Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2545
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม "ผมเป็นคนที่รวยที่สุดในตลาดหุ้น"             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

GMM Grammy : The Idol Maker

   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
Musics




ไพบูลย์ ไม่เพียงแต่นำเสียงเพลงกับธุรกิจเดินไปด้วยกันได้ เมื่อเจอมรสุมวิกฤติเศรษฐกิจ เขาก็ทำให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผ่านพ้นมาได้ด้วยดี

หากพูดว่าบุคคลจะมีความสำเร็จได้ จะต้องมีทั้งเก่งและเฮง ไพบูลย์ ก็คงมีทั้งสองอย่าง

ไพบูลย์เป็นศิษย์เก่าคณะนิเทศ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 5 ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ทั้งที่สมัยเรียน ได้ชื่อว่าเป็นนักกิจกรรมคนหนึ่งของรุ่น

หลังเรียนจบ เริ่มงานเป็นก๊อบปี้ ไรเตอร์ ที่บริษัทเอเยนซี่โฆษณา ฟาร์อีสท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง เวลานั้นเป็นเพียง inhouse agency ภายในสหพัฒนพิบูลไต่เต้าจนได้ เป็น creative director เขาก็ใช้เวลาว่างในช่วงกลางคืนลงขันกับเพื่อนเปิดบริษัท ชื่อ MMC ทำนิตยสารแม่ลูก

จากนั้นก็มาบุกเบิกก่อตั้ง พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง ที่นอกจากจะเป็นแหล่งบ่มเพาะ ความรู้ด้านการตลาดให้กับเขา ยังรวมไปถึงเรื่องราวของการทำธุรกิจเพลง

"เราเป็นเจ้าของสินค้า คนก็มาขอสปอนเซอร์จากผม ปรากฏว่าคนทำทีวี วิทยุ ที่มาขอโฆษณาจากผมรวยหมด ส่วนเราเป็นเจ้าของสินค้า เรามาดูอย่างนี้ก็น่าสนใจ"

ระหว่างนั้นเขาก็ได้พบกับวิโรจน์ ปรีชาว่องไวกุล เจ้าของออนป้า ซึ่งโด่งดังจากวงดนตรีแกรนด์เอ็กซ์ที่ สร้างความสำเร็จอย่างสูงให้กับออนป้า นอกจากจะเห็นโอกาสที่จะทำเงินจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ มีมาก แล้ว ยังได้เห็นการทำงาน และเรียนรู้ธุรกิจเพลง และไพบูลย์ ก็มองเห็นโอกาสจากตลาดเพลงของเมืองไทย ที่เวลานั้นยังใหม่มาก มีผู้ทำธุรกิจไม่ถึง 10 ราย ส่วนใหญ่ก็ทำในรูปแบบของเถ้าแก่

"ผมก็มาคิดว่า ผมพอสู้ได้ ถ้ารู้จักวางแผน วางโครงสร้างน่าจะไปได้ ผมไปเทียบเคียงกับความรู้ 12 ปี ที่ผมมีในสินค้าอุปโภคบริโภค ผมรู้จักวิธีขาย วิธีโฆษณา ผมแค่เปลี่ยนสินค้า และยิ่งผมทำรายการ ทีวีด้วยแล้ว ทำให้รู้ศักยภาพของมัน"

ไพบูลย์ก่อตั้งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ขึ้นในปี 2526 ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 5 แสนบาท เริ่มธุรกิจแรกด้วย การทำรายการเพลงในโทรทัศน์ รับจ้างโปรโมตราย การเพลงให้กับค่ายเทปทุกแห่ง ทำมิวสิก วิดีโอ จัดคอนเสิร์ต มีรายการเพลงชื่อ คืนแห่งดวงดาว ถนนสายดนตรี และเป็น เอเยนซี่โฆษณา

หากสุรพล สมบัติเจริญ ได้ชื่อว่าโตมาจากวิทยุทรานซิสเตอร์ ไพบูลย์ได้ชื่อว่ามาจากโทรทัศน์ ก็คงไม่ผิดนัก

ยุคของสุรพล เป็นยุคที่เมืองไทยเริ่ม มีวิทยุทรานซิสเตอร์ ทำให้บทเพลงของสุรพลแทนที่จะอยู่แค่เวทีการแสดงที่ต้องซื้อตั๋วเข้าฟัง สามารถแพร่ผ่านเครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์สร้างความรับรู้ได้มากขึ้น

