|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ พฤษภาคม 2527
|
|
เคยมีสักครั้งไหม? ที่คุณหยิบสินค้าขึ้นมาชนิดหนึ่งแล้ว พลิกหีบห่อพินิจพิเคราะห์ดู แล้วตั้งข้อกังขาขึ้นมาว่า แถบถี่ๆ และตัวเลขที่กำกับอยู่ด้านล่างนั้นมีความหมายพิเศษอะไรบ้างไหม? และมีจุดประสงค์อย่างไรที่ต้องพิมพ์ขึ้นมา
มันไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะเอาปากกาขึ้นมาสักด้าม แล้วขีดแถบลงไปสักสองสามแถบบนสัญลักษณ์รหัสสินค้าสากล เผื่อว่าหากมีใครสักคนเล่นตลกด้วยการพยายามตัดทอนราคาหรือกลั่นแกล้งทำลายล้างระบบล่ะก็ เจ้ารหัสนี้ก็ได้แฝงระบบป้องกันเอาไว้แล้ว
เครื่องวิเคราะห์ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า UPC สามารถทำการค้นพบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นบนสัญลักษณ์เหล่านี้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีโอกาสเจอได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์
ความลับนี้ขึ้นอยู่กับตัวเลขตรวจสอบที่ล้อมแถบพิเศษตอนปลายสุดของสัญลักษณ์ตัวเลขตรวจสอบนี้คิดหามาได้ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์จากข้อมูลที่ได้มาจากแถบอื่นๆ ที่ป้ายเอาไว้ในสัญลักษณ์ชุดเดียวกันนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ตัวเลขตรวจสอบก็อาจจะใช้การไม่ได้
รูปแบบการกำหนดตัวเลขตรวจสอบนั้นจัดทำขึ้นโดย UNIFORM PRODUCT CODE COUNCIL ซึ่งเป็นสมาคมผู้ผลิตในเมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ
ในคู่มือแนะนำของ UPC ที่พิมพ์แจกให้สมาชิกของสมาคมว่าด้วยเทคนิคต่างๆ ได้เผยให้ทราบว่า ผู้ผลิตทุกรายที่ใช้รหัสสินค้าสากลนี้ จะมีวิธีการคำนวณตัวเลขตรวจสอบด้วยวิธีเดียวกันทั้งหมด
ในรูปแบบปกตินั้นสัญลักษณ์รหัสเหล่านี้จะมีตัวเลขตัวหนึ่งด้านซ้ายของแถบ และแบ่งกลุ่มตัวเลขออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัวด้วยกัน พิมพ์ไว้ด้านล่าง
แต่บางครั้งในรูปแบบที่สั้นกว่าอาจจะมีตัวเลขแค่หกตัวก็ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของหีบห่อที่เล็กเกินกว่าจะใส่ตัวเลขเข้าไปได้หมด
แต่ก็มีผลิตภัณฑ์อีกไม่กี่ชนิดที่พิมพ์ตัวเลขเกินกว่ากลุ่มละ 5 ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกต่อกรณีที่ผู้ผลิตเพียงรายเดียวผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมากๆ เช่น พวกนิตยสาร หรือหนังสือชนิดต่างๆ
เครื่องวิเคราะห์ไม่สามารถอ่านตัวเลขได้ ตัวเลขที่ปรากฏให้เห็นมีเพียงเพื่อความสะดวกแก่การตรวจสอบโดยมนุษย์ หากเกิดกรณีที่เครื่องวิเคราะห์ใช้งานไม่ได้ ผู้ตรวจสอบเหล่านี้ก็จะอ่านแถบต่างๆ เหล่านี้จะกำกับไว้ด้วยตัวเลขชุดเดียวกัน และตัวเลขตรวจสอบที่อ่านได้ด้วยเครื่อง
ตัวเลขตรวจสอบจะเป็นได้ตั้งแต่เลข 0-9 และมักจะไม่พิมพ์ออกมาในรูปตัวเลข (มีสินค้าเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่พิมพ์ตัวเลขตรวจสอบออกมา และจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเลขอื่นๆ ที่ปรากฏได้แถบสองแถบที่กำกับเอาไว้)
เลขอื่นๆ ของสัญลักษณ์ถูกกำหนดขึ้นอย่างง่ายๆ
ตัวเลขโดดๆ ด้านซ้ายนั้นเป็นระบบตัวเลข 0 ตัวหนึ่ง หมายถึงสิ่งของตามร้านชำทั่วไป 2 ใช้สำหรับสิ่งของที่มีน้ำหนักต่างๆ กัน เช่น เนื้อสัตว์ หรือผลไม้ 3 ใช้สำหรับยาหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับสุขภาพ 5 ใช้กับบัตรลดราคา
กลุ่มเลขห้าตัวในกลุ่มแรกนั้น หมายถึงผู้ผลิต ตัวอย่างเช่น 43000 คือ บริษัท เจนเนอรัลฟูดส์ 37000 คือ บริษัทพรอคเตอร์และแกมเบิล 11141 คือสินค้าจากกลุ่มเอแอนด์พี 51000 คือซุปยี่ห้อแคมเบล
ส่วนกลุ่มที่สองนั้นจะบอกลักษณะผลิตภัณฑ์ขนาดหีบห่อที่บรรจุ
ตัวเลขทั้งห้าตัวหลังนี้กำหนดขึ้นโดยผู้ผลิตแต่ละรายๆ ไป ถ้าเลข 20043 หมายถึงชุดซุปมะเขือเทศบรรจุกระป๋องขนาด 10 ออนซ์สำหรับผู้ผลิตรายหนึ่ง มันไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นซุปมะเขือเทศสำหรับรายอื่น
เมื่อใช้เลขกำกับสินค้าแล้ว ก็จะใช้แถบเส้นมากำกับเลขนั้นอีกชั้นหนึ่ง
รูปแบบของแถบเส้นนั้นอาจจะต่างกันได้ในเรื่องของขนาด ขนาดเล็กที่สุดคือ 0.816 นิ้วคูณด้วย 1.175 นิ้ว
ส่วนขนาดที่ใหญ่ที่สุดอาจจะเป็น 2.040 นิ้วคูณด้วย 2.938 นิ้ว
แถบสีมืดนั้นอาจจะเป็นสีเข้มใดๆ ก็ได้ (ยกเว้นสีแดง) ส่วนพื้นหลังของแถบเส้นนั้นอาจจะเป็นสีขาวหรือสีอ่อนๆ อื่นๆ
แถบสองแถบที่อ่านจากซ้ายไปขวาแถบแรกนั้นไม่มีความหมายพิเศษใดๆ เป็นแค่ตัวหยุดวรรคเพื่อให้เครื่องวิเคราะห์รู้ว่าจะเริ่มอ่านได้ตรงไหน? และจะเป็นเช่นนี้ซ้ำอีกในตรงกลางและขวาสุด
แถบสองแถบแรกที่นับไปด้านขวาหลังแถบเว้นวรรคนั้นจะกำกับลักษณะระบบตัวเลข คือตัวเลขที่มองเห็นตรงกลางด้านซ้าย ถ้าเป็นตัวเลขศูนย์ตัวหนึ่ง ก็จะมีช่องว่างหนึ่งช่อง แถบหนาๆ หนึ่งแถบ และช่องว่างแคบๆ หนึ่งช่อง แถบบางๆ หนึ่งแถบ รหัสของแถบจะเป็นเลขศูนย์
ตัวเลขอื่นๆ แต่ละหลักจะปรากฏเป็นแถบสองแถบ และช่องว่างสองช่อง ส่วนของสัญลักษณ์ยูพีซี กำหนดให้หลักหน่วยแต่ละหลักประกอบด้วยหน่วยที่เท่าๆ กัน 7 หน่วยหรือเรียกว่า โมดูล ซึ่งแต่ละอันจะเป็นส่วนที่มืดหรือสว่างก็ได้ สัญลักษณ์ของเลขศูนย์คือโมดูลสว่างๆ 3 ช่อง (ช่องว่างแคบๆ) และโมดูล 1 ช่อง (แถบบางๆ) อย่างนี้แทนเลขได้ว่า 001101 ซึ่ง 0 ก็คือโมดูลสว่าง และ 1 ก็คือโมดูลมืด
คำแปลสัญลักษณ์กลับกันใช้ในส่วนของสัญลักษณ์ยูพีซีที่อยู่ด้านขวาของแถบสองแถบจากตรงกลาง ตัวเลขศูนย์ที่ปรากฏด้านขวาจะกลายเป็น 1110010 นั่นคือ แถบหนา 1 แถบ ช่องว่างแถบแคบๆ และช่องว่างแคบๆ รหัสที่แตกต่างกันสองรหัสนั้นใช้เพื่อที่เครื่องวิเคราะห์จะสามารถสังเกตได้ว่า กำลังอ่านสัญลักษณ์ด้านใดอยู่ ด้วยวิธีการนี้ ไม่จำเป็นต้องป้อนหีบห่อเข้าเครื่องวิเคราะห์เพียงด้านใดด้านหนึ่ง
ตัวเลขตรวจสอบที่ปรากฏด้านขวาสุดนั้นกำกับคอลัมน์ด้านขวาบน แถบแคบๆ สองแถบแยกจากกันด้วยช่องว่างกว้างๆ 3 เท่า แทนที่จะเป็นตัวเลข 7 เป็นต้น
รหัสเดิมบางตัวกับหลักหน่วยตรวจสอบของมันจะเป็นดังนี้:-
พริกไทยดำยี่ห้อ แอนน์ เพจ ขนาด 2 ออนซ์ 0 11141 26230 1
ผักโขมบดโรยเส้นหมี่ยี่ห้อรอมซินี ขนาด 12 ออนซ์ 0 71300 00137 0
ซุปผักสไตล์สเปนยี่ห้อ แคมเบล ขนาด 10 ออนซ์ 0 51000 02677 4
รูปแบบน่ะหรือ ก็คือการนำตัวเลขของสัญลักษณ์ (ยกเว้นแต่ตัวเลขตรวจสอบ) และจับกลุ่มตามลำดับในสัญลักษณ์เขียนตัวเลขตัวแรก ตัวที่สาม ตัวที่ห้า ตามลำดับเลขคลี่ลงไปบนแถวหนึ่ง และเลขตามลำดับคู่คือ 2 4 6 ไปบนอีกแถวหนึ่งก็จะแยกออกมาได้ดังนี้ เช่น
0 11141 26230 คือ
- 0 1 4 2 2 0
- 1 1 1 6 3
แล้วบวกตัวเลขแต่ละแถวเอาไว้
0+1+4+2+2+0 = 9
1+1+1+6+3 = 12
คูณจำนวนของลำดับคี่ด้วย 3
9x3 = 27
แล้วนำไปบวกกับผลไม้ของลำดับคู่
27+12 = 39
ลบผลที่ได้ด้วยเลขครบหลักสิบตัวถัดไป ในที่นี้คือ เลข 40 จะเป็นหลักสิบตัวถัดไป
40-39 = 1
40-40
ผลที่ได้ก็คือ 1 ตัวเลขตรวจสอบที่ถูกต้อง
การเปลี่ยนแปลงตัวเลขเพียงตัวเดียวในรหัสจะทำให้ตัวเลขตรวจสอบแตกต่างออกไป ไม่มีทางใดที่ใครสักคนจะใช้ปากกาขีดเขียนเพื่อหวังจะเปลี่ยนรหัสไปให้เป็นของที่มีมูลค่าต่ำกว่า
วิธีที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนรหัสอย่างส่งเดช บางที รหัสที่เปลี่ยนแปลงไปจะกลายเป็นของที่ถูกกว่า บางทีก็อาจจะแพงกว่า บางทีก็จะเป็นรหัสที่ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้น หน่วยตรวจสอบจะสร้างความไม่แน่ใจว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็จะถูกจับได้ แม้รหัสที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะเป็นรหัสที่ถูกกำหนดขึ้นมาก็ตาม
วิธีกะเทาะรหัสสินค้าสากล
1. แถบคุมบางๆ สองแถบไม่มีความหมายแต่อย่างใด เพียงแต่ล้อมกรอบข้อความไว้ และจะมีซ้ำตรงกลางอีกพร้อมตรงปลายอีกด้านหนึ่ง
2. ช่องกว้างๆ แถบ ช่องแคบๆ แถบบางๆ กำกับตัวเลขศูนย์ทางตอนซ้ายของสัญลักษณ์ ศูนย์หมายถึงสินค้าร้านชำทั่วไป 3 คือยา
3. ช่องว่าง 10 ช่อง และแถบ 10 แถบ กำกับ 1 2 3 4 5 ในตอนล่างจะชี้บอกผู้ผลิต 21000 คือบริษัทคราฟท์
4. เลขกำกับ 6 7 8 9 0 ซึ่งจะชี้บอกผลิตภัณฑ์ รวมทั้งขนาดหีบห่อ ราคาไม่ได้กำกับไว้
5. เลขตรวจสอบที่เป็นความลับ (ในที่นี้คือ 5) เพื่อจะจับเอาข้อผิดพลาดใดๆ หรือการชักจูงใดๆ ถ้ามีใครสักคนขยายแถบออกเพียงแต่ขนาดปลายปากกา ตัวเลขตรวจสอบจะช่วยให้เครื่องวิเคราะห์จับเอาไว้ได้
|
|
|
|
|