Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 พฤษภาคม 2548
ครุกแมนเตือนภัยศก. ฟองสบู่มะกันแตกฉุดมูลค่าสินทรัพย์เอเชีย             
 


   
search resources

Economics
Paul Krugman




พอล ครุกแมน ระบุเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจเอเชีย เพราะจะส่งผลให้ค่าเงินลด ทำให้ชาติเอเชียที่สะสมทรัพย์สินเป็นดอลลาร์ สูญเสียความความมั่งคั่ง เตือนหนี้ครัวเรือนและบัตรเครดิตไทยน่าห่วงกว่าหนี้สาธารณะ

นายพอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง กล่าวในงานกาลาดินเนอร์ "Warning System; Positioning of Thailand & South East Asia" ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัทไทยเดย์ ดอท คอม และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ที่โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทรัล ช่วงค่ำวานนี้ (17) ว่า ความไม่สมดุลของบัญชีเดินสะพัดกำลังเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง ซึ่งจะส่งผลไปทั่วโลก

ครุกแมนกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมว่า ขณะนี้อยู่ในภาวะที่ไม่ยั่งยืนอยู่หลายจุด ที่เห็นได้ชัดคือการที่สหรัฐฯ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่ประเทศจีนซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจเกิดใหม่กลับมีบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นทิศทางการไหลของเงินทุนที่ไม่ปกติ และสภาวะนี้ไม่น่าจะดำเนินต่อไปได้เกิน 5 ปี

หากปัญหาอันสืบเนื่องมาจากความไม่สมดุลของเงินทุนเกิดขึ้น ประกอบกับภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ แตก ย่อมส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแน่นอนว่าประเทศต่างๆ รวมถึงเอเชียย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบด้วย

นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังขยายความว่า เนื่องจากชาติเอเชียล้วนแต่สะสมความมั่งคั่งในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นการถือครองที่ไม่คุ้มค่านัก เพราะหากฟองสบู่แตกความมั่งคั่งที่สะสมไว้ย่อมเสียหาย

อย่างไรก็ตาม ครุกแมนไม่เชื่อว่าบรรดาธนาคารกลางเอเชียจะใช้วิธีลดการถือเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับสมดุลระหว่างเศรษฐกิจสหรัฐฯ กับเอเชีย เพราะการถือเงินดอลลาร์สหรัฐเปรียบเหมือนเป็นการปล่อยกู้ให้แก่คนอเมริกัน ซึ่งจะนำเงินกลับมาซื้อสินค้าของเอเชีย ทำให้เกิดการค้าขายกับสหรัฐฯ ต่อไป

ครุกแมนกล่าวถึงหนี้สาธารณะของไทยที่เพิ่มพูนขึ้น เนื่องจากเป็นมาตรการหลักที่รัฐบาลไทยใช้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยว่า หนี้สาธารณะไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ตราบใดที่เศรษฐกิจยังมีอัตราการเติบโตดี และมีการควบคุมการสร้างหนี้ที่เหมาะสม มีการศึกษาให้ดีก่อนลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงตอนนี้ คงเป็นหนี้ภาคครัวเรือนและหนี้บัตรเครดิตมากกว่า

ครุกแมนได้แสดงความเห็นสนับสนุนแนวคิดเรื่องธนาคารกลางเอเชีย โดยเห็นว่าถึงเวลาที่เหมาะสมแล้วที่เอเชียจะมีแหล่งเงินทุนของตัวเอง ลักษณะเดียวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แต่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่มีการเสนอให้เอเชียใช้เงินสกุลเดียวแบบเดียวกับที่สหภาพยุโรปใช้เงินยูโรร่วมกัน เนื่องจากในภูมิภาคนี้ยังมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจอยู่มาก ยกตัวอย่างอินโดนีเซียกับญี่ปุ่น ซึ่งช่องว่างดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในหลายด้าน และแม้แนวคิดนี้จะมีความเป็นไปได้ แต่ก็คงต้องใช้เวลานานกว่าชาติเอเชียทั้งหมดจะพร้อม

เตือนรอบครอบเรื่องเอฟทีเอ

ในเรื่องของการค้าเสรีซึ่งประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยกำลังเร่งทำการตกลงกับประเทศอุตสาหกรรมใหญ่เช่นสหรัฐฯ ในการเปิดเขตการค้าเสรีนั้น ครุกแมนเตือนว่า ควรดำเนินการอย่างระมัดระวัง พร้อมยกตัวอย่างว่ามีน้อยประเทศที่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ

สำหรับศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียโดยรวมนั้น ครุกแมนเชื่อว่าศูนย์กลางของเศรษฐกิจน่าจะไปรวมอยู่ที่ประเทศจีน ซึ่งมีข้อได้เปรียบทางอุตสาหกรรมในหลายๆ ด้าน หรืออาจเรียกว่าแทบทุกด้าน และเศรษฐกิจโลกสามารถก้าวพ้นปัญหาความไม่สมดุลของบัญชีเดินสะพัดในปัจจุบันที่สหรัฐฯ ขาดดุล ขณะที่จีนเกินดุลไปได้ ชาติเอเชียคงต้องจับตาดูว่าจีนจะดึงเอาเงินทุนต่างชาติจากประเทศอื่นไปจนหมดหรือไม่

ในกรณีนี้ หลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งแม้จะมีรายได้ต่อหัวมากกว่าจีน แต่มีข้อได้เปรียบทางเศรษฐกิจน้อยกว่า จะสามารถหาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านใดมาเป็นจุดแข็งได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ครุกแมนเชื่อว่าภาวะดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ เพราะอย่างไรเสียจีนย่อมต้องเผชิญกับมาตรการป้องกันทางการค้าจากประเทศอื่นๆ และสุดท้ายแล้ว ต้นทุนแรงงานของจีนคงไม่ต่ำอย่างในปัจจุบันได้ตลอด

ทั้งนี้ เป็นที่แน่ชัดว่าอีกไม่นานจีนจะสามารถเทียบชั้นกับสหรัฐฯ ในเชิงเศรษฐกิจได้ เพราะในปัจจุบันหลายๆ ประเทศก็เริ่มให้ความสำคัญกับตลาดจีนเกือบเท่ากับที่เคยให้ความสำคัญกับตลาดสหรัฐฯ

ส่วนเรื่องค่าเงินหยวน ครุกแมนเห็นว่าน่าจะปรับค่าเงินขึ้น แต่ไม่ควรปล่อยลอยตัว พร้อมย้ำว่า การปรับค่าเงินน่าจะเป็นประโยชน์กับเอเชียโดยรวม

ครุกแมนสรุปทิ้งท้ายว่า เส้นทางเศรษฐกิจเอเชียที่จะดำเนินต่อไปในอีก 5-10 ปีข้างหน้าอาจจะต้องมีหลุมบ่อ ขรุขระบ้าง โดยเฉพาะหากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประสบปัญหา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่น่าจะรุนแรงเท่ากับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งก่อน เพียงแต่ต้องตระหนักไว้ด้วยว่า หากประเทศเผชิญภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ และยังมีระบบการบริหารจัดการที่มีปัญหาอีก ก็จะยิ่งทำให้ปัญหารุนแรง ขึ้นไปอีก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us