Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2527
เทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โฮมเพจ ดาต้าแมท
โฮมเพจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ดาต้าแมท, บมจ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โอฬาร ไชยประวัติ
มนู อรดีดลเชษฐ์
ทวี บุตรสุนทร
วัลลภ วิมลวณิชย์
Computer
ยุพา กาญจนดุล




ในเดือนที่มีอากาศร้อนจัดเช่นเดือนเมษายน “ผู้จัดการ” ได้มีโอกาสหลบลมร้อนไปฟังการสัมมนาเรื่อง เทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่ซึ่งจัดโดย สถาบัน เอ็มไอพี (Management Information People) ร่วมกับสถาบัน บีเอ็มเอส (Business Management Service) ที่ห้องวิภาวดี (เอ) โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัล ลาดพร้าว

วิทยากรที่มาพูดในวันนั้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญได้แก่ ดร.วัลลภ วิมลวณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย มาทำหน้าที่เป็นเสมือนพิธีกรและสรุปในแต่ละหัวข้อ

ทวี บุตรสุนทร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด

มนู อรดีดลเชษฎ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทดาต้าแมท จำกัด

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

และ ผศ.ยุพา กาญจนดุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หัวข้อที่นำมาพูดมีประเด็นใหญ่ๆ และน่าสนใจเพียงพอที่จะนำมาสรุปและถ่ายทอดสู่กันฟังได้ดังนี้:

ทวี บุตรสุนทร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด

“นักบริหารมักจะชอบบริหารบริษัทที่ล้มละลาย เพราะเห็นผลเร็วและได้รับความร่วมมือดี”

ทวีมาพูดถึงแนวทางการบริหาร Productivity Improvement โดยแนะนำหลักทั่วไปและยกตัวอย่างกรณีบริษัทเวสติ้งเฮ้าส์ จำกัด สหรัฐอเมริกา มาเป็นกรณีศึกษา

ไกด์ไลน์ทั่วไปนี้คือ

1. ให้พนักงานสำนึกในการเพิ่มผลผลิตว่ามีความจำเป็นอย่างไร (Creating Awareness)

2. มีการวัด (Productivity Measurement) ตามแผนผังที่นำมาแสดงไว้ด้วยนี้

3. มีการประเมินว่าทำไมจึงไม่เป็นไปตามเป้า พร้อมทั้งหาปัญหาและโอกาสเพื่อปรับปรุง (Productivity Evaluation)

4.มีการวางแผนเพิ่มผลผลิต (Productivity Planning)

5. หาวิธีการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Productivity Improvement)

6. ควบคุมระบบรายงาน (Control Reporting)

จากทั้ง 6 ข้อนี้นำมาทำเป็นแผนผังได้ดังนี้

ในกรณีของบริษัทเวสติ้งเฮ้าส์ จำกัด สหรัฐอเมริกา ได้ฟื้นฟูผลผลิต (Productivity Reborn) โดยการดัดแปลงทฤษฎีเพิ่มผลผลิตในอดีตมาใช้กับสภาวะปัจจุบันของโลก และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์

ทฤษฎีพื้นฐานในการหาวิธีการเพิ่มผลผลิตที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบันมีหลักสำคัญอยู่ 5 ประการคือ

1. การเลียนแบบสิ่งที่ดีที่สุด (Emulate the Best) โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่ง (Competitive Comparison)

เราไม่จำเป็นต้องเป็นต้นตำรับหรือเป็นผู้คิดค้นวิธีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตสำเร็จ เพียงแต่หาว่าใครทำงานนั้นได้ดีที่สุดแล้วจึงเลียนแบบเขา วิธีนี้เป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตที่ประหยัดที่สุดโดยไม่ต้องไปสนใจว่ามันจะเป็นความริเริ่มของใครหรือเลียนแบบมาจากไหน แต่สิ่งที่สำคัญคือจะต้องนำวิธีการใหม่นั้นไปใช้ให้ได้ผล

ในประเทศจีนถึงแม้ว่าเขาจะไม่มีระบบทำกำไร (Profit System) ที่จะกระตุ้นให้คนทำงานแต่เขาก็พยายามจะเลียนแบบวิธีที่ดีที่สุด โดยการเดินทางไปศึกษาการทำงานของอีกแห่งหนึ่งที่เขาได้ข่าวว่าสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเขา (visiting other higher productivity communes)

“เมื่อปีที่แล้วผลผลิตต่อเฮกตาร์เพิ่มขึ้นประมาณ 5% แต่ในมณฑลอื่นที่อยู่ห่างจากที่นี่ไปประมาณ 100 ไมล์ สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเรา 30% เรากำลังจะเดินทางไปศึกษาดูว่าที่นั่นเขาทำได้อย่างไร”

เหตุใดญี่ปุ่นจึงประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิต!

