"ประชัย"ยอมรับสภาพปล่อยให้เอ็ฟเฟ็คทีฟฯบริหารทีพีไอต่อไป ตามคำ
สั่งศาลฎีกา คอยทำหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมอีพีแอลว่าดำเนินการตามแผนหรือไม่
เตรียมยื่น
คำร้องขอให้อีพีแอลเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส ขณะเดียวกัน รอผลการชี้ขาดอีก
2 คดีที่จะทำให้อีพีแอลหลุดจากการเป็นผู้บริหารแผน "ประชัย" ระบุทีพีไอล้ม
แบงก์กรุงเทพก็เจ๊ง
"ผมจะทำหน้าที่คอยตรวจสอบการบริหารงานของอีพีแอล ว่าทำไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ผ่านตามความเห็นชอบจากศาลล้มละลายกลางหรือไม่
หากเห็นว่าไม่ถูกต้องก็จะทำการคัดค้านและร้องเรียนต่อศาลต่อไป" นายประชัย
เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย
จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ
กล่าวเปิดใจเป็นครั้งแรกหลังจากศาลฎีกา ได้มีคำสั่งยกคำร้องกรณีขอให้พิจารณาเพิกถอนบริษัท
เอ็ฟเฟ็ค- ทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพีแอล) ออกจากการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ
ปัญหาการตรวจสอบการทำงานของอีพีแอลในขณะนี้คือผู้บริหารของอีพีแอล ได้มีคำสั่งให้พนักงานทุกฝ่าย
โดยเฉพาะฝ่ายบัญชีงดให้ข้อมูลหรือเอกสารกับผู้บริหารชุดเดิม
จึงทำให้การตรวจสอบทำได้ลำบาก ดังนั้นตนจึงจะทำหนังสือถึงศาลล้มละลายกลางให้มีคำสั่งให้อีพีแอลยอมให้ข้อมูล
เพื่อให้การตรวจสอบทำได้ง่ายขึ้น นายประชัย กล่าวต่อว่า
การต่อสู้ที่ผ่านมาทั้งหมด ทำไปเพราะต้องการช่วยเหลือทุก ๆ ฝ่าย ทั้งเจ้าหนี้,
พนักงานทีพีไอ เพื่อให้ทีพีไอสามารถดำเนินการต่อไปได้ และมีเงินมาชำระหนี้
แต่เจ้าหนี้บางรายกลับไม่เข้าใจและยังเปิดทางให้อีพีแอล เข้ามาย่ำยีทีพีไอ
เพราะอีพีแอลไม่สามารถดำเนินการตามแผน และฟื้นฟูกิจการทีพีไอได้ เนื่องจากไม่มีความรู้และประสบ
การณ์ในธุรกิจปิโตรเคมี ขณะเดียวกัน ก็กอบโกยสมบัติของคนไทย ด้วยการเรียกค่าบริหารแพงๆ
และนำเงินตราออกนอกประเทศไทย โดยไม่ได้มีการจ้างคนไทยทำงานแต่อย่างใด "เจ้าหนี้ไม่เข้าใจ
โดยเฉพาะแบงก์กรุงเทพ ที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ มูลหนี้รวมประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
เพราะถ้าหากทีพีไอเจ๊งหรือล้ม ละลายไปก็เท่ากับว่าแบงก์กรุงเทพเจ๊งไปด้วย
เพราะในปีที่ผ่านมาแบงก์กรุงเทพมีกำไรกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้มาจากการแปลงหนี้เป็นทุนของทีพีไอ
ดังนั้นหากทีพีไอ เจ๊งก็เท่ากับแบงก์กรุงเทพเจ๊งด้วย" นายประชัย กล่าวว่า
ตั้งแต่อีพีแอลเข้ามา
บริหารแผนทีพีไอ บริษัทก็ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานไม่เป็นตามแผน
โดยเฉพาะด้านผลประกอบการที่ตกต่ำ ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาทีพีไอ มีกำไรขั้นต้น
(EBITDA) ต่ำกว่าประมาณการ คือ
มีกำไรขั้นต้นเพียง 120 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณเดือนละ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ
เท่านั้น ขณะที่ประมาณการตั้งไว้สูงถึงปีละ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนแนวทางการดำเนินการทางกฎหมายต่อไปนั้น นายประชัย กล่าวว่า ขณะนี้รอผลการพิจารณาของศาลล้มละลายกลางในกรณีการทุจริตของอีพีแอลที่ยักยอกเงินค่ารักษาความ
ปลอดภัยไปยังประเทศลาว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการไต่สวนของศาล และอีกประเด็นหนึ่งคือ
คดีการกระทำผิดตามพ.ร.บ. การทำ งานของบุคคลต่างด้าว ที่อีพีแอล
เข้ามาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งขณะนี้ศาลแขวงพระ นครใต้ กำลังนัดไต่สวนอยู่
สำหรับกรณี การทำผิดพ.ร.บ. บุคคลต่าง ด้าวนั้น ผู้บริหารของอีพีแอลถูกเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แจ้งความดำเนินคดี และจากการพิจารณาของสำนักงานอัยการ
พบว่า กระทำผิดจริง จึงได้ส่งให้ศาลแขวงพระนครใต้ดำเนินการวินิจฉัยต่อไป
"หากการพิจารณาของศาลทั้ง 2 คดี ศาลเห็นว่าอีพีแอลมีความผิดจริงเท่ากับอีพีแอลหมดสิทธิในการบริหารแผนทีพีไอต่อไป
