Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 พฤษภาคม 2548
ซีเอสฯเชื่อไลเซนส์ใหม่ไอเอสพีไร้เสน่ห์กทช.ควรคุมสายทองแดงเหมือนความถี่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซีเอส ล็อกซอินโฟ

   
search resources

ซีเอส ล็อกซอินโฟ, บมจ.- CSL
Networking and Internet




ซีเอส ล็อกซอินโฟ โชว์ผลประกอบการไตรมาสแรก รายได้เกือบ 500 ล้านบาท จากการเติบโตของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง จี้ กทช.ควรเข้ามาดูแล การใช้สายทองแดงเหมือนการจัด การเรื่องคลื่นความถี่ เพื่อให้เกิดการแข่งขันบรอดแบนด์ที่เท่าเทียมกัน

นายธัชพงษ์ โหตรภวานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ กล่าวถึงผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2548 ว่า ซีเอสฯ มีรายได้รวมไตรมาสแรก 493 ล้านบาท มาจากธุรกิจอินเทอร์เน็ต 356 ล้านบาท และธุรกิจโฆษณาสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง 137 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 79 ล้านบาท หรือ 19% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2547 เนื่องจากการเติบโตของการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ และอินเทอร์เน็ตผ่านสายวงจรเช่า (Leased Line)

ไตรมาสแรกนี้ ซีเอสฯ มีกำไร 33 ล้านบาท มาจากธุรกิจอินเทอร์เน็ต 14 ล้านบาท และสมุดหน้าเหลือง 19 ล้านบาท โดยซีเอสฯมีรายได้จากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มขึ้น 21 ล้านบาท หรือ 53% นอกจากนี้ ซีเอสฯยังมีรายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณาสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองตามสัดส่วนการลงทุน 63.25% จำนวน 134 ล้านบาท โดยที่การขายโฆษณาสมุดหน้าเหลืองเป็นไปตามเป้า เนื่องจากได้รับความสนใจจากลูกค้าทำให้ยอดขายเติบโตประมาณ 11%

สำหรับแผนดำเนินงานของซีเอสฯในเรื่องอินเทอร์เน็ตแบ่งเป็น ลูกค้า Dial-Up มีจำนวนประมาณ 298,000 รายคิดเป็น 32% ของราย ได้อินเทอร์เน็ตรวม ซึ่งซีเอสฯได้มีโปรโมชัน ADSL ราคาพิเศษให้ลูกค้าในกลุ่มนี้ ลูกค้า Broadband Internet (ADSL & IP Star) มีลูกค้าประมาณ 11,800 ราย คิดเป็น 18% ของรายได้อินเทอร์เน็ตรวม โดยเป็นการให้บริการในรูปแบบ Multi Mode พร้อม Virus Scan และ Spam Filtering และลูกค้า Leased Line มีจำนวนประมาณ 1,500 รายคิดเป็น 50% ของรายได้ อินเทอร์เน็ตรวม เน้นการให้บริการ Managed Services ซึ่งจัดให้มีวิศวกรคอยดูแลลูกค้า 24 ชั่วโมง

"เราให้ความสำคัญกับลูกค้า Leased Line มาก เพราะเป็นกลุ่มที่เน้นเรื่องคุณภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของซีเอสฯอยู่แล้ว ส่วนลูกค้าบรอดแบนด์มีการแข่งขันด้านราคารุนแรง ซึ่งซีเอสฯคงลงต่ำกว่า 590 บาทไม่ได้แล้ว"

สำหรับการดำเนินงานของสมุดหน้าเหลือง มีการรวมสมุดทั้ง 12 เขตเป็นชุดเดียว ทำการแจกจ่ายสมุดหน้าเหลืองเขตนครหลวงตั้งแต่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ปกติแจกในเดือน ก.ค. มีการปรับปรุงโฉมหน้าและเนื้อหาของสมุดหน้าเหลือง ให้เกิดประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น มีการทำหนังโฆษณา 2 ชุด ซึ่งทำให้รายได้เฉลี่ยต่อผู้ลงโฆษณาสูงขึ้นและรายได้เติบโตขึ้นประมาณ 11% สำหรับทิศทางของสมุดหน้าเหลืองในปี 2548 คือการสร้างความแตกต่างให้สามารถใช้ข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าภายใต้สื่อโฆษณา 3 ประเภทคือการพลิก การโทร. และการคลิกอินเทอร์เน็ต

นอกจากนี้ ยังมีการขยายบริการสอบถามหน้าเหลืองทางโทรศัพท์ 1188 ขยายบริการข้อมูลด้วยเสียงหรือออดิโอเท็กซ์ (1900 222 xxx) พัฒนาบริการทางโทรศัพท์ให้เป็นรายได้แหล่งใหม่ และพัฒนาเข้าสู่การเป็น Special Directories (Vertical Market) ที่เป็นอุตสาหกรรมเฉพาะกลุ่ม

"สมุดหน้าเหลืองต่อไปจะให้ความสำคัญกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น หากจำนวนคนใช้บรอดแบนด์เพิ่มขึ้นก็จะเป็นโอกาสของเราทั้งในด้าน การโฆษณา รวมทั้งการซื้อขายผ่านเน็ตโดยตรง ซึ่งเป็นทิศทางสำคัญในการพัฒนาธุรกิจของสมุดหน้าเหลือง" นายสมชัย สินจนานุรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลอินโฟมีเดีย ผู้ให้บริการสมุดหน้าเหลืองในเครือซีเอสฯ กล่าว

ด้านนายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการซีเอสฯ กล่าวว่า ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงยังมีข้อจำกัดในการแข่งขันอยู่มาก ที่ทำให้ซีเอสฯ ไม่สามารถลดราคาลงมาได้ต่ำกว่าปัจจุบัน เนื่องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานกำลังทำธุรกิจแบบครบวงจรทั้งด้านเสียงและอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบรอดแบนด์ เนื่องจากไอเอสพีจำเป็นต้องเข้าไปเช่าใช้สายทองแดงและติดตั้งอุปกรณ์ที่ชุมสายโทรศัพท์พื้นฐานเพื่อให้บริการบรอดแบนด์ หากผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานไม่ให้ความร่วมมือ หรือคิดค่าใช้จ่ายด้วยต้นทุนที่สูง ไอเอสพีรายเล็กๆ ก็ไม่สามารถแข่งขันเพื่อให้บริการบรอดแบนด์ได้

"ผมมองว่าสายทองแดงก็เหมือนความถี่ที่ กทช. ควรเข้ามากำกับดูแลด้วย การเปิดเสรีให้ไลเซนส์อินเทอร์เน็ตไม่มีประโยชน์เพราะไอเอสพีจะไปให้บริการแค่ Dial Up ก็ไม่สามารถแข่งขันได้ จะไปให้บริการบรอดแบนด์ พวกโทรศัพท์พื้นฐานก็ไม่ยอม กทช. ควรเข้ามาดูในเรื่องนี้ประกอบกับการเปิดไลเซนส์ใหม่ไอเอสพีดูจะเหมาะสมมากขึ้น"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us