Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2527
ฮิตาชิ + เฟลกซ์เดต้า อะไรจะเกิดขึ