เพราะตามคำสั่งของศาลฎีกาเปิดช่องไว้ว่า หากอีพีแอล
กระทำทุจริตและผิดกฎหมายอีพีแอลก็หมดสิทธิบริหารทีพีไอ และต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไทยด้วย"
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลล้มละลายกลางพิพากษาศาลฎีกา
เลขที่
1117/2545 ตามที่บริษัท ปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน)หรือ TPI ในฐานะลูกหนี้
บริษัท ทีพีไอ อินเตอร์เน็ต พอร์ทัล จำกัด ในฐานะเจ้าหนี้รายที่ 207 และบริษัท
ซิเมนต์ ทรานสปอร์ต จำกัด เจ้าหนี้รายที่
270 ยื่นอุทธรณ์คัด ค้านคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2543
โดยศาลฎีการับวันที่ 16 มีนาคม 2544 โดยศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลล้มละลาย
กลางที่เห็นชอบแผนฟื้น ฟูของทีพีไอ เนื่องจากมีเนื้อหาครบถ้วนตามกฎ หมายล้มละลาย
ทั้งกระบวนการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ
กระบวนการพิจารณาของศาลล้มละลายกลางเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูฯมีความถูกต้องตามที่กฎหมายได้กำหนด
และการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอเป็นประ โยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องของทีพีไอและประเทศชาติ
นายปีเตอร์ กอทธาร์ด ผู้บริหารอาวุโส บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด
ในฐานะผู้บริหารแผนของทีพีไอ กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาครั้งนี้จะสร้าง
ความมั่นใจให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาซื้อสินทรัพย์รองจากทีพีไอมากขึ้น ทำให้บริษัทฯอาจขายสินทรัพย์รองมูลค่า
200 ล้านเหรียญสหรัฐได้ตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ทีพีไอในวันที่ 31
มี.ค.46
คดีความดังกล่าวใช้เวลานาน ถึงปีกว่า ศาลฎีกาจึงมีคำพิพากษาออกมาซึ่งทำให้
การขายสิน ทรัพย์รองของทีพีไอได้รัปผลกระทบ เนื่องจากผู้ที่จะซื้อสินทรัพย์รองเกรงว่าจะมีการเพิกถอนผู้บริหารแผนฯ
จึงได้ประวิงเวลาที่จะซื้อ ทำให้บริษัทฯไม่ สามารถขายสินทรัพย์รองได้ตามกำหนด
จึงต้องขอมติที่ประชุมเจ้าหนี้เลื่อนการขายสินทรัพย์รองออกไปเป็นวันที่ 31
มี.ค.46 แทน
ปัจจุบันการเจรจาขายโรงไฟฟ้าทีพีไอให้กับบ้านปู เพาเวอร์ มูลค่าประมาณ 100
ล้านเหรียญสหรัฐ มีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะลงนามสัญญาซื้อขายได้
แต่การเซ็นสัญญาดังกล่าวไม่ใช่จุดสิ้นสุดของดีลขายโรงไฟฟ้าเนื่องจาก มีเงื่อนไขก่อนดีลจบ
อาทิ การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของทีพีไอ
ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการเจรจาซื้อขายโรงไฟฟ้า การกำหนดเงื่อนไขก่อนดีลจบครั้งนี้
อีพีแอลเชื่อว่า หลังจากศาลตัดสิน การบริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอนับจากนี้จะไม่ประสบอุปสรรค
แต่ก็ยอมรับว่า คดีที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้บริหารทีพีไอ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลโดยกล่าวหาว่าผู้บริหารของ
เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส และบริษัทฯ ไม่มีสิทธิ์ในการบริหาร แผนฯ
เนื่องจากผิดกฎหมายเกี่ยวกับการไม่มีใบ อนุญาตทำงาน หรือ Work Per-mit จะมีปัญหา
อยู่บ้างแต่จากคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ระบุว่าเอ็ฟเฟ็คทีฟฯได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
เชื่อว่าศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งไปในทิศทาง เดียวกับศาลฎีกา อย่างไรก็ตาม
หากศาลมีคำสั่งให้มีความผิดจริงก็เชื่อว่าเป็นการกระทำผิดในแง่ตัวบุคคล เท่านั้น
ไม่เกี่ยวกับเอ็ฟเฟ็คทีฟ ฯ
จึงไม่กระทบต่อการเป็นผู้บริหารแผนฯ และถึงแม้ว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารแผนฯใหม่ก็ตาม
ทางเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อคัดเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่
ดังนั้นโอกาสที่นายประชัย จะเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนฯคงปิดสนิทแล้ว