Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2527
วัฒนธรรมกับการจัดการ คนเกาหลีกับวิธีการจัดการในวงธุรกิจ             
โดย มาร์ค เอม เบอร์โร
 


   
search resources

Commercial and business
International
Knowledge and Theory




ในเกาหลีมีลักษณะพิเศษและการปฏิบัติในวงการธุรกิจบางอย่าง ซึ่งถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นมารยาทที่ถูกต้อง ซึ่งถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นมารยาทที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่ในวงการเช่นนั้น

สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษได้แก่มารยาทเกี่ยวกับการพบปะกันเป็นครั้งแรก ระหว่างแขกชาวต่างประเทศกับชาวเกาหลีผู้เป็นเจ้าภาพ

มีหลายเรื่องหลายกรณีด้วยกันที่ควรจะกล่าวถึง

เรื่องหนึ่งก็คือ การไปพบควรไปให้ตรงเวลา หรืออาจจะล่าไปบ้างไม่กี่นาทีก็ได้ แต่อย่าไปถึงก่อนเวลา

โดยทั่วไป นักธุรกิจชาวเกาหลีจะทำงานเต็มกำหนดตามเวลาทำงานเสมอ

การไปถึงก่อนกำหนดจึงเป็นการรบกวนเวลาทำงานของเขา!

อย่างไรก็ดีแขกไม่ควรจะไปถึงสายกว่า 5 นาที เพราะการไปล่ากว่านั้น เป็นการเริ่มต้นดูหมิ่นความหมายของเจ้าภาพชาวเกาหลี นอกจากนั้น ควรมีนามบัตรติดตัวไปหลายๆ ใบหน่อย เพราะมันจะช่วยสร้างความรู้จักมักคุ้นให้เกิดขึ้น จัดลำดับชื่อให้เหมาะสมและถูกต้องตามพิธีการ สำหรับนามบัตรควรพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษด้านหนึ่ง และเป็นภาษาจีน หรือภาษาเกาหลี (ภาษาฮั่งกุล) บนอีกหน้าหนึ่ง

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้พูดกันเป็นประจำ ในทางธุรกิจของเกาหลี ในขณะที่ภาษาจีนใช้สำหรับสรุปเรื่อง ทำรายงาน หรือเขียนเป็นเอกสารต่างๆ เพราะเป็นภาษาที่มีความหมายแน่นอน และสามารถเจาะจงความหมายที่แตกต่างกันเล็กๆ น้อยๆ ในภาษาฮั่งกุลกับภาษาอังกฤษได้ เว้นแต่ผู้ที่สามารถพูดภาษาเกาหลีได้อย่างคล่องแคล่ว การใช้ภาษาอังกฤษเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ไม่ควรใช้ภาษาอังกฤษกับเจ้าภาพชาวเกาหลีที่แขกผู้เข้าพบไม่แน่ใจว่าเขาจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะมิฉะนั้นจะหลายเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นเขาไป แต่การที่แขกชาวต่างประเทศไม่ใช้ภาษาอังกฤษก็เป็นการลดความภาคภูมิของตัวแขกผู้ไปเยือนนั้นด้วยเหมือนกัน

ชาวเกาหลีนั้นยึดถือมากเกี่ยวกับลำดับญาติและลำดับอาวุโส แม้โดยทั่วไปเขาไม่คิดว่าอาคันตุกะชาวตะวันตกจะถือตามระบบอย่างที่ตัวเขาและชาวเกาหลีตลอดจนชาวตะวันออกอื่นๆ เขาถือกัน

แต่เขาก็อาจไต่ถามถึงบ้างตามธรรมเนียมปฏิบัติ โดยมิได้มีเจตนาที่จะสอดรู้สอดเห็นในเรื่องส่วนตัวแต่อย่างใด

หลักสำคัญที่เขาใช้ในการจำแนกแยกแยะลำดับอาวุโสก็คือ ตำแหน่งงาน ลำดับยศ และอายุ ถ้าหากความสัมพันธ์ใกล้ชิดได้คลี่คลายไปตามหลักเกณฑ์นี้แล้ว เขาก็จะเปลี่ยนไปสู่หลักเกณฑ์อย่างอื่นต่อไป เช่น ระดับของโรงเรียนที่ได้เล่าเรียนมา ปริญญาทางการศึกษาที่ได้รับ หรือระยะเวลาที่สำเร็จการศึกษา

