Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2527
ผ่าเครื่อง ทำไมคนเลี้ยงไก่ต้องขายไมโครคอมพิวเตอร์?             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เครือเบทาโกร
Computer
Organic Farming
อัลฝ่า ไมโครซิสเต็มส์




“เบทาโกร” เป็นกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งทำธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร (AGRONUSINESS) แบบครบวงจรคล้ายๆ กับกลุ่ม “เจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี” ที่เรารู้จัก หรือนัยหนึ่งกลุ่มบริษัทที่ประกอบด้วยบริษัทลูกอีกประมาณ 10 บริษัทดังกล่าวนี้ ทำธุรกิจครอบคลุมไปตั้งแต่อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์, โรงงานฟักลูกไก่, ฟาร์มไก่, ฟาร์มหมู, โรงงานผลิตยารักษาโรคสัตว์เลี้ยงไปจนถึงธุรกิจด้านการส่งออกไก่เนื้อแช่แข็งไปต่างประเทศ

ถึง “เบทาโกร” จะยังยิ่งใหญ่ได้ไม่เท่า “ซีพี” แต่ในวงการอาหารสัตว์และอุตสาหกกรมการเกษตรแบบครบวงจรแล้วย่อมทราบดีว่า “เบทาโกร” ติดอันดับ 1 ใน 6 ของเจ้ายุทธจักรซึ่งประกอบด้วย ซีพี, ป.เจริญพันธุ์, เซ็นทาโกร, แหลมทอง, เบทาโกร และศรีไทยปศุสัตว์ โดยในปีล่าสุดมียอดขายรวมแล้วทั้งกลุ่มตกราว 1,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าพิจารณาว่าบริษัทนี้เริ่มกิจการด้วยบริษัทขายอาหารสัตว์ ในปี 1961 ก็ต้องยอมรับว่ามีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วทีเดียว และเป็นการเติบโตที่พยายามขยายข่ายงานไปตาม PRODUCT LINE ของธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรอีกด้วย

แต่เมื่อไม่นานนี้ “เบทาโกร” ได้ตัดสินใจครั้งสำคัญอันมีผลให้วงการงงงวยโดยถ้วนหน้านั่นก็คือ การจับมือกับบริษัทอัลฝ่าไมโครซีสเต็มส์แห่งประเทศไทยสหรัฐอเมริกา เป็นตัวแทนจำหน่ายไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ “อัลฝ่า ไมโคร”

“ไม่เข้าใจจริงๆ อยู่ๆ คนเลี้ยงไก่จะมาขายคอมพิวเตอร์ ผมว่ามันคนละเรื่องนะ คนละโปรเฟสชั่นนอลด้วย...” เสียงวิจารณ์ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะมาจากวงการอาหารสัตว์หรือวงการคอมพิวเตอร์มักจะตั้งคำถามเช่นนั้น

จนท้ายที่สุดวงการก็ชักจะเชื่อกันว่า การตัดสินใจครั้งนี้ของ “เบทาโกร” เป็นการตัดสินใจที่ผิด เป็นเรื่องตามแห่ของยุคสมัย เห็นตลาดไมโครฯ บูมก็อยากรวยบ้าง แม้ว่าภาพที่ผ่านมาของ “เบทาโกร” จะเป็นบริษัทที่ไม่เคยผลีผลามต่อการตัดสินใจลงทุนใหม่ๆ แต่นั่นก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากอยู่ดี

“การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นนานพอสมควรแล้ว ครั้งที่บริษัทเราจัดสัมมนาภายในที่พัทยา คือเราก็มาพิจารณากันว่า ในอนาคตกิจการของเราจะเดินไปในทิศทางไหนและเราก็เห็นว่าคอมพิวเตอร์น่าจะเป็นโปรดักส์ตัวหนึ่งที่เราควรสนใจเพราะเราค่อนข้างพร้อมมาก...” ฝ่ายบริหารคนหนึ่งของ “เบทาโกร” กล่าวกับ “ผู้จัดการ” เมื่อถูกรุกเร้าให้เปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตัดสินใจนำไมโครคอมพิวเตอร์เข้ามาขาย โดยน้ำเสียงนั้นพยายามเน้นคำว่า “พร้อมมาก”

เขาเล่าว่า “เบทาโกร” ที่จริงได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์นานกว่า 5 ปีแล้ว ในฐานะผู้ใช้โดยมีเป้าหมายให้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานด้านการผสมอาหารสัตว์ ซึ่งมีเป็น 100 สูตร แต่ละสูตรก็ล้วนพยายามให้คุณค่าทางอาหารแก่สัตว์เลี้ยงมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็พยายามควบคุมให้มีต้นทุนต่ำที่สุดด้วย งานดังกล่าวนี้ ถ้าจะให้คนทำก็หมายความว่า จะต้องว่าจ้างเจ้าหน้าที่ผู้จะคอยติดตามการเคลื่อนไหวขึ้นลงของราคาวัตถุดิบที่สามารถใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์ได้ จากนั้นก็ต้องนำมาคำนวณดูว่าควรเข้าอยู่ในสูตรไหนก็ทำได้ แต่มันล่าช้าและไม่ค่อยมีประสิทธิภาพผิดกับการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณค้นหาโดยเพียงแต่เราป้อนข้อมูลให้มันอัพเดทเท่านั้น” ฝ่ายบริหารคนเดียวกันสรุปสาเหตุของการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน “เครื่องแรกที่เรานำเข้ามาเป็นยี่ห้อเท็กซัส อินสตรูเม้นท์ แต่เราเพิ่งเปลี่ยนเป็นยี่ห้อแวกซ์เมื่อไม่นานนี้เอง ก็ไม่มีเหตุผลอะไรมากหรอก แพ็กเกจที่ใช้ผสมอาหารสัตว์มีดีมากอันหนึ่งเป็นซอฟต์แวร์เฮาส์ในประเทศอังกฤษ เราอยากได้มาก บังเอิญแพ็กเกจตัวนี้มันสร้างมาบนเครื่องแวกซ์เราก็เลยต้องเปลี่ยน...”

การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานของ “เบทาโกร” นั้น เป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องมีฝ่ายคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมารองรับงาน และพร้อมๆ กับการแอพพลายงานให้ไปใช้ทางด้านอื่นเช่น การซัปพอร์ตฝ่ายขายการทำออนไลน์ออร์เดอร์โปรเซสซิ่งอินเวนทอรี่คอนโทรล แอคเคาท์รีซีฟเวเบิลก็เป็นงานที่เพิ่มขึ้นมานอกเหนืองานผสมอาหารสัตว์ที่เป็นเป้าหมายหลัก พร้อมกันนั้นจำนวนบุคลากรของฝ่ายคอมพิวเตอร์ก็มากขึ้นป็นเงาตามตัวด้วย

“อย่างรวมแล้วในขณะนี้เรามีคนอยู่ราว 25 คน ถือเป็นฝ่ายที่ใหญ่มากฝ่ายหนึ่ง” คนในฝ่ายคอมพิวเตอร์เล่าให้ฟัง

เป็นอันว่า ถ้าจะพิจารณาถึงประเด็น “เบทาโกร” มีบุคลากรที่พร้อมหรือไม่ในการเป็นคนขายคอมพิวเตอร์ คำตอบก็คงจะให้ภาพที่ต่างจากก่อนหน้าการพูดคุยกับผู้บริหารคนหนึ่งของบริษัทนี้เป็นแน่

แต่สิ่งที่จะต้องพิจารณากันต่อไปก็คือ ทำไมต้องขายคอมพิวเตอร์และ “เบทาโกร” มีตลาดที่ตนเองเชื่อมั่นแล้วหรือ

คำถามแรกนั้นก็คงตอบได้ไม่ยาก ถ้าจะได้ติดตามข่าวในวงการอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่องเพราะวิกฤตในวงการอาหารสัตว์และวงการไก่เนื้อมีเรื่องเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะข่าวการแข่งขันทุ่มตลาดระหว่างคู่แข่งทั้งหลายจำนวน 6-7 รายที่ว่า

“ผมว่าก็คงไม่มีใครทิ้งวงการนี้ไปง่ายๆ หรอก แต่จะฝันเฟื่องเหมือนเมื่อ 4-5 ปีก่อนนั้นก็คงไม่มีใครหวัง เฉพาะตอนนี้จะช่วยกันคุมไม่ให้ราคาไก่เนื้อตกก็ยังไม่ได้เลย เพราะต่างฝ่ายต่างก็จ้องห้ำหั่นกัน อีกอย่างเรื่องอาหารสัตว์ซึ่งเคยสร้างผลกำไรพอที่จะมาเฉลี่ยให้กับงานด้านอื่น เช่น ไปชดเชยราคาไก่เนื้อที่รับซื้อเข้าโรงเชือดหรือราคาลูกเจี๊ยบที่ขายให้ฟาร์มเลี้ยงก็ทำท่าไม่ค่อยสดใสในขณะนี้ คือนอกจากวัตถุดิบมีราคาสูงแล้ว ผู้เลี้ยงจำนวนมากก็เริ่มผลิตอาหารกันเองไม่ต้องพึ่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์เหมือนเมื่อก่อน” แหล่งข่าวระดับสูงในวงการอาหารสัตว์คนหนึ่งช่วยอธิบาย

สถานการณ์ดังกล่าวนี้มีผลกระทบถึงเจ้าพ่อในวงการอาหารสัตว์หรือผู้ทำธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรแบบครบวงจรทุกราย ซึ่งก็รวมถึง “เบทาโกร” ด้วย และนี่เองที่เป็นสาเหตุสำคัญให้บริษัทนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหันไปหาการลงทุนด้านอื่นบ้าง ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงความพร้อมด้านบุคลากรแล้ว คอมพิวเตอร์ก็คงจะต้องเป็นทางเลือกหนึ่งไม่มีปัญหา

ส่วนในคำถามต่อมาเกี่ยวกับเรื่องตลาดไมโครฯ ว่าไปแล้วทาง “เบทาโกร” ก็ได้มองถึงจุดนี้อย่างลึกซี้งไม่น้อย

“ถ้าคุณทราบถึงสายใยของการประกอบธุรกิจอย่างที่เบทาโกรเขาทำ คุณก็คงทราบว่าเขามีบริษัทลูกอยู่จำนวนไม่น้อยและก็ยังมีพวกฟาร์มภาคีอีกหลายร้อยแห่ง พวกนี้แหละครับที่จะมาเป็นลูกค้าซื้อไมโครคอมพิวเตอร์ไปใช้คนละเครื่องสองเครื่อง งานหลักก็อาจจะเอาไปใช้ผสมอาหารสัตว์นั่นแหละ ทางเบทาโกรเขามีเจ้าหน้าที่ซึ่งสามารถจัดทำซอฟต์แวร์ทีมีคุณภาพได้สบายมากรับรองอันนี้หาคู่แข่งประกบยาก นอกจากจะเป็นพวกขายอาหารสัตว์เหมือนๆ กัน ส่วนตลาดด้านอื่นก็คงไม่ด้อยหรือดีไปกว่าคนขายรายอื่นอันนี้ก็วัดกันทีคุณภาพของโปรดักส์และความสามารถของทีมงานต่อไป...” แหล่งข่าวในวงการคนเดิมช่วยชี้เป็นการตบท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us