Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2526








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2526
พิลาศพงษ์ ทรัพย์เสริมศรี กรรมการผู้จัดการ คอมพิวเตอร์ยูเนียน จำกัด             
 

   
related stories

ทำไมถึงต้องไอบีเอ็ม พีซี?
ใครคือพิลาศพงษ์ ทรัพยเสริมศรี?

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน
Computer
พิลาศพงษ์ ทรัพย์เสริมศรี




ผู้จัดการ: คอมพิวเตอร์ยูเนียนเล็งเห็นอย่างไร จึงเป็นตัวแทนจำหน่ายไอบีเอ็ม พีซี

พิลาศพงษ์: เครื่องเปอร์ซอนนอลคอมพิวเตอร์ ถ้ามองดูแล้วตอนนี้เอามาขายกันเยอะแยะไปหมด เครื่องที่ขายดีที่สุดในโลก ขายกันแพร่หลายมากที่สุดก็คือเครื่องไอบีเอ็ม เราก็เห็นแล้วว่าไอบีเอ็มพอเขามุ่งจริงจัง มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไอบีเอ็มตอนนี้ในตลาดโลกขาย 45 เปอร์เซ็นต์ แล้วบริษัทอื่นเท่าที่มีอยู่ในตลาดทั่วๆ ไป จะค่อยๆ ล้มหายตายจากกันไป หลายๆ บริษัทจะอยู่ไม่ได้ เพราะไอบีเอ็มออกมาทำพีซี ตอนนี้เขาทำไม่รู้กี่โมเดล ครอบคลุมทุกระดับ ลองคิดดู บริษัทที่แข็งแรงที่สุดในวงการคอมพิวเตอร์ ...สำหรับเรา เราคิดว่าถ้าเอามาขายในเมืองไทย ด้วยชื่อเสียงที่ดีของเขา มันก็จะเป็นธุรกิจที่ไปได้ในระยะยาว ส่วนบริษัทเล็กๆ เอามาขาย แล้วเดี๋ยวก็เลิกไปบ้าง ซึ่งก็มีบ้างแล้วบางราย อันนี้ก็เป็นเหตุผลของเรา

ผู้จัดการ: จึงติดต่อไปที่ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

พิลาศพงษ์: คือไอบีเอ็มมีนโยบายจะแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในเมืองไทยเฉพาะพีซี วิธีการก็มีการพิจารณาว่าใครจะเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ดีที่สุด ในสิงคโปร์เขาตั้ง 5 ราย ในฮ่องกง ก็มี 5-6 ราย ส่วนบ้านเรา เขาตั้งไว้ 2 ราย นโยบายจากเฮดควอเตอร์ เขาต้องการคนที่สตรองพอสมควร

ผู้จัดการ: การตั้งตัวแทนจำหน่ายหลายๆ ราย จะไม่ทำให้ต้องแข่งขันกันเองหรือ

พิลาศพงษ์: อันนี้ไอบีเอ็มพิจารณาเป็นเวอร์ตี้ คัลมาร์เก็ต คือแต่ละรายจะเก่งไปคนละอย่าง ด้านเปอร์ซอนนอลคอมพิวเตอร์ นี่มันจำเป็นจะต้องมีเอ๊กซ์เปิร์ดไปคนละทางสองทาง ไม่มีทางที่ใครจะเก่งไปหมด เพราะมันแอพพลายได้เยอะ วิศวกรก็ซื้อคอมพิวเตอร์ ธนาคารหรืออะไรต่างๆ ก็ซื้อ เพราะฉะนั้นเวอร์ติคัลมาร์เก็ต ก็คือ ดีลเลอร์คนไหนเก่งด้านไหน ก็อาจจะรับด้านนั้นไป มันจะไม่มีการแก่งแย่งมาร์เก็ต เราจะวางมาร์เก็ตให้ดีที่สุด

ผู้จัดการ: ทีนี้ในส่วนตัวแทนจำหน่ายอย่าง คอมพิวเตอร์ยูเนียน ค้าสากลซิเมนต์ จะแบ่งตลาดกันอย่างไร

พิลาศพงษ์: คือทั้ง 2 ฝ่ายเอง เริ่มต้นนะครับ เราก็พอจะรู้ว่าเราควรจะไปทางด้านไหน อย่างคอมพิวเตอร์ยูเนียนเราก็จะไปทางเอ็ดดูเคชั่น เทรนนิ่ง ทางเอสซีทีเขาก็อาจจะมีเครือข่ายของเขาเอง ทางด้านของเขานี่เราก็ไม่ทราบนะครับ แต่ทางด้านของเรานี่จะหนักไปทางเอ็ดดูเคชั่น เพื่อจะสร้างคนที่สามารถใช้พีซีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้จัดการ: ขณะนี้ตั้งศูนย์ฝึกอบรมแล้วหรือยัง

