Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545
อราทิสท์ แมเนจเม้นท์ ผู้ปั้นศิลปิน             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

GMM Grammy : The Idol Maker
แกรมมี่ "จูเนียร์" ศิลปินน้อย

   
search resources

อราทิสท์ แมเนจเม้นท์




ช่วงเวลาเย็นของทุกวัน ห้องโถงขนาดใหญ่บนชั้น 29 ของอาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะเริ่มคึกคักขึ้นอีกครั้ง จากการมารวมกลุ่มของผู้ที่ถูกคัดเลือก และนี่คือประตูของการเดินไปสู่การเป็น "นักร้อง" กำลังจะเปิดฉากขึ้นแล้ว

เส้นทางของการไปสู่การเป็นนักร้อง เริ่มต้นที่นี่....

ห้องโถงขนาดใหญ่ ปูด้วยพื้นไม้ขัดเงาอย่างดี มีราวสแตนเลสกลมเงาวับพาดอยู่รอบกำแพง สำหรับเป็นราวที่ให้เหล่าศิลปินฝึกหัดตัวน้อย ใช้ฝึกซ้อมบทเรียนการเต้นอย่างเป็นจังหวะ

ในขณะที่ห้องถัดไป เด็กวัยรุ่นกลุ่ม ใหญ่ก็กำลังผลัดกันเล่าเรื่องชีวิตของตัวเองให้เพื่อนๆ ในกลุ่มฟัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าถึงบุคลิกของศิลปินที่เป็นข้อมูล ที่จะถูกนำไปใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราวให้เป็นบทเพลง

ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของกระบวนการ "ปั้น" นักร้อง ของบริษัท Aratist Management ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาในปี 2537 เพื่อเป็นประตูด่านแรกของการคัดสรรนักร้องที่ต้องการทำอย่างเป็นระบบ

เมื่อหัวใจสำคัญของธุรกิจเพลงอยู่ที่ "คน" กระบวนการ "ปั้น" นักร้อง เป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจ

กระบวนการ "ปั้น" นักร้องของอราทิสท์ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนที่เรียกว่า "recruit" ซึ่งจะมีตั้งแต่การเปิดรับสมัคร ถือ demo tape เข้ามากรอกใบสมัคร และการส่ง "แมวมอง" ออกไปหาจากภายนอกตามสถาบันการศึกษา แหล่งบันเทิง ร้านอาหาร ผับ โรงเรียนสอนดนตรี

ในแต่ละวันจะมีผู้ถือใบสมัครไม่ต่ำกว่า 20 ราย ไม่รวมที่แมวมองออกสรรหาจากภายนอก demo tape จึงเป็นด่านแรกของการคัดเลือก

จากนั้นเมื่อเห็นว่าคนไหนมีแววของ "ศิลปิน" จะเรียกเข้ามาให้ทดสอบร้องเพลง และสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาจากตัวตน การร้องเพลง และบุคลิกภาพ

"ขั้นแรกนี้เราจะดูจังหวะว่าถูกตัวโน้ตหรือเปล่า ถ้าโอเค ก็เรียกมาทดสอบที่ บริษัท ให้ร้องสดๆ ให้ดู และอีกส่วนจะดูจากการพูดคุยกับเขา เพราะบางคนอาจร้องเพลงไม่ดี แต่เขามีเรื่องเยอะ เราอยากได้นักเล่าเรื่อง ศิลปินเราต้องน่าเชื่อถือ" ภานุวัฒน์ ศีลแดนจันทร์ Artist Affair & Project Officer บริษัทอราทิสท์ แมเนจเม้นท์

หน้าที่ของเขา นอกจากจะให้คำปรึกษาการเป็นศิลปินฝึกหัดก่อนจะเป็นศิลปิน และเขายังเป็นผู้สอนหลักสูตรใหม่ "ศิลปะการเป็นศิลปิน"

หลังจากผ่านการคัดเลือกในเบื้องต้น หรือเรียกว่า (rough test) ได้ผู้ที่พอมีแววเป็นศิลปิน ซึ่งจะเหลือผู้ที่ผ่านการคัดเลือกประมาณ 20 คน จากผู้สมัครพันคน ผู้ผ่านการคัดเลือกทั้ง 20 คน จะต้องมีการเซ็นสัญญาเป็นนักร้องฝึกหัด และต้องเข้าสู่กระบวนการ ที่เรียกว่า develop เพื่อฝึกพื้นฐาน

ดังนั้นไม่ว่าการรับสมัครนักร้องจะมาจากส่วนไหนก็ตาม จากค่ายเทปเพลงที่รับมาเอง ก็จะต้องส่งไปให้อราทิสท์ เพื่อฝึกอบรมพื้นฐานก่อน

หลักสูตรของการ develop ประกอบด้วยการฝึกทักษะในการร้องเพลง และฝึกการเต้น และหลักสูตรศิลปะการเป็นศิลปิน จะเป็นลักษณะของการปูพื้นฐาน จะใช้เวลาเรียนในช่วงเย็น ตั้งแต่ 5 โมงเย็น ถึง 1 ทุ่ม อาทิตย์ละ 2 ครั้ง

