Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2527
ธนาคารคอนติเนนตัลอิลลินอยส์ (ภาคสอง) แก้ปัญหาสิ้นสุดลงแล้ว...แต่...!             
 

   
related stories

คอนนิเนนตัล-อิลลินอยส์บทเรียนที่แบงก์ไทยควรสังวรไว้
CINB มาไทยให้ความมั่นใจไตรมาสที่ 4 กำไรดีมาก

   
search resources

Banking
ธนาคารคอนติเนนตัลอิลลินอยส์แห่งชาติ




เมื่อเร็วๆ นี้ “ผู้จัดการ” ได้นำเรื่องธนาคารคอนติเนนตัล-อิลลินอยส์ เนชั่นแนล หรือเรียกสั้นๆ ว่า CINB มาลงในฉบับที่ 10 ประจำเดือนมิถุนายน 2527 (หน้า 36-42)

ในครั้งนั้นเป็นการรายงานถึงเหตุที่เกิดขึ้นจากการรุมถอนเงิน และจากภาวการณ์ที่ CINB มีภาระหนี้ที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ (NON PERFORMING LOANS) อยู่ก้อนหนึ่ง

วิกฤตการณ์ครั้งนั้นเป็นสาเหตุให้ FEDERAL RESERVE BOARD ที่ชิคาโกต้องเข้ามาช่วยอย่างเร่งด่วน โดยอัดฉีดเงินเข้าไปร่วม 4 พันกว่าล้านเหรียญ ผสมกับเงินร่วมเจ็ดพันกว่าล้านเหรียญก็ยังอุดแทบไม่อยู่

ในที่สุด FDIC (FEDERAL DEPOSIT INSURANCE CORPORATION) หรือสถาบันประกันเงินฝากถึงกับต้องออกมาประกาศว่า จะรับประกันเงินฝากทุกก้อน ถึงแม้ว่ายอดจะเกินกว่า 100,000 เหรียญที่ได้ตั้ง LIMIT ไว้ก็ตาม

ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถจะหยุดยั้งความไม่สบายใจของผู้ที่จะเอาเงินมาฝากได้ เพราะกลุ่มผู้ฝากของ CINB ปัจจุบันเป็นกลุ่มที่อ่อนไหวและละเอียดอ่อนมาก

เพื่อแก้ปัญหาเรื้อรังนี้ให้เด็ดขาดไป FDIC และ FEDERAL BOARD รวมทั้งตัวธนาคาร CINB และ COMPTROLLER OF THE CURRENCY หรือผู้ควบคุมดูแลเงินตราใช้เวลาระหว่างเดือนพฤษภาคมที่เกิดวิกฤตการณ์จนถึงเดือนกรกฎาคม หาวิธีการแก้ปัญหา CINB ให้เด็ดขาดไปเลย

วิธีการดังกล่าวก็ได้ถูกที่ประชุมผู้ถือหุ้น CONTINENTAL ILLINOIS CORPORATION ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ CINB ลงคะแนนเห็นด้วย ถึงแม้จะไม่ค่อยเต็มใจก็ตาม

การแก้ปัญหาของ CINB นั้น พอจะอธิบายเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ :-

การ RESTRUCTURE องค์กรใหม่

1. CONTINENTAL ILLINOIS CORP. บริษัทแม่ของ CINB จะถูกเป็นบริษัทลูกของ HOLDING COMPANY บริษัทใหม่ที่เพิ่งตั้งขึ้นมา

2. บริษัท HOLDING ใหม่นี้จะยื่นขออนุญาตต่อ FEDERAL RESERVE BOARD เพื่อเป็นเจ้าของ CINB

3. บริษัทใหม่นี้จะได้รับโอนหุ้นสามัญของ CONTINENTAL ILLINOIS CORP.

4. ผู้ถือหุ้นของ CONTINENTAL ILLINOIS CORP. จะได้รับหุ้นในบริษัทใหม่นี้ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1

การเข้าช่วย CINB โดย FDIC

1. FDIC จะซื้อสินเชื่อที่มีปัญหาจาก CINB มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ตามตลาดในราคาเพียง 3 พันล้านดอลลาร์

2. CINB มีสิทธิที่จะขายสินเชื่อที่มีปัญหาให้ FDIC ได้เพิ่มอีก 1 พันห้าร้อยล้านดอลลาร์ในราคาตลาดที่ปรับแล้ว และสินเชื่อพวกนั้นต้องไม่ใช่สินเชื่อที่เกิดขึ้นหลัง 31 พฤษภาคม 2527

3. FDIC จะต้องซื้อสินเชื่อดังกล่าวจาก CINB และ FDIC จะเป็นผู้มีสิทธิในการเรียกเก็บจากผู้ที่ติดค้างสินเชื่อเหล่านั้นแต่ผู้เดียว

การบริหารสินเชื่อที่มีปัญหา

1. CINB จะตั้งฝ่ายพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่ติดตาม และบริการหนี้สินเชื่อที่ CINB โอนให้ FDIC

2. CINB จะมีสัญญาพิเศษกับ FDIC ในการรับจ้างทำบริการดังกล่าว

ความช่วยเหลือด้านการเงิน

1. FDIC จะรับผิดชอบเงินที่ CINB กู้จาก FEDERAL RESERVE BANK OF CHICAGO จำนวนเงิน 3,500 ล้านดอลลาร์ ที่ CINB กู้ไปในยามวิกฤตในเดือนพฤษภาคม 2527

2. FDIC จะใช้รายได้ที่เก็บจากสินเชื่อที่มีปัญหาที่ซื้อจาก CINB ไปจ่ายคืนให้ RESERVE FEDERAL

3. ถ้าภายใน 5 ปี FDIC สามารถเก็บหนี้สินและจ่ายคืน FEDERAL RESERVE BOARD ได้หมดแล้วยังมีเงินเหลือ ก็จะคืนเงินที่เหลือให้ CINB

4. FDIC จะเอาเงินเข้าไปใน CINB อีก 1 พันล้านเหรียญในรูปของการซื้อหุ้น SERIES 2 NON-VOTING, JUNIOR CONVERTIBLE PREFERRED STOCK และ SERIES 3 NON-VOTING, ADJUSTABLE-RATE PERPERUAL PREFERRED STOCK

ผลกระทบในเรื่องสถานภาพทางการเงินก็มีดังนี้ :-

1. เมื่อ CINB ถูก FDIC ซื้อหนี้เสียจำนวน 4.5 พันล้านในราคา 3.5 พันล้าน CINB ก็ต้อง WRITE OFF หนี้สูญไป 1 พันล้านเหรียญในไตรมาสที่สอง ซึ่งแสดงตัวเลขขาดทุนออกมาเป็น 1,158 ล้านเหรียญ หรือขาดทุนหุ้นละ 28.86 เหรียญ

2. CINB ก็จะมีทรัพย์สินรวมประมาณ 30,000 ล้านเหรียญ และมีทุนซึ่งรวมทั้งเงินสำรองและอื่นๆ 2,200 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 7% ของทรัพย์สินรวม

3. สำรองสำหรับหนี้สูญของ CINB ก็จะลดลงเหลือเพียง 325 ล้านเหรียญ และ EQUITY ประมาณ 800 ล้านเหรียญ

การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร

JOHN E.SWEARINGEN อายุ 65 ปี อดีตผู้จัดการใหญ่ของ STANDARD OIL COMPANY (INDIANA) และกรรมการของธนาคารเชสแมนแฮตตัน ได้ถูกเลือกเข้ามาเป็นประธานกรรมการและผู้จัดการใหญ่ของ CONTINENTAL ILLINOIS CORPORATION บริษัทแม่ของ CINB

SWEARINGEN เป็นคนที่ในวงกายอมรับว่า เด็ดขาดและเก่งในด้านธุรกิจ ประสบการณ์ของเขาที่อยู่ในวงการน้ำมันมาตลอด จนถึงตำแหน่งกรรมการในธนาคารเชสแมนแฮตตัน พอจะทำให้มองเห็นว่า CINB อาจจะได้รับการนำทางจากประธานกรรมการคนใหม่นี้ ในการตามเก็บหนี้สินที่ CINB มีเกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมันได้เป็นมวยมากขึ้น

อีกคนหนึ่งที่ถูกชังจูงเข้ามาในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ และ CHIEF OPERATING OFFICER ใน CINB คือนาย WILLIAM S. OGDEN อายุ 56 ปี ซึ่งเคยเป็นนายธนาคารมืออาชีพจากธนาคารเชสแมนแฮตตัน ตำแหน่งสุดท้ายที่เชสฯ คือรองประธานกรรมการและ CHIEF FINANCIAL OFFICER

ที่จริงแล้ว WILLIAM S.OGDEN เป็นทางเลือกที่สอง เพราะคนแรกปฏิเสธไม่รับงานนี้ คนนั้นคือ RICHARD P. COOLEY ซึ่งเป็นคนเข้าไปบริหารธนาคาร SEATTLE FIRST NATIONAL BANK ซึ่งเกือบล้มไป แต่ถูก BANK AMERICA เข้าโอบอุ้มและ COOLEY ได้เข้าไปแก้ไขจน SEATTLE FIRST NATIONAL สามารถทำกำไรได้ภายในปีเดียวเท่านั้น

ส่วนผู้บริหารเก่าของ CINB คือ DADID G. TAYLOR ซึ่งเป็นประธานกรรมการและผู้จัดการใหญ่ได้เพียง 5 เดือนก็ต้องลงมาเป็นรองประธานของธนาคารแทนชั่วคราวจนกว่าการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารถึงที่สิ้นสุด ก็คงจะรู้ว่า DAVID G. TAYLOR จะเป็นอย่างไรต่อไป?

สถานภาพของ CINB หลังจากที่กำจัดหนี้เสียส่วนใหญ่ไปแล้ว ทรัพย์สินก็จะลดลงเป็น 30,000 ล้านเหรียญ และเพื่อจะไม่ต้องพึ่งเงินฝากประเภทที่อ่อนไหวจากข่าวคราวต่างๆ ยอดทรัพย์สินของ CINB อาจจะต้องลงไปถึง 25,000 หรือ 20,000 ล้านเหรียญ

ซึ่งในขนาดแบบนั้น CINB คงจะเข้าแข่งขันเป็น BIG MONEY CENTER ลำบากขึ้น

แต่ทั้งหมดนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับทีมงานใหญ่ว่าจะนำทางของ CINB ไปได้ดีแค่ไหน?

การแก้ปัญหาของ CINB คงต้องใช้เวลา

ถึงแม้ว่าทุกฝ่ายจะยืนยันว่าธนาคารนี้คงเป็นอิสระไม่ได้ถูกควบคุมโดย FDIC เลย และ FDIC ก็ยืนยันว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำงาน การแต่งตั้ง หรือถอดถอนผู้บริหารคนใดทั้งสิ้น แต่ดังที่นิตยสาร ฟอร์จูน ได้กล่าวไว้ในฉบับเดือนสิงหาคมว่า “ถึงแม้จะไม่มีชื่อว่าเป็นธนาคารรัฐบาล แต่ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ว่ารัฐบาลสามารถถอดถอนกรรมการ ควบคุมเรื่องการเงิน และวีโต้นโยบายได้ มันก็

เหมือนกับว่า CINB ก็เป็นธนาคารรัฐบาลเช่นกัน”

นอกจากนั้นแล้วนายธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐยังนั่งประสาทผวากันอยู่ เพราะกรณีของ CINB ได้พิสูจน์แล้วว่าสถาบันประกันเงินฝาก FDIC นั้นเมื่อเจอเอากรณีวิกฤตการณ์ของธนาคารขนาดใหญ่ขึ้นมาก็เอาแทบจะไม่อยู่เหมือนกัน

และถ้าเกิดมีอีกแห่งขนาด CINB ล่ะ !   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us