|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นักการเมืองกวาดคะแนนเสียงยางล้านไร่ แถม "ตกเขียว" ประกันราคา พร้อมสัญญาให้เกษตรกรกู้ล่วงหน้า ฝ่ายข้าราชการได้รับปูนบำเหน็จถ้วนหน้า ด้านยักษ์ใหญ่ซีพีวาดอนาคตก้าวสู่อุตสาหกรรมยางครบวงจรด้วยระบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง ขณะที่เกษตรกรรับเคราะห์สูญโอกาส เสียรายได้ ซ้ำแบกภาระหนี้อ่วม
ผลเสียหายที่เกิดขึ้นในโครงการส่งเสริมปลูกยางล้านไร่เมื่อปีที่แล้วและกำลังจะเกิดซ้ำรอยในปีนี้ ซึ่งเกิดจากกรมวิชาการเกษตร ผู้รับผิดชอบผลิตพันธุ์ยาง โดยว่าจ้างให้บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด รับเหมาส่งมอบยางชำถุง 90 ล้านต้น ทั้งที่กรมวิชาการฯ และบริษัทไม่มีความพร้อม ไม่มีประสบการณ์มาก่อนนั้น กลับทำให้ฝ่ายการเมือง ข้าราชการ และเอกชน ได้ดีมีอนาคตถ้วนหน้า ขณะที่เกษตรกรต้องรับเคราะห์
จากการลงพื้นที่สำรวจโครงการฯของ "ผู้จัดการรายวัน" พบว่า เกษตรกรจำนวนมากต้องการเข้าร่วมโครงการ และให้ข้อมูลทำนองเดียวกันว่า เหตุที่เข้าร่วมโครงการเพราะเชื่อในคำแนะนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งกล่าวในหลายวาระหลายโอกาสว่า ต้องการให้เกษตรกรหันมาปลูกยาง รวมทั้งการส่งเสริมของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกร
ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการเดิมปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ปีหนึ่งๆ เมื่อหักต้นทุนแล้วเหลือไม่กี่บาท เทียบกับชาวสวนยางปีหนึ่งๆ มีรายได้นับแสนบาท เกษตรกรบางรายจึงเตรียมที่ดินสำหรับขยายพื้นที่ลงทุนปลูกยางเพิ่มเองนอกเหนือจากการเข้าโครงการของรัฐฯ เพราะเชื่อมั่นว่าการปลูกยางพาราจะทำให้มีรายได้ มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม
"รัฐบาลท่านนายกทักษิณ บอกว่าให้ปลูกยางเพราะราคาดี ไม่ต้องกลัวว่าจะขายไม่ได้ มีตลาดส่งออก ก็คิดว่าคงจะดีกว่าปลูกมัน" นายทรงชัย สิงโต ผู้ใหญ่บ้านมอเจริญ ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เขต ต.แม่วงศ์ อ.แม่วงศ์ จ.นครสวรรค์ บอกกล่าว
เช่นเดียวกับนางเตียง บุญเจียม เกษตรกรบ้านหนองแวง ต.หนองแวง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามี ส.ส.ในเขตพื้นที่ลงมาหาเสียง และมาบอกให้ปลูกยาง เพราะปลูกแล้วได้ราคาดี โดยรับประกันราคาให้ด้วย ส.ส.เขาบอกว่าถ้าปลูกยางแล้ว 3 ปี ไปขอกู้เงินจากเขาก่อนได้ จะให้ราคาน้ำยางดิบ 30 บาทต่อก.ก. ส่วนที่เหลือถ้าราคาในตลาดสูงกว่าค่อยมาว่ากันทีหลัง คิดว่าถ้าไม่มีเงินก็จะไปเอากับเขาเหมือนกัน
ปูนบำเหน็จมือชงได้ดีถ้วนหน้า
ไม่เพียงฝ่ายการเมืองเท่านั้นที่โกยคะแนนจากโครงการดังกล่าว ในส่วนของข้าราชการโดยเฉพาะในส่วนคณะกรรมการพิจารณาตัดสินผลการประกวดราคา รวมถึงคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ก็เจริญก้าวหน้าในการงานอย่างรวดเร็ว
คณะกรรมการพิจารณาตัดสินฯ ขณะนั้น (ปี 2546) ประกอบด้วย นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ประธานคณะ และกรรมการ คือ นายจิรากรณ์ โกศัยเสวี ผอ.กอง เจ้าหน้าที่, นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ เลขานุการกรมฯ, นายจำนงค์ คงสิน ผอ.ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา และนายสมบัติ ยั่งยืน เจ้าหน้าที่บริหารพัสดุ 6
กลุ่มข้าราชการข้างต้นที่เติบโตก้าวหน้า อาทิเช่น นายจิรากร โกศัยเสวี ที่ก้าวจากตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ เมื่อปี 2546 ขึ้นมาเป็น ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ในปี 2547 และรองอธิบดีกรมวิชาการฯ ในปีนี้
เช่นเดียวกับ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ หนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาตัดสินผลการประกวดราคาและคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ที่เป็นเลขานุการกรมฯ เมื่อปี 2546 ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (ระดับ 7) ในปีที่ผ่านมา เป็นต้น
