|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไอบีเอ็มปรับแนวทางการทำตลาดกลุ่มลูกค้า SMEs ตั้งเป้ายอดเติบโตแบบก้าวกระโดด หวังทำรายได้ส่วนธุรกิจ SMEs ให้มากกว่า 50% ของไอบีเอ็มประเทศไทยในสิ้นปี 2548 ให้ความสำคัญตลาดภูธร ตั้งทีมงานดูแลเฉพาะช่วยพาร์ตเนอร์ขยายตลาด เตรียมจัดงานใหญ่ "IBM SUMMIT 2005" แจกโซลูชันเพื่อ SMEs มูลค่ากว่า 1 แสนบาท คาดองค์กรธุรกิจตอบรับเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ที่ไอบีเอ็มทุ่มแจกให้ลูกค้า
นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจทั่วไป บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวถึง ทิศทางการทำตลาดกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ว่า ในปีนี้ไอบีเอ็มจะมุ่งให้ความสำคัญกับกลุ่มธุรกิจนี้มากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะการปูฐานการตลาดในปีที่ผ่านมาเป็นไปด้วยดี มียอดการเติบโตของธุรกิจ SMEs มากกว่าการเติบโตของตลาดโดยรวม ซึ่งตลาด SMEs โดยรวมมีการเติบโตประมาณ 10%
ปัจจุบัน ไอบีเอ็มมีฐานลูกค้าที่อยู่กับไอบีเอ็มประมาณ 10,000 รายและอีกส่วนเป็นฐานลูกค้าที่อยู่กับพาร์ตเนอร์
ที่ผ่านมาไอบีเอ็มประเทศไทยสามารถทำรายได้ได้สูงเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย เมื่อเทียบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไอบีเอ็มประเทศไทยมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มคอร์ปอเรตหรือองค์กรธุรกิจทั่วไปมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับรายได้ของไอบีเอ็มประเทศไทยทั้งหมด ขณะที่รายได้จากธุรกิจ SMEs มีน้อยกว่า 50% แต่ไอบีเอ็มมีเป้าหมายใหม่ที่จะทำให้รายได้จากกลุ่มธุรกิจ SMEs ขึ้นแซงหน้ากลุ่มคอร์ปอเรต และทำให้มีรายได้มากกว่า 50% ของรายได้รวมทั้งหมดของไอบีเอ็มประเทศไทยภายในสิ้นปี 2548 ทั้งนี้จะไม่มีการปรับเป้าหมายยอดขายให้ลดลงแม้จะมีภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่จะหันไปใช้วิธีการขยายฐานตลาดหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาแทนมากกว่า
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มธุรกิจ SMEs ไอบีเอ็มปรับแผนการทำธุรกิจใหม่หันให้ความสำคัญตลาดภูธรมากยิ่งขึ้น ด้วยการแต่งตั้งทีมงานเฉพาะขึ้นดูแลภูมิภาคต่างๆ โดยเริ่มจากภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และภาคอีสาน โดยทีมงานเริ่มที่ 2 คน จะทำงานใกล้ชิดกับพาร์ตเนอร์ของไอบีเอ็ม ทั้งในแง่การให้ความรู้ การประสานงานด้านการตลาดและอื่นๆ ต่างจากที่ผ่านมาที่พาร์ตเนอร์ต้องวิ่งเข้าหาไอบีเอ็มในกรุงเทพฯ เพียงอย่างเดียว
ไอบีเอ็มมองว่า กลุ่มธุรกิจ SMEs ที่มีเป้ากลุ่มเป้าหมายหลัก เช่น ออโตเมทีฟ ผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มร้านค้าย่อย กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรม-ภัตตาคาร
ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการทำตลาดกลุ่มลูกค้า SMEs ไอบีเอ็มให้ความสำคัญกับการให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยล่าสุดไอบีเอ็มเตรียมจัดงาน "IBM SUMMIT 2005" นำเสนอปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ความต้องการที่แท้จริงของแต่ละธุรกิจที่จะเป็นจริงได้โดยการมีผู้บริการสารสนเทศที่เข้าใจความต้องการของธุรกิจที่แท้จริง โดยไอบีเอ็มจะประสานงานกับพันธมิตรทางธุรกิจกว่า 30 ราย นำเสนอโซลูชันของไอบีเอ็มและคู่ค้า เช่น ดีแทค ซิสโก้ อินเทล และผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไอบีเอ็มและคู่ค้าทำให้ลูกค้าได้ประสบการณ์จริงที่ระบบสารสนเทศจะเอื้อในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมทางข้อมูล การใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ทางธุรกิจ รวมทั้งการป้องกันข้อมูลทางธุรกิจด้วย
ไอบีเอ็มมีเป้าหมายหลักคือต้องการให้กลุ่มธุรกิจ SMEs มองเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนธุรกิจ ในรูปแบบออนดีมานด์ โดยมองว่าก่อนหน้านี้ ออนดีมานด์ บิซิเนส จะทำได้แต่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ปัจจุบันการปรับองค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถทำได้ ไม่เป็นแค่แนวคิดแต่สามารถทำได้จริง
"IBM SUMMIT 2005" ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคมนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ไฮไลต์ของงานจะอยู่ที่การแจกโซลูชัน "IBM WORK PLACE SERVICE EXPRESS" มูลค่ากว่า 1 แสนบาท ให้กับทุกองค์กรที่เข้าลงทะเบียนในงาน โดยไอบีเอ็มคาดว่าจะแจกซอฟต์แวร์นี้คิดเป็นมูลค่ารวมแล้วกว่า 100 ล้านบาท หรือกว่า 1,000 องค์กรธุรกิจที่เข้ามาขอรับ
IBM WORK PLACE SERVICE EXPRESS จะช่วยให้การทำงานขององค์กรธุรกิจง่ายขึ้น เหมือนยกงานที่เป็นเอกสารที่มีอยู่ทั่วไปขององค์กรมาไว้บนคอมพิวเตอร์ แต่ละส่วนงานสามารถดึงส่วนที่เกี่ยวข้องของตัวเองไปทำงาน จุดเด่นคือทำงานบนเบราว์เซอร์ได้เลย ทั้งสามารถผสมผสานหรืออินทิเกรตกับระบบเดิมทำงานร่วมกันได้ ในอนาคตสามารถต่อยอดไปทำงานอย่างอื่นเพิ่มมากขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูล หรือ SAP
นายสันติ เมธาวิกุล Chief Customer Officer บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค หนึ่งในพาร์ตเนอร์ไอบีเอ็มร่วมเสนอโซลูชันในงานนี้ กล่าวว่า ดีแทคเพิ่งร่วมประชุมกับเทเลนอร์ โดยเทเลนอร์มีแนวทางในการหาโซลูชันที่เป็นประโยชน์นำเสนอแก่กลุ่มธุรกิจ SMEs ให้มากยิ่งขึ้น โดยดีแทคอยู่ในระหว่างการมองหาโซลูชันของเทเลนอร์ที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ใน ประเทศไทยเพื่อมิต้องเสียเวลาพัฒนาเอง เช่น "PUSH E-MAIL" ที่จะนำมาเปิดให้บริการบนโทรศัพท์มือถือ ช่วยให้งานอีเมลได้ตลอดเวลา เหมือนเปิดเครื่องพีซี โดยในระยะแรกจะใช้งานได้บนพ็อกเกตพีซี สมาร์ทโฟนก่อนพัฒนาลงบนโทรศัพท์มือถือ
ทั้งนี้ ดีแทคมีแนวทางในการพัฒนาโซลูชันเพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรธุรกิจ SMEs จะอยู่บนแนวคิด หลัก 4 อย่างคือ 1. Simple คือง่ายทำอย่างไรให้โซลูชันที่ใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที 2. Save ประหยัด ซึ่งปัจจุบันดีแทค มีโซลูชันที่เปิดให้ลูกค้าเช่าใช้เครื่องได้ 18-24 เดือน เพียงจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนเท่านั้น 3. Speed ปัจจุบันดีแทคมีเครือข่าย EDGE ที่คุ้มพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ สามารถใข้แอปพลิเคชัน ต่างๆได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และ 4. Sure ทุกโซลูชันที่นำเสนอต้องเป็นโซลูชันที่สามารถใช้งานเป็นจริงได้ และต้องสามารถใช้งานได้ทันที
|
|
|
|
|