Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 พฤษภาคม 2548
อัดซีพีโยนบาปเกษตรกร แฉซิกแซ็กกล้ายางห่วย             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
โฮมเพจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร
Agriculture
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์




"สุดารัตน์" โต้ "ซีพี" โทษธรรมชาติเหมือนโยนความผิดให้กระทรวงเกษตรฯ ส.ว.ระยองเหน็บปลูกผักขายรวยกว่าถ้าต้องมารอรดน้ำให้กล้ายาง นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางฯ ตอกกลับกรมวิชาการฯ-ซีพี แก้ตัวน้ำขุ่นๆ โยนบาปให้เกษตรกร ระบุเคยท้วงหลายครั้งแล้วว่าซีพีไม่รู้เรื่องยางแต่ไม่ฟัง ขณะที่ ส.ส.ไทยรักไทยช่วยแฉ มีการนำกล้ายางที่ถูกคัดทิ้งที่พะเยามาปลูกที่นครสวรรค์-กำแพงเพชร "เนวิน" หอบหลักฐาน คำสั่ง "สมศักดิ์-วันนอร์" ปัดไม่เกี่ยวข้อง สกย.เรียกประชุม ผอ.ทั่วประเทศ เตรียมรับมือประชุมใหญ่ผู้พัวพันวันนี้

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว. เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณี นายสุเมธ ภิญโญสนิท กรรมการผู้จัดการเขตประเทศไทย บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดภัณฑ์ จำกัด ระบุสาเหตุการตายของกล้ายาง มาจากระบบชลประทานของประเทศไทยล้าหลังว่า หากซีพีอ้างอย่างนี้ประเทศไทยก็คงปลูกอะไรไม่ได้เลยในฤดูแล้ง ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้น หากโทษแต่ธรรมชาติ กระทรวงเกษตรฯ ก็คงจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ส.ว.ระยอง ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์วุฒิสภากล่าวว่า การปลูกยางควรมีความพร้อมใน 3 ปีแรก ทั้งต้นพันธุ์ ทุน และแรงงาน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแม้จะตั้งใจทำดีจริงแต่ถ้าไม่มีฝน ก็ต้องชะลอไว้ก่อน ไม่ใช่แค่กล้ายางแต่หมายถึงพืชทุกชนิดด้วย

นายนิวัฒน์กล่าวว่า ที่พูดกันว่ากล้ายางตายเพราะชลประทานไม่ดีพอนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะยางเป็นพืชที่ไม่ต้องอาศัยชลประทาน

"ถ้าต้องมาคอยรดน้ำแล้วได้แปลงละหมื่นกว่าบาท สู้ไปปลูกผักไม่ดีกว่าหรือ ปีหนึ่งปลูกได้ตั้ง 11 รอบรวยกว่ากันเยอะ แต่ที่เกษตรกรมาปลูกยางเพราะเขาหาน้ำรดไม่ได้"

ยันซีพีไม่รู้เรื่องยาง

ขณะที่นายสมศักดิ์ พงศ์ภัณฑารักษ์ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยางที่เกษตรกรได้รับไม่ตรงตามสเปก ไม่ได้มาตรฐาน คุณภาพกล้ายางไม่ดี ส่งช้าจึงติดแล้งตาย ซีพีเองไม่มีความรู้เรื่องยางและไม่มีความพร้อม เรื่องนี้สมาคมฯ เคยท้วงติงตั้งแต่ต้น

"เราพูดมานานแล้วก็ไม่ฟัง เราท้วงว่าให้หาผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์มาทำ ไม่เช่นนั้นจะเป็นบาปกรรมแก่เกษตรกร ทีนี้พอเกิดปัญหาขึ้นมาทั้งกรมวิชาการฯ และซีพีก็มาโยนบาปให้เกษตรกร ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นต้องแก้ไข ไม่ใช่ออกมาแก้ตัวน้ำขุ่นๆ"