แต่ยุคของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซึ่งมีนักร้องในเครือมากมายยิ่งกว่านั้น เป็นยุคของพัฒนาการสูงสุดของโทรทัศน์ ที่มีการขยายเครือข่ายการส่งสัญญาณครอบคลุมไปทั่ว ประเทศ และยุคที่วิทยุ AM และ FM Sterio ถูกพัฒนาอย่างดีจนมีความสมบูรณ์แบบ ทั้งเทคโนโลยีและเครือข่ายที่ครอบคลุมไปทั่วหัวระแหง

จากธุรกิจเพลงที่เป็นแค่งานเสริม ไพบูลย์ใช้ความรู้ประสบการณ์ด้านการจัดการ วางแผน ทีมงานด้านเพลง ผสมผสานเข้ากับความรู้ด้านการตลาด และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ อย่างเห็นผล จึงเป็นแรงหนุนส่งให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เติบโตขึ้นมาในเวลาอันรวดเร็ว

ข้อต่อที่สำคัญของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก็คือ การเข้าระดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่สำหรับตัวเขาเอง ยังเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ได้แตกขยายอาณาจักรธุรกิจในเวลาต่อมา

แต่นั่นอาจไม่เท่ากับการที่เขาสามารถผ่านพ้นเหตุการณ์สำคัญมาแล้ว 2 ครั้ง

เหตุการณ์แรกคือ การเสียชีวิตของเรวัต พุทธินันทน์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนสำคัญ ต้องยอมรับว่า เรวัตเป็นกำลังหลักของงานด้านครีเอทีฟ ขณะที่ไพบูลย์เป็นหัวเรือใหญ่ในเรื่องของการตลาด การขาดเรวัตย่อมกระทบต่อครีเอทีฟ

แต่ด้วยโครงสร้างของธุรกิจที่ถูกวางไว้เป็นระบบทีมงานที่มีอยู่ยังเป็นกลุ่มเดิม บวกกับการที่ไพบูลย์เป็นผู้ก่อตั้ง และคลุกคลีกับครีเอทีฟและนักร้อง บารมีเหล่านี้เองทำให้การรับช่วงภารกิจด้านนี้ต่อจากเรวัตเดินต่อไปได้ด้วยดี

เหตุการณ์ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในชีวิตเขาก็คือ การนำพาบริษัทพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ

"ผมเป็นคนใช้ชีวิตระมัดระวังมาก ไม่ชอบเสี่ยงกับอะไร ทำทุกอย่างต้องมองเห็น อย่างเรื่องการใช้เงิน ผมไม่เคยกู้เงินเลย ไม่ใช่ว่ารวย แต่ทำเท่าที่มี ผมไม่เคยติดค้างเงินค่าเช่า เวลาสถานีวิทยุ โทรทัศน์ ผมก็ทำไปเรื่อยๆ"

จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนรู้จักในแวดวงธุรกิจมาทักเขาว่า ในปี 2539 ซึ่งเป็นช่วงเศรษฐกิจยังดีอยู่ บอกปีหน้าเศรษฐกิจจะพัง เพราะฟองสบู่แตก

ไพบูลย์เริ่มศึกษาและสังเกตสภาพแวดล้อมรอบข้างตัวเขา และก็เริ่มพบว่า หลายอย่างเริ่มเปลี่ยนไป การก่อสร้างที่เคยมีตลอดเวลาเริ่มหยุด ยี่ปั๊วเริ่มหนี กระแสข่าวเริ่มมาเป็นกระสาย คนใกล้ชิดที่ทำงานไฟแนนซ์ เริ่มมาเตือน

แม้ว่าสถานการณ์ยังไม่ปรากฏ นักธุรกิจอีกหลายคนยังไม่ไหวตัว แต่ด้วยความเป็นคนไม่ชอบเสี่ยง ไพบูลย์จึงรีบตัดสินใจรัดเข็มขัด ตัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ ทั้งพนักงานตัดทิ้งธุรกิจไม่ทำเงิน คืนเวลาสถานีโทรทัศน์

"ตอนนั้นผมบอกเลย อะไรที่ไม่ชัวร์คืนให้หมด เอาแต่สัมภาระที่จำเป็น ประหยัดทุกอย่าง ผมคืนเวลารายการทีวี เวลานั้นใครขอได้ก็โชคดีแล้ว พลเอกแป้ง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถานีบอก แน่ใจแล้วหรือ คุณไม่เอา มีคนอื่นเอาอีกเยอะนะ ผมบอกไม่อยากติดเงิน ผมทำเท่านี้พอ"

