|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธนาคารพัฒนาเอเชีย ออกพันธบัตรสกุลเงินบาทวงเงิน 4,000 ล้านบาท นำร่องพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคเอเชีย และสร้างความเชื่อมั่นตลาดทุนในสายตานักลงทุนต่างประเทศ ระบุอัตราดอกเบี้ย 3.87% โดยนับเป็นครั้งแรกที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นผู้ออกพันธบัตรสกุลเงินบาท
วานนี้ (18 พ.ค.) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ได้จัดให้มีพิธีลงนามแต่งตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซิตี้คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้จัดการจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายพันธบัตรสกุลเงินบาทมูลค่า 4,000 ล้านบาท โดยมีนายนายอุตตม สาวนายน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน
นายอุตตม กล่าวว่า พันธบัตรสกุลเงินบาทวงเงิน 4,000 ล้านบาท มีอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.87 ต่อปี หรือเทียบเท่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ระยะ 5 ปี บวกด้วยส่วนต่าง 17 เบสิส พอยต์ (Basis Points) ซึ่งเป็นส่วนต่างที่น้อยที่สุดในการออกตราสารหนี้ของหน่วยงานที่มิใช่หน่วยงานภาครัฐ พันธบัตรดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีปริมาณการเสนอซื้อมากกว่าวงเงินที่ออกถึง 2 เท่า
"การออกบาทบอนด์ของเอดีบีครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศได้ดำเนินการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทย เป็นครั้งแรกของการออกตราสารหนี้สกุลเงินบาทโดยผู้ระดมทุนต่างชาติ และเป็นครั้งแรกของการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทขององค์กรที่ได้รับการจัดอันดับในระดับ AAA โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับสากล"
จากการที่พันธบัตรสกุลเงินบาทที่ได้รับการจัดอันดับในระดับที่ดีมากนั้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ผู้จัดการจำหน่ายมีวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการจัดสรรให้แก่นักลงทุนในประเทศจึงแบ่งจัดให้แก่นักลงทุนต่างประเทศเพียง 1 ใน 3 หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 33% ของวงเงินรวม 4,000 ล้านบาท จึงถือเป็นจุดสำคัญในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและลงทุนในระดับภูมิภาคต่อไปในอนาคต
"การออกบาทบอนด์ของเอดีบี เกิดขึ้นจากการที่กระทรวงการคลังได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศให้เป็นแหล่งระดมทุนในระดับภูมิภาค เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ เพื่อรองรับการออกตราสารหนี้ภายใต้กรอบพันธบัตรเอเชีย จึงออกประกาศกระทรวงฯ เรื่องการอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย ซึ่งเอดีบีธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนาการ (IBRD) และบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) ได้ยื่นคำขอออกบาทบอนด์ และกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งออกบาทบอนด์ได้แห่งละ 4,000 ล้านบาท"
นางเข็มเพ็ง พลเสนา รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย กล่าวว่า การออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทย เป็นการออกพันธบัตรครั้งที่ 3 ของเอดีบีในภูมิภาคนี้ หลังจากที่มีการออกพันธบัตรในประเทศอินเดียและมาเลเซีย ในเดือนกุมภาพันธ์ และพฤศจิกายน 2547 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการแสดงเจตจำนงของเอดีบีที่ต้องการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค
"การออกพันธบัตรครั้งนี้เป็นการตอกย้ำถึงความมั่นใจในตลาดทุนไทย เอดีบีได้ร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการสร้างกรอบ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัดออกตราสารหนี้ให้แก่นิติบุคคลต่างประเทศในอนาคต รวมทั้งยังเป็นการช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศมายังตลาดทุนไทย และช่วยปรับปรุงสภาพคล่องในตลาดสวอปเงินระหว่างประเทศด้วย เนื่องจากเอดีบีจะมีการสวอปเงินบาทที่ได้จากการออกพันธบัตรเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ"
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การออกบาทบอนด์ของเอดีบี นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่จะดึงนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาระดมทุนในไทย และการที่เอดีบีบาทบอนด์ได้รับการจัดอันดับจากสถาบันจัดอันดับชั้นนำ คือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) มูดี้ส์ และฟิทช์ อยู่ในระดับ AAA ทำให้นักลงทุนมีความมั่นในในตราสารที่มีความ เสี่ยง ในระดับต่ำในการบริหารพอร์ต และกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากเอดีบีบาทบอนด์เป็น ที่ต้องการและยอมรับในคุณภาพระดับสากล
อย่างไรก็ตาม การออกบาทบอนด์ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาจจะมีข้อจำกัดบ้าง อาทิ วงเงินที่เสนอขาย ภาษี เพราะทางการต้องพิจารณาถึงการไหลเข้าออกของเงินด้วย เนื่องจากเกี่ยวโยงกับอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้มีการเก็งกำไรค่าเงินได้ ซึ่งครั้งแรกนี้ได้ริเริ่มทำการศึกษามาแล้วกว่า 2 ปีจึงบรรลุผลสำเร็จ
|
|
|
|
|