สหภาพแรงงานทีพีไอ เดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรม หลังสภาพการจ้างงานของพนักงานกว่า
7 พันคนยังไม่มีอนาคต ร่อนหนังสือแจงคณะ อนุกรรมาธิการแรงงานฯ กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ฟันธงกิจการ ทีพีไอวิกฤติหนัก เหตุ "อีพีแอล" บริหารงานไม่เป็นไปตามแผนฟื้นฟู
กิจการด้าน "ประชัย" ชี้ไม่เกิน 2 ปี "ทีพีไอ" ดึงแบงก์กรุงเทพล้มตาม
หลังจากที่ศาลล้มละลายกลาง
มีคำสั่งเห็นชอบต่อแผนฟื้นฟูกิจการ ของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย
จำกัด(มหาชน) หรือทีพีไอ และแต่งตั้งให้บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด
หรืออีพีแอล
เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการตั้งแต่ วันที่ 15 ธันวาคม 2543 ที่ผ่านมา
ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างอีพีแอลกับผู้บริหารเดิม และลุกลามถึงพนักงานทุกระดับของทีพีไอ
ล่าสุดนายวิชิต
นิตยานนท์ รองประธานสหภาพแรงงานผู้บริหารทีพีไอ กล่าวว่า ตั้งแต่อีพีแอล
เข้ามาเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ ทีพีไอ ไม่สามารถดำเนินการได้ตาม แผนฟื้นฟูที่กำหนดไว้
คือ
มีผลประกอบการจริงเพียง 50% ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนเท่านั้น ซึ่งถือเป็นสัญญาณเตือนภัยที่สำคัญต่อความมั่นคงของสภาพการ
จ้างของพนักงานทีพีไอในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้
ตั้งแต่เดือนเดือนพฤศจิกายน 2544 สหภาพแรงงานทีพีไอ ได้เข้าร้องเรียนต่อนุกรรมาธิการแรงงานของรัฐสภา
เกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพการจ้างงานของพนักงานทีพีไอกว่า 7,000 คน โดยการเสนอ
ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ จนทำให้อนุกรรมาธิการ แรงงานฯ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
และผู้เกี่ยว ข้องในด้านต่างๆ ยอมรับในเหตุผลทั้งยังตระ หนักถึงผลกระทบต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นต่อสภาพการจ้างงานของพนักงานทีพีไอ รวมถึงบริษัททีพีไอ ที่เป็นบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของคนไทยด้วย
โดยเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2545 ที่ผ่านมา
คณะอนุกรรมาธิการแรงงานของรัฐสภา ได้เรียก ให้สหภาพแรงงานฯ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ารับฟังผลการพิจารณา
ซึ่งตัวแทนสหภาพแรงงานทีพีไอกว่า 50 คน
ได้เข้าร่วมรับฟังการให้ปากคำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลการพิจารณาของอนุกรรมาธิการแรงงาน
ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ผลประกอบการของทีพีไอไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
และต่ำกว่าที่กำหนดไว้มาก ขณะที่ค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนในการบริหารแผนฟื้นฟูฯ
ที่จ่ายให้อีพีแอลสูงมาก ไม่เคยพบที่ใดมาก่อน ส่วนยอดหนี้ของทีพีไอไม่ลดลงตามแผนแต่อย่างใด
ซึ่งในเรื่องนี้ก็ขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าหนี้ที่จะลงมติในเรื่องดังกล่าวในอนาคต
ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และอนุกรรมาธิการแรงงานนั้นได้แจ้งว่าได้ทำหน้าที่ของตนเองดีที่สุดแล้ว
"จากผลสรุปข้างต้นเห็นได้ชัดเจนว่า เจตนารมณ์ของการฟื้นฟูกิจการทีพีไอตามพระราชบัญญัติล้มละลายนั้นได้ถูกละเลย
เพราะความมั่นคงของบริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของแผนฟื้นฟูฯ แล้ว
แต่กลับขึ้นอยู่กับความพอใจของเจ้าหนี้เพียงอย่างเดียว" นายวิชิต กล่าวเพิ่มเติมว่า
ขณะนี้หลักประกันแห่งความมั่นคงของทีพีไอ และสภาพการ จ้างงานของพนักงานกว่า
7,000 คน ไม่มีแล้ว
ซึ่งสหภาพแรงงานทีพีไอจะเรียกร้องให้พนักงาน ทีพีไอทุกคนสามัคคีกัน เพื่อเรียกร้องและทวงความยุติธรรมให้กับองค์กรทีพีไอ
เพื่อให้ทีพีไอสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
และจะส่งผลให้พนักงานทีพีไอมีงานทำตลอดไป ส่วนความเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันปัญหาเหล่านี้ให้รัฐบาลชุดทักษิณ
ชินวัตร เพื่อรับทราบและลงมาแก้ปัญหาทีพีไออย่างจริงจัง
ทางสหภาพแรงงานทีพีไอจะแจ้งให้ทราบในลำดับต่อไป ด้านนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์
อดีตประ ธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน)
หรือทีพีไอ กล่าวว่า
หลังจากศาลฎีกาได้ยืนตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางให้อีพีแอลบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอต่อนั้น
ตนก็น้อมรับและปฏิบัติตาม เพราะคำสั่งศาลฎีกาถือว่าสูงสุด แต่ในฐานะที่ตนมีประ
สบการณ์บริหารอยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกว่า 20 ปี อยากชี้ให้เห็นว่า
แผนฟื้นฟูฯ ที่บริหารโดยอีพีแอลนั้นเป็นไปไม่ได้ และถ้าปล่อย ให้อีพีแอลบริหารแผนต่อไป
หนี้ของทีพีไอจะเพิ่ม เป็น 2,700
ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2547 ซึ่งต่าง จากแผนฟื้นฟูฯ ที่ระบุว่า มูลหนี้ทีพีไอจะลดลงจาก
2,500 ล้านเหรียญสหรัฐเหลือเพียง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2547 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของ
แผนฟื้นฟูฯ
สำหรับมูลหนี้ทีพีไอกว่า 2,700 ล้านเหรียญ สหรัฐ ยังไม่มีการระบุไว้ในแผนฟื้นฟูฯ
ว่า จะหา เงินจากไหนมาใช้คืนเจ้าหนี้ และในที่สุดทีพีไอจะ ถูกฟ้องล้มละลาย
เพื่อนำทรัพย์สินไปขายทอดตลอด
เมื่อถึงวันนั้นทีพีไอก็จะล้มละลาย และจะส่งผลกระทบต่อธนาคารกรุงเทพทันที
ในฐานะเพราะทีพีไอมีมูลหนี้กับธนาคารกว่า 30,000 ล้านบาท หลังขายทรัพย์สินทีพีไอแล้ว
คาดว่าจะมีเงินคืนแบงก์กรุงเทพ เพียงครึ่งเดียวหรือประมาณ 15,000 ล้านบาท
ทำให้แบงก์กรุงเทพ ต้องตัดหนี้สูญและกันสำรองอีก 15,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ธนาคารเข้าสู่ภาวะล้มละลายได้เช่น ทีพีไอ