ช่วงนั้นจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ คืนเวลาให้กับสถานีไปได้ 30% พร้อมกับการแตกขยายโครงสร้างธุรกิจออกไป

ขณะเดียวกันไพบูลย์ก็หันมาแก้ปัญหาเรื่องธุรกิจเพลงที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ โจทย์ของเขา ก็คือกำลังซื้อของลูกค้าลดลง การขายได้อัลบั้มละ 1 ล้านม้วน เหมือนกับในอดีตเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ไพบูลย์จึงหันมาใช้ทฤษฎีใหม่ภายใต้หลักการง่ายๆ คือ เพิ่มจำนวนการ ออกอัลบั้มให้มากขึ้น ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ลดลง แต่ใช้งบโปรโมชั่นเท่าเดิม จากที่เคยออกปีละ 20 กว่าชุดเพิ่มเป็น 100 อัลบั้ม

โครงสร้างธุรกิจเพลง ก็คือ ต้นทุนในการผลิตเทป เพลงคงที่ เป็นทีมงานเดิม ทั้งนักแต่งเพิ่ม แต่ไปสูงที่งบโปรโมต และนี่เองทำให้เขาทำสวนทางกับช่วงภาวะเศรษฐกิจปกติ สวนทางกับคู่แข่งที่ล้มหายตายจากไป นั่นคือ การเพิ่มจำนวนอัลบั้มมากขึ้น

วิธีการในลักษณะนี้ นอกจากจะขยายส่วนแบ่งตลาด จากคู่แข่งที่ล้มหายไปแล้ว เท่ากับเป็นการกระจายความเสี่ยง หากชุดใดชุดหนึ่งประสบความสำเร็จ ก็จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด

"ผมมาวิเคราะห์ มาสเตอร์เทปต้นทุนแค่ล้านเดียว ค่าโปรโมตตก 5 ล้าน 10 ล้าน ถ้าเพิ่มจำนวนเทปมากขึ้น ไม่ต้องขายถึงล้าน เอาแค่หลักแสน แล้วลดค่าโปรโมตลดลง ยอดขายน่าจะดีขึ้น"

ผลจากการตัดสินใจที่ถูกต้องของไพบูลย์ในครั้งนั้น ไม่เพียงทำให้รักษายอดขายได้ แต่ส่งผลให้รายได้รวมเพิ่ม มากกว่าในช่วงปีเศรษฐกิจดีๆ 18-19% แม้ว่ากำไรจะลดลง แต่ไม่ได้รับผลกระทบ

"พอหลังวันที่ 2 กรกฎา พายุฝนมารุนแรงมาก ทุกอย่างโครมคราม ผมนั่งมองหลายคนหายไปเกือบหมด ผมกลายเป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดในประเทศไทยในเรื่องตลาดหุ้น"

ภาพของไพบูลย์ในเวลานั้นจึงดูดีมากๆ ในสายตาของ นักธุรกิจด้วยกัน รวมทั้งธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ก็กลาย เป็นธุรกิจที่ถูกจับตาขึ้นมา

การผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากผู้บริหาร ส่วนใหญ่ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นลูกน้องที่ร่วมทำงาน และบุกเบิกธุรกิจกับไพบูลย์มาตั้งแต่ต้น การตัดสินใจของเขาจึงได้รับ ความร่วมมือเป็นอย่างดี

"ที่นี่มีข้อดีอยู่อย่าง ตรงที่ว่า หันซ้าย หันขวาได้พอสมควร พูดกันรู้เรื่องมีเหตุผล ไม่ถึงกับเป็นพวกอีโก้สูง ผมบอกเล็ก (บุษบา ดาวเรือง) ทำให้น้องเขาดูเป็นตัวอย่าง ทำเทปไม่ต้อง 8 เดือน 3 เดือนก็ทำได้"

ด้วยความที่พลิกฟื้นได้เร็วกว่าคนอื่น ทำให้ไพบูลย์แปรวิกฤติให้เป็นโอกาส เขาใช้ช่วงเวลานั้นบุกขยายธุรกิจไปไต้หวัน ที่จัดว่าเป็นสนามทดสอบแรกของเขา

"ต้องไม่ลืมว่าธุรกิจนี้เป็นเรื่องของคน ถ้าเศรษฐกิจดีจะเปิดลำบาก คนหายาก ต้นทุนสูง ผมเลยไปเปิดช่วงเศรษฐกิจซบเซา คนหาง่าย แต่ก็มีความเสี่ยงในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ ผมเลยถือเป็นโรงเรียน"

ไพบูลย์ใช้เวลาส่วนใหญ่ทุ่มไปกับการบุกตลาดเพลงในไต้หวัน จนมีนักร้องในสังกัด 20 คน แต่การทำตลาดไม่ใช่เรื่อง ง่าย เนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ยังประสบปัญหาขาดทุน 200 ล้านบาท

แต่เดิมเขาต้องบินไปทุกเดือน อยู่คราวละ 4-5 วัน แต่ 9 เดือนแล้วที่เขาว่าง เว้นการเดินทางไปไต้หวัน มาจากความเชื่อที่ว่า เขาจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ จากค่าใช้จ่าย ลดจำนวนการออกเทปลงเหลือ 7 ชุด จากที่เคยออก 20 ชุดต่อปี

"แต่ปีนี้ผมเชื่อว่าเอาอยู่แล้ว จะ takeoff ได้แล้ว เช่นเดียวกับในไทย ปีนี้ ผมเชื่อว่ายอดขายจะสูงสุด"

ทุกวันนี้ ไพบูลย์หันกลับมาให้น้ำหนักไปกับการบริหารงานด้านครีเอทีฟ ส่วนการบริหารงานทั่วไปมอบหมายให้อภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ดูแล

"เป็นงานที่ผมถนัดกว่า และผมกำลังคิดหาโครงสร้าง หาเด็กจบใหม่ๆ มาเป็น new generation หาคนเหมือนไพบูลย์ เหมือนเต๋อ เหมือนเล็ก เหมือนอ๊อด เพราะเราคิดว่าเราสำเร็จ ก็เลยต้องหาโมเดลที่จะมาเชื่อมโยงได้"

ถึงแม้ว่าไพบูลย์จะนำพาจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ฝ่ามรสุมมาได้หลายต่อหลายครั้งก็ตาม แต่ธุรกิจเพลงในเวลานี้ไม่เหมือนกับ 20 ปีที่แล้ว ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ระบบสื่อสาร ความบันเทิงรูปแบบใหม่ที่เข้ามาตลอด ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และนี่ก็คือโจทย์ของเขา

การกลับมาดูแลงานครีเอทีฟ ไพบูลย์รู้ดีว่าใจกลางของธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องของ back office หรือช่องทางจัดจำหน่าย ซึ่งสามารถหามืออาชีพเข้ามาสานต่อได้ แต่งานครีเอทีฟ นั้นเป็นเรื่องของคนและความคิดสร้างสรรค์ ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ หลังจากเรวัตแล้ว ผู้ที่จะมีบารมีในการดูแลงานด้านคนในด้านครีเอทีฟได้มากที่สุด ก็คือ ไพบูลย์

การประสบความสำเร็จจากการเข้าถึงรสนิยมของผู้คน ผ่านธุรกิจเพลง มาได้ถึง 2 ทศวรรษ ทำให้ความคิดฝันของไพบูลย์ ถูกต่อขยายออกไปอีกมาก เขาเชื่อว่า จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะขยับจากธุรกิจเพลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ไปเป็นธุรกิจมีเดีย มีเคเบิลทีวี โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิดีโอเกม ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย ไปจนถึงเชนสโตร์ สวนสนุก และกีฬา หลายอย่างในนี้ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ไพบูลย์มองว่าโครงสร้างองค์กรของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะรองรับกับเป้าหมายก้าวต่อไป ยังต้องพึ่งเขามากเกินไป

"ผมหาคนมาเกือบ 10 ปีแล้ว ผมรู้สึกว่าโครงสร้างที่มีอยู่เวลานี้ผมยังไม่สบายใจ นัก business model เวลานี้ยังไม่แข็งแรงพอ ยังต้องพึ่งผมมากเกินไป"

สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดในขณะนี้คือ การมีทีมงานใหม่ๆ มาสานธุรกิจเดิมให้คงอยู่ต่อไป ขณะเดียวกันก็จะใช้กำลังคนที่มีอยู่บุกเบิกไปในธุรกิจบันเทิงใหม่ๆ

และนี่คือเป้าหมายที่ไพบูลย์ยังคงต้องทำต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us