ไออีซีเล็ง 3 โครงการประมูลหลายหมื่นล้านบาท เริ่มจากเครือข่ายไทยโมบาย
เฟส 2 โครงข่ายไอพีเน็ตเวิร์ก และซูเปอร์โหนด 1 ล้านเลขหมายของทศท. ส่วนโครงการซีดีเอ็มเอ
กสท.คิดหนักเงื่อนไขโหด
เปิดตัวพาร์ตเนอร์จีน ZTE เตรียมจดทะเบียนตั้งบริษัทเดือนนี้ พร้อมโชว์ศักยภาพระดับเวิลด์คลาส
นายจเรรัฐ ปิงคลาศัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท
อินเตอร์เน-
ชั่นเนิลเอนจีเนียริง หรือไออีซี กล่าวว่า ปีนี้ไออีซีตั้งเป้าหมายรุกตลาดงานประมูลราชการใน
3 โครงการใหญ่ ประกอบด้วย 1.โครงการประมูลระบบโทรศัพท์จีเอสเอ็ม 1900 เมกะเฮิรตซ์
เฟส 2
ของไทยโมบายที่องค์การโทรศัพท์แห่งประ เทศไทย(ทศท.) เป็นแกนนำ มูลค่าประมาณ
2 หมื่นล้านบาท 2.โครงการประมูลเครือข่ายไอพีเน็ตเวิร์ก ของทศท.เฟส 2 จำนวนประมาณ
2 แสนพอร์ต
มูลค่าโครงการประมาณ 3 พันล้าน บาท และ3.โครงการประมูลซูเปอร์โหนด โทรศัพท์พื้นฐานของทศท.1
ล้านเลขหมาย มูลค่าเกือบหมื่นล้านบาท ส่วนโครงการประมูลระบบโทรศัพท์มือถือซีดีเอ็มเอ
ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) ที่ไออีซีซื้อซองประกวดราคาด้วยนั้น อยู่ระหว่างการทำตัวเลขเพื่อดูความ
เป็นไปได้ของโครงการ เนื่องจากยัง มีเวลาถึงวันที่ 15 ก.ค.ที่กำหนดยื่น ซองประกวดราคา
"ซีดีเอ็มเอ กสท.เงื่อนไขโหดมาก ยอมรับว่าเรากำลังดูอยู่ เพราะหากทำตลาดไม่ได้ตามเป้าหมาย
ต้องมารับผิดชอบค่าเช่าโครงข่ายด้วย คนที่จะได้แน่ๆมีแต่กสท.กับคนให้เช่าเครือข่าย
แต่คนทำการตลาดยังลูกผีลูกคนอยู่ พาร์ตเนอร์หลักของไออีซีในขณะนี้ คือ
ZTE Coporation ซัปพลายเออร์ สัญชาติจีนที่มีโปรดักส์ ครบวงจรไม่เป็นรองซัปพลายเออร์ทั่วโลก
แนวทางธุรกิจงานประมูลของไออีซี คือจะเน้น งานประมูลโครงการใหญ่ๆ งานขายโปรดักส์เล็กๆ
น้อยๆ แข่งกับเอกชนรายอื่นอย่างซิสโก้หรือทรีคอมอย่างกรณีอุปกรณ์ไอพีเน็ตเวิร์ก
ไออีซีไม่สนแต่จะล็อก
ZTE ร่วมกันในงานประมูลใหญ่เท่านั้น "เราเลือกเข้าโครงการใหญ่ๆ แต่ถ้าบางโครง
การไออีซีไม่เข้าร่วมประมูล ZTE ก็สามารถจับมือกับคนอื่นเข้าประมูลได"
การที่ไออีซีเลือก ZTE
เป็นพันธมิตรเพราะศักยภาพที่ไม่อาจดูแคลนได้ถึงแม้ชื่อชั้นจะไม่คุ้นหูเหมือนโนเกีย
อีริคสัน ซีเมนส์หรืออัลคาเทล ผลประกอบการในปีที่ผ่านมาของ ZTE มีรายได้ประมาณ
1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
1.6 หมื่นล้านหยวน มีพนักงาน 1.3 หมื่นคน โดยที่ 6,000 คนในนั้นทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาหรือ
R&D พนักงานโดยเฉลี่ย อายุเพียง 27 ปี มีดร.จบปริญญาเอก 350 คน จบปริญญาโท
3,500 คน "ZTE
มีสินค้าครบวงจร ไม่ต่างจากซัปพลายเออร์รายอื่น แต่ที่เหนือกว่านั้นคือราคาถูก
เพราะต้น ทุน R&D ต่ำกว่าพวกยุโรปหรืออเมริกามาก เนื่องจากเงินเดือนต่างกันลิบลับ
สินค้าของ ZTE มีตั้งแต่ 1.ฟิกซ์
ไลน์ เน็ตเวิร์ก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ชุมสาย ระบบเชื่อมต่อ สื่อสัญญาณต่างๆ
รวมทั้งยังมีเครือข่ายอัจฉริยะหรือ IN มีบริการเสริมต่างๆบนโครงข่าย ซึ่งในปีนี้
ZTE
จะให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ด้านฟิกซ์ไลน์ และการส่งข้อความสั้น SMS บนโทรศัพท์พื้นฐาน
2.ZTE ยังมีสินค้าด้านโมบาย คอมมูนิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็นระบบซีดีเอ็มเอ จีเอสเอ็ม
(ทั้ง 3
ความถี่คือ900,1800และ 1900 เมกะเฮิรตซ์) มีทั้ง 3 ระดับตั้งแต่ 2G,2.5G
(GPRS) และ 3G หรือที่เรียกว่า WCDMA ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลัง ZTE จะมีโครงการนำร่องในระบบดังกล่าว
ส่วนระบบซีดีเอ็มเอ
ZTE เป็นผู้นำในประเทศ จีน ด้วยเทคโนโลยี CDMA 2000-1X EV/DO ซึ่งถือเป็นโครงการสำคัญในปีนี้ของ
ZTE และเป็นแนวโน้มของเทคโนโลยีที่สำคัญของเอเชีย 3.สินค้าด้านออพติคัล เน็ตเวิร์ก
โดยในปีนี้ ZTE เป็นผู้ซัปพลายเทคโนโลยี SDH หรือระบบสื่อ สัญญาณความเร็วสูงให้บริษัท
ไชน่าโมบาย ทั่วประ เทศ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี DWDM ซึ่งในเรื่องระบบสื่อสัญญาณแล้ว
ZTE
อยู่ในภาวะที่แข่งขันกับซัปพลายเออร์ระดับโลกได้ทั้งอัลคาเทล นอร์เทล ลูเซ่นท์
4.สินค้าด้านบรอดแบนด์ และ Next Generation Network (NGN) โดยเฉพาะสินค้าด้านบรอดแบนด์
ZTE มีทั้งชุมสาย ATM มีโครงข่ายไอพีเน็ตเวิร์ก มีแบ็กโบน เน็ตเวิร์ก นายจเรรัฐกล่าวว่าความได้เปรียบของ
ZTE อยู่ที่มีกำลังการผลิตมหาศาล สามารถผลิตสถานีฐานโทรศัพท์มือถือจำนวน
1,000 สถานีภายใน 2
เดือนและสามารถติดตั้งแล้วเสร็จในเวลา 5 เดือน ซึ่งไม่มีซัปพลายเออร์รายไหนทำได้ไม่ว่าโนเกียหรือ
ซีเมนส์ ที่สามารถผลิตป้อนตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ขนาดนี้
นอกจากนี้ยังสามารถผลิตเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์มือถือได้เดือนละ 3 ล้าน เครื่อง
ZTE ยังมีประสบการณ์ติดตั้งโครงการขนาดใหญ่ในประเทศมากมายไม่ว่าจะเป็นของบริษัท
ไชน่าโมบายหรือไชน่ายูนิคอมทำให้เห็นถึงศักยภาพการ ติดตั้งโครงข่ายในระดับประเทศ
และโดยเฉพาะโครง การซีดีเอ็มเอ และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของ ZTE
