Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2527
วิธีการวางแผนการเงินภายใต้ความไม่แน่นอน! โดยใช้คอมพิวเตอร์คำนวณความไม่แน่นอน             
โดย สหัส พรหมสิทธิ์
 


   
search resources

Computer
Financing
Knowledge and Theory




การวางแผนการเงินระยะสั้นๆ เป็นการต่อรองระหว่างความต้องการใช้เงินของวิสาหกิจเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากับเงินที่จะพึงได้จากแหล่งต่างๆ ตามที่หวังเอาไว้ในระยะดังนั้นหน้าที่ในด้านนี้จึงแบ่งเป็นสองภาคใหญ่ๆ คือ

1) หาเงินมาไว้ใช้ในระยะยาว กับ

2) หาเงินพร้อมไปกับการลงทุนระยะสั้นเพื่อจะได้สามารถนำมาเป็นกันชนรองรับปัญหาข้อแตกต่างของรายได้กับรายจ่ายในแต่ละงวดได้

แผนการเงินระยะสั้น ที่ดีควรได้มาด้วยความรวดเร็วแม่นยำทันเหตุการณ์และสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ทุกขณะ หากมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นคงหนีการใช้คอมพิวเตอร์ไปไม่พ้น

การวางแผนการเงินระยะนั้นน่าจะเป็นปกติวิสัยของวิสาหกิจส่วนใหญ่ คืออย่างน้อยก็อยู่ในรูปของแผนคร่าวๆ ซึ่งจะไม่กล่าวในที่นี้แต่จะกล่าวเฉพาะการวางแผนการเงินระยะสั้นที่มีความไม่แน่นอน ในแง่ของ cumulative requirements โดยมุ่งให้การวางแผนชนิดนี้หาคำตอบเกี่ยวแก่

1) จำนวนเงินที่จะได้จากแหล่งเงินระยะสั้นต่างๆ ตลอดช่วงของการวางแผนจำนวนเงินจากแหล่งดังกล่าวจะแทน ผลต่างระหว่างความต้องการใช้เงิน อันเนื่องมาจากการลงทุนและการดำเนินงานของวิสาหกิจกับแหล่งเงินระยะยาว และ

2) นำจำนวนเงินที่ได้จากแหล่งเงินระยะสั้นมาจัดสรรให้อยู่ในรูปของ financing package เพื่อจะได้สนองความต้องการด้านการเงินโดยสิ้นค่าใช้จ่ายต่างๆ ต่ำที่สุด (หรืออาจนำเงินส่วนเกินในบางงวดไปลงทุนให้เกิดดอกออกผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้) ทั้งหมดนี้จะต้องสอดคล้องกับข้อจำกัดต่างๆ อันเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กันไปในทางปฏิบัติ

การวางแผนนี้อาศัยแบบจำลองทางคำนวณที่นำคุณสมบัติต่างๆ ในทางปฏิบัติเข้ามาพิจารณา คือ

1) ความไม่แน่นอนในการพยากรณ์ความต้องการใช้เงินซึ่งจะมีผลในแง่ของ liquidity buffers ที่จะกันเงินเผื่อไว้เมื่อความต้องการในอนาคตสูงกว่าที่คาดคะเนไว้ในปัจจุบัน และ

2) ตัวแปรค่าซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์หาค่าออกมา จะอยู่ในรูปของ stock variable ซึ่งทำให้การคำนวณง่ายเข้า และให้ความกระจ่างในการใช้งานจุดใหญ่ของการวางแผนการเงินระยะสั้นจะอาศัย cash budget โดยแสดงรายได้และรายจ่ายเป็นงวดๆ ในกรณีนี้จะต้องมีข้อมูลในด้าน

1. Accounts receivable

2. Accounts payable

3. Payments for purchases

4. Minimum operating cash balance ฯลฯ

ขั้นต่อไปจะต้องมี financing alternative ซึ่งในกรณีนี้อาศัยแหล่งเงินจาก

1) Pledging of accounts receivable

2) Line of credit

3) Stretching of payables และ

4) Term loan

ส่วนตัวแปรค่าจะอยู่ในรูปของ

1. financing decision variables ซึ่งแทนจำนวนเงินที่จะได้จากแหล่งต่างๆ ในงวดหรือคาบเวลาต่างๆ กัน และ

2. ตัวแปรค่าที่เป็น liquidity reserve โดยที่ตัวแปรค่าทั้งสองประเภทนี้ต้องปรากฏควบคู่กันไปตลอดเวลาในการคำนวณ

เงื่อนไขของแหล่งเงินต่างๆ (financing alternatives) เป็นดังนี้:-

1) Pledging of accounts receivable ในกรณีที่ธนาคารยอมให้ลูกค้านำบัญชีค้างรับมาใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินได้นั้น ลูกค้ารายนี้ก็จะกู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของ face value ของจำนวนเงินเฉลี่ยของบัญชีค้างรับในงวดหนึ่งๆ โดยคิดค่าป่วยการร้อยละ 2.7 ต่องวด คำว่า “งวด” หมายถึงระยะเวลาสั้นมากๆ เช่น เดือน หรือ ฯลฯ

2) Line of credit ซึ่งให้กู้ได้ 1,500,000.- บาท โดยคิดค่าป่วยการร้อยละ 2 ต่องวด ในกรณีนี้ธนาคารกำหนดให้ผู้กู้ต้องมี compensating balance ไม่น้อยกว่าร้อยละ20 ของจำนวนที่ยืมไปใช้จริงๆ หรืออาจใช้ operating cash balance ทั้งหมดที่มีอยู่มาทดแทนก็ได้

3) Stretching of payables การเลื่อนกำหนดจ่ายเงินสำหรับบัญชีค้างจ่ายนั้นกำหนดให้ทำได้สองกรณีคือ.-

1.ให้ค้างจ่ายได้ร้อยละ 80 ได้หนึ่งงวด และ

2. ให้ค้างจ่ายได้ร้อยละ 60 ไม่เกินสองงวด (สำหรับหนี้ที่เกิดขึ้นในงวดใดงวดหนึ่ง) ในกรณีนี้ลูกหนี้ต้องเสียส่วนลดอันพึงได้ไปร้อยละ 3 ต่องวดที่ค้างชำระ และ

4) Term loan ผู้กู้ยืมจะใช้บริการนี้ในงวดแรกๆ ของการวางแผน โดยกู้ได้ไม่เกิน 2,500,000.- บาท และจ่ายคืนแบบผ่อนส่งโดยแบ่งออกเป็น 5 ครั้ง และให้เริ่มจ่ายคืนในงวดที่เจ็ด (เนื่องจากการวางแผนดังในบทความนี้มีระยะเวลาเพียง 4 งวดเท่านั้น ดังนั้นผลของการเริ่มจ่ายคืนยังไม่ปรากฏใน planning horizon แต่อย่างใด) ค่าใช้จ่ายในการกู้แบบนี้ตกร้อยละ 4 ต่องวด การกู้ตามในข้อ (1), (2) และ (3) นั้นจะต้องไม่เกิน 4,000,000.- บาท ในช่วง 4 งวด

ข้อกำหนดและข้อจำกัดของแหล่งเงิน

การวางแผนการเงินระยะสั้นที่มีความไม่แน่นอนแฝงอยู่นี้ มีข้อจำกัดและข้อกำหนดอันแบ่งเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ดังนี้คือ.-

1) ข้อจำกัด 4 กลุ่มแรกที่ถือเป็นรากฐานของแผนก็คือ ข้อจำกัดที่เกี่ยวแก่ ก) pledging accounts receivable ข) line of credit ซึ่งยังมีข้อจำกัดย่อยเกี่ยวแก่ compensating balance requirements อีกที่หนึ่ง ค) stretching accounts payable ซึ่งแยกออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มแรกยืดเวลาได้หนึ่งงวดและกลุ่มที่สองยืดเวลาได้สองงวด ภายในข้อจำกัดนี้ยังมีข้อจำกัดย่อยอันเกี่ยวแก่ payable outstanding และ ง) term loan

2) ข้อจำกัดหรือข้อกำหนดกลุ่มต่อไปจะเกี่ยวแก่ total borrowing constraint ซึ่งจำกัดไว้ 4,000,000.- บาท ตลอด 4 งวดของการวางแผน

3) ข้อกำหนดเกี่ยวแก่ sources and uses ที่กำหนดไว้ว่า.- expected cash requirements + financing costs + additional cash required for compensating balances = net new borrowing

4) ข้อจำกัดในแง่ของ liquidity reserve โดยกำหนดให้มีสภาพคล่องไม่ต่ำกว่า 500,000.- บาท ในช่วง 4 งวด นอกจากนี้จะต้องการสำรองเผื่อไว้อีกระดับหนึ่งโดยกะว่า โอกาสที่จะไม่สามารถสนองความต้องการเงินสดนี้เป็นส่วนเกินจาก normal source จะไม่เกินร้อยละ 10 ช่วงนี้เองที่มีเรื่องของความไม่แน่นอนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเราได้ขอยืมหลักของการเบี่ยงเบนมาตรฐานในสถิติศาสตร์มาใช้ เพื่อให้การวางแผนการเงินเป็นไปด้วยความแยบยลรัดกุมอันเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญ และ

5) ข้อจำกัดในแง่ของ financial ratio โดยกำหนดให้ current ratio มีค่าเท่ากับ 1.2 รายละเอียดของข้อจำกัดอันนี้จะประกอบด้วยข้อมูลในด้าน ก) minimum operating cash balance ข) บัญชีค้างรับทรัพย์สินและหนี้สินในปัจจุบัน และ ค) current term loan (หากมี) ส่วนตัวแปรค่าก็จะเกี่ยวกับ 3 ข้อแรกของ financing alternatives ที่กล่าวไว้ในตอนต้น อันเป็นการสิ้นสุดข้อจำกัดและข้อกำหนด

เป้าหมายของแผนการเงิน การวางแผนการเงินในที่นี้ต้องการทำให้ explicit และ implicit costs อันเกิดจากการกู้ยืมและการยืดการชำระหนี้ มีค่าต่ำที่สุดโดยอาศัย linear optimization technique ผนวกกับคอมพิวเตอร์ ส่วนข้อมูลอื่นๆ ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 ซึ่งถือเป็นเพียงข้อมูลหลักๆ ที่จะสามารถนำมาแสดงในที่นี้ได้ เพราะจุดมุ่งหมายต้องการแสดงเค้าโครงของการวางแผนการเงินด้วยศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมักหนีการคำนวณโดยต่อเนื่องและการแก้สมการไปไม่พ้น แต่ก็ไม่มีปัญหาเพราะเรามีกรรมวิธีที่ค่อนข้างอัตโนมัติไว้ใช้งานในด้านนี้อยู่แล้ว ข้อมูลที่เป็นส่วนเพิ่มจากตารางที่ 1 ก็คือ payable outstanding ของงวดที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งคิดเป็นเงิน 2,000,000 2,500,000 2,500,000 และ 2,500,000 บาท ตามลำดับ

ผลการคำนวณ การคำนวณโดยอาศัยเครื่องคำนวณเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหา มีข้อดีตรงที่เราสามารถสมมุติสิ่งที่เราไม่ทราบ หรือต้องการหาคำตอบออกมาให้เป็น ตัวแปรค่า ไปเสียโดยไม่ต้องมาใช้วิธีค่อยๆ เดาเอาจนกว่าจะได้คำตอบ ซึ่งสมัยนี้ไม่นิยมกันแล้วกล่าวคือ ปล่อยให้กรรมวิธีทางคำนวณหาคำตอบออกมาให้อย่างหมดไส้หมดพุง และหากเห็นว่าคำตอบที่ได้ไม่ชอบมาพากล หรือเหมาะในทางปฏิบัติให้ตรวจดูว่าข้อมูลที่ป้อนเข้าไปนั้นสมเหตุสมผลอยู่หรือเปล่า? แล้วคำนวณใหม่ซึ่งแต่ละครั้งก็ใช้เวลาเป็นนาทีเท่านั้นผลของการคำนวณอันเป็นแผนการเงินระยะสั้นภายใต้ความไม่แน่นอน ได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 การอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณ

เมื่อวางแผนการเงินก็เหมือนกับการกระทำทั้งหลายในโลก ที่ว่า สาระสำคัญของการกระทำนั้นไม่ได้อยู่ที่ “คำตอบ” แต่อยู่ที่การตั้ง สมมุติฐาน ทางการค้าและตัวเลขข้อมูลทางบัญชีหรือ ฯลฯ เพราะการตั้งสมมุติฐานนั้นเป็นการแสดงเจตนาในทางการค้าที่จะปฏิเสธไม่ได้ คือหว่านเมล็ดพืชไว้เช่นใดก็ได้ผลออกมาเช่นนั้น จึงต้องอาศัยประสบการณ์และเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์มาพิเคราะห์คำตอบอย่างเสี่ยงไม่ได้ จึงอยากให้ช่วยกันวิเคราะห์คำตอบดังแสดงไว้ในตารางที่ 2 ด้วย

การวางแผนการเงินในข้อนี้เน้นเรื่องของ Reserve ไว้มากไม่แพ้ประเด็นอื่นๆ การกำหนด liquidity buffers อาจทำให้แผนการเงินที่ได้นั้นไม่มีความแน่นเขม็ง ประหยัดดอกเบี้ยได้ทุกกระเบียดนิ้วก็จริงแต่ก็มีข้อดีอันอาจเกี่ยวแก่เกียรติภูมิทางการค้า ที่ยอมรับความไม่แน่นอนในเรื่องความต้องการใช้เงินแล้วแปลงความไม่แน่นอนนี้มาให้อยู่ในรูปของ buffers คือยอมให้แผนมีความหลวมและคล่องตัวได้นิดหน่อย (looser solution) แทนที่จะเป็นแผนชนิด “Finely Tuned” ที่ตั้งสมมุติฐานเอาไว้ว่า “ข้อมูลในด้านความต้องการเงินที่คาดคะเนเอาไว้นั้นค่อนข้างแน่นอน” ซึ่งคงเป็นไปได้ยาก นิทานเรื่องนี้จึงอยู่ที่ว่าจะยอมเสียน้อยเสียยากได้สักเท่าใด

ที่ใช้ของการวางแผนเพื่อให้ได้ Optimal plan ยังมีอีกมาก เรื่องใหญ่ๆ ที่นอกไปจากเรื่องของเงินๆ ทองๆ ก็มีเรื่องการเดินเรือสมุทร (liner scheduling, flect planning) และงานวางแผนอื่นๆ ซึ่งจะนำมากล่าวเป็นลำดับๆ ไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us