Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2527
ญี่ปุ่น-จีน-เกาหลี-ไต้หวัน กำลังเร่งสร้างพลังงานปรมาณู             
 


   
search resources

มิตซูบิชิ
Energy
โตเกียว อิเล็คทริค เพาเวอร์
องค์การพลังงานปรมาณูสากล




“ญี่ปุ่น-จีน-ไต้หวัน-เกาหลี กำลังเร่งสร้างโรงงานพลังงานปรมาณูกันอย่างขมันขันแข็งเพื่อนำพลังงานที่ต้องพึ่งน้ำมัน ฯลฯ ในขณะที่ชาติต่างๆ ทางตะวันตกกำลังเริ่มจะยุติ แต่อัตราส่วนการเพิ่มทางเอเชียกลับพุ่งมากขึ้น และปัจจุบันญี่ปุ่นที่เคยเกลียดปรมาณูกลับเป็นฝ่ายต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีทางปรมาณูให้กับสหรัฐอเมริกา”

หมู่บ้านชาวประมงชื่ออิกาตะอยู่ห่างออกไป จากชายฝั่งที่ตีวงล้อมของแผ่นดินใหญ่ชิโกกุ ในด้านตรงข้ามอันเป็นที่ตั้งบนเกาะฮิโรชิมาอันเขียวชอุ่มในวันที่ 6 เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ผู้คนบนเกาะนี้ได้มองเห็นก้อนเมฆรูปเห็ดพวยพุ่งขึ้นไปสู่ ท้องฟ้าในยามอรุณรุ่ง แต่ทุกวันนี้คนในหมู่บ้านมองต่ำลงมาเห็นเตาปฏิกรณ์สองหลังที่สร้างอยู่บนริมอ่าว แม้ปรมาณูจะเป็นเรื่องที่ถูกประณามทั้งในสหรัฐฯ และประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ก็ตาม

ญี่ปุ่นกลับกลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรผลิตปรมาณูที่รุดหน้าที่สุดในโลก

ด้วยผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในฮิโรชิมาและนางาซากิในคราวสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ยอมจับต้องอะไรก็ได้ยกเว้นแต่เรื่องปรมาณู แต่กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นก็ต้องข้องเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานปรมาณูเช่นเดียวกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเพียงชาติเดียวที่ยังกระตือรือร้นในซีกโลกตะวันตก

การต่อต้านการสร้างโรงงานปรมาณูในญี่ปุ่นมาจากพรรคโซเซียลิสต์ที่อ่อนแอและกลุ่มผู้สั่งน้ำมันเข้าจากต่างประเทศและโรงงานกลั่นน้ำมันทั้งหลาย ซึ่งต้องการโรงงานผลิตไฟฟ้าเพื่อเผาผลาญน้ำมัน การที่สาธารณชนยอมรับพลังงานปรมาณูนั้นมาจากการคุยโอ้อวดสรรพคุณของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างชาติหรือเรียกย่อๆ ว่า มิติ ซึ่งถือว่างานนี้เป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งทีเดียว

ความสามารถในการสร้างปรมาณูในญี่ปุ่นนั้นพุ่งสูงขึ้นจากสี่ปีที่แล้วถึงร้อยละ 22

ทุกวันนี้ประเทศญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้าถึงร้อยละ 20 จากเตา 25 แห่ง และกำลังจะเปิดเตาใช้งานอีก 7 แห่งในปีนี้และปีหน้า ซึ่งจะมีกำลังผลิตร้อยละ 34 คือจำนวนถึง 24,500 เมกะวัตต์

มิติ MIT (โปรดดูรายละเอียดเรื่องมิติจาก “ผู้จัดการ” ฉบับเดือนพฤศจิกายน หน้า 94) ทำนายว่า ประสิทธิภาพของพลังงานปรมาณูจะถึง 62,000 เมกะวัตต์ในปลายศตวรรษนี้ ซึ่งจะมีจำนวนสูงกว่าที่ผลิตกันอยู่ในสหรัฐฯ ในทุกวันนี้

เจ้าหน้าที่คนหนึ่งในกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ กล่าวว่า “ในปี 1945 พวกญี่ปุ่นถูกพลังงานนิวเคลียร์รุกไล่ แต่ในปัจจุบันพวกเขากลับอยู่ในอันดับนำ”

เตาพลังงานปรมาณูผุดขึ้นทั้งในเกาหลีใต้ ไต้หวัน และแม้แต่ในจีนแผ่นดินใหญ่อีกด้วย

ไต้หวันใช้ไฟฟ้าถึงร้อยละ 38 จากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูสี่แห่งซึ่งส่งป้อนให้โดยบริษัทเจนเนอรัล อิเล็คทริค บริษัทเบคเทลกำลังสร้างเตาปฏิกรณ์ที่ใช้แล้วของเวสติ้งเฮาส์ทางตอนใต้สุดของเกาะที่เรียกว่า แคทส์ โนส เฮด กลางชายหาดที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของไต้หวัน และกำลังวางแผนจะสร้างเตาอีกสองแห่ง

เกาหลีใต้สร้างเตาใช้งานแล้วถึงสามแห่งและกำลังสร้างขึ้นอีกหกแห่ง ประเทศนี้จะได้พลังงานไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์ถึงร้อยละ 50 ภายในสิ้นทศวรรษนี้

จีนแผ่นดินใหญ่กำลังสร้างเตาแห่งแรก ซึ่งเป็นเตาที่ให้กำลังเพียง 300 เมกะวัตต์ ใกล้ๆ กับเมืองเซี่ยงไฮ้ และได้เซ็นสัญญาขั้นต้นกับฝรั่งเศสกับบริษัทที่ชื่อว่า ฟรามาโทม เพื่อจะสร้างเตาปฏิกรณ์ขนาด 900 เมกะวัตต์ขึ้นอีก 2 แห่ง ใกล้ๆ กับฮ่องกง

กล่าวได้ว่าการตื่นตูมเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ในเอเชียนั้น ช่างขัดแย้งกับสถานการณ์ใกล้วิบัติของอุตสาหกรรมพลังงานปรมาณูในสหรัฐฯ อย่างเด่นชัด

เดวิค คราวลีย์ โฆษกของบริษัทเจนเนอรัลอีเลคทริค ด้านปรมาณูกล่าวว่า “โอกาสสำหรับธุรกิจการสร้างเตาปฏิกรณ์มีในเอเชียมากกว่าที่อื่นใด”

โดยตัวเลขแท้ๆ สหรัฐฯ เป็นผู้ใช้พลังงานปรมาณูรายใหญ่ที่สุด มีโรงงานเปิดดำเนินการถึง 77 แห่ง และมีกำลังผลิตถึง 61,000 เมกะวัตต์ แต่พลังงานปรมาณูเป็นส่วนประกอบเพียงร้อยละ 10 ของประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐฯ

และโดยทัศนะของสาธารณชนรวมทั้งการต่อต้านในศาลและกฎระเบียบของรัฐที่รัดกุมยิ่งขึ้น ล้วนแล้วแต่กันไม่ให้มีการสร้างขึ้นเพิ่มเติมต่อไป ไม่มีการสร้างเตาใหม่เลยตั้งแต่ปี 1978 เป็นต้นมา และได้มีการปิดทำการไปแล้วถึง 109 แห่งนับแต่ปี 1972 เป็นต้นมา

ในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีของรัฐสภาสหรัฐฯ ก็ได้ประกาศว่าจะไม่มีการขยายโรงงานพลังงานปรมาณูออกไปอีกเว้นเสียแต่โรงงานที่ก่อสร้างไปแล้ว

เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกับรัฐบาลของฝรั่งเศสที่หลงใหลใฝ่ฝันในพลังงานนิวเคลียร์ ก็เพราะต้องการที่จะตัดทอนการต้องพึ่งพาน้ำมันที่มีราคาแพงและไม่แน่ไม่นอนจากตะวันออกกลาง

ทาคาชิ มูกาอิโบ ประธานคณะกรรมาธิการด้านพลังงานปรมาณูแห่งญี่ปุ่นและเป็นผู้ดำเนินการหลักอยู่เบื้องหลังการผลักดันให้ญี่ปุ่นเข้าไปสู่พลังงานปรมาณูกล่าวว่า “ข้อแตกต่างระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นนั้นอยู่ตรงที่เราไม่มีแหล่งพลังงานใดๆ ในญี่ปุ่นนี้”

บริษัท โตเกียว อิเล็คทริค เพาเวอร์ ซึ่งเป็นผู้ลงทุนด้านการผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลก คันซาอิ อิเล็คทริค บริษัทที่ใหญ่เป็นลำดับสองของญี่ปุ่น และบริษัทไฟฟ้าอื่นๆ ได้เริ่มสร้างโรงงานปรมาณูในราวช่วงปี 1960 พวกเขาซื้อเตาแรกๆ มาจากจีอีและเวสติ้งเฮาส์

เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ คนญี่ปุ่นเรียนรู้ได้รวดเร็ว ฮิตาชิ โตชิบา และมิตซูบิชิ ฝ่ายอุตสาหกรรมหนักได้กลายมาเป็นผู้รับเหมาช่วงงานไปในการสร้างโรงงานนิวเคลียร์แห่งแรกๆ

ทุกวันนี้พวกเขาได้สร้างทุกๆ แห่งในญี่ปุ่นโดยได้รับอนุญาตจากจีอีและเวสติ้งเฮาส์ แม้ว่าบริษัทของสหรัฐฯ จะยังคงบริการเตาที่ใช้งานแล้วให้ ในทุกวันนี้จะป้อนส่วนประกอบต่างๆ ให้แก่โรงงานใหม่ๆ เพียงร้อยละ 2 เท่านั้น

ด้วยข้อเท็จจริงแล้ว เทคโนโลยีด้านปรมาณูเริ่มไหลบ่าจากญี่ปุ่นไปยังสหรัฐฯ แล้ว มิตซูบิชิและเวสติ้งเฮาส์กำลังเจรจาข้อตกลงการร่วมมือกันระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจะใช้แทนที่ข้อตกลงการช่วยเหลือ ซึ่งเวสติ้งเฮาส์ได้ให้ใบอนุญาตด้านเทคโนโลยีแก่มิตซูบิชิ

จีอีได้ร่วมการค้นคว้ากับฮิตาชิ โตชิบาและบริษัทไฟฟ้าต่างๆ ในญี่ปุ่นอีกหกแห่ง รวมทั้งโตเกียวอิเล็คทริค ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานซึ่งประจำอยู่ในสถานทูตสหรัฐฯ และฝรั่งเศสในกรุงโตเกียวกล่าวว่า โรงงานพลังงานปรมาณูของญี่ปุ่นนั้นเป็นโรงงานที่ปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

คำสั่งปิดโรงงานเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยทำกันราวๆ สามเดือนต่อปี แต่การปิดโรงงานเพราะปัญหาการทำงานซึ่งมักจะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ และยุโรปนั้น แทบจะไม่ได้ยินกันเลยในที่นี้ อุบัติเหตุเกี่ยวกับปรมาณูที่ร้ายแรงที่สุดในญี่ปุ่นเกิดขึ้นปี 1981 ถังบรรจุสารเหลวเกิดไหลล้นออกมาในโรงงานของบริษัท แจแปนอะตอมิคเพาเวอร์ ในเมือง ซูรูกะ ด้านเหนือของโอซากาและสารเหลวของกัมมันตรังสีไหลท่วมโรงงานและไหลไปท่วมอ่าว

รัฐบาลตอบรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซูรูกะและอุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเกาะทรีไมล์ของสหรัฐฯ ด้วยการออกระเบียบปฏิบัติใหม่

ค่าใช้จ่ายของโรงปฏิกรณ์ปรมาณูในตอนนี้ได้พุ่งพรวดขึ้นมากเกินกว่าโรงงานที่ใช้น้ำมันเตาและถ่านหินเสียอีก

โรงงานปฏิกรณ์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ในปี 1979 ซึ่งเคยมีมูลค่า 780 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะมีราคา 1,300 ล้านเหรียญในปัจจุบัน ตามมาตรฐานของสหรัฐฯ แล้ว ราคานี้ยังนับว่าถูกอยู่ แต่สำหรับอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นแล้วนั้น ราคานี้เป็นเรื่องที่ทำให้สะดุ้งไปตามๆ กัน

มิติยืนยันว่า แม้จะมีตัวแปรเรื่องเงินเฟ้อก็ตาม แต่ราคาก่อสร้างโรงปฏิกรณ์ไฟฟ้าปรมาณูยังคงถูกกว่าที่จะใช้พลังงานจากน้ำมันและถ่านหิน

จากผลของการคำนวณค่าใช้จ่ายเต็มอัตราของโครงการนิวเคลียร์ รวมตลอดทั้งค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ก็ตกเพียงแค่ 5.6 เซ็นต์ต่อการผลิตกระแสไฟ 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งหากว่าใช้ถ่านหินแล้วจะมีราคา 6.2 เซ็นต์ และจากการผลิตโดยน้ำมันเตามีราคา 7.6 เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายสำหรับเชื้อเพลิงที่สูงกว่าขนาดนี้ ไม่ได้ช่วยให้ประหยัดขึ้นเลยสำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการถ่านหินและน้ำมันที่ถูกกว่า

นักวิพากษ์วิจารณ์ในวงการอุตสาหกรรมน้ำมันอ้างว่า มิติจงใจกล่าวอ้างตัวเลขค่าใช้จ่ายของโครงการปฏิกรณ์ปรมาณูให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง

ฮิโรชิ คาวาซารา ซึ่งเป็นรองผู้อำนวยการทั่วไปของหน่วยงานทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานโต้ตอบว่า ค่าใช้จ่ายที่ละไว้จากการคำนวณ คือค่าใช้จ่ายในการสร้างที่เก็บของเสียที่มีกัมมันตภาพรังสีและค่าใช้จ่ายในการถอดเปลี่ยนตัวปฏิกรณ์ที่หมดอายุ

เขากล่าวว่า “เราไม่รู้เลยว่า มันจะต้องใช้เงินเท่าไร เพิ่มเข้าไปอีกร้อยละ 10 ซึ่งจะถูกต้องตามที่คุณว่า มันก็ไม่ใช่ตัวเลขมากมายอะไร” ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่างหากที่ตัวเลขเป็นจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ตาม มิติก็ได้รับอนุมัติให้ดำเนินงานโครงการปรมาณูได้ อีกทั้งการลดการนำเชื้อเพลิงเข้า และจัดการค่าใช้จ่ายของโครงการนิวเคลียร์ให้ใกล้เคียงกับการใช้ถ่านหิน เพื่อตัดปัญหาทางการเมือง

ข้อสังเกตที่น่าสนใจที่สุดของโฉมหน้าโครงการพลังงานปรมาณูในภูมิภาคเอเซียก็คือการยอมรับอย่างมากโดยไม่มีการประท้วงคัดค้าน

สำหรับในไต้หวันและเกาหลีแล้ว คำอธิบายอาจเป็นว่า ประชาชนมีความเคารพเชื่อฟังข้อเรียกร้องจากเจ้าหน้าที่ทางการตามวัตรปฏิบัติแบบขงจื๊อ เพราะมันเป็นการไม่เหมาะสมเลยที่จะเคลือบแคลงใจในความปรีชาสามารถและความเที่ยงธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐบาล

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้การปกครองรวมเบ็ดเสร็จของเกาหลี ในญี่ปุ่นเอง ความกดดันของสังคมมีน้อยกว่ามาก มีการประท้วงทางการเมืองบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงอยู่บ่อยครั้งเหมือนกัน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไรในขบวนการใช้พลังงานปรมาณู และการสร้างเป็นอาวุธ ชาวญี่ปุ่นยังคงติดตรึงอยู่กับเหตุผลต่างๆ ในความกลัวปรมาณู ทั้งประเทศยังคงมีประชากรอีกนับแสนที่ชาวญี่ปุ่นขนานนามว่า ฮิบา คูชา ผู้รอดเหลือจากการระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ผู้คนซึ่งถูกกัมมันตภาพรังสีเมื่อครั้งอยู่ในครรภ์มารดาตั้ง 38 ปีเต็มมาแล้วและยังมีชีวิตอยู่ โดยมีศีรษะเล็กผิดปกติ

จากการสำรวจความเห็นทั่วๆ ไปชี้ให้เห็นว่าราวร้อยละ 60 ของประชากรยังคงวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของโครงการปรมาณู แม้ว่าส่วนใหญ่แล้ว สาธารณชนทั่วไปจะยอมรับว่าพลังงานปรมาณูนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตก็ตาม

มิติและพรรคเสรีนิยม ซึ่งเป็นอนุรักษนิยมอย่างขัดแย้งกับชื่อ และเป็นรัฐบาลได้คอยย้ำอยู่เสมอมาเกี่ยวกับข้อเสนอต่อความต้องการโครงการปฏิกรณ์ปรมาณูมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1960 สาระสำคัญของข้อเสนอมีอยู่ว่า พลังงานปรมาณูนี้จะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้หลุดพ้นจากภาระผูกพันในการสั่งเข้าน้ำมันที่ไม่มั่นคงนักจะเป็นกำลังของประเทศชาติที่ตั้งอยู่บนความขาดแคลนปริมาณวัตถุดิบทางธรรมชาติ

ริชาร์ด เลสเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญพลังงานปรมาณูระหว่างชาติที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตต์กล่าวไว้ว่า “มันไม่ใช่ข้อเสนอในการที่จะต้องเลือกเอาระหว่างปรมาณูกับถ่านหินหรืออย่างอื่นๆ พลังงานปรมาณูไม่เคยถูกทำให้ต้องเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นจะขาดเสียมิได้”

รัฐบาลได้ออกโรงไปมากโขทีเดียวในการนำเสนอขายพร้อมกับแผนการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ มิติเองได้ย้ำเตือนกลุ่มนักธุรกิจว่าพลังงานโดยนิวเคลียร์นั้นเป็นทางออกที่เลี่ยงไม่ได้ของประเทศอุตสาหกรรม กระทรวงโทรคมนาคมและไปรษณีย์ก็ได้ออกแสตมป์ที่ระลึกในวันพลังงานปรมาณูแห่งชาติเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา พวกเด็กที่เข้าโรงเรียนวันแรกก็ได้รับการสั่งสอนแล้วว่า ประเทศญี่ปุ่นจะต้องพึ่งอยู่กับการสั่งเข้าวัตถุดิบต่างๆ และพวกเขาต่างก็เป็นผู้ชนะประกวดวาดภาพหมู่บ้านต่างๆ ที่ถูกกัมมันตภาพรังสี รัฐบาลประสบความสำเร็จในการแก้ไขพระราชบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานปรมาณูและอาวุธ มีคำภาษาญี่ปุ่นอยู่ 2 คำที่มีความหมายแตกต่างกันอยู่มาก เจนชิโยกุคือการสนับสนุนพลังงานปรมาณู อีกคำคือ คาคุเฮอิกิ แปลว่า สนับสนุนอาวุธนิวเคลียร์

พลังงานปรมาณูอาจจะให้ผลกำไรมากขึ้นจากความรับผิดชอบเต็มที่ของมิติเกี่ยวกับผลประโยชน์ใช้สอยทางอุตสาหกรรมไฟฟ้า

ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลก็ได้ส่งเสริมและเข้มงวดกวดขันกับพลังงานปรมาณูอยู่แล้ว แต่ว่ามลรัฐต่างๆ ก็ยังมีอำนาจควบคุมเรื่องทำเลที่ตั้งและการให้ใบอนุญาตต่างๆ แก่โรงงาน ซึ่งเป็นสภาพการณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นบ่อยๆ จากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการปรมาณู

ในญี่ปุ่น มิติได้กำหนดอัตราส่วนเงื่อนไข ข้อบังคับในการรักษาความปลอดภัย และได้ให้ข้อแนะนำถึงสารประโยชน์ที่พึงได้จากโครงการสร้างโรงงานปรมาณูประเภทต่างๆ และกำหนดทำเลที่ตั้งของโรงงานด้วย

มิติเป็นตัวผลักดันโครงการสร้างโรงงานปรมาณูอย่างแข็งขัน และไม่สนับสนุนโรงงานที่ไม่มีเรื่องปรมาณูจากรัฐบาล และข้อประโยชน์ต่างๆ นี้เองที่ได้ช่วยลดความคิดคัดค้านลง โดยความพยายามรวมแหล่งกัมมันตภาพเข้าด้วยกันในเขตที่มีประชากรเบาบาง ซึ่งหากมีการเวนคืนที่ดินหรือบ้านพักอาศัยของผู้ใดแล้ว ก็จะมีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้โดยทันที ซึ่งโดยปกติแล้วจะออกมาในรูปของโครงการสาธารณประโยชน์เพื่อชุมชนและเงินช่วยเหลือสำหรับเทศบาลตำบลหรือชุมชนต่างๆ พร้อมด้วยการให้ความบันเทิง ในรูปแบบต่างๆ แก่ผู้นำในเขตเหล่านั้น

ชิโกกุ อิเล็คทริค เพาเวอร์ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะที่มองเห็นได้จากฮิโรชิมา มีความต้องการที่จะสร้างเตาปฏิกรณ์โรงที่สามขึ้นที่อิกาตะ และได้ดำเนินการเจรจารอบที่สามกับประชากรในท้องถิ่นมาไม่น้อยกว่าสิบปีแล้ว คนขับแท็กซี่ประจำเกาะรายหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า “อย่างน้อยที่สุด พวกนั้นก็ต้องสร้างถนนสายใหม่ให้กับพวกเราเสียก่อน”

ขณะนี้ ชาวญี่ปุ่นเองมีความหวังว่า จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีปรมาณู รัฐบาลเองก็มีโครงการที่จะก่อสร้างโรงงานที่มีเตาปฏิกรณ์ปรมาณูชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงในตัวเองขนาด 280 เมกะวัตต์ในช่วงต้นปีหน้านี้ ซึ่งโรงปฏิกรณ์ชนิดนี้จะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงยูเรเนียมถึงร้อยละ 50 ถึง 60 เมื่อเปรียบเทียบกับเตาปฏิกรณ์ปัจจุบันที่สิ้นเปลืองเพียงร้อยละ 1

ปีที่แล้วสภาคองเกรสก็ได้เร่งรีบอนุมัติให้กับโครงปฏิกรณ์ปรมาณูที่แม่น้ำคลินซ์ในเทนเนสซีซึ่งตามมาด้วยการลงทุนงบประมาณอีกก้อนใหญ่ กระทรวงพลังงานเองก็ยังมีงบสำหรับการวิจัยเรื่องเตาปฏิกรณ์ชนิดนี้อยู่อีกราว 300 ล้านเหรียญ ทั้งยังต้องการที่จะร่วมงานกับรัฐบาลญี่ปุ่นด้วย

มิติก็บอกว่ายินดีที่จะให้สหรัฐฯ มีส่วนร่วมด้วย

จีนเป็นตลาดใหญ่อันดับต่อไปสำหรับเรื่องปฏิกรณ์ปรมาณูนี้

สาธารณรัฐประชาชนจีนวางโครงการที่จะสร้างเตาปฏิกรณ์ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าขนาด 10,000 เมกะวัตต์ มูลค่าราว 50,000 ล้าน โรงงานเตาปฏิกรณ์แฝดภายใน 15 ปีข้างหน้าแม้ว่าทางบริษัทเจนเนอรัล อิเล็คทริค และเวสติ้งเฮาส์จะถูกห้ามการส่งอุปกรณ์ปรมาณูให้กับจีน แต่พวกเขาก็หวังว่าข้อจำกัดจะถูกยกเลิกไปในไม่ช้า

เมื่อเดือนมกราคม (1984) ประเทศจีนได้เข้าร่วมในองค์การพลังงานปรมาณูสากล ซึ่งข้อตกลงร่วมในนโยบายที่จะไม่พัฒนาหรือดัดแปลงพลังงานปรมาณูนี้ไปใช้ในทางการผลิตอาวุธการเจรจาทางการค้าเกี่ยวกับปรมาณูนี้ พร้อมจะเข้าสู่วาระการประชุมเมื่อประธานาธิบดีเรแกนไปเยือนจีนแดงตามกำหนดในเดือนเมษายน

ถ้าบรรดาบริษัทผู้ค้าอุปกรณ์ในสหรัฐอเมริกาจะได้รับอนุญาตให้เปิดการค้ากับประเทศจีนได้แล้ว พวกเขาก็จะพบว่า บรรดาลูกศิษย์เก่าๆ ของเขาก็พร้อมด้วยเช่นกัน

บริษัทมิตซูบิชิจะลงมือสร้างเรือลำเลียงอุปกรณ์ปรมาณูของตนเองสำหรับขนส่งให้โรงงานปฏิกรณ์ใกล้เมืองท่าเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน โดยบริษัทจะต่อเรือตามมาตรฐานของบริษัทเวสติ้งเฮาส์และกล่าวว่า

เรือนี้พร้อมที่จะทำงานร่วมกับบริษัทของสหรัฐฯ ในประเทศจีนหรือทุกแห่งก็ตาม โดยที่นายยู ทาชิโร ประธานบริษัทมิตซูบิชิกล่าวไว้ว่า “บริษัทพวกนั้นเป็นมิตรของเรา พวกเขาช่วยให้เราได้เริ่มงาน และตอนนี้เราก็พร้อมที่จะช่วยเขาแล้ว” แต่ผู้เชี่ยวชาญทางนิวเคลียร์บางคนตั้งข้อสงสัยว่า ญี่ปุ่นต้องการที่จะจำกัดภูมิภาคแถบเอเชียเอาไว้เพื่อเป็นตลาดส่วนตัว หากว่า ความเป็นหุ้นส่วนนี้จะพัฒนางอกงามไปได้จริงแล้วก็จะเป็นเหตุผลอันแรกอันเดียวในรอบหลายปีที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกายิ้มออกมาได้กับปรปักษ์ทางการค้าชาวญี่ปุ่น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us