จะเห็นได้ชัดเจนว่าเมื่อมองย้อนมายังกสท.จะเห็นแนวทางใกล้เคียงกันมากคือเริ่มจากมาตรฐาน
IS95 พัฒนามาเป็น 1X ซึ่งการเป็นผู้ติดตั้งระบบให้ไชน่ายูนิคอมก็เหมือนกับแนวทางที่กสท.ต้องการ
"ทีโออาร์ของกสท.บอกให้ติดตั้งเครือข่ายแล้วเสร็จใน 3 ปีคือ 600 ในปีแรกและอีก
2 ปีๆละ 200 สถานีฐาน แต่ ZTE สามารถติดตั้งเสร็จภายใน 1 ปีเท่านั้น ซึ่งตัวเลขการติดตั้งให้เสร็จ
3 ปี
เป็นเพราะกสท.ไปเชื่อซัปพลายเออร์บางรายมากเกินไป หากเชื่อจีน แค่ปีเดียวเสร็จ
หากมองถึงการพัฒนาระบบซีดีเอ็มเอของ ZTE แล้วจะเห็นว่า1.ต้นทุนการผลิตอุปกรณ์
จะต่ำกว่าคน
ที่คิดว่าถูกประมาณ 20% เนื่องจากความได้เปรียบใน เรื่องแรงงานและภาษี 2.ความพยายามแตกไลน์สินค้า
ออกมาให้มากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด อย่างเช่นในอาคารก็มีอุปกรณ์ไมโครเซล
ในการขยาย สัญญาณให้คนใช้ในอาคารใช้งานได้ดีขึ้น และ 3.ให้เทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มบริการให้หลากหลาย
มีการประสานงานกับผู้ให้บริการในการพัฒนาบริการต่างๆ เช่น Location Base
Service
และการส่งข้อมูลให้เร็วขึ้น นายจเรรัฐกล่าวว่า ZTE อยู่ระหว่างการจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย
ให้เสร็จภายในเดือนมิ.ย.นี้เพื่อประโยชน์ในการเข้าร่วมงานประมูลต่างๆ ซึ่ง
ZTE
เพิ่งออกตลาดต่างประเทศได้ไม่นานนัก เริ่มจากในเดือนก.ค.2001 บุกเข้า 9
ประเทศได้ 11 โครงการ โดยการอาศัยจุดแข็งเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันกับซัปพลายเออร์ต่างชาติได้
พิสูจน์จากตลาดในประเทศจีนเอง ZTE ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่สามารถประมูลชนะซัปพลายเออร์อื่นด้วยจุดแข็งของ
ZTE เอง ZTE ยังมีจุดแข็งด้านบริการที่ดีและราคาที่แข่งขันได้
ส่วนนโยบายการทำตลาดในประเทศไทยนั้น ZTE ต้องการทำธุรกิจระยะยาว ภายหลังจากจด
ทะเบียนตั้งบริษัทแล้ว จะเพิ่มขีดความสามารถในการ ให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย
รวมทั้งพัฒนาตัวแทนจำหน่ายด้านต่างๆ โดยมุ่งที่จะใช้บุคลากรในประเทศไทย
"ตลาดในไทยถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพในสาย ตา ZTE และจากโปรดักส์ที่มีทั้งฟิกซ์ไลน์
จีเอสเอ็ม ซีดีเอ็มเอ
และพื้นฐานบริษัทที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบเอเซีย พร้อมด้วยประสบการณ์ทำงานร่วม
กับโอเปอเรเตอร์ในจีนกว่า 20 ปีน่าจะทำให้ ZTE สามารถเจาะตลาดเอเชียแปซิฟิกได้"