พิลาศพงษ์ : ตั้งแล้วครับ พอดีจังหวะที่น้ำท่วมทำให้เราหยุดชะงักไป เราควรจะเริ่มตั้งแต่เดือนที่แล้ว เพราะอะไรก็พร้อมหมด ก็คงต้องเลื่อนไปจนกว่าน้ำจะหายท่วม

ผู้จัดการ: หลักสูตรของการเทรนนิ่งจะเน้นด้านไหน?

พิลาศพงษ์: เป็นเรื่องแอพพลาย เปอร์ซอนนอล คอมพิวเตอร์ ไปใช้ในด้านการวางโครงการ จะเป็นโครงการทางด้านไฟแนนซ์ โครงการด้านวิศวกรอะไรก็ได้ โดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูปเข้าช่วย อย่างเช่น โลตัส 1-2-3 หรือซุปเปอร์แคล มัลติแพลน เมื่อคนรู้เรื่องนี้แล้ว จะแอพพลายไปทางไหนก็ได้ เก็บไฟล์ก็ใช้โปรแกรมเดต้าเบส แล้วเดี๋ยวก็หาทางไปทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ เช่น หมอจะไปนั่งเขียนโปรแกรมเบสิกตั้งแต่ต้นนี่มันสมัยโบราณเกินไปแล้ว เขามีโปรแกรมดีเบส-2 ให้ใช้ เป็นโปรแกรมเดต้าเบสมันดีเวลลอปเร็ว จากงานเป็นเดือนอาจจะเหลือวันเดียว เพราะฉะนั้นคอนเซ็ปต์นี้ต้องเผยแพร่ ทีนี้หมอบางคนอาจจะเปิดขายเปอร์ซอนนอล คอมพิวเตอร์ ก็ได้ โดยที่แอพพลายโนว์เลจทางด้านนี้

ผู้จัดการ: ศูนยฝึกอบรมที่ว่านี้จะเปิดรับคนทั่วๆ ไปหรือไม่

พิลาศพงษ์: จะเปิดรับคนทั่วไปครับ

ผู้จัดการ: จะต้องมีพื้นความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มาก่อนไหม

พิลาศพงษ์: ไม่ต้องมีเลย คนที่มีพื้นมาก่อนจะทำให้เรียนเร็วเท่านั้นเอง

ผู้จัดการ: คุณคิดว่าไอบีเอ็ม พีซี มีจุดที่สตรองมากกว่าเครื่องไมโครยี่ห้ออื่นๆ ตรงไหนบ้าง

พิลาศพงษ์: อันที่หนึ่งก็คือ การเป็นเปอร์ซอนนอล คอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับเครื่องขนาดใหญ่ได้ อันนี้เป็นจุดที่เหนือคนอื่น เพราะเครื่องไอบีเอ็มเองมีติดตั้งอยู่เยอะ พีซีนี่สามารถต่อเข้ากับเครื่องไอบีเอ็มได้ทุกโมเดล ต่อแล้วเป็นจออันหนึ่งเป็นเปอร์ซอนนอล คอมพิวเตอร์ แล้วก็ควรจะต่อเข้ากับเครื่องใหญ่ได้ด้วย มันจะได้คอบเวอร์ออฟฟิศ ออโตเมชั่น ที่สมบูรณ์ พวกนี้เป็นจุดเหนือคนอื่นทำไม่ได้เลย แพ้ไอบีเอ็มหมด สอง ไอบีเอ็ม มีซอฟต์แวร์ที่ดี เครื่องอื่นๆ อย่างเป็นเครื่องญี่ปุ่นหรืออะไรนี่ มีคนสร้างซอฟต์แวร์ให้น้อย ต้องทำกันเอง แต่คนสร้างให้ไอบีเอ็ม พีซีนี่มีมากที่สุดในโลก พวกเธิร์ดปาร์ตี้ไม่ต่างจากเครื่องแอปเปิ้ล เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซอฟต์แวร์เฮ้าส์ลงมือสร้างให้มากมาย ยูสเซอร์ก็สบาย และทำให้เขามีกรุ๊ปที่จะช่วยกันได้เป็นจุดเด่น อันที่สามคือ ยูสเซอร์ กรุ๊ป พบกันเอง เราจัดให้เขาคุยกัน สามารถจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้าเข้ามาแล้วเขาสามารถให้ไอเดียนี้ อีกตัวอย่างมันใช้ แอดวานซ์เทคโนโลยี คือมันเป็น 16 บิท แล้ว อีกอันคือทางด้านไอบีเอ็ม ซัปพอร์ต ไอบีเอ็มเขาไม่เคยเสียชื่อในเรื่องการซัปพอร์ตไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการขาย

ผู้จัดการ: ด้านการซัปพอร์ต ดำเนินการเองหรือให้ไอบีเอ็มรับผิดชอบ

พิลาศพงษ์: เราดำเนินการเอง แต่เครื่องพีซีนี่ไม่ต้องซัปพอร์ตด้านซอฟต์แวร์ เพราะลูกค้าเขาจะซัปพอร์ตกันเองได้หมด มันก็สบายสำหรับผู้ขาย และผู้ใช้เองก็สบายใจด้วย

ผู้จัดการ: คือซอฟต์แวร์สามารถหาได้ทั่วๆ ไป

พิลาศพงษ์: คือถ้าลูกค้าเขาเข้าใจคอนเซ็ปต์ เราบอกคอนเซ็ปต์เขาว่า เปอร์ซอนนอลคอมพิวเตอร์จะต้องใช้แนวไหน จะไม่เหมือนเมนเฟรม จะไม่ต้องทำอะไรมากมาย ต้องเขียนโปรแกรมภาษาโคบอลฟอร์แทรน ไม่ใช่อย่างนั้น เขาซื้อไปแล้วใช้กับแพ็กเกจ แล้วเขาจะซัปพอร์ตตัวเองทางด้านแพ็กเกจได้สบาย ซื้อเครื่องไปใช้ได้เลย แต่ถ้าต้องการแอพพลิเคชั่นพิเศษจริงๆ ก็เจรจากับซอฟต์แวร์เฮ้าส์ที่เป็นซับดีลเลอร์ของเราได้

ผู้จัดการ: แพ็กเกจอย่างเช่นพวกมัลติแพลน โลตัส 1-2-3 หรือเวิร์ดสตาร์ นี้จะเอาไปใช้งานด้านไหนได้บ้าง อยากให้ช่วยเล่ารายละเอียดหน่อย

พิลาศพงษ์: คือแพ็กเกจของไมโครมันจะแบ่งออกเป็น3ประเภทใหญ่ๆ หนึ่งคือ สเปรดชีท ก็มีแพ็กเกจพวกซุปเปอร์แคล มัลติแพลน วิสซิแคล เป็นแพ็กเกจที่เกิดขึ้นเมื่อสัก 2-3 ปีที่แล้ว พวกนี้จะไปแอพพลาย โดยเฉพาะแมเนเจอร์ คือแมเนเจอร์ที่ทำงานเกี่ยวกับการวางแผน วางงบประมาณ วางแคชโฟล หรือพวกที่ทำการลงทุนในโปรเจ็กต์ใหญ่ๆ ที่จะดูว่าลงทุนแล้วคุ้มหรือไม่คุ้ม หาจุดคุ้มทุนอะไรต่างๆ หรือพวกสร้างคอนโดมิเนียม ก็วางว่าค่าของอะไรต่างๆ เท่านี้ คนผ่อนมาเท่านี้ ระยะเวลา 10 ปี หรือ 5 ปี จะคุ้มหรือไม่คุ้ม แมเนเจอร์ก็จะใช้เวลาอ่านเหมือนกับอ่านเครื่องคิดเลขนะครับ แล้วทำทดลอง สามารถใช้งานได้ภายใน 3 นาทีด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งใครทั้งสิ้น อันนี้เรียกว่าเป็นสเปรดชีทโปรแกรม แอพพลายทำงานทางด้านแมเนจเมนต์ โซฟวิ่งพรอบแพลม จะเป็นเอ็นจิเนียริ่งก็ได้ ต่อจากสเปรดชีทก็ดีเวลล้อปขึ้นมาให้ดีขึ้น เรียกว่าอินดีเกรดแพ็กเกจ คือรวมสเปรดชีทรวมเดต้าเบส แล้วก็รวมกราฟฟิก อย่างเช่นแพ็กเกจชื่อโลตัส 1-2-3 คือ เมื่อเราแพลนนิ่งแล้ววางตัวเลขบนจอเห็นหมด เราอาจจะจับตัวเลขนั้นๆ มาซอร์ส หรือจับกรุ๊ปออกมาเป็นหลักการของเดต้าเบสก็สามารถใช้คำสั่งเหนือขึ้นมาได้ ในขณะเดียวกันก็อาจจะเอาตัวเลขไปพล็อตกราฟได้ โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมหลายๆ ชิ้น มันทำได้ทุกอย่างอันนี้เป็นโปรแกรมที่วิเศษมาก ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากเหลือเกินอันนี้ ต่อมาเป็นโปรแกรมเดต้าเบส อย่างเช่น ดีเบส 2 อันนี้ ก็เป็นทางด้านเก็บไฟล์ ถ้าใครจะทำแอคเคาท์ติ้ง สามารถจะใช้อันนี้เขียนได้ คือพูดง่ายๆ ว่า เขียนเป็นภาษาเดต้าเบส มันก็สามารถทำแอคเคาท์ติ้งได้โดยไม่ต้องมีความรู้ ไม่ต้องวางระบบเป็นแบบโคบอลฟอร์แทรน ไม่ต้องมี ใช้เวลาเรียนรู้แป๊บเดียว หรือเก็บแฟ้มประวัติคนไข้ตามโรงพยาบาล คลินิก ที่ใช้เดต้าเบส แล้วอีกอันเป็นโปรแกรมแพ็กเกจที่เรียกว่า เวิร์ดโปรเซสซิ่ง ออกจดหมายเวียน ก็แบ่งใหญ่ ๆ ออกเป็น 3 อย่าง เปอร์ซอนนอลคอมพิวเตอร์ใช้พวกนี้เป็นหลัก จะทำระบบใหญ่โตมากมาย โน่นต้องไปใช้มินิคอมพิวเตอร์ ทีนี้พวกเปอร์ซอนนอล คอมพิวเตอร์ พอไปต่อกับระบบใหญ่ ก็สามารถจะไปส่งข้อมูลจากตัวเล็กไปเก็บในตัวใหญ่ได้ หรืออีกอย่างก็อาจจะทำเป็นจอของเครื่องใหญ่ อย่างเช่น ไอบีเอ็มซีสเต็ม 34 เขามีจอของเขาอยู่แล้วใช่ไหม สมมุติ 5251 เทอร์มินัลเราไม่ซื้อตัวนั้น ซื้อพีซีแทน มันก็ทำงานได้ อันนี้เป็นจุดที่นิยมกันมาก