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานชุมนุมสหกรณ์เกษตรอุตสาหกรรมการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในเดือนสิงหาคม ภาคเหนือและภาคอีสานเกิดปัญหาภัยแล้ง พอถึงเดือนกันยายนในสัญญาไม่ได้ให้ส่งมอบ แต่ทางบริษัทก็ยังไปส่งมอบให้เกษตรกร แถมยังเป็นกล้ายางที่คัดทิ้งอีกด้วย จึงทำให้กล้ายางตายเป็นจำนวนมาก

ส่วนพันธุ์กล้ายางที่เกษตรกรได้รับมอบไม่เป็นไปตามสัญญา ยังพิสูจน์ตอนนี้ไม่ได้ คงต้องรออีก 7 ปี ถึงตอนกรีดยางก็จะรู้ว่ากล้ายางที่เกษตรกรได้รับมอบเป็นอย่างไร

นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาส่งมอบในช่วงท้ายๆ ของฤดูเป็นส่วนใหญ่ นั่นเพราะว่าซีพีผลิตกล้ายางไม่ทัน ซึ่งเคยต่อสู้ในเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2546 แล้วว่าซีพี ไม่สามารถหาพันธุ์ยางจำนวนกว่า 90 ล้านต้นมาเข้าโครงการได้ เพราะซีพีไม่เคยทำมาก่อน
เวียนเทียนกล้ายางคัดทิ้ง

นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย ในฐานะคณะทำงานตรวจสอบข้อมูลกล้ายาง เปิดเผยการประชุมคณะกรรมการในครั้งแรกว่า ทางคณะทำงานได้ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยในเบื้องต้นคณะทำงานได้มีความเห็นร่วมกันที่จะเปิดตู้ ปณ. ให้เกษตรกรร้องเรียนได้โดยตรง ถ้าเกษตรกรมีปัญหาไม่สามารถติดต่อกับส่วนราชการได้ให้ส่งมาที่ ปณ. 20 ปณฝ หลานหลวง กรุงเทพฯ 10102

ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้น คณะกรรมการมีความเห็นว่า การส่งกล้ายางในปีแรกทางบริษัทซีพีส่งช้ามาก อย่างกรณีของ จ.พะเยา นางอรุณี ชำนาญยา ส.ส.ในพื้นที่รายงานว่า กล้ายางของพะเยามีคุณภาพมาก แต่ส่วนกล้ายางที่จังหวัดพะเยาคัดทิ้ง ทางจังหวัดพิษณุโลกกับจังหวัดนครสวรรค์ไปตรวจรับ จึงทำให้กล้ายางของทั้งสองจังหวัดตายเป็นจำนวนมาก ทางคณะกรรมการจึงเสนอให้แก้สัญญาเพื่อร่นระยะเวลาการส่งมอบเข้ามาด้วย

แฉซ้ำส่งยางกิ่งตาสอย

นายขจรธน จุดโต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย จ.บุรีรัมย์ ในฐานะประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยประชุมกับซีพีไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง เกี่ยวกับโครงการดังกล่าว การที่กลุ่มซีพีไปติดต่อรับช่วงกับเกษตรกร ราคาต้นละ 11 บาท แต่ราคาท้องตลาดสูงกว่านั้น เกษตรกรจึงไปขายในท้องตลาดหมด สุดท้ายซีพีจึงเกิดปัญหาส่งมอบกล้ายางไม่ทัน

"กล้ายางที่ทางซีพีส่งมอบมา เป็นกล้ายางที่ซีพีซื้อต่อจากเกษตรกร ต้นละ 11 บาท แต่ราคาตลาดที่ซื้อขายกันทั่วไป ต้นละ 20 บาท ทำให้เกษตรกรที่ทำสัญญาขายให้ซีพี นำกล้ายางไปขายในท้องตลาด บางส่วนนำออกไปขายในประเทศลาวด้วย ต้นละ 21 บาท จนในที่สุด ซีพีต้องไปจี้เกษตรกรให้ส่งมอบ จึงเป็นที่มาของยางสอย" นายขจรธน กล่าว

สกย.ย้ำส่งมอบกล้ายางช้าตายเยอะ

นายนพดล สวนประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้สัมภาษณ์ หลังเรียกประชุมผอ.ระดับจังหวัดในทุกพื้นที่ว่าทาง ผอ.ระดับจังหวัดได้สะท้อนปัญหาที่ทำให้กล้ายางตายเป็นจำนวนมากว่า เกิดจาก 1. การส่งมอบกล้ายางล่าช้าทำให้กระทบกับภัยแล้ง 2. ปัญหาภัยแล้ง และ 3. ปัญหาเกษตรกรขาดความชำนาญการ ส่วนปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของกล้ายาง ยังหาข้อสรุปไม่ได้

นายนพดล กล่าวว่า การประชุมร่วมกับ ผอ.จังหวัด ในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเน้นแก้ไปปัญหาในครั้งต่อไปมากกว่า โดยในส่วนของ สกย. จะต้องมีการเพิ่มกำลังคนในพื้นที่ให้มากขึ้น และจะต้องจ้างเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกันจะต้องมีการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจากในพื้นที่ทางภาคใต้ ซึ่งมีความชำนาญการและมีความเชี่ยวชาญมากกว่า มาช่วยงานตามโครงการในภาคเหนือและภาคอีสาน

ส่วนกรณีที่กรมวิชาการเกษตรออกมาระบุว่า การส่งมอบกล้ายางถึงมือเกษตรกรแล้วทำให้กล้ายางเสียหาย สกย. ซึ่งมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเกษตรกรจะต้องรับผิดชอบนั้น นายนพดลกล่าวว่า ขณะนี้ได้รวบรวมเอกสารและหลักฐาน และวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ไว้ชี้แจงเรียบร้อยแล้ว ส่วนรายละเอียดมากกว่านี้ต้องรอการประชุมร่วมกับ นายเนวินในวันนี้

"เนวิน" โบ้ยไม่เกี่ยว

นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมาตอบโต้กรณีถูกกล่าวหาว่า ปัดความรับผิดชอบเกี่ยวกับความล้มเหลวในโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ ว่า ต้องแยกประเด็นปัญหาให้ชัดเจน เพื่อดูว่าอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นอย่างไร ตามประเด็นปัญหานั้นๆ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวมันมี 2 ประเด็นคือ การจัดซื้อจัดจ้างของโครงการกับการกำกับดูแลในขั้นตอนการ ลงมือปฏิบัติ

ในสมัยที่ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เมื่อปี 2546 ในขณะนั้นตนเอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ และมีหน้าที่กำกับดูแลกรมวิชาการฯ ซึ่งโครงการเกิดขึ้นในปีเดียวกันนั้น จึงถือว่ามีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการดำเนินโครงการในตอนต้น ซึ่งเป็นเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการได้มาของบริษัทเอกชนที่จะมารับเหมาโครงการ ประเด็นจึงมีอยู่ว่าการจัดซื้อจัดจ้างมีปัญหาหรือไม่

"ถ้าเป็นเรื่องของการทุจริตจากการจัดซื้อจัดจ้าง หรือหลักเกณฑ์ข้อสัญญาขัดกับหลักกฎหมาย หรือผิดระเบียบอย่างนี้ ผู้เซ็นคำสั่งเห็นชอบจะต้องรับผิดชอบ แต่ถ้างานทางด้านการตรวจรับ-ส่งมอบ กล้ายางไปอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น ในอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีท่านอื่นผมจะไป รับผิดชอบได้อย่างไร"

นายเนวินกล่าวต่อว่า จากกระบวนการที่ผ่านมา พบว่า ในการทำสัญญากับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด (ซีพี) ในขณะนั้น กรมวิชาการเกษตรได้ส่งเรื่องเกี่ยวกับการว่าจ้างให้ทางสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และการที่สำนักงานอัยการสูงสุดตัดสินว่าทางบริษัทมีคุณสมบัติถูกต้อง ทางกรมฯ จึงจ้างบริษัทตามความเห็นของอัยการ ดังนั้นถึงแม้ตนเองจะเซ็นเห็นชอบในโครงการ แต่ก็เป็นโครงการที่อัยการสูงสุดเห็นชอบแล้ว จึงไม่ถือว่าการจัดซื้อจัดจ้างมีปัญหา

