ศาลฎีกาพิพากษายกคำร้องทั้งหมดของ "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" รวม
4 คดี โดยยืนคำพิพากษาตามศาลล้มละลายกลางที่เห็นชอบแผนฟื้นฟู เนื่องจากมีเนื้อหาครบถ้วนตามกฎหมาย
"เอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอร์ส" แบไต๋ อาจเลื่อนเวลาขายสินทรัพย์รองอีก เพราะจะได้รับเงินขายโรงไฟฟ้า
100 ล้านเหรียญสหรัฐไม่ครบในทีเดียว แต่จะทยอยรับตามเงื่อนไขที่ทำไว้กับบ้านปู
เพาเวอร์ วานนี้ (10 มิ.ย.)
ศาลล้มละลายกลางได้นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา เลขที่ 1117/2545 ตามที่บริษัท
ปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TPI ในฐานะลูกหนี้ บริษัท ทีพีไอ อินเตอร์เน็ต
พอร์ทัล จำกัด ในฐานะเจ้าหนี้รายที่
207 และบริษัท ซิเมนต์ ทรานสปอร์ต จำกัด เจ้าหนี้รายที่ 270 ยื่นอุทธรณ์คัด
ค้านคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2543 โดยศาลฎีการับวันที่
16 มีนาคม 2544
ทั้งนี้ศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลล้มละลาย กลางที่เห็นชอบแผนฟื้นฟูของทีพีไอ
เนื่องจากมีเนื้อหาครบถ้วนตามกฎ หมายล้มละลาย
ทั้งกระบวนการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ กระบวนการพิจารณาของศาลล้มละลายกลางเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูฯมีความถูกต้องตามที่กฎหมายได้กำหนด
และการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องของทีพีไอและประเทศชาติ
นายปีเตอร์ กอทธาร์ด ผู้บริหารอาวุโส บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด
ในฐานะผู้บริหารแผนของทีพีไอ
กล่าวว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาครั้งนี้จะสร้าง ความมั่นใจให้กับผู้ที่สนใจเข้ามาซื้อสินทรัพย์รองจากทีพีไอมากขึ้น
ทำให้บริษัทฯอาจขายสินทรัพย์รองมูลค่า 200
ล้านเหรียญสหรัฐได้ตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ทีพีไอในวันที่ 31 มี.ค.46
คดีความดังกล่าวใช้เวลานาน ถึงปีกว่า ศาลฎีกาจึงมีคำพิพากษาออกมาซึ่งบริษัทฯได้รับผลกระทบบ้างในช่วงเวลาดังกล่าว
โดยเฉพาะ การขายสินทรัพย์รอง เนื่องจากผู้ที่จะซื้อสินทรัพย์รองเกรงว่าจะมีการเพิกถอนผู้บริหารแผนฯ
จึงได้ประวิงเวลาที่จะซื้อ ทำให้บริษัทฯไม่ สามารถขายสินทรัพย์รองได้ตามกำหนด
จึงต้องขอมติที่ประชุมเจ้าหนี้เลื่อนการขายสินทรัพย์รองออกไปเป็นวันที่
31 มี.ค.46 แทน" ปัจจุบันการเจรจาขายโรงไฟฟ้าทีพีไอให้กับบ้าน ปู เพาเวอร์
มูลค่าประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
มีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้าจะลงนามสัญญาซื้อขายได้
แต่การเซ็นสัญญาดังกล่าวไม่ใช่จุดสิ้นสุดของดีลขายโรงไฟฟ้าเนื่องจาก มีเงื่อนไขก่อนดีลจบ
อาทิ
การขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการของทีพีไอ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการเจรจาซื้อขายโรงไฟฟ้า
การกำหนดเงื่อนไขก่อนดีลจบครั้งนี้
ทำให้บริษัทฯจะทยอยรับเงินค่าโรงไฟฟ้าเป็นช่วงๆ ดังนี้ คือ 58 ล้านเหรียญในวันที่เซ็นสัญญาซื้อ
ขายโรงไฟฟ้า อีก 12 ล้านเหรียญ จะทยอยรับใน 12 ปีพร้อมดอกเบี้ย และ 30 ล้านเหรียญจะได้รับภายใน
30 เดือนหลังส่วนขยายโรงไฟฟ้าได้รับการอนุมัติ นายกอธทาร์ด กล่าวยอมรับว่า
การขายสิน ทรัพย์รองให้ได้มูลค่า 200 ล้านเหรียญเพื่อชำระเจ้าหนี้ในสิ้นมี.ค.46
เป็นไปได้ยาก
เพราะการขายโรงไฟฟ้านั้นคงไม่ได้รับชำระเงินครบ 100 ล้านเหรียญทันทีที่ลงนามสัญญาซื้อขาย
ขณะเดียวกันการขายที่ดินเปล่า คลังเก็บน้ำมันที่พระประแดงและอยุธยารวมถึงปั๊มน้ำมันทั้ง
15
แห่งในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ทำได้ยากมาก รวมทั้งการขายหุ้นทีพีไอโพลีน ซึ่งถือ
อยู่นั้นคงต้องรอให้การเจรจาขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่กับโฮลซิมบรรลุเป้าหมายก่อน
ซึ่งมูลค่าที่ได้จากการขายหุ้นทีพีไอโพลีน
ยังไม่สามารถประเมินได้ในตอนนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะต้องขออนุมัติจากเจ้าหนี้ในการขอเลื่อนการขายสินทรัพย์รองออกไปอีกครั้ง
ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็สามารถเลื่อนได้อีก
โดยไม่มีความยุ่งยากเหมือนครั้งที่แล้ว เพียงแต่ได้มติคณะกรรมการเจ้าหนี้เห็นชอบก็สำเร็จแล้ว
ดังนั้น การบริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอนับจากนี้จะไม่ประสบอุปสรรค ยกเว้นคดีที่นายประชัย
เลี่ยวไพรัตน์
อดีตผู้บริหารทีพีไอ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลโดยกล่าวหาว่าผู้บริหารของ เอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอ์ส และบริษัทฯ ไม่มีสิทธิ์ในการบริหารแผนฯ เนื่องจากผิดกฎหมายเกี่ยวกับการไม่มีใบอนุญาตทำงาน
หรือ Work
Per- mit ซึ่งคำพิพากษาของศาลฎีกา ได้ระบุว่าเอ็ฟเฟ็คทีฟฯได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
เชื่อว่าศาลล้ม ละลายกลางจะมีคำสั่งไปในทิศทางเดียวกับศาลฎีกา อย่างไรก็ตาม
หากศาลมีคำสั่งให้มีความผิดจริงก็เชื่อว่าเป็นการกระทำผิดในแง่ตัวบุคคลเท่านั้น
ไม่เกี่ยวกับเอ็ฟเฟ็คทีฟ ฯ จึงไม่กระทบต่อการเป็นผู้บริหารแผนฯ และถึงแม้ว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยน
แปลงผู้บริหารแผนฯใหม่ก็ตาม ทางเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อคัดเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่
ดังนั้นโอกาสที่นายประชัย
จะเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนฯคงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน "ตลอดระยะเวลาการพิจารณาตามกระบวนกฎหมายทั้งหมดนี้
เรามีความเชื่อมั่นในระบบกฎหมายไทย ซึ่งเราได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ทั้งในด้านการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนปฏิบัติตามแผนดังกล่าว โดยคำตัดสินของศาลฎีกาในครั้งนี้
ขจัดข้อสงสัยเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของทั้งการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการและการแต่งตั้งผู้บริหารแผน"
นายกอทธาร์ด กล่าว อย่างไรก็ตาม เอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอร์สยังมีคดีที่ต้องคำตัดสินในอีกประมาณ 20 คดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดคีแพ่ง
และอีก 1คดีเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับWork Permit แจงละเอียดคำพิพากษาศาลฎีกา
นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
พาร์ทเนอร์ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คแคนซี่ จำกัด ในฐานะทนายความ ของเอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอร์ส กล่าวชี้แจงรายละเอียด ของคำตัดสินของศาลฎีกาว่า
ตามที่ศาลฎีกาได้มีการตัดสินคำร้องและคำอุทธรณ์รวม 4 คดี มีข้อสรุป ดังนี้
คือ คดีที่ 1คำร้องวันที่ 15 ม.ค.44 ซึ่งมีทีพีไอ ทีพีไอ พอร์ทัล และซีเมนต์
ทรานสปอร์ต ได้ยื่นฟ้อง
เพื่อคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอที่ได้รับการอนุมัติจากศาลล้มละลายกลาง
โดยศาลฎีกายกคำร้องและเห็นชอบกับคำสั่งของศาลล้มละลายกลางเพราะแผนฟื้นฟูมีรายการครบถ้วนตามกฎหมายที่กำหนด
และได้จัดสรรแบ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้เท่าเทียมกัน
จากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ล้ม
ละลาย
ทั้งแผนฟื้นฟูดังกล่าวมีโอกาสที่จะดำเนินการสำเร็จตามแผนได้และได้มีการทำแผนโดย
สุจริต ขณะที่คดีที่ 2 คำร้องวันที่ 8 มิ.ย.44 ที่ทีพีไอได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้ชะลอการฟื้นฟูกิจการ
ของทีพีไอออกไปจนกว่าการตัดสินว่า เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สมีคุณสมบัติ ความรู้ความชำนาญและความประพฤติที่มีความเหมาะสมในการบริหารทีพีไอ
ซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้อง คดีที่ 3 คำร้องที่
ทีพีไอ ได้ยื่นต่อศาลฎีกาเมื่อวันที่ 25 ก.ค.44 เพื่อขอให้ศาล ยกเลิกคำสั่งที่เอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอร์สได้ปฏิบัติตามแผนทั้งหมด โดยกล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม
ซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องและคดีที่ 4 คำร้องวันที่ 5 ก.ย.44 ของทีพีไอเพื่อขอให้ศาลตัดสินว่าการแต่งตั้งเอ็ฟเฟ็คทีฟ
แพลนเนอร์สเป็นผู้ทำแผนและบริหารแผนถือเป็นโมฆะ
เนื่องจากขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมและแต่งตั้งทีพีไอ แพลนเนอร์ส เป็นผู้ทำแผนแทนโดยศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องเพราะศาลฎีกาเห็นชอบด้วยแผนแล้ว
นายกิติพงศ์ กล่าวว่า
การพิพากษาของศาลฎีกายืนคำสั่งศาลล้มละลายกลาง เป็นการยืนยันว่า กระบวนการบริหารแผนของผู้บริหารแผนฯถูกต้องทุกอย่าง
รวมทั้งได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานให้กับผู้พิพากษาที่จะล่วงล้ำเข้ามาดูรายละเอียดของแผนฟื้นฟูกิจการในอนาคตได้
ซึ่งศาลฎีกาได้พิจารณารายละเอียดของแผนฟื้นฟูทีพีไอ พบว่า
มีความเป็นได้ในการปฏิบัติตามแผนฯ รวมทั้งผู้บริหารแผนฯไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องปิโตรเคมีครบวงจรก็ได้
เพราะการแต่งตั้งผู้บริหารแผนเป็นไปตามมติของเจ้า หนี้
รวมทั้งสามารถจ้างพนักงานที่มีความรู้เชี่ยวชาญ เข้าร่วมบริหารกับพนักงานของลูกหนี้ได้
ทั้งนี้ คำตัดสินของศาลฎีกาจะไม่ครอบคลุมคำร้อง ซึ่งบริษัทในเครือของทีพีไอทั้ง
6 บริษัท
ได้ยื่นคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทไร้เงาประชัยในศาลล้มละลายกลาง เป็นที่น่าสังเกตว่า
การนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในครั้งนี้ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของทีพีไอ
ไม่ได้เข้า ร่วมฟังคำพิพากษา มีเพียงทนายความและตัวแทนพนักงานบางรายเท่านั้น
ซึ่งบรรยากาศในห้องพิจารณา คดีคราคร่ำไปด้วยบบรรดาตัวแทนเจ้าหนี้สถาบันการ
เงินทั้งไทยและเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งภายหลังจบการฟังคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว
บรรดาตัวแทนเจ้าหนี้ต่างแสดงความยินดีกับผู้บริหารของเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส