ่นท์ ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร การให้บริการ ศิลปะในการตกแต่งร้าน ล้วนทำให้ชาวต่างชาติได้สัมผัส และซึมซับในบรรยากาศของความเป็นไทยแท้ๆ และยังเป็นที่รู้กันในหมู่คนไทยซึ่งอยู่ต่างประเทศว่า "หากคิดถึงบ้านต้องไปที่บลูเอเลเฟ่นท์"

ในแต่ละปี กล้วยไม้ไทยจะถูกส่งออกไปอวดสายตาชาวต่างประเทศในร้านต่างๆ ถึง 5 แสนช่อ เช่นเดียวกับกระเบื้องศิลาดลจำนวนมากมายจากโรงงานที่เชียงใหม่ ที่ถูกสั่งซื้อเพื่อประดับตัวอาคารที่เปิดใหม่ในแต่ละปี รวมทั้ง ถ้วยชาม แก้วน้ำ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารอีกจำนวนมาก

ในการตกแต่งสาขาใหม่นั้นจะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และยังต้องสั่งซื้อข้าวสาร อาหารแห้ง ผัก ผลไม้ ดอกไม้ต่างๆ อย่างต่อเนื่องอีกด้วย และเป็นเงื่อนไขสำคัญในการขายแฟรนไชส์เช่นกัน ว่าจะต้องเป็นสินค้าที่ทางบริษัทบลูเอเลเฟ่นท์ กรุงเทพ จำกัด ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของสินค้า การบรรจุหีบห่อ และติดต่อแหล่งวัตถุดิบในประเทศไทย เป็นคนจัดการสั่งซื้อให้เท่านั้น

การได้กลับบ้านเกิด เพื่อตั้งโรงเรียนสอนทำอาหารไทย เป็นการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ให้ไปช่วยกันสร้างชื่อเสียงให้ประเทศในต่างแดน จึงเป็นเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับสามีภรรยาคู่นี้อย่างมากๆ เช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us