Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 พฤษภาคม 2548
"ทีโอที" ยื่นมือแก้โทร.ดีแทค-AIS             
 


   
www resources

AIS Homepage
โฮมเพจ DTAC
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
Mobile Phone
ทีโอที, บมจ.




ทีโอทีตั้งโต๊ะเรียกผู้ให้บริการมือถือเจรจาเรื่องการโทร.ข้ามเครือข่ายภายใต้ หลักการต้องต่อผ่านทีโอทีเท่านั้นห้ามต่อตรง ด้านเอไอเอสผ่อนคลายท่าทียอมขยายเพิ่มวงจรเชื่อมโยงกับดีแทคเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนดีแทคชี้หากตัดท่อตรงกับเอไอเอสที่มีการใช้งาน 80% อาจทำให้เครือข่ายทีโอทีมีปัญหา

นายวิเชียร เมฆตระการ รองกรรมการผู้อำนวยการสายปฏิบัติงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิสหรือเอไอเอส กล่าวถึงการแก้ปัญหาโทร.ระหว่างเครือข่ายกับดีแทคว่า ในระยะสั้นเอไอเอสได้ทำการขยายวงจรเชื่อมโยงใน 4-5 ชุมสายทันที ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานได้เพิ่มขึ้นหลักหมื่นคน ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว เอไอเอสจะยึดตามสัญญาร่วมการงานกับบริษัททีโอทีเป็นหลักคือจะต้องเชื่อมโยง ผ่านเครือข่ายของทีโอที

"เอไอเอสยืนยันว่าตามสัญญาที่มีกับทีโอที ถือเป็นการผิดสัญญาหากมีการต่อเชื่อมโดยตรง ในขณะที่ดีแทคไม่มีการระบุในสัญญาไว้ ซึ่งการแก้ปัญหาอย่างถาวร เรามองว่าเอไอเอสต้องยึดสัญญาเป็นหลัก"

เขากล่าวว่าที่ผ่านมาดีแทคเคยขอให้เอไอเอสขยายวงจรต่อเชื่อมตรงมากถึง 500 วงจร ซึ่งเอไอเอสมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องลงทุนสูงขนาดนั้น รวมทั้งยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไม่เช่นนั้นก็จะต้องขยายกันต่อไปเรื่อยๆ จนไม่รู้จนถึงจุดไหน หรือความถูกต้องอยู่ที่ไหน การต่อผ่านทีโอทีถือเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเป็นแนวทางที่เห็นชอบร่วมกัน ซึ่งทีโอทีก็มองเห็นโอกาสธุรกิจในการให้บริการวงจรเชื่อมโยงด้วย

"ทีโอทีก็ถือเป็นการให้บริการลูกค้าคือเอไอเอส ที่จ่ายส่วนแบ่งรายได้ และดีแทคที่จ่ายค่าแอ็กเซ็ส ชาร์จ"

นอกจากนี้หากทีโอทีให้บริการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ เอไอเอสก็จะใช้บริการในลักษณะให้เป็นเคลียร์ริ่งเฮาส์ในเรื่องการเชื่อมโยงโครงข่าย โดยเฉพาะเมื่อมีการประกาศใช้ค่าเชื่อมโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเน็กชัน ชาร์จ เพราะหากเอไอเอสจะต้องไปเจรจากับแต่ละโอเปอเรเตอร์ในการต่อตรงก็จะเสียเวลามากกว่าการให้ทีโอทีให้บริการเบ็ดเสร็จ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อทีโอทีเป็นเคลียร์ริ่งเฮาส์ในการเชื่อมโยงแล้ว เอไอเอสก็ตัดการต่อตรงกับดีแทค อย่างไรก็ตามในขณะที่เรื่องอินเตอร์คอนเน็กชัน ชาร์จ ยังไม่มีความชัดเจนในวันนี้ ทำให้เอไอเอสต้องเล่นตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ตามสัญญาร่วมการงาน

"การขยายวงจรต่อเชื่อมเพิ่มพูดง่ายๆก็เพราะตอนนี้ท่อเต็ม และเมื่อสัญญาณมาถึงมีไฟเขียวไฟแดงมากไปหน่อย เราถึงขยายเพิ่ม แต่เมื่อทีโอทีขยายวงจรเชื่อมโยงแล้วเสร็จ เอไอเอสก็คงต้องต่อผ่านทีโอทีตามสัญญา"

ด้านนายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมดีแทคกล่าวว่าดีแทคมีการต่อตรงกับเอไอเอสคิดเป็นปริมาณ 80% และมีการต่อผ่านโครงข่ายของทีโอที ประมาณ 20% ซึ่งการต่อผ่านทีโอทีไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ในขณะที่จะมีปัญหาในการต่อตรงกับเอไอเอส ซึ่งจากอัตราโทรสำเร็จ 60% เหลือเพียง 4% เท่านั้น

"ดีแทคไม่อยากเรียกว่าเอไอเอสบล็อกสัญญาณ แต่อยากเรียกว่ากิดความแออัดในช่องสัญญาณมากกว่า"

เขากล่าวว่าการต่อตรงกับเอไอเอสเกิดขึ้นประมาณ 10 ปีที่แล้ว เนื่องจากทีโอทีไม่สามารถขยาย การต่อเชื่อมได้ทัน และในส่วนของดีแทคที่ทำสัญญา กับบริษัท กสทโทรคมนาคมก็ไม่ได้มีการผิดสัญญาแต่อย่างใด ซึ่งดีแทคไม่อยากให้มองปัญหานี้ในด้าน กม. แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากฟากเกตเวย์ของเอไอเอส

"หากให้ต่อผ่านทีโอทีทั้งหมดก็เหมือนผลักให้ทีโอทีลงทุนจำนวนมาก ซึ่งเมื่อมีการใช้อินเตอร์คอนเน็กชันชาร์จแล้ว ผู้ประกอบการก็จะต่อตรงกันหมด ที่ลงทุนไปก็จะสูญเปล่า"

นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมดีแทค กล่าวว่าหากใช้การต่อผ่านทีโอที 100% อาจทำใหัเครือข่ายของทีโอทีมีปัญหาและอาจจะลุกลามไปยังโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานได้ เนื่องจากโครงข่ายของทีโอที มีจำนวนช่องสัญญาณที่น้อย โดยไม่มีการขยายตัวช่องสัญญาณเพิ่มตามอัตราการขยายตัวของผู้ใช้บริการเหมือนกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ผู้ให้บริการได้มีการขยายจำนวนสัญญาณให้รองรับตามการเติบโตของผู้ใช้

"ตอนนี้คือภาวะฉุกเฉินของผู้บริโภค ถ้าทุกฝ่ายจะให้ปัญหาได้ข้อสรุปและเกิดความจริงใจในการแก้ปัญหา การประชุมร่วมกันครั้งเดียวทุกอย่างก็จบ ซึ่งตรงนี้ไม่มีอะไรที่ยุ่งยาก โดยที่ทีโอทีไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เพียงแต่เอไอเอสขยายช่องสัญญาณเพียงนิดหน่อย ซึ่งดีแทคก็ยินดีสนับสนุน หากเอไอเอสไม่ต้องการลงทุน"

นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอทีกล่าวว่าวันนี้ (17 พ.ค.) จะเรียกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกรายคือเอไอเอส ดีแทค ทีเอออเร้นจ์และฮัทช์ ประชุมร่วมกันเพื่อหารือเรื่องการเชื่อมต่อเครือข่าย เพื่อแก้ปัญหาการโทร.ข้ามเครือข่ายไม่ได้ โดยในเบื้องต้นจะกำหนดมาตรการเฉพาะออกมาหน้าก่อนหลังจากนั้นจึงจะดำเนินการให้เป็นมาตรการที่ถาวรต่อไปโดยเห็นว่าการที่บริษัทเอกชนต่อท่อสัญญาณโทรศัพท์มือถือตรงระหว่างกันเป็นเรื่องผิดสัญญาสัมปทาน ซึ่งทีโอทีไม่ทราบ เพราะเป็นเรื่องที่แอบทำกันเองและผู้ให้บริการทุกรายจะต้องยกเลิกการต่อท่อสัญญาณโดยตรงทั้งหมด แต่ต้องเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายทีโอทีเท่านั้น

"วันนี้คงได้ข้อสรุปถึงมาตรการต่างๆ ซึ่งผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องเชื่อมต่อผ่านทีโอทีเท่านั้น ซึ่งทีโอทีจะมีการลงทุนเพิ่มในส่วนนี้ ที่ผ่านมาเราไม่รับรู้การเชื่อมต่อสัญญาณโดยตรงแต่เชื่อว่าการต่อท่อตรงผู้ใช้บริการจะได้ประโยชน์ในการใช้งาน"

สำหรับปัญหาการโทร.ข้ามเครือข่ายเกิดขึ้นระหว่างโทรศัพท์มือถือกับโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ระหว่างโทรศัพท์พื้นฐานกับโทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์พื้นฐานกับโทรศัพท์พื้นฐานไม่เกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งมาตรการแก้ปัญหาถือว่าทีโอทีจะเป็นแกนกลางจัดการให้โดยที่จะไม่มีใครได้หรือเสียประโยชน์มากกว่ากัน และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us