|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤศจิกายน 2527
|
|
เซมิคอนดักเตอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญและเป็นการพัฒนาที่ไม่หยุดหย่อนของเครื่องพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ถ้าจะอธิบายว่าคืออะไรก็คงจะต้องเริ่มต้นที่ เซมิคอนดักเตอร์แบ่งออกเป็นสองชนิดด้วยกันก่อน คือชนิดที่รับและบันทึกความจำที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าเมมโมรี่ ชิป กับชนิดที่เรียกว่าลอจิก ชิป ซึ่งมีหน้าที่ใช้ข้อมูลหรือความจำที่บันทึกไว้แล้วควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้ที่ตัวมันติดอยู่ปฏิบัติงาน
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้กันแพร่หลายอยู่ทุกวันนี้ เซมิคอนดักเตอร์ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญด้วย และมีใช้กันสองชนิดในเมื่อเมมโมรี่ ชิป ใช้เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมทุกๆ อย่างที่บันทึกลงไปตามที่เจ้าของเครื่องจะต้องการไม่ว่าจะเป็นแบบฟอร์มและกำหนดการเสียภาษี ไปถึงการเตือนความจำอื่นๆ ที่จำเป็น ส่วนลอจิก ชิป ก็จะเป็นฝ่ายมีหน้าที่จัดการเรียงโปรแกรมหรือข้อมูลให้เข้าที่ทาง
ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่เซมิคอนดักเตอร์จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างที่ว่า ได้กลายมาเป็นชิ้นส่วนในการควบคุมการทำงานของรถยนต์ เครื่องรับโทรทัศน์ จรวด ขีปนาวุธไปจนถึงเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งกลายเป็นภาระหน้าที่ในชีวิตประจำวันไปเสียแล้วในโลกทุกวันนี้
แม้จะเป็นฝ่ายคิดค้นเซมิคอนดักเตอร์ขึ้นมาก่อน แต่วงการผลิตในสหรัฐฯ กลับพ่ายแพ้ในการแข่งขันทางตลาดแก่ญี่ปุ่นไประยะหนึ่ง เมื่อยอดขายและยอดผลิตสู้ไม่ได้ ถึงกับสร้างความกังวลใจให้แก่อุตสาหกรรมด้านนี้ของสหรัฐฯ มากพอสมควร เกรงกันว่าเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ จะกลายเป็นสินค้าที่แพ้สินค้าชนิดเดียวกันต่อสินค้าญี่ปุ่นอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้เช่นรถยนต์หรือเหล็กกล้า
หลังจากตกต่ำเป็นรองญี่ปุ่นอยู่ช่วงหนึ่ง สินค้าเซมิคอนดักเตอร์จากสหรัฐฯ ก็บุกตลาดเพิ่มขึ้นเอาชนะญี่ปุ่นได้อีกครั้งหนึ่ง อย่างที่จะเห็นจากตัวเลขของเมื่อปีกลายที่ระบุว่ายอดขายทั่วโลกของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 20% คิดเป็นเงินได้ 9.6 พันล้านดอลลาร์ และสำหรับปีนี้ประมาณกันว่าจะเพิ่มทั้งยอดผลิตและยอดขายขึ้นไปอีกถึง 50%
วงการอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาอย่างชนิดที่ไม่เคยมาก่อน ซึ่งจะเห็นได้จากการออกเสียงครั้งประวัติศาสตร์ด้วยคะแนน 363 ต่อ 0 ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ให้ผ่านกฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์คุ้มครองผู้ออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ไม่ให้มีการลอกเลียนจากคู่แข่งได้ แบบเดียวกับลิขสิทธิ์ที่ใช้คุ้มครองผู้เขียนนวนิยายหรือบทละครทีเดียวและเชื่อกันว่าประธานาธิบดีเรแกนจะลงนามประกาศให้กฎหมายดังกล่าวมีใช้ได้อย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้เพราะผ่านการรับรองจากวุฒิสภา
กฎหมายดังกล่าวจะช่วยปกป้องการออกแบบเซมิคอนดักเตอร์ทุกชนิดในสหรัฐฯ ซึ่งได้ใช้เวลาค้นคว้านานแรมปี และหมดค่าใช้จ่ายไปแล้วหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างเซมิคอนดักเตอร์ให้มีขนาดเล็กเพียงปลายนิ้วมือแล้วติดตั้งในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นพันๆ ชนิดได้อย่างสมบูรณ์
เป้าหมายของการออกกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ครั้งนี้เพื่อปกป้องการรุกรานของญี่ปุ่นซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชาติผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อันดับที่สองของโลกรองจากสหรัฐฯ เพราะสินค้าดังกล่าวจากญี่ปุ่นลอกเลียนแบบอย่างไปจากสหรัฐฯ ตลอดเวลาแต่ผลิตออกมาขายด้วยราคาที่ถูกกว่าแล้วแย่งตลาดของสหรัฐฯ ไปอย่างที่เคยเป็นมา
บริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ ที่ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ล้วนประสบความสำเร็จในการขายและผลิตมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทอินเทล คอร์ป, แอ็ดวานซ์ ไมโครดีไวซ์ หรือซันนี่ เวล เป็นต้น ความเจริญเติบโตดังกล่าวมีส่วนสำคัญในเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ตกต่ำมาก่อนนี้ แล้วมีอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ช่วยหนุนอยู่ด้วย
สตีเฟน เซเล็นซิค รองประธานบริษัทแอ็ดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ กล่าวถึงเซมิคอนดักเตอร์ไว้อย่างชื่นชมว่า “เราถึงยุคของเซมิคอนดักเตอร์แล้ว มันอยู่ที่นี่ ผู้คนทั่วไปจะต้องยอมรับเพราะมันคือเหตุผลของทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น มีอยู่ในทุกที่” ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะเซมิคอนดักเตอร์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของนาฬิกาแบบทันสมัย ในโรงงานก็ใช้ควบคุมหุ่นยนต์ปฏิบัติงาน ในรถยนต์ก็ช่วยควบคุมเรื่องการต่อต้านมลภาวะจากควันและช่วยประหยัดน้ำมัน นอกจากนี้ยังมีไว้ใช้ควบคุมอาวุธทุกชนิดให้พุ่งตรงเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
ในช่วงปีทศวรรษ ปี ค.ศ. 1970 อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ ตกต่ำลงไปมาก เพราะขายไม่ค่อยจะออกและบริษัทเจ้าของกิจการของสหรัฐฯ กลับแก้ไขสถานการณ์ตอนนั้นด้วยการลดค่าใช้จ่ายและค่าจ้างคนงานลง รวมทั้งยุติการค้นคว้าเพื่อพัฒนาชิ้นส่วนสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวลงด้วย จึงเป็นโอกาสให้อุตสาหกรรมแบบเดียวกันจากญี่ปุ่นกระเตื้องขึ้นมาแล้วบุกเข้าตีตลาดแทนสหรัฐฯ แต่ในสหรัฐฯ ไม่ยอมหยุดยั้งหรืองอมืองอเท้า กลับเร่งลงทุนค้นคว้าต่อและหาเงินมาเพิ่มการลงทุนต่อไปอีกซึ่งเห็นผลดีในเวลาต่อมา
ในปัจจุบันผู้ที่ครองตลาดเซมิคอนดักเตอร์แบบลอจิกจะเป็นสหรัฐฯ แต่สำหรับเมมโมรี่เซมิคอนดักเตอร์แล้ว ได้ตกเป็นของญี่ปุ่นไป แต่ถ้าจะกล่าวโดยรวมแล้ว อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นกำลังอยู่ในสภาพ “บูม” อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ต่างขยายการพัฒนาสินค้าชนิดนี้ให้มีความสามารถแตกต่างกันออกไปเพื่อรับใช้กิจการต่างๆ ได้มากขึ้น บางบริษัทผู้ผลิตกำลังเร่งพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ของตนให้เป็นประโยชน์หรือส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้เปิดตลาดสินค้าดังกล่าวออกไปอีก