เหตุการณ์หลังจากนั้น จึงไม่ใช่อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง เนื่องจากในขั้นตอนการดำเนินงาน ในปี 2547 นั้น ตนเองได้พ้นจากการกำกับดูแลกรมวิชาการเกษตรไปแล้ว โดยมีคำสั่งของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ เลขที่ กษ 524/2546 เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 46 ให้รับผิดชอบดูแลหน่วยงานอื่น จากนั้นนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เข้ามารับตำแหน่ง ก็เซ็นคำสั่งที่ กษ 336/2547 ลงวันที่ 11 ต.ค. 47 ให้รับผิดชอบหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่กรมวิชาการเกษตรเช่นกัน

"ที่ผ่านมาจึงเป็นความเข้าใจผิดของสื่อบางฉบับว่าตนเองปัดความรับผิดชอบ ทั้งๆ ที่ 2 ปีที่ผ่านมา ตนเองไม่ได้ดูแลกรมวิชาการเกษตรเลย วันนี้มันเป็นปัญหาในระดับปฏิบัติ และคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย นโยบายไม่ได้ผิด โครงสร้างของโครงการก็ไม่ผิด ทำไมการส่งมอบในงวดแรกๆ จึงไม่เกิดปัญหา"

นายเนวินยังกล่าวถึง กรณีที่ทางซีพีส่งมอบกล้ายางในแต่ละงวดไม่เป็นไปตามสัญญาด้วยว่า ประเด็นดังกล่าวทางกรมวิชาการได้กำหนดระยะเวลาการส่งมอบตามหลักวิชาการอยู่แล้ว ในแง่สัญญาถ้าส่งช้าก็ถูกปรับและทางกรมวิชาการเองก็ทำการปรับกันอยู่ แต่ที่ไม่เป็นไปตามงวด ก็มีหลักการเดียวกับการก่อสร้างถ้าส่งไม่ทันในงวดแรกก็เอาไปทบในงวดต่อไปได้

นอกจากนี้ ทางกรมฯก็ยังทำหนังสือแจ้งกับทางซี.พี.ด้วยว่า การส่งมอบระหว่างวันที่ 1-15 ก.ย. นั้น ทางกรมจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งทางซีพีและทางเกษตรกรเองจะต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย อย่าให้กระทรวงต้องไปมีส่วนรับผิดชอบต่อกรณีนี้ ซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับการส่งมอบหรือหรือยินยอมก็มีอยู่ครบถ้วน

"เรื่องนี้มันอาจจะเป็นความอยากได้ของเกษตรกรเอง อาจจะไปเซ็นรับโดยที่ไม่ยอมเช็กให้ดีก็ได้ แต่ในปีต่อไปก็อาจจะเข้าไปดูในสัญญาว่าจะสามารถแก้ไขให้ทาง ซีพีส่งมอบให้เร็วกว่าเดิมได้หรือไม่" นายเนวินกล่าว

กมธ.เกษตรฯวุฒฯสอบด่วนกล้ายางฉาว

เมื่อเวลาประมาณ 16.30 น. วานนี้ (12 พ.ค.) นายปวีณ แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคไทยรักไทย โฆษกคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า คณะกรรมาธิการฯได้นัดประชุมเป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อพิจารณาปัญหา พืชผลทางการเกษตรได้แก่ โครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้ฯ ซึ่งประสบปัญหาเรื่องกล้ายางได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง ให้โครงการ ส่งเสริมสถาบันเกษตรกรจำนำลำไยกระป๋อง ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาดในปี 2547 ที่เครื่องจักรไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ และโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ข้าวหอมมะลิในฤดูการผลิต ปี 2547/2548 ในภาคอีสาน ที่มีการเอาข้าวสายพันธุ์อื่น มาปลอมปนเพื่อให้ได้ราคาสูงขึ้น โดยมีมติตั้งอนุกรรมาธิการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งสามเรื่องให้เสร็จสิ้นใน 30 วัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us