เมื่อถึงจุดหนึ่ง ปัญหาเกี่ยวกับลำดับอาวุโสก็จะผ่านพ้นไปได้ แล้วการเจรจาก็จะดำเนินกันต่อไป

นักธุรกิจชาวเกาหลีเขาจะใช้ประเพณีโค้งคำนับแก่ผู้ที่มีอาวุโสกว่า เพื่อเป็นการแสดงการต้อนรับ และการแสดงคารวะผู้มีอาวุโสน้อย จะโค้งคำนับก่อน โดยโค้งลำตัวจากสะเอวขึ้นไป ทำมุมจากการยืนตัวตรงโค้งลงมาระหว่าง 30 ถึง 45 องศา ส่วนผู้มีอาวุโสกว่า จะคำนับตอบด้วยการโค้งตัวลงน้อยกว่านิดหน่อย

นอกจากนั้น ชาวเกาหลีถือว่าจะเป็นการสุภาพกว่า และแสดงถึงการคารวะกว่าด้วยการส่งของหรือรับของโดยใช้ 2 มือ แทนที่จะใช้มือเดียว ลักษณะแบบเดียวกันนี้ใช้กับการสัมผัสมือด้วย โดยยื่นมือขวาออกไปสัมผัส และกอบมือซ้ายไว้เบื้องล่างแถวๆ ข้อศอกขวา

เว้นแต่ชาวเกาหลีที่มีความเป็นกันเองอย่างมากกับผู้ที่เขาต้อนรับ เขาชอบให้แขกเรียกชื่อสกุลของเขาต่อจากคำนำหน้านามว่า คุณ เช่น คุณชอน บางทีชื่อสกุลของเขาต้องติดตามด้วยอักษรย่อชื่อตัวของเขาอีก 2 ตัว เช่น คุณปัก ดี.เจ. ถ้าเกรงจะเป็นการสับสนว่า ในขณะที่พูดจากันนั้นหมายถึงคุณปักคนไหนแน่

เมื่อนักธุรกิจเกาหลีพร้อมที่จะสัมพันธ์กับแขกของเขาในลักษณะที่เป็นทางการน้อยลง เขาจะแนะว่า ให้เรียกชื่อสกุลของเขาเฉยๆ ก็ได้ เช่น “คิม” ชาวเกาหลีบางคนที่ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ มักมีชื่อตัวตามแบบตะวันตก และมักชอบให้เรียกชื่อตัวมากกว่าเรียกชื่อสกุล เนื่องจากชาวเกาหลีบางคนถือว่าชื่อตัวของเขานั้นเป็นเรื่องส่วนตัวมาก การแนะให้เรียกชื่อตัวแบบนั้นจึงต้องรอให้คุ้นเคยกันเสียก่อน

ในระหว่างการพบปะกันครั้งแรกนั้น เจ้าภาพชาวเกาหลีมักจัดให้มีสื่อขึ้นมาก่อน โดยหลังจากได้พบและทักทายกันแล้ว ก็มักจะเสิร์ฟน้ำชาหรือกาแฟกันก่อนสักขณะหนึ่ง เมื่อนำน้ำชาหรือกาแฟมาเสิร์ฟแล้ว เจ้าภาพเกาหลีจะเชิญขึ้นก่อนแล้วดื่มกัน ชาวเกาหลีมักจะจิบดื่มไปทีละน้อยอย่างช้าๆ และไม่ค่อยมีการเติมกันอีก

ในการพบปะกันครั้งแรก เจ้าภาพชาวเกาหลีอาจเชิญเพื่อนหรือเพื่อนๆ ร่วมโรงเรียนมาร่วมประชุมพบปะกัน การพบปะกันแบบนี้กินเวลาราวชั่วโมง หรือเกือบชั่วโมง ซึ่งส่วนมากมุ่งอยู่ที่ความสนุกสนาน และปล่อยการเจรจาเรื่องราวทางธุรกิจเอาไว้ในการพบปะครั้งที่ 2 หรือในการพบปะครั้งหลัง

ในบางคราวภายหลังจากการติดต่อกันแล้ว ระหว่างแขกชาวต่างประเทศกับเจ้าภาพฝ่ายเกาหลีก็อาจมีโอกาสได้พบปะกับบุคคลบางคนในวงราชการต่อไปอีกด้วย ในกรณีเช่นนั้นเจ้าภาพเกาหลีจะจัดเวลาอันเหมาะสมว่าควรจะให้พบปะกันเมื่อใด และเขาจะทำหน้าที่เป็นคนกลางในการนัดพบดังกล่าว

บางทีแขกต่างประเทศอาจถูกขอร้องให้ทำประวัติย่อของตนเองเอาไว้ล่วงหน้าก่อนการพบปะกัน และเขาจะต้องนำนามบัตรที่เพิ่งพิมพ์ขึ้นมาใหม่ติดตัวไปด้วย เพื่อยื่นแก่ผู้มีอาวุโสที่เขาเพิ่งจะได้พบในตอนแนะนำตัว แบบพิธีในการพบกันนี้ก็เหมือนๆ กับการได้พบกับเจ้าภาพเกาหลีในครั้งแรก จะมีข้อยกเว้นออกไปก็เพียงอย่างสองอย่าง การพบปะกันในครั้งนี้ว่ากันว่าโดยทั่วไปแล้วออกจะมีพิธีรีตองมากกว่า โดยเริ่มพบปะกันตรงตามเวลา และเสร็จสิ้นการพบปะกันตามเวลาที่กำหนดไว้เช่นกัน ตามปกติธรรมดาแล้วจะมีเจ้าหน้าที่ล่ามบันทึกคำพูดเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานว่า ได้พูดจาอะไรกันบ้าง และเก็บไว้ใช้ประโยชน์เมื่อต้องการ ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่อาวุโสจะรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีก็ตาม ในบางครั้งบางคราวเขาอาจพูดด้วยภาษาเกาหลีโดยผ่านล่ามก็ได้

เจ้าหน้าที่อาวุโสโดยมากมักชอบให้เรียกชื่อตำแหน่งกับชื่อสกุลของเขา เช่น ท่านประธานหยู เป็นต้น เขาถือกันว่า เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อเป็นการแสดงกิริยาสุภาพ ควรจะนั่งตัวตรงตามสบายโดยรวบเข่าทั้ง 2 เข้าหากัน การนั่งไขว่ห้าง หรือนั่งตัวงอ ถือกันว่าเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ การแสดงความนับถือใช้การสัมผัสมือกันอย่างธรรมดาๆ ในตอนเริ่มต้น และตอนสิ้นสุดการพบปะกันก็พอ

การที่แขกชาวต่างประเทศแสดงความกระตือรือร้นมากเกินไปในการกระชับความสัมพันธ์ตั้งแต่จุดเริ่มแรกของการติดต่อกับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่เขาได้พบปะนั้น จะสร้างความสับสนให้แก่เจ้าภาพเกาหลี อาคันตุกะควรเพียงแต่ยื่นนามบัตรตามธรรมดาๆ ก็พอ แล้วมอบความไว้วางใจให้เจ้าภาพเกาหลีเป็นผู้ดำเนินการต่อไป ซึ่งเขาจะใช้เวลาและการพิจารณาตามสมควร ในการกำหนดท่าทีที่จะสัมพันธ์กับแขกต่างประเทศ โดยใช้ปัจจัยต่างๆ หลายอย่างด้วยกันซึ่งแขกชาวต่างประเทศจะรู้เห็นได้น้อยมาก หรือไม่ก็ถูกควบคุมอย่างมาก

เจ้าภาพเกาหลีเป็นบุคคลที่มีความเมตตากรุณา และรู้จักปรับปรุงพลิกแพลงได้ดีที่สุดผู้หนึ่งในโลก และเขามีความภาคภูมิใจตนเองในความฉลาดทางด้านนี้ อาคันตุกะชาวต่างประเทศเพียงแต่ทำใจให้เย็นๆ และรอคอยความเอื้ออารีเท่านั้น เขาก็จะพบกับความสำเร็จในดินแดนอันเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพแห่งนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us