"หลังจากผ่านการอบรมขั้นพื้นฐาน ซึ่งแต่ละคนจะมีระยะเวลาการฝึกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าขาดพื้นฐานด้านไหน จะมีคละกันไปตั้งแต่ร้องเพลงดี แต่บุคลิกไม่ดี หรือหล่อสวยแต่ร้องเพลงไม่เก่ง"

จากนั้นเมื่อเห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว จะส่งไปทำ screen test เพื่อให้ผู้บริหารพิจารณาคัดเลือกอีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้นกว่าจะมาถึงขั้นตอนของ screen test จะต้องผ่านทั้งหลักสูตรการอบรมพื้นฐาน และหาสไตล์ของนักร้องฝึกหัด จนเห็นเป็นโครงร่างเห็นสไตล์ของนักร้อง เรียกว่าเข้าใกล้ความเป็นนักร้องเข้าไประดับหนึ่งแล้ว

"ขั้นนี้จะมี costume มีสไตลิสต์เข้ามา จะเห็นสไตล์ของศิลปินแล้ว เรียกว่าจูน จนเห็นเค้าโครงแล้ว จากนั้นจึงจะส่งไป ทำ screen test เพื่อให้ผู้บริหารพิจารณาต่อไป" เกศรา เพ็งศิริ Artist Development Manager เธอจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกว่า นักร้องฝึกหัดคนใด ที่พัฒนาจนแน่ใจแล้วว่าพร้อมที่จะ screen test

ขั้นต่อไป ก็จะเป็นเรื่องของทีมผู้บริหารระดับสูง ซึ่งนำโดยไพบูลย์ ดำรงชัย ธรรม, อภิรักษ์ โกษะโยธิน, บุษบา ดาวเรือง ฯลฯ ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า นักร้องฝึกหัดที่ส่งมาจะส่งเข้าไปค่ายเทปเพลงค่ายใด หรือจะต้องส่งกลับมาฝึกหัดต่อ จนกว่าจะพร้อมสำหรับการเป็นนักร้อง

"พอมาถึงขั้นตอน screen test จาก 20 คน ก็อาจจะเหลืออยู่ 5-6 คน บางคนอาจต้องใช้เวลา 2-3 ปี กว่าจะค้นหาตัวตนเจอ และขึ้นอยู่กับค่ายเทปด้วยว่ามีนโยบายอย่างไร เวลานี้มีกี่เบอร์แล้ว มีว่างเสียบพอดีหรือเปล่า ที่อราทิสท์ให้โอกาส 200% ขึ้นอยู่กับกระบวนการเหมือนกับเอ็นทรานซ์ ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะสอบผ่านหรือเปล่า"

สำหรับผู้ที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือ ไม่เข้าข่ายการเป็น "นักร้อง" ก็จะส่งต่อไป ส่วนที่เรียกว่า โมเดลลิ่ง ที่จะส่งไปเป็นพิธีกร เล่นละคร หรือเล่นหนัง เพื่อป้อนให้กับธุรกิจในเครือของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และหน่วยงานภายนอกที่ติดต่อกันเป็นประจำ

"บางคนร้องเพลงไม่ได้ ก็ไปเล่นหนังก่อน แล้วค่อยกลับมาใหม่ มาออกเทปก็ได้" เกศราบอก

โจทย์ของอราทิสท์จะขึ้นอยู่กับทิศทางและความต้องการของตลาด ความนิยมในเรื่องของแนวเพลง ที่เปลี่ยนจากนักร้องที่เน้นความสวยความหล่อ ประเภท "ฟังสบายหูดูสบายตา" ไปสู่การหานักร้อง ประเภท "ตัวจริงเสียงจริง" การคัดเลือกและฝึกนักร้องจะต้องถูกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

"นั่นหมายความว่า นักร้องไม่จำเป็นต้องสวยหล่อ แต่ต้องเล่าเรื่องเป็น อย่างไมค์ ภิรมย์พร ที่เล่าเรื่องความจนจริง จนคนจนทั่วประเทศแทงใจ หรือพลพล เขาไม่ได้หล่อ แต่เล่าเรื่องเป็นก็ประสบความสำเร็จได้"

หลักสูตร "ศิลปะการเป็นศิลปิน" เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จะมุ่งเน้นความเข้าใจในเนื้อหา และการตีความบทเพลง ซึ่งเป็นการพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง นอกเหนือจากการฝึกให้ร้องเพลงเป็น และเต้นรำได้เหมือนอย่างที่แล้วมา

การปลูกฝังในเรื่องของทัศนคติ ความรู้ในเชิงกว้างทั้งในแง่ทิศทางขององค์กร รู้จักคนในองค์กร หรือขั้นตอนและกระบวน การผลิต การทำตลาด และโปรโมต จะถูกเพิ่มเติมลงไปในหลักสูตร

กระบวนการคัดสรร และฝึกอบรมของอราทิสต์ นอกจากจะเป็นความต่อเนื่องในการป้อนนักร้องเข้าสู่ตลาดได้แล้ว ยังทำให้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สามารถ "ปั้น" นักร้องได้อย่างที่ต้องการจากกระบวนการฝึกอบรม ที่หล่อหลอมทั้งพื้นฐานการร้องเพลง การเต้น รวมถึงวัฒนธรรมขององค์กร

และนี่ก็คือ เส้นทางของการปั้นนักร้องของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่จะต้องเดินควบคู่กันไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us