|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"ศุภชัย" ชี้ กทช. สามารถใช้บทบาทกำกับดูแลธุรกิจโทรคมนาคมมาเคลียร์ปัญหาพิพาทที่ทรูมีกับทีโอที ซึ่งทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมเดินหน้าไปได้ ซึ่งทรูพร้อมเจรจาเพื่อยุติปัญหา ย้ำประเด็นแปรสัญญาหากไม่มีข้อยุติ ใบอนุญาตที่ออกให้ทรูต้องเหมือนทีโอทีที่สามารถขายช่วงบริการต่อได้ทั้งเลขหมายและความถี่
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงกรณีศาลปกครองตัดสินให้บริษัท ทีโอที ระงับการใช้อำนาจในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมตามที่บริษัททีทีแอนด์ทียื่นฟ้อง และให้อยู่ในอำนาจกำกับดูแลของ กทช.ว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีและเห็นถึงโอกาสที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะเดินหน้าต่อ หลังอยู่ในภาวะชะลอตัวมาหลายปี เพราะคำตัดสินของศาลปกครอง จะยิ่งสร้างความมั่นใจให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) มีอำนาจในการกำกับดูแลอย่างเต็มที่
"กทช.จะต้องดำเนินบทบาทตามอำนาจที่มีอยู่ นอกจากนี้บทบาทของทีโอทีก็จะต้องเปลี่ยนไปถึงแม้จะมีสัญญาร่วมการงานอยู่ในมือก็ตาม"
ทั้งนี้ คำตัดสินของศาลปกครองยังระบุว่าข้อตกลงใดที่มิใช่การใช้อำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมของ กทช. ข้อตกลงนั้นยังมีผลผูกพันคู่สัญญาที่จะต้องปฏิบัติตามต่อไป ซึ่งในทางปฏิบัติทั้งทีโอทีและบริษัททีทีแอนด์ทีควรไปหารือกับ กทช. เพื่อให้ได้แนวทางในการปฏิบัติว่าข้อตกลงใดในสัญญาร่วมการงานเป็นการใช้อำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมที่เป็นอำนาจของ กทช.
จากประเด็นดังกล่าวเขาเห็นว่าหาก กทช. ต้องการจะใช้บทบาทตามอำนาจที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือให้กิจการโทรคมนาคมในภาพรวมเดินหน้าต่อไปได้ ด้วยการเข้าไปช่วยคลี่คลายปัญหาข้อพิพาทหลายอย่างก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ โดยกลุ่มทรูกับทีโอที มีข้อพิพาทกันหลายเรื่องที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนอนุญาโตตุลาการ อย่างเช่น 1. เรื่องค่าแอ็กเซสชาร์จ ที่ทรูฟ้องขอส่วนแบ่งจากทีโอที 2. กรณีบริการโทรศัพท์ราคาประหยัด วาย-เทล 1234 ซึ่งที่ผ่านมาทีโอทีสามารถให้บริการได้ แต่ทรูทำไม่ได้ 3. ในเรื่องการโยกย้ายเลขหมายหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่ซึ่งมีความต้องการมากกว่า ก็ไม่สามารถทำได้
"คำตัดสินครั้งนี้มีประโยชน์ต่อเอกชน ต่อผู้ใช้บริการ และต่อประชาชนด้วยและยังตอกย้ำ กทช. ถึงสิทธิอำนาจและบทบาทตัวเองด้วย"
นายศุภชัยกล่าวว่า หาก กทช. อ้างว่ากำลังอยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม ทำให้ไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างเต็มที่ และควรจะให้แผนแม่บทแล้วเสร็จก่อน เอกชนก็ตั้งความหวังว่าอยากให้แผนแม่บทเสร็จโดยเร็วเพราะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมมาก นอกจากนี้ในเรื่องอำนาจและบทบาทของ กทช. ยังจะทำให้การแปรสัญญาสัมปทาน เป็นเรื่องที่จะตามมาในอนาคต เนื่องจากนโยบายของรัฐ, การเกิดขึ้นของ กทช. ซึ่งจะนำไปสู่การเปิดเสรีธุรกิจโทรคมนาคม
แต่ในขณะที่จุดยืนของทีโอทีที่ไม่ต้องการแปรสัญญาก็ถือเป็นจุดยืนที่ถูก ที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ขององค์กร ทำให้ใบอนุญาตที่ กทช. จะออกมาให้ทีโอที ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่จะออกให้ผู้ประกอบการรายอื่นนั้น หากไม่เกิดการแปรสัญญา ใบอนุญาตดังกล่าวก็จะเป็นลักษณะการขายช่วงให้ผู้ประกอบการรายอื่นให้บริการต่อไปได้ด้วย ซึ่งเหมือนเป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ ทั้งๆ ที่มี กทช. แล้ว และถ้าหากไม่แปรสัญญาใบอนุญาตที่ทรูจะได้รับก็จะต้องเป็นลักษณะเดียวกับทีโอทีคือสามารถให้เช่าช่วงเพื่อให้บริการต่อไปด้วย ทั้งด้านเลขหมายหรือคลื่นความถี่
"กรณีพิพาทกับทีโอที ทรูพร้อมประนีประนอมกับทีโอทีด้วยการถอยหลังกันมาคนละก้าวแต่สิ่งที่อยู่ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นสิ่งที่บริษัทเห็นว่ามีความจำเป็นและยากที่จะเข้าใจตรงกันได้"
นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารกฎหมายทรู กล่าวว่า ที่ผ่านมาทรูก็มีการพิจารณาในเรื่องบทบาทกำกับดูแลของทีโอทีมาระยะหนึ่งว่าอันไหนทำได้ก็ต้องทำ เช่น การส่งส่วนแบ่งรายได้ ตามสัญญาร่วมการงาน แต่การกำกับอีกหลายรายการที่นอกเหนือบทบาทบริษัทก็จะไม่ให้ใช้อำนาจกำกับดูแล
ด้านนายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีกล่าวก่อนหน้านี้ถึงกรณีพิพาทกับเอกชน ว่าถือเป็นเรื่องธรรมดาขององค์กรใหญ่ที่มีหลายคู่สัญญา แต่นโยบายทีโอทีก็พยายามเคลียร์ให้หมด หรือให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้วิธีประนีประนอม อย่างกรณีที่กลุ่ม ทรู คอร์ปอเรชั่น ฟ้องทีโอที และทีโอทีฟ้องทรูมีประมาณ 16-17 คดี ซึ่งจะมีการเจรจากับนายศุภชัย เจียรวนนท์ โดยจะเน้นการเจรจาใน เชิงสร้างสรรค์ เช่น เรื่องไหนที่พอจะยอมกันได้ หรือถอนฟ้องได้
|
|
 |
|
|