Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 พฤษภาคม 2548
ศาลปกครองพิพากษาทีโอทีหมดสิทธิกำกับทีทีแอนด์ที             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ทศท คอร์ปอเรชั่น
ทีทีแอนด์ที, บมจ.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
Telecommunications
ทีโอที, บมจ.




ทีทีแอนด์ทีเฮ ศาลปกครองพิพากษาทีโอทีหมดสิทธิใช้อำนาจกำกับดูแล เหตุแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้ว ชี้อำนาจควบคุมการดำเนินกิจการเป็นของ กทช. ด้านทีโอทีเตรียมอุทธรณ์ หลังเห็นว่า กทช.มีอำนาจในการกำกับอุตสาหกรรมทั้งหมดแต่ไม่สามารถแทรกแซงสัญญาที่เกิดจาก 2 ฝ่ายได้

เมื่อวานนี้ (10 พ.ค.) ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ระงับการใช้อำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ในส่วนที่เป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ (กทช.) ในกรณีบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด มหาชน ประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุน

กรณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากทีทีแอนด์ทีได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองว่า บริษัท ทศทฯ ที่จัดตั้งโดยการแปลงทุนขององค์การโทรศัพท์เข้าไปดำเนินการตรวจสอบ และเข้าไปควบคุมการดำเนินงานของทีทีแอนด์ทีตามสัญญาการร่วมงาน และร่วมลงทุนทั้งที่อำนาจดังกล่าวควรจะเป็นของกระทรวงคมนาคมเมื่อสถานภาพขององค์การโทรศัพท์เปลี่ยนแปลงไปตามข้อ 37 ของสัญญาร่วมงาน และร่วมลงทุน เป็นเหตุให้ทีทีแอนด์ทีได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้โอนอำนาจหน้าที่ของบริษัท ทศท ไปเป็นของกระทรวงคมนาคม ตามข้อกำหนดในสัญญาและสั่งให้ ทศท ระงับการใช้อำนาจหน้าที่ซึ่งขัดกับข้อ 37 ในสัญญา

ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าอำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมได้มีการโอนไปเป็นของ กทช.โดยผลของกฎหมายแล้วประกอบกับได้มีการแต่งตั้ง กทช.ก่อนที่ศาลจะมาพิพากษาคดีนี้ ทีทีแอนด์ทีในฐานะที่ได้รับอนุญาตจาก ทศท ก่อนวันที่จะมีพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมใช้บังคับ จึงมีสิทธิประกอบกิจการโทรคมนาคมตามขอบเขตและสิทธิที่มีอยู่เดิมจนกว่าการอนุญาตจะสิ้นสุดลง ซึ่งการประกอบกิจการโทรคมนาคมของทีทีแอนด์ทีจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กทช. ตามมาตรา 51 ประกอบมาตรา 78 วรรค 4 ของ พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่

ศาลจึงไม่มีความจำเป็นต้องออกคำบังคับให้ ทศท โอนอำนาจการกำกับดูแลดังกล่าวไปเป็น กทช.อีก และเมื่ออำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมของ ทศท ได้โอนมาเป็นของกทช. โดยผลของกฎหมายแล้วเป็นผลให้ข้อตกลงใดในสัญญาร่วมการงานที่เป็นอำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมของกทช. ข้อตกลงนั้นไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาอีกต่อไป

ทั้งนี้หลังจากที่ศาลได้พิพากษาถือเป็นอันสิ้นสุดในศาลปกครองกลางและคู่กรณีสามารถที่จะอุทธรณ์ได้ในศาลปกครองสูงสุด

นายปริญญา วิเศษสิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่า ทีโอทีจะทำหนังสือขอให้ศาลชี้แจงคำพิพากษานี้ เพราะจะทำให้เกิดความคลุมเครือต่อสัญญาร่วมการงานที่ต้องตีความในอนาคต เนื่องจากในความเป็นจริงน่าจะระบุถึงบทบาทกำกับดูแลภายใต้สัญญาร่วมการงานเป็นหลัก ไม่ใช่ตีความว่าอำนาจกำกับดูแลอยู่ที่ใคร

"การกำกับดูแลตามสัญญาร่วมการงานเช่นการเข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานของทีทีแอนด์ทีปีละครั้ง ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีการร้องเรียนว่าทีทีแอนด์ทีเก็บค่าบริการสูงกว่าการใช้งาน"

คำพิพากษานี้ถือเป็นการตัดสินแบบไม่ตรงกับคำกล่าวฟ้องของทีทีแอนด์ทีและอาจนำไปสู่การตีความที่จะตามมาอีกมากมาย หากคู่กรณีมีความเห็นไม่ตรงกันในอนาคต เพราะการที่ศาลระบุว่าให้ทีโอทีระงับอำนาจกำกับดูแลที่เป็นของ กทช. นั้นในความเป็นจริงน่าจะพิจารณาในขอบเขตของสัญญามากกว่าเพราะในความเป็นจริงกทช. มีอำนาจในการกำกับอุตสาหกรรมทั้งหมดแต่ไม่สามารถแทรกแซงสัญญาที่เกิดจาก 2 ฝ่ายได้ ซึ่งทีโอทีเห็นว่าคำพิพากษากว้างไป และคดีนี้ต้องอุทธรณ์แน่นอน

ก่อนหน้านี้ "ตุลาการผู้แถลงคดี" ได้อ่านแถลงการณ์ โดยระบุว่า "ยกฟ้อง" โดยเนื้อหาของตุลาการผู้แถลงคดีอ้างอิงถึงพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก ซึ่งเป็นกฎหมายที่รองรับการเปลี่ยนสถานะกิจการของรัฐวิสาหกิจและมีเรื่องโครงสร้างการถือหุ้น ที่สามารถยึดถือได้ว่าองค์กรทีโอทียังไม่ได้เปลี่ยนสถานะไป ซึ่งทำให้คำพิพากษาถือว่าพลิกความคาดหมาย เพราะที่ผ่านมาศาลมักพิพากษาในทางเดียวกับตุลาการผู้แถลงคดี

ด้านทีทีแอนด์ที เตรียมที่จะพิจารณาสัญญาร่วมการงานข้อต่างๆว่ารายการใดที่อยู่หรือไม่อยู่ในขอบข่ายที่ทีโอทีจะกำกับดูแลได้

นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารกฎหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่าผลพิพากษาออกมาแบบนี้ถือว่าถูกต้องในสายตาของกลุ่มทรูแล้วและกลุ่มทรูก็มีการพิจารณาในเรื่องบทบาทกำกับดูแลของทีโอทีมาระยะหนึ่งว่าอันไหนทำได้ก็ต้องทำเช่นการส่งส่วนแบ่งรายได้ ตามสัญญาร่วมการงานหรือการแบ่งส่วนทำธุรกิจแต่การกำกับอีกหลายรายการที่นอกเหนือบทบาทบริษัทก็จะไม่ให้ใช้อำนาจกำกับดูแล   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us