Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2526








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2526
สยาม...ต้นตำรับการโตของสุระ             
 


   
search resources

สยามวิทยา
สุระ จันทร์ศรีชวาลา




เมื่อสุระพูดถึงบริษัทหลักของเขาที่เขาจะไม่มีวันขายทิ้งให้แก่ผู้อื่นเด็ดขาด 1ใน 3-4 บริษัทที่เขาพูดถึงคือ บริษัทสยามวิทยา และวิธีการทำงานของบริษัทสยามวิทยาแสดงถึงลักษณะปรัชญาค้าขายของกลุ่มสุระออกมาอย่างชัดเจน นั่นคือการ Take over

สุระในอดีตเคยเป็นนักเรียนเก่าอัสสัมชัญพาณิชย์มาก่อน แต่เรียนไม่จบ อัสสัมชัญในสมัยนั้นเป็นที่รู้กันว่า เป็นโรงเรียนหนึ่งในไม่กี่โรงเรียนในประเทศไทย ที่เป็นแหล่งผลิตบรรดาผู้นำทั้งวงการธุรกิจ และวงการรัฐบาลมาเป็นเวลานาน

ส่วนหนึ่งของความเข้มแข็งและจุดเด่นของอัสสัมชัญ คือความมีระเบียบวินัย ตลอดจนความแข็งแกร่งของหลักสูตรในด้านภาษาอังกฤษ

แววของการเป็นพ่อค้าของสุระที่จะกระโดดก้าวข้ามขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง จากการขายผ้าแถวสำเพ็ง ก็เริ่มที่การก่อตั้งสยามวิทยา โดยเป็นเจ้าของโรงเรียนสยามวิทยาขึ้นมา

วิธีการของสุระก็ไม่มีอะไรมากนัก สุระดึงตัวเอามาสเตอร์ (อาจารย์) ที่มีชื่อเสียงของอัสสัมชัญในขณะนั้นออกมา 10 คน แล้วให้หุ้นมาสเตอร์เหล่านั้นคนละ 50 หุ้น มูลค่าหุ้น หุ้นละ 10,000 บาท

หรือคนละ 500,000 บาท ฟรีๆ!! ส่วนอีก 50% ของหุ้นก็แบ่งถือระหว่างสุระกับน้องชายที่ชื่อกุรดิษฐ์ ถือกันคนละ 250 หุ้น

หลักการนี้เริ่มในปรัชญาที่ว่า สุระและกุรดิษฐ์ เป็นผู้ออกทุน ส่วนบรรดามาสเตอร์ทั้งหลายเป็นคนออกแรงและความคิดในการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น

ส่วนที่ดิน 1 แปลง ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนที่ซอยสุขุมวิท 62 พระโขนง 9 ปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นพวกบริษัทของกลุ่มสุระ และบางส่วนขายให้กับบริษัทไทยประสิทธิประกันภัยไป พี่ชายของสุระชื่อ นายสุดา จันทร์ซิงค์ เป็นผู้ซื้อมา

ในช่วงนั้นโรงเรียนสยามวิทยานับได้ว่าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อพอสมควร (เพราะดำเนินการสอนโดยบรรดาคณาจารย์จากอัสสัมชัญ) บรรดามาสเตอร์ทั้ง 10 คนที่เข้าไปร่วมครั้งแรกนั้น ก็ล้วนแต่เป็นบรรดาพวกที่มีลูกศิษย์ลูกหากันอย่างกว้างขวาง มีรายชื่อดังนี้

1. มาสเตอร์สนิท รัดจินดา

2. มาสเตอร์สมชาย ธัปนะพงศ์

3. มาสเตอร์แถม บงกชมาศ

4. มาสเตอร์สุทธิ ชลหาญ

5. มาสเตอร์ยงยุทธ อภิชาตะพงศ์ฯ

6. มาสเตอร์เตรียม เดชาเลิศ

7. มาสเตอร์เพียร ปิ่นทอง

8. มาสเตอร์สมศักดิ์ สุวรรณานนท์

9. มาสเตอร์เฉิด สุดารา

10. มาสเตอร์สุก สีวาลี

กิจการโรงเรียนเริ่มดำเนินการไปได้ประมาณ 5-6 ปี การ take over ของสุระก็เริ่มขึ้น โดยการเพิ่มทุนบริษัทสยามวิทยาจาก 10 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท ซึ่งในการเพิ่มทุนครั้งนี้ สุระได้นำเอาเครือญาติในครอบครัวเข้ามารับหุ้น และสัดส่วนในการถือหุ้นของพวกสุระก็เปลี่ยนจาก 50% ในปี 2510 เป็น 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ทันที และเมื่อได้ take over เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จันทร์ศรีชวาลาทั้งหลายจะออกมาโลดแล่นในวงการ ด้วยการเปลี่ยนใบบริคนห์สนธิให้ครอบจักรวาลหมด ทำทุกอย่างตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ ในปัจจุบันบรรดาผู้ถือหุ้นชุดแรกที่ริเริ่มดำเนินการบริษัทสยามวิทยา ทั้ง 10 คน ต่างก็ถูกลบหายจากบัญชีรายชื่อไปหมดแล้ว ยังคงเหลือแต่จันทร์ศรีชวาลาเท่านั้นที่ยังอยู่ต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us