|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ชินแซทมั่นใจจัดส่งไอพีสตาร์ได้ภายในปลายไตรมาส 2 ปีนี้ หลังประชุมวางแผนปฏิบัติการส่งดาวเทียมขั้นสุดท้ายเสร็จ รอคิวต่อจากดาวเทียมของสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ส่วนไทยคม 5 เตรียมส่งขึ้นสู่วงโคจรภายในไตรมาสแรกปีหน้า รองรับการขยายฐานลูกค้าจากไทยคม 1, 2 และ 3 ล่าสุดเซ็นสัญญากับยูบีซีในการเช่าช่องสัญญาณกว่า 50% ของย่านความถี่เคยูแบนด์
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีวิชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาดและการขาย บริษัท ชินแซทเทลไลท์ กล่าวถึงความคืบหน้าของการจัดส่งดาวเทียมไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ขึ้นสู่วงโคจรว่า ขณะนี้ได้รับการอนุมัติจากบริษัท สเปซ ซิสเต็ม ลอเรล ผู้สร้างไอพีสตาร์ ให้นำตัวดาวเทียมไปที่ฐานจัดส่งที่เมืองคูรู จังหวัดโพ้นทะเลเฟรนช์กิอานา ประเทศฝรั่งเศส ทวีปอเมริกาใต้ และคาดว่าจะสามารถส่งขึ้นสู่วงโคจรในตำแหน่ง 120 องศาตะวันออกได้ประมาณปลายไตรมาส 2 ปีนี้
สำหรับไอพีสตาร์มีน้ำหนักประมาณ 6.5 ตัน ได้ผ่านการทดสอบทุกขั้นตอนอย่างสมบูรณ์ และเตรียมที่จะจัดส่งขึ้นสู่วงโคจรหลังมีการประชุมวางแผนปฏิบัติการส่งดาวเทียมขั้นสุดท้ายแล้ว จากนั้นบริษัท แอเรียน สเปซ ซึ่งเป็นผู้จัดส่ง จะได้เตรียมความพร้อมด้านอื่นๆ ในการส่งดาวเทียม แต่ยังต้องรอคิวต่อจากดาวเทียมของสหรัฐอเมริกากับอินโดนีเซียที่มีกำหนดการจะจัดส่งก่อน
การให้บริการของไอพีสตาร์จะคลุมพื้นที่ใน 14 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย ไต้หวัน ลาว อินเดีย พม่า จีน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย เวียดนาม นิวซีแลนด์ เกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งขณะนี้มีการตั้งเกตเวย์แล้วใน 7 ประเทศคือ ไทย ไต้หวัน ลาว อินเดีย พม่า จีน ออสเตรเลีย และมีการใช้งานแล้ว 9 ประเทศ
นอกจากนี้ ชินแซทยังมีแผนจะจัดส่งไทยคม 5 ซึ่งเป็นดาวเทียมที่ออกแบบให้มีการใช้งานต่อเนื่องจากไทยคม 3 เนื่องจากขีดความสามารถในการรองรับการใช้งานหรือคาปาซิตี้ของไทยคม 1, 2 และ 3 เต็ม ซึ่งคาดว่าประมาณไตรมาสแรกของปี 2549 จะสามารถส่งขึ้นสู่วงโคจรได้
ไทยคม 5 มีน้ำหนักประมาณ 3 ตัน มีช่องสัญญาณที่เป็นย่านความถี่ซี-แบนด์ 24 ทรานสปอนเดอร์ เคยู-แบนด์ 14 ทรานสปอนเดอร์ มีพื้นการ ให้บริการครอบคลุม 4 ทวีปคือ เอเชีย ยุโรป แอฟริกา และออสเตรเลีย รวมกว่า 120 ประเทศ
ดร.ดำรง เกษมเศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร ชินแซท กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องของไทยคม 5 อยู่ระหว่างการเตรียมเรื่องเกี่ยวกับการเจรจากับซัปพลายเออร์ เพื่อนำเข้าบอร์ดพิจารณา หลังมีมติให้เดินหน้าโครงการไปแล้วก่อนหน้านี้
"หลักๆ ดาวเทียมไทยคมทั้งหนึ่ง สอง สาม ห้า ถูกออกแบบให้ใช้เกี่ยวกับธุรกิจทีวี มีเพียงไทยคมสี่ หรือไอพีสตาร์ที่เป็นดาวเทียมแบบสื่อสารสองทาง เช่น บริการไอพีทีวี ซึ่งดาวเทียมดวงนี้ถูกออกแบบเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์โดยเฉพาะ"
นายยงสิทธิ์กล่าวเสริมในเรื่องของไทยคม 5 ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะมาจากผู้ใช้บริการไทยคม 1, 2 และ 3 เพราะคาปาซิตี้เต็ม และต้องการขยายการให้บริการ ซึ่งขณะนี้มีฐานลูกค้าส่วนหนึ่งอยู่แล้วในอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ รวมถึงไทยด้วย
"หลังจากการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรหลายดวง การทำงานของเราก็จะเป็นแบบฟีด แมเนจเมนต์หรือการบริการจัดการกองดาวเทียม เพราะดาวเทียมบางดวงที่ให้บริการไปก่อนหน้านี้ก็จะหมดอายุการใช้งานก็จะมีดวงอื่นๆ ขึ้นแทน ซึ่งการควบคุมดาวเทียมมากกว่าหนึ่งดวงมีอยู่แล้วทั่วโลก"
ล่าสุดบริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือยูบีซี ได้ลงนามในสัญญาเช่าช่องสัญญาณไทยคม 5 จำนวน 50% ของความถี่ย่าน เคยูแบนด์ ซึ่งลูกค้ารายใหญ่รายแรกที่ย้ายการใช้งานจากไทยคม 3 ไปไทยคม 5 นอกจากนี้ ยูบีซียังจะได้รับการจัดสรรช่องสัญญาณเพิ่มขึ้นอีก 88% จากเดิมที่ได้รับจัดสรรช่องสัญญาณ 36 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 4.25 ทรานสปอนเดอร์บนดาวเทียมไทยคม 3 เป็น 36 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 5 ทรานสปอนเดอร์ และ 54 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ทรานสปอนเดอร์ บนดาวเทียมไทยคม 5 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเพิ่มช่องรายการและขยายบริการต่างๆ ของยูบีซี
|
|
|
|
|