ปัจจุบันนี้เซมิคอนดักเตอร์ขนาดจิ๋วแต่ประสิทธิภาพสูงจึงเข้าไปมีบทบาทเฉพาะในจรวดขีปนาวุธแบบต่างๆ และการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งระบบธรรมดาและในอวกาศอย่างมากมายชนิดที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นในตลาดเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกยังคงมีอยู่ต่อไป สำหรับในตลาดโลกทั้งหมด สินค้าจากสหรัฐฯ ขายดีกว่าของญี่ปุ่นในอัตรา 44% ต่อ 30% แต่สำหรับเมมโมรี่ ชิปซึ่งญี่ปุ่นใช้ต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าเอาชนะสหรัฐฯ ไปได้ในอัตราการขาย 60% ต่อ 40% นอกจากนี้เซมิคอนดักเตอร์แบบเมมโมรี่บางชนิดของญี่ปุ่นซึ่งมีราคาถูกกว่าแล้วยังสามารถสะสมข้อมูลไว้ได้มากกว่าแล้วยังสามารถสะสมข้อมูลไว้ได้มากกว่าของสหรัฐฯ อีกด้วย เช่นแบบ 64 เค แรม ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 65,536 ประการ นอกจากนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการของญี่ปุ่น เช่น ฮิตาชิ, ฟูจิตสุ และเอ็นอีซี กำลังเร่งผลิตเมมโมรี่ เซมิคอนดักเตอร์แบบใหม่ที่จะมีขนาดเล็กกว่าของเก่าแต่สามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าสี่เท่าและได้ตั้งชื่อไว้แล้วว่าแบบ 256 เค แรม และยังคุยอีกว่าจะระดมผลิตให้ได้มากถึงเดือนละหนึ่งล้านเครื่องทีเดียว
ผู้ผลิตชาวญี่ปุ่นยังจะใช้วิธียึดหัวหาดการผลิตไว้บนแผ่นดินสหรัฐฯ อีกด้วย เพราะเห็นแล้วว่าลูกค้าสหรัฐฯ ให้ความสนใจแก่ผลิตภัณฑ์ของตนที่มีราคาถูกกว่าและประสิทธิภาพดีกว่า โดยจะเข้าไปเปิดร้านขายสินค้าชนิดนี้ถึงในซิลิกอน วัลเลย์ ซึ่งเป็นเมืองผลิตอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ของสหรัฐฯ ทีเดียว นอกจากนี้ทั้งฮิตาชิและฟูจิตสุยังจะเปิดโรงงานใหม่ขึ้นอีกที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนเกาหลีใต้และไต้หวันซึ่งกำลังส่งเสริมกิจการคอมพิวเตอร์สู้กับประเทศอื่นๆ และมีความก้าวหน้าพอสมควรแล้วก็กำลังขยับขยายมาสร้างโรงงานในสหรัฐฯ เช่นกัน
การขยายตัวของกิจการคอมพิวเตอร์ในทางกลับกันก็มีอยู่เมื่อบริษัทเทกซัส อินสทรูเมนท์ ได้หันไปเปิดโรงงานผลิตเซมิคอมพิวเตอร์ในญี่ปุ่นอีกสามแห่ง ทั้งนี้ประธานบริษัทอเมริกันดังกล่าวเชื่อมือในเรื่องประสิทธิภาพและกฎเกณฑ์ของกิจการของตนว่าสูงพอที่จะไปเปิดสู้กับสินค้าท้องถิ่นที่ไหนๆ ในโลกได้ทั้งสิ้นเหมือนกัน
การแข่งขันอีกระดับหนึ่งที่ฝ่ายอเมริกันชักจะเป็นห่วงก็คือมาบัดนี้ญี่ปุ่นได้หันมาเร่งผลิตลอจิกเซมิคอนดักเตอร์บ้างแล้ว อย่างเช่นในกรณีของฮิตาชิที่เน้นเรื่องการใช้พลังงานน้อยและทำงานได้รวดเร็วกว่า ซึ่งฝ่ายอเมริกันก็ต้องยอมรับในความมานะพยายามเช่นนี้ของญี่ปุ่นและถือว่าอย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ก็เป็นเรื่องสากล ใครจะมีความสามารถผลิตชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา โดยไม่ลอกเลียนอย่างหนึ่งโดยเฉพาะแต่ผู้เดียวเห็นทีจะเป็นไปไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ยิ่งเร่งผลิตเร่งขยายงานเพียงไร ผลประโยชน์โดยส่วนรวมจะตกแก่วงการอุตสาหกรรมเซมิคอมพิวเตอร์และผู้ใช้ รวมทั้งวิวัฒนาการด้านนี้ด้วยเพราะมาบัดนี้เซมิคอนดักเตอร์ได้กลายเป็นชิ้นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันของคนเราไปแล้วนั่นเอง
|
|
|
|
|