ศูนย์วิจัยกสิกรฯประเมินสภาพคล่องในระบบมีแนวโน้มลดลง จากเงินทุน สำรองระหว่างประเทศที่อาจจะลดลง
ตามมูลค่า การนำเข้าที่มีแนวโน้มขยายตัว และการชำระหนี้ IMF Packages ของธปท.
และการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยภาครัฐบาล ที่มีแนวโน้มจะชะลอลง ถือเป็นผลลบต่อฐานเงิน
ทำให้อัตราดอกเบี้ย ทั้งกู้และฝากมีโอกาสปรัยลดลงได้อีก แต่ก็ยังต้อง
รอดูความชัดเจนจากพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปริมาณสภาพ
คล่องในระบบ ผ่านข้อมูลฐานเงินในช่วง 5 เดือน แรกของปีนี้ ฐานเงินยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผลมาจากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้า ประเทศสุทธิ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทย และการ
ดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณของภาครัฐบาล ทั้งนี้ปริมาณสภาพคล่องในระบบ
ตามคำนิยามของธปท.สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ หมายถึง สินทรัพย์สภาพคล่องทั้งหมด
(ที่เป็นเงินสดหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย) หักด้วยสินทรัพย์สภาพคล่อง
ที่ธนาคารต้องดำรงตามกฎหมาย (required liquid assets) ซึ่งสภาพคล่องส่วนเกินของธนาคาร
นี้ สะท้อนสัดส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง หรือเป็นสัดส่วนการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ได้
ในระดับหนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมา สินทรัพย์สภาพคล่องส่วน เกินของธนาคารยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
โดยในเดือนเมษายน 2545 สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคาร อยู่ที่
1,152,814 ล้านบาท
เพิ่มจากขึ้นจาก 1,065,810 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2544 นอกจากนี้ หากรวมเงินสดและเงินฝากในต่างประเทศ
สภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคาร ณ สิ้นเดือนเมษายน 2545 ก็จะเท่ากับ 1,678,678
ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 1,618,800 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2544 เนื่องจากตัวเลขฐานะเงินแสดงถึงปริมาณเงินเบื้องต้นที่หมุนเวียนในระบบ
รวมทั้งยังสามารถประเมินแนวโน้มฐานเงินได้จากแหล่งที่มา
ของฐานเงิน ศูนย์วิจัยจึงประเมินสภาพคล่องในช่วงที่เหลือดังนี้ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้
ปริมาณฐานเงินที่หมุนเวียนในระบบ ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็น
ต้นมา
ที่ฐานเงินมีอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียว กันของปีก่อนประมาณ 9-10% เทียบกับอัตราการ
ขยายตัวที่ประมาณ 5.5% ณ เดือนธันวาคม 2544 จากการที่ทุนสำรองระหว่างประเทศที่ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นจากการไหลเข้าประเทศสุทธิของเงินทุนเคลื่อน ย้าย โดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทย
การดำเนินนโย-บายการคลังแบบขาดดุลงบประมาณ ปี 2545
และการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจากสถาบันการเงิน โดยการกู้ยืมสุทธิของธปท.
ดังนั้นแนวโน้มช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าเงินทุนสำรองจะปรับตัวลดลงตามการนำเข้าที่ขยายตัวมากขึ้น
ขณะที่การส่งออกยังตกต่ำอยู่ ส่ง ผลให้เกินดุลการค้าและดุลการชำระเงิน ลดลง
ขณะที่การชำระหนี้ IMF ก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งทำให้เงินทุนสำรองลดลงได้
การขาดดุลงบประมาณในอัตราที่ลดลงของรัฐบาล เพื่อรักษาวินัยการคลัง การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น
ตามภาวะเศรษฐกิจที่ศูนย์วิจัยคาดว่าจะขยายตัวประมาณ 3-
3.6% ในปีนี้ เนื่องจากความต้องการเงินดำเนินธุรกิจหรือขยายกำลังการผลิตของเอกชนน่าจะเพิ่มขึ้น
น่าจะเป็นปัจจัยทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้นได้ โดยคาดว่าฐานเงินน่าจะอยู่ที่ประมาณ
575-580
พันล้านบาท ได้ในปลายปี 2545 หรือคิดเป็น อัตราขยายตัว 3.5-4% ต่อปี เมื่อเทียบกับการขยายตัวประมาณ
9-10% ต่อปี ในช่วงที่ผ่านมา โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าในช่วง
ที่เหลือของปีนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าปริมาณ ฐานเงินในระบบคงจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง
เนื่องจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อาจจะลดลง (ตามมูลค่าการนำเข้าที่มีแนวโน้มขยายตัว
และการชำระหนี้ IMF Packages ของธปท.) และการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยภาครัฐบาลที่มีแนวโน้มจะชะลอลง
ถือเป็นผลลบต่อฐานเงิน
ในขณะที่การขยายสินเชื่อของธนาคารตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จะเป็นผลบวก
ต่อฐานเงิน จากสินเชื่อสุทธิที่ธปท.ให้กับสถาบันการเงินที่น่าจะเพิ่มขึ้น
ซึ่งศูนย์วิจัยฯคาดว่า ฐาน
เงินจะอยู่ที่ประมาณ 575-580 พันล้านบาท ณ ปลายปี 2545 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวเพียง
3.5-4.4% ต่อปี เมื่อเทียบกับการขยายตัวประมาณ 9-10% ต่อปี ในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงินไทยนั้น ศูนย์วิจัยฯมองว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้
ธนาคาร พาณิชย์อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงิน ฝากและเงินให้กู้ลงอีกประมาณ
0.25% เนื่อง จากการขยายตัวของสินเชื่อที่มีแนวโน้มขยายตัวในสัดส่วนน้อยกว่าเงินฝาก
ขณะที่ปัญหา NPL ยังคงกดดันการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์อยู่ ส่วนทางด้านธปท.คาดว่าคงจะมีมติให้
คงอัตราผลตอบแทนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรไว้ที่ระดับเดิมต่อไป ในขณะที่อัตราผลตอบ
แทนของพันธบัตรรัฐบาล ก็คงจะขึ้นอยู่กับวิธี จำนวน และระยะเวลาการออกพันธบัตร
เพื่อแก้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ
รวมไปถึงสัดส่วนการลงทุนของพันธบัตรของธนาคารในขณะนั้น ด้วย ว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของธนาคารมากน้อยเพียงใด
ซึ่งทางการควรจะระมัดระวัง แลไม่น่าจะส่งผลให้อัตราผลตอบ
แทนของพันธบัตรรัฐบาลเคลื่อนไหวอย่างผันผวน เพราะอาจมีผลต่อเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ยในระบบได้