ผู้จัดการ: ตอนนี้การขายเป็นอย่างไรบ้างสำหรับพีซี

พิลาศพงษ์: คือมันก็ขึ้นไปเรื่อยๆ นะครับ เราจำหน่ายออกไปได้เรื่อยๆ ขณะนี้ก็เข้าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ครับ เราตั้งเป้าไว้ 20 เครื่องต่อเดือน

ผู้จัดการ: ตั้งเป้าว่าปีหน้าจะเพิ่มยอดขายขึ้นไปกี่เปอร์เซ็นต์

พิลาศพงษ์: ร้อยเปอร์เซ็นต์ คนเข้าใจคอนเซ็ปต์กันมากขึ้นก็จะใช้มากขึ้น

ผู้จัดการ: มีปัญหาสั่งของแล้วมาไม่ค่อยทันใช่ไหม

พิลาศพงษ์: ไม่ใช่ครับ คือเราโปรเจ็กต์ไว้น้อย เขาก็จัดมาน้อย ถ้าเราจะเอามากขึ้น โรงงานเขาก็ผลิตให้ไม่ทัน

ผู้จัดการ: มีความเห็นอย่างไรที่เขาพูดว่า พอมีพวกไมโครออกมามากมายแล้ว เครื่องมินิคอมพิวเตอร์เลยมีปัญหาด้านการตลาด

พิลาศพงษ์: ผมว่าไม่น่าจะเกี่ยวนะครับ ตลาดมินิคอมพิวเตอร์นี่เขามีตลาดของเขา ซึ่งผมว่าเขาก็ไม่ได้ซบเซาหรือยอดขายตก เพียงแต่มันอาจจะไม่เพิ่มมากเท่าไหร่ คือคนที่ซื้อพีซี มินิคอมพิวเตอร์ เขาก็จะต้องซื้อ คนซื้อพีซี คนที่เริ่มต้นใหม่ ผมมองดูแล้ว พีซีเป็นเทอร์มินัลของมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานในระดับต่างๆ มากมาย อย่างมินิคงไม่ได้ แต่พีซีดีตรงที่สามารถจะเรียนรู้ได้เร็ว มีแพ็กเกจ มินิคอมพิวเตอร์จะต้องวางระบบอย่างดี สร้างกำลังคนขึ้นมา พีซีว่าที่จริงแล้ว มันก็คือเครื่องคิดเลขระดับสูงขึ้นไป เครื่องคิดเลขก็มีโปรแกรมได้ใช่ไหมครับ ผมว่าเข้าใจกันผิด ไมโครจะมาแทนที่มินิอะไรอย่างนี้นะครับ มินิคอมพิวเตอร์เขาก็มีลีวัลที่จะทำงานอยู่ ไมโครก็เรื่องของไมโคร ซึ่งก็แตกสเกลออกไปอีกตั้งหลายสเกล ไอบีเอ็มก็ยังออกพีซี แล้วมาพีซี จูเนียร์ ไมโครเองแตกย่อยซอยตลาดมากนะครับ อย่างใช้เล่นเองที่บ้าน แล้วก็ขนาดกลางๆ บิสสิเนสก็เล่นได้ เพราะฉะนั้นมันมีสเกลของมันอยู่แต่ละโปรดักส์ มันจะรีเพลซกันไม่ได้ ไอ้ความพาวเวอร์ฟุลมันมีแน่นะครับ มันพาวเวอร์ฟุล 16 บิท นี่มันเป็นมินิคอมพิวเตอร์ใช่ไหม แต่เขาออกแบบโปรดักส์ขึ้นมาเป็นแมสมาร์เก็ตขายจำนวนเยอะๆ บางคนงงว่า ไมโครขายกันเป็นล้านๆ เครื่อง ก็ต้องมีโปรแกรมเมอร์เป็นล้านๆ คนสิ มันไม่ใช่ เครื่องอย่างนี้เขาให้แมเนเจอร์ใช้ พวกเลขาใช้ ไม่ใช่ซื้อมาแล้วยังต้องจ้างคนใช้ เข้าใจผิด เวลาซื้อคอมพิวเตอร์ต้องสนใจพอสมควรนะครับว่า เครื่องแค่นี้มันทำงานได้แค่ไหน เราจึงเปิดคอร์สขึ้นมาอบรมฟรี อยากรู้เรื่องเราจึงจัดอบรมเป็นรุ่นๆไป


ผู้จัดการ: ทางออกคอมพิวเตอร์ยูเนียนกลัวเครื่องไมโครปลอมในตลาดบ้างไหม


พิลาศพงษ์: คือมันก็มีที่เขาปลอมของบางยี่ห้อ ส่วนไอบีเอ็ม พีซี ปลอมยังไม่มี มีแต่พวกคอมแพทเทเบิ้ล ซึ่งก็มีแต่ในอเมริกา ผมว่าพวกไมโครปลอมนี่ เขามีตลาดของเขาโดยเฉพาะ ไม่มายุ่งกับใคร เพราะคนซื้อของพวกนี้ก็ซื้อเพื่อเอาไปลองเล่นๆ เท่านั้น พอเขาเรียนรู้ดีแล้ว เขาก็จะมาซื้อของดีๆ เหมือนเขาซื้อรถโปเกหัดขับ พอขับเป็นแล้วจึงซื้อรถโอเคให้มันดีหน่อย เพราะฉะนั้นตลาดของพวกนี้แทบจะเรียกได้ว่า ไม่มีผลกับเราเท่าไร

ผู้จัดการ: คืออย่างไรเสียเขาก็คงไม่ซื้อของแท้อยู่แล้ว

พิลาศพงษ์: ครับ คือเขาเงินไม่พอ อย่างมีเงินสักหมื่นสองหมื่น ลงทุนซื้อวิดีโอก็พอแล้ว ก็ลองซื้อไมโครถูกๆ แต่พวกนี้พอไอบีเอ็มออกพีซี จูเนียร์ ผมว่าพวกนี้จะลำบาก เพราะต้องมาเจอกับไอบีเอ็มราคาถูกแถมเป็นของดีด้วย

ผู้จัดการ: ทีนี้ทางพวกคอมเพลทเทเบิ้ลจะเป็นปัญหาต่อพีซีไหม

พิลาศพงษ์: พวกนี้ในอเมริกาอาจจะขายได้ เพราะไอบีเอ็มเองผลิตไม่ทัน เพราะราคามันเท่าๆ กัน คนซื้อไอบีเอ็มดีกว่า บังเอิญไอบีเอ็มเขาซัปพลายของให้ไม่ทัน พวกนี้ก็เลยขายกันได้บ้างเท่านั้น แต่ผมว่าคนไทยนี่ซื้อของยึดยี่ห้อ เพราะฉะนั้นพวกคอมแพลทเทเบิ้ลจะไม่มีปัญหามากสำหรับตลาดพีซีในบ้านเรา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us