ส่วนนายจำนงค์ คงสิน ขณะที่ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาตัดสินฯ ดำรงตำแหน่งผอ.ศูนย์ วิจัยยางฉะเชิงเทรา ก็ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยาง ระดับ 9 ทั้งที่เป็นคนละสายงานกัน เป็นต้น
ซีพีหวังก้าวสู่อุตฯ ยางครบวงจร
เจ้าหน้าที่ระดับบริหารเครือซีพี ซึ่งเดินทางลงพื้นที่ตรวจความพร้อมแปลงยางชำถุงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ให้ข้อมูลว่า การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกยางฯ ครั้งนี้ ซีพีได้ลงทุนด้านบุคคลากร เครื่องไม้เครื่องมือ และสร้างเครือข่ายธุรกิจไว้มากพอสำหรับการเข้าสู่อุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ตั้งแต่พันธุ์ยางสำหรับปลูก การบำรุงดูแลรักษา โดยขณะนี้ ซีพีวิจัยพัฒนาปุ๋ยชีวภาพสำหรับยางพาราโดยเฉพาะพร้อมวางตลาดแล้ว และเมื่อถึงเวลากรีดยาง ซีพีก็จะสร้างธุรกิจรองรับรวมไปถึงการแปรรูป กระทั่งส่งออกโดยเล็งตลาดไปยังจีน
"ในเรื่องยางพารา ซีพีจะเข้ามาสร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร โดยจะนำระบบคอนแทกต์ฟาร์มมิ่งเข้ามาใช้เหมือนกับการเลี้ยงไก่เพื่อส่งออกที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว" เจ้าหน้าที่ระดับบริหารเครือซีพีให้ข้อมูล
เกษตรกรสูญโอกาสซ้ำหนี้อ่วม
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ในฐานะคณะกรรมการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กล่าวว่า โครงการปลูกยางล้านไร่เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกร เป็นโครงการที่มีหลักการดีมาก ถือว่าเป็นโครงการที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนได้ดีทั้งเป็นการสร้างป่า แต่มีปัญหาหลักๆ คือ
ประการแรก การกำหนดเนื้อที่ปลูกยางต่อรายไม่เหมาะสม คือ รายละ 10 ไร่, 6 ไร่ และ 4 ไร่ ซึ่งไม่คุ้มต่อการลงทุน เพราะตามหลักการแล้วการปลูกยางต้องปลูกอย่างต่ำ 15 ไร่ แบ่งกรีด 7.5 ไร่ วันเว้นวันจึงจะคุ้ม และหากเกษตรกรมีที่ดินน้อย เมื่อนำมาปลูกยางหมดจะทำให้ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกพืชอื่นเพื่อยังชีพ
ประการที่สอง ยางที่ปลูกไปแล้ว 7 ปี เมื่อถึงเวลากรีดน้ำยางจะให้น้อย เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการเร่งด่วน การเตรียมความพร้อมไม่มี ในทางฝ่ายราชการการใช้กล้ายาง 90 ล้านต้น แรกสุดต้องเตรียมแปลงกิ่งตาให้เพียงพออย่างน้อยต้องใช้เวลา 2-3 ปี ส่วนเอกชนผู้ผลิตกล้ายางต้องมีประสบการณ์ และมีความพร้อม มีแปลงกิ่งตาของตนเองไม่ใช่ไปเช่าแปลงกิ่งตารายอื่น เพื่อให้ผ่านหลักเกณฑ์เท่านั้น
ประการที่สาม ปีที่ผ่านมาการแจกจ่ายพันธุ์ยางล่าช้ามาก ปลูกไม่ทันในต้นฤดูฝนทำให้ยางตายมาก
ประการที่สี่ ยางชำถุงที่เกษตรกรได้รับไปปลูกไม่เป็นไปตามขนาดต้นเล็ก การตรวจรับไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหายางตายจำนวนมาก ทั้งยังแจกจ่ายไม่ครบตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ตามสัญญา คือ 200,000 ไร่ จำนวน 18 ล้านต้น โดยจ่ายจริงแค่ 140,995 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ.48 ที่สกย. รายงานต่อที่ประชุมบอร์ด สกย. เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 48) มียางคงค้างจ่าย 4-5 ล้านต้น เกษตรกรต้องรับภาระ
"มีเกษตรกรจำนวนมากที่รื้อถอนพืชที่ปลูกไป แล้วเพื่อปรับที่ขุดหลุมปลูกไว้รอ แต่ไม่ได้พันธุ์ยางไปปลูก ต้องรอไปอีก 1 ปี เวลาหนึ่งปีที่เสียโอกาสหากคิดจากยางที่ควรจะได้ปลูกครบ 2 แสนไร่ คิดเป็นเงินประมาณ 600 ล้านบาท" นายอุทัยกล่าวและย้ำว่า เกษตรกรบางรายได้กู้เงินจากธ.ก.ส.มาลงทุน ต้องเสียทั้งรายได้ เสียโอกาส และเป็นหนี้
นายอุทัยยังกล่าวว่ายางที่ปลูกไม่ครบจำนวน ที่กำหนด จะส่งผลต่อปริมาณการส่งออกและกระทบต่อการชำระคืนเงินกู้กองทุนโครงการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ซึ่งเงินกู้คชก. ที่กระทรวงเกษตรฯ กู้มาซื้อพันธุ์ยาง จำนวน 1,440 ล้านบาท จะต้องชำระคืนในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยจะนำมาจากค่าธรรมเนียมส่งออกยาง
"ประเด็นปัญหาเรื่องยางพาราทั้งหมดผมยื่นหนังสือรมว.กระทรวงเกษตรฯ ไปแล้ว" นายอุทัยกล่าว
|
|
|
|
|