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นส่งคนของเขานับพันไปยังสหรัฐอเมริกา โดยมีเครื่องมือ 2 อย่างติดตัวกันไปทุกคน คือกล้องถ่ายรูปและสมุดโน้ต ไปศึกษาว่าสหรัฐฯ ทำอุตสาหกรรมอย่างไร เมื่อเห็นว่าใครทำดีที่สุด เขาก็จะเลียนแบบคนนั้น และสามารถเพิ่มเติมจากที่เลียนแบบมาโดยใช้การวิจัยและด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วย

ญี่ปุ่นนำทฤษฎีของสหรัฐฯ มาใช้ได้ผล และขณะนี้สหรัฐฯ ก็กำลังจะเลียนแบบญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่ทฤษฎีนี้เป็นของสหรัฐฯ!

เราจะทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าสินค้าของเราขณะนี้เป็นสินค้าที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ประหยัดต้นทุนมากที่สุด และมีคุณภาพดีเท่าเทียมกับผู้อื่น ง่ายนิดเดียว!! เพียงแต่เราออกไปซื้อสินค้าของคู่แข่งขันมาทุกบริษัท แล้วรื้อออกมาเป็นชิ้นๆ ศึกษาทีละชิ้นส่วน แล้วดูว่าชิ้นส่วนแต่ละชิ้นบริษัทไหนผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดและมีคุณภาพ จากนั้นก็นำมาออกแบบก็จะสามารถผลิตสินค้านั้นๆ ได้ถูกกว่าที่กำลังผลิตกันอยู่

แต่การเลียนแบบคู่แข่งจากคนอื่น หรือจากประเทศอื่นจะต้องเปิดหูเปิดตาให้กว้างเพื่อเสาะหาว่าใครทำอะไรได้ดีกว่าเรา แล้วเราก็ศึกษาโดยไปซื้อสินค้ามาดูอย่างที่กล่าวมาแล้ว หรือจากการประชุมพบปะกันในสังคม หรือการมีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงานของคู่แข่งเพื่อดูกรรมวิธีในการผลิต หรือการติดต่อกับคนขายเครื่องจักรเพื่อจะได้ทราบว่ารุ่นล่าสุดได้พัฒนาไปถึงไหนแล้ว หรือการไปเยี่ยมผู้ผลิตอื่นที่ทำการผลิตสินค้าคล้ายกับเราเพื่อศึกษาและประยุกต์นำมาใช้ หรือการไปเยี่ยมชมโรงงานในต่างประเทศเพื่อนำเอาแบบอย่างมาปรับปรุง หรือการจัดสัมมนาเพื่อปรึกษากับคนในวงการเดียวกันเกี่ยวกับกรรมวิธีในการผลิตล่าสุด เราอาจใช้สิ่งที่เราคิดขึ้นเสริมลงในสิ่งที่เราเลียนแบบ อาจจะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอีกขั้นหนึ่งก็ได้

เราจะเปรียบเทียบวิธีการของเราไม่เฉพาะกับคู่แข่งขันเท่านั้น แต่ควรเปรียบเทียบกับบริษัทที่มีแนวความคิดล้ำหน้าที่สุดในสาขาอื่นด้วย ซึ่งจะช่วยให้เราได้แนวความคิดในการเพิ่มผลผลิตของเราได้ผลดีกว่าคู่แข่งขัน

2. สร้างความแน่ใจว่าทุกๆ คนรู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรต่อไป (Make Sure Everyone knows What He Is To do Next) โดยจัดทำกำหนดการทำงานในช่วงเวลาสั้นๆ (Short-Term Scheduling)

การจัดทำกำหนดการสามารถช่วยผลผลิตในสำนักงานและบริการอื่นๆ ที่มิใช่การผลิตในโรงงาน ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์สามารถช่วยจัดทำกำหนดการสำหรับทุกๆ ฝ่าย ตั้งแต่ฝ่ายจัดซื้อจนกระทั่งถึงฝ่ายจัดส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและงานด้านบริการ

3. ชักจูงให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Get Everyone Participating) โดยการทำงานเป็นกลุ่ม (Working As a Term)

ความพยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วมในงานหรือการทำงานเป็นทีม (Quality Control Circle หรือ QCC) ไม่เพียงแต่แนวความคิดในการเพิ่มผลผลิต แต่จะช่วยลดการต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ด้วย

การขอความร่วมมือจากพนักงานโดยให้มีระบบการเสนอข้อคิดเห็น (Suggestion System) สู้โครงการการบริหารโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Participative management programs) ไม่ได้

โครงการกลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Circles Programs) ใช้ได้ผลดีมากในญี่ปุ่น ประกอบด้วยการประชุมปรึกษาหารือในระหว่างพนักงานด้วยกันเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในหัวข้อเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพและจะเพิ่มผลผลิตได้อย่างไร

การบริหารโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ใช่เราจะสูญเสียอำนาจ แต่เป็นการให้คนทั้งกลุ่มช่วยเราในการปรับปรุงงานที่กำลังทำอยู่ และจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้ในทุกขบวนการ

4. พัฒนาให้มีทัศนคติที่จะตั้งคำถาม (Develop a Questioning Attitude) โดยยึดคติว่าอย่าพอใจทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่เป็นอยู่ (Don’t Be Satisfied with Things as They Are)

ถ้าหากต้องการที่จะปรับปรุงวิธีการที่จะทำสิ่งต่างๆ ในอนาคต ควรจะยึดคติว่า อย่าพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ ควรจะต้องพัฒนาให้มีทัศนคติที่จะตั้งคำถาม

วิธีตั้งคำถามในปัจจุบัน เรียกว่าการวิเคราะห์คุณค่า (Value analysis) หรือวิศวกรรมคุณค่า (Value engineering) เป็นการตั้งคำถามแบบพื้นฐาน เป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงาน (function) ของผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนหรือขั้นตอนการผลิต หรือโครงสร้างขององค์กรซึ่งได้ช่วยในการเพิ่มผลผลิตโดยตรง

5. จัดให้มีการเพิ่มผลผลิต (Organize for Productivity Improvement) โดยกระทำอย่างต่อเนื่อง (Have a Continuing Effort)

โครงการเพิ่มผลผลิตที่ได้ผลจะต้องเริ่มด้วยผู้บริหารระดับสูง เพราะถ้าปราศจากความสนใจและแรงจูงใจจากฝ่ายบริหารก็ยากที่จะเปลี่ยนแนววิธีการทำงานจากแบบเดิมของพนักงาน

ผู้บริหารระดับสูงควรมอบความรับผิดชอบโครงการเพิ่มผลผลิตให้กับผู้รับผิดชอบ ผลการปฏิบัติงานอยู่แล้ว และควรแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดการและติดตามผลงานตามโครงการด้วย และควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการเพิ่มผลผลิตในทุกหน่วยงานและมีการวัดผลอย่างสม่ำเสมอด้วย

โครงการที่ดีที่สุดต้องชักจูงให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมและควรเป็นโครงการที่ต่อเนื่องในระยะยาว

ในกรณีบริษัทเวสติ้งเฮ้าส์ จำกัด ก็ได้นำทฤษฎีนี้ไปประยุกต์ใช้กับบริษัท โดยในขั้นแรกจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต มีผู้แทนจากบริษัทในเครือและพนักงานจากการบัญชีและบุคคลเป็นสมาชิก คณะกรรมการเหล่านี้ใช้เวลาศึกษาสถานการณ์ในสหรัฐฯ ยุโรป เขตแปซิฟิก โดยเฉพาะญี่ปุ่น และพวกเขาก็ได้ค้นพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ก้าวหน้าที่สุด

มีกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มมืออาชีพนับร้อยได้จัดทริปไปญี่ปุ่นเพื่อศึกษาการบริหารการควบคุมคุณภาพ กลุ่มสร้างคุณภาพ การฝึกอบรม การวิเคราะห์คุณค่า ความสัมพันธ์กับสหภาพ ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ การบริหารสินค้าคงคลัง เครื่องมือเครื่องจักรและหุ่นยนต์ และเมื่อเขาเหล่านั้นกลับมาก็ให้รู้สึกเกรงขามในเทคโนโลยีทางการผลิตของญี่ปุ่นโดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อคุณภาพของผลผลิต

จากทัศนคติในครั้งนี้ทำให้ฝ่ายบริหารของบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตและการปรับปรุงคุณภาพ และผลสืบเนื่องที่ตามมาคือมีการแต่งตั้งรองประธานกรรมการของบริษัทเพื่อรับผิดชอบด้านผลผลิตและคุณภาพเป็นงานหลัก และได้ตั้งจุดมุ่งหมายในการเพิ่มผลผลิตไว้ประมาณ 6% ต่อปี วิธีวัดที่ได้กระทำคือวัดมูลค่าเพิ่มต่อปีของพนักงานหนึ่งคนโดยยึดหลักดอลลาร์คงที่ ได้มีการตั้งทุน Productivity Seed Fund และ Quality-Seed Fund มูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการที่มีความเสี่ยงสูง และการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ และจากทุนนี้เอง ฝ่ายผลิตก็ได้เริ่มต้นไว้ 250 โครงการ โดยเริ่มตั้งแต่โครงการฝึกอบรมผู้ประสานงานไปจนถึงการนำรังสีเลเซอร์ทีให้พลังงานสูงมาใช้ในการผลิต

คณะอนุกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากฝ่ายผลิตต่างๆ ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในเรื่อง

1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านการออกแบบ

2. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านการผลิต

3. ระบบข้อสนเทศและการควบคุม

4. การเชื่อมโลหะ

5. การจัดให้มีการเพิ่มผลผลิต

6. หุ่นยนต์

7. กลุ่มสร้างคุณภาพ

8. วิศวกรรมคุณค่า

9. การเพิ่มผลผลิตในสำนักงาน

10. การประหยัดการใช้พลังงาน

11. ที่ปรึกษา

และจัดตั้งศูนย์ผลผลิตและคุณภาพทำหน้าที่เป็นสำนักงานใหญ่สำหรับเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ พร้อมกับมีห้องทดลองสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ

วิธีการที่เวสติ้งเฮ้าส์ สามารถชักจูงให้พนักงานเข้าร่วมในโครงการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการใช้กลุ่มสร้างคุณภาพ (Quality Circles) ซึ่งได้แนวความคิดมาจากญี่ปุ่นนั่นเอง แต่ได้ขยายแนวความคิดนี้ออกไปอีก โดยได้นำมาประยุกต์ใช้กับพนักงานในสำนักงาน (White-Collars) และพนักงานในระดับแรงงาน (Blue-collars) และมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เช่นทางด้านคอมพิวเตอร์เพื่อให้พนักงานในสำนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มผลผลิตของพนักงานสายอาชีพ เวสติ้งเฮ้าส์ ได้ติดตั้ง CRT ที่สำนักงานใหญ่โดยในแต่ละหน่วยงานมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (CRT Terminal) ที่สามารถเชื่อมต่อกับ data base ของบริษัทและลูกค้าภายนอกได้โดยเฉพาะผู้จัดการหลายคนมี CRT ใช้ที่บ้านเพื่อสะดวกในการติดต่อกับบริษัทด้วยคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลา และยังสามารถติดต่อกับประเทศอื่นๆ ได้ด้วย

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้เป็นความพยายามของเวสติ้งเฮ้าส์ในอันที่จะฟื้นฟูการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพ โดยการใช้ทฤษฎีดั้งเดิมมาประยุกต์ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่และใช้ข้อแนะนำของพนักงานเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ

องค์การใดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่มีการเพิ่มผลผลิตแล้ว องค์การนั้นจะต้องเลิกกิจการไปในที่สุด ในทางตรงข้าม หากองค์การนั้นมีการฟื้นฟูผลผลิตก็ย่อมจะเติบโตและเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น สถานที่ทุกแห่งที่มีคนทำงานอยู่มีโอกาสเพิ่มผลผลิตด้วยกันทั้งสิ้น

มนู อรดีดลเชษฎ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทดาต้าแมท จำกัด

“คนใช้ไม่ใช่คนซื้อ คนซื้อไม่ใช่คนใช้”

จากที่มนูพูด พอสรุปได้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์จะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ผู้บริหาร และโครงการที่หน่วยงานใดจะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้มีข้อควรระวังอยู่ 3 จุดด้วยกันคือ

ประการแรก จุดเริ่มต้นก่อนที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ มนูได้สนับสนุนคำกล่าวที่ว่า “ยังไม่มีธุรกิจใดประสบความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจเพราะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ช้าไป แต่มีหลายธุรกิจที่ประสบความล้มเหลวอย่างรุนแรงเพราะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เร็วเกินไป” ในส่วนงานที่นำคอมพิวเตอร์ไปใช้และล้มเหลวเพราะนำไปใช้ผิดจุด กล่าวคือคนใช้ไม่ใช่คนซื้อ และคนซื้อก็ไม่ใช่คนใช้

ในแต่ละหน่วยงาน Organization มักจะออกมาเหมือนกันคือแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้มีความรับผิดชอบในการตัดสินใจ (Decision) ซึ่งก็ได้แก่ประธานของบริษัทนั้นๆ หรือผู้มีอำนาจสิทธิขาดในสถาบันนั้นๆ, ผู้บริหาร ณ จุด (Control) และผู้ปฏิบัติ (Operation)

หน่วยงานใดที่เริ่มจาก Operation มักจะเกิดปัญหา แต่ถ้าเริ่มในระดับ 2 คือฝ่ายคอนโทรลซึ่งมักจะมองหาสิ่งสมบูรณ์ แต่ก็หาจุดที่เลือกลงไม่ได้เพราะไม่ไช่ผู้ตัดสินใจ ดังนั้นฝ่ายที่มีอำนาจในการตัดสินใจสูงสุดจึงควรที่จะเป็นผู้วาง objective

ประการที่สอง จุดที่นำคอมพิวเตอร์ไปใช้การเริ่มนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ผิดจุดตั้งแต่ครั้งแรก เครื่องที่นำเอาไปใช้จะถูกมองเป็นนรกทันทีในบริษัทใดก็ตามที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปลอกเลียนแบบการทำงานที่ไม่ได้มีการจัดระบบงานให้เป็นที่เรียบร้อย พนักงานจะมองว่ามันเป็นตัวยุ่งยากเพราะปรับตัวไม่ทัน ที่สำคัญคือมันถูกออกแบบมาให้เป็นผู้รับคำสั่งของคน มิใช่ผู้ออกคำสั่ง

วัตถุประสงค์ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มี 3 ประการด้วยกันคือ

1. เอามาช่วยวางแผนธุรกิจ

2. เอามาช่วยควบคุมธุรกิจ

3. เอามาช่วยเพื่อความสะดวกในการทำธุรกิจ

การตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์มาใช้จะเดินสวนทางกับวัตถุประสงค์ของการใช้ ทั้งนี้เพราะการตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์มาใช้นั้นควรเริ่มจากระดับบนมาล่าง กล่าวคือจากระดับผู้บริหารสูงสุดมาหาผู้ปฏิบัติ และในทางกลับกันวัตถุประสงค์การใช้คอมพิวเตอร์ก็ควรเริ่มจากล่างไปหาบน กล่าวคือควรคำนึงว่าการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจสะดวกขึ้น แต่ไม่ควรหวังว่าจะนำมันมาใช้ในการวางแผนธุรกิจให้

ประการสุดท้าย การติดตามผล จุดสำคัญอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบกติกาคอมพิวเตอร์ ไม่ควรล้ำเส้นกันเพราะจะทำให้ผู้ทำหน้าที่ศึกษารายละเอียดเกิดการสับสน

มันไม่ใช่ของง่ายที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้และให้ได้ผลทันที เมื่อเราได้ผล 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% เราต้องยอมทิ้งมันไป สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องยึด objective ในการนำมาใช้ว่าจะเอามาทำอะไร อย่าสับสนระหว่าง objective กับ Technology

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด

“การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ต้องอาศัยความเสี่ยง ถ้าเราไม่ทำ คู่แข่งเราก็จะต้องทำ”

ดร.โอฬารพูดถึง Service Industry ที่ข้อมูลมีส่วนสำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อวิธีการชำระเงินที่ไมใช่เงินสด ยกตัวอย่างเช่นการใช้เครดิตการ์ด

ในธนาคารพาณิชย์การ Handle Information Flow มีส่วนสำคัญมากขึ้นกว่าการ handle Cash

แนวความคิดในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้สำหรับธนาคารพาณิชย์

ประการแรก เอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยประมวลข้อมูลหลังจากบริการลูกค้าเสร็จแล้ว หรือหลัง Banking hour เป็น Back Office Operate เพราะการใช้คน process information ใช้เวลานาน ถึงแม้ว่ามันจะไม่ช่วยในด้าน marketing แต่ช่วยลดเวลาการทำงานในสำนักงาน พนักงานก็ไม่ต้องทำงานจนดึกดื่น

ประการที่สอง คือยึดลูกค้าเป็นหลักเป็น Front Office Operate ต้องวางแผนระยะยาวและการวางแผนเป็นเรื่องของฝ่ายจัดการส่วนใหญ่ ไม่ใช่ฝ่ายเทคนิค ดังนั้นจึงต้องอาศัยความเสี่ยงนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เริ่มบริการลูกค้าก่อน เพราะถ้าเราไม่ทำ คู่แข่งก็จะทำ เราจะเสีย Market Share ดังนั้นฝ่ายการจัดการต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย จะหวังคอมพิวเตอร์ทำออกมาเป็นไปไม่ได้ เทคโนโลยีจะช่วยให้เป้าหมายที่เราตั้งไว้ บรรลุผลเร็วขึ้น

ฝ่ายจัดการควรออกไปสอดส่องดูโลกว่าเขาเป็นไปถึงไหนแล้ว

ผศ.ยุพา กาญจนดุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

“คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมได้ ในขณะเดียวกันก็ใช้ในการทุจริตได้เช่นกัน”

ผศ.ยุพาพูดถึงการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการประมวลข้อมูล และการควบคุมภายในของระบบข้อมูลที่ใช้คอมพิวเตอร์

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการประมวลข้อมูล ไม่ได้ทำให้เป้าหมายของการควบคุมภายในและหลักพื้นฐานที่เกี่ยวกับการควบคุมแตกต่างออกไป แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมีวิธีควบคุมใหม่ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น เพราะการควบคุมแบบเดิมบางชนิดอาจไม่ได้ผล และเอกสารที่จะแสดงให้เห็นถึงการควบคุมทางบัญชีมีน้อยลง ข้อมูลที่เก็บไว้ในเครื่องก็มองไม่เห็น ต้องใช้วิธีการของมันเข้ามาช่วยจึงจะทำให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง นอกจากนั้นข้อมูลนี้ก็มีความเสี่ยงภัยต่อการเสียหายสูงกว่าข้อมูลที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือต้องมีการคาดคะเนและวางแผนปัญหาและเหตุการณ์ในอนาคตอย่างรอบคอบ ดังนั้นจึงเป็นงานที่ต้องปฏิบัติโดยบุคคลหลายๆ ฝ่ายมาร่วมกัน และจริงอยู่แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะช่วยในการควบคุมได้ แต่ในขณะเดียวกันมันก็สามารถจะช่วยในการทำทุจริตได้

ในสหรัฐอเมริกา มีเรื่องขึ้นศาลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทุจริตถึง 15% และอีก 85% เรื่องไม่ถึงศาลเพราะกลัวว่าจะเสียชื่อเสียงต่อบริษัท

การควบคุมภายในของระบบข้อมูลที่ใช้คอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

1. การควบคุมทั่วไป (General Control) ได้แก่การควบคุมเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติในการที่จะประมวลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับศูนย์คอมพิวเตอร์ การจัดการวางแผนให้เหมาะสม ไม่เปิดโอกาสให้คนใดคนหนึ่งทำผิดและกลบเกลื่อนความผิดด้วยตนเอง ดังนั้นคนเขียนโปรแกรมไม่ควรมีสิทธิเข้าห้องเครื่อง ต้องมีมาตรการในการทำเอกสารประกอบ เมื่อสร้างมาแล้วก็ควรจะควบคุมได้ด้วย

2. การควบคุมของแต่ละระบบงาน (Application Control) ได้แก่การควบคุมที่กำหนดขึ้นใช้ปฏิบัติสำหรับระบบงานใดระบบหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องมีขั้นตอน ช่วง input ต้องได้รับการควบคุมที่แน่นหนา ถ้าใส่ข้อมูลผิดจะผิดได้มากและแก้ไขยาก ดังนั้นช่วง input จะยากมากและค่าใช้จ่ายสูง โอกาสผิดพลาดและทุจริตมากอยู่ที่ช่วงนี้ และคนที่มีโอกาสทุจริตคือพวกที่มีความสามารถมากกว่าหรือสูงกว่าตำแหน่งนั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us