|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เอไอเอสมั่นใจแม้มือบริหารการตลาดจะตีจาก 2 คน แต่ธุรกิจยังเดินหน้าต่อไปได้ ด้วยการดำเนินธุรกิจที่ขับเคลื่อนองค์กรแบบมืออาชีพ ขณะเดียวกันยังเล็งหาคนใหม่เสียบแทน ด้านดีแทคเร่งจัดทัพใหม่เพื่อสร้างบริการแบบยั่งยืน
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวถึงกรณีที่ผู้บริหารด้านการตลาด 2 คน คือกฤษณัน งามผาติพงษ์ และอาทรณ์ เตชะตันติวงศ์ ลาออกในระยะเวลาไล่เลี่ยกันว่า จริงๆ แล้วเชื่อว่ายังเป็นอัตราปกติอยู่ แล้วการที่ผู้บริหารออกก็ด้วยเหตุผลส่วนตัว เพราะจริงๆ แล้วเอไอเอสกับผู้บริหารที่ลาออกไม่ได้มีปัญหาอะไรกัน
การลาออกของกฤษณันเอไอเอสยืนยันว่าเป็นเรื่องที่ทราบอยู่แล้วว่าออกด้วยเหตุผลส่วนตัว ส่วนอาทรณ์เองก็อยากจะลองไปสำรวจเรื่องของคุณภาพใหม่ ซึ่งก็เป็นเรื่องของเหตุผลส่วนตัวของอาทรณ์เช่นกัน
ส่วนจะมีการจัดทัพใหม่หรือไม่คงจะมีการพิจารณาอีกที เพราะวันนี้เอไอเอสเองมองเรื่องของพรีเพดกับโพสต์เพดเป็นวิธีการจ่ายเงิน ซึ่งในอนาคตก็ไม่แน่ อาจจะต้องพิจารณาตรงนี้ใหม่เพื่อตอบสนองกับแนวโน้มหรือเทรนด์ของเทคโนโลยีและวิวัฒนาการใหม่ๆ ของลูกค้าอย่างแท้จริง
"วันนี้จริงๆ แล้วเราผูกแบรนด์กับวิธีการจ่ายเงินเข้าด้วยกัน ถ้ามองโพสต์เพดต้องเป็นจีเอสเอ็ม พรีเพดต้องเป็นวัน-ทู-คอล แต่ถ้ามองแบรนดิ้ง จีเอสเอ็มคือแบรนด์ วัน-ทู-คอลคืออีกแบรนด์หนึ่ง และวิธีการจ่ายเงินอยู่ที่ลูกค้า ตรงนี้เราคงต้องไปดูข้างในอีกทีว่าเราจะเดินหน้าไปยังไงบ้าง เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราเองอยากจะทดสอบตลาดว่าตรงนี้มีผู้บริโภคที่ต้องการตอบรับเป็นอย่างไร แล้วก็มากน้อยแค่ไหน เกิดขึ้นเร็วหรือไม่"
จากนโยบายดังกล่าว เอไอเอสจึงได้มีการออกรูปแบบซิมการ์ดใหม่ ที่ใช้ได้ทั้งพรีเพดและโพสต์เพดในซิมเดียวออกสู่ตลาดเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น
นางสาวยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เมื่อมีผู้บริหารลาออกไป เอไอเอสก็มีแผนจะรับคนใหม่เข้ามาแทนทั้ง 2 ตำแหน่ง ซึ่งเอไอเอสไม่เป็นห่วงเรื่องของบุคลากร เพราะมีการทำงานเป็นทีมอยู่แล้ว และมีฟังก์ชันการทำงานชัดเจน จึงคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร
"จริงๆ แล้วภาพรวมก็ยังดูอยู่ ตอนนี้งานนโยบายก็ต้องทำ มันก็ต้องแบ่งส่งลงไปให้ทีมงานในการตัดสินใจเองมากขึ้น ต้องเชื่อว่าทีมงานเราก็มีความสามารถที่จะทำตรงนี้ได้ เป็นลักษณะของการให้นโยบาย ให้แนวทาง และก็ไปทำในรายละเอียดและก็ปรึกษาหารือกัน ไม่จำเป็นต้องลงไปทำทุกอย่าง"
แม้เรื่องของการตลาด หรือมาร์เกตติ้งจะเป็นกลไกสำคัญ แต่ในสายตาของยิ่งลักษณ์มองว่า การทำงานของเอไอเอสทำแบบมืออาชีพหรือเป็นบริษัทโปรเฟสชันแนล เพราะฉะนั้นการทำงานแบบโปรเฟสชันแนล องค์กรต้องเดินได้ ถ้าการทำงานแบบบุคคลจะทำงานลำบาก เอไอเอสเองใช้วิธีทำงานแบบมีฟังก์ชันการทำงานที่ชัดเจน ฉะนั้นตรงนี้ก็ยังมีคนทำงานต่อได้ และเอไอเอสเองก็มีระบบในเรื่องของการพัฒนาบุคลากร การปรับโครงสร้างต่างๆ ในองค์กร เอไอเอสมีแผนรองรับต่างๆ ไว้อยู่แล้ว
ดีแทคปรับตาม
ด้านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ล่าสุดก็มีการประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เหลือเพียง 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. Commercial Group 2. Customer Group 3. Technology Group 4. Organization & Development Group และ 5. Finance Group การปรับโครงสร้างดังกล่าวเป็นเพราะดีแทคต้องการชนะในสงครามการตลาดแบบยั่งยืน ไม่ใช่รบชนะแค่วันนี้หรือพรุ่งนี้ สิ่งที่ดีแทคปรับกระบวนการทำงานภายใต้ความเชื่อว่าเป็นการปรับตัวก่อนอุตสาหกรรมที่จะปรับตามมา ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตไม่ว่าจะเป็นการปลดล็อกรหัสประจำเครื่องมือถือหรืออีมี่ การคิดค่าโทร.เป็นวินาทีหรือการรุกตลาดโพสต์เพดอย่างจริงจัง โดยที่ไม่เชื่อว่าตลาดจะอิ่มตัว
โครงสร้างใหม่ดีแทคจะให้ นายธนา เธียรอัจฉริยะ รับผิดชอบในเรื่อง Commercial Group ซึ่งจะดูแลการหาลูกค้าใหม่ทั้งระบบโพสต์เพด และพรีเพด ดูแลเรื่องช่องทางจำหน่าย การทำแบรนดิ้ง เป็นการทำตลาดแบบเบ็ดเสร็จ 360 องศา ซึ่งจะทำให้การบริหารงานกระชับ รวดเร็ว การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วน Customer Group จะมีนายสันติ เมธาวิกุล เป็นคนรับผิดชอบ ซึ่งจะแบ่งงานออกเป็น 2 ด้านคือ ด้านที่จะต้องพบปะกับลูกค้าหรือ Customer Facing จะมีงานด้านคอลเซ็นเตอร์ ดีแทคชอป ศูนย์บริการ เซอร์วิสฮอล กับงานด้านการพัฒนาลูกค้า หรือ Customer Development หรือ Customer Management ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับด้านบริการเสริม (VAS) ด้านบิซิเนส โซลูชัน อินเตอร์เนชั่นแนล บิซิเนส หรือการให้บริการโรมมิ่ง โดยลักษณะจะเป็นการต่อยอดจากบริการหลักด้านเสียงที่มีอยู่ เป็นการพัฒนาบริการที่ลูกค้าต้องการ ต่างจากเดิมที่ตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ก่อนแล้วลงทุนพัฒนาบริการซึ่งบางทีทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง CRM โดยที่จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยดีแทคจะหาโซลูชันที่จะเป็นแคมเปญกลาง หลังจากนั้นจะมีกิจกรรมที่เหมาะกับแต่ละบริการอย่างแม็กซิไมซ์ ZAD หรือแฮปปี้ โดยจะเป็นกิจกรรมที่จัดตรงไปถึงกลุ่มลูกค้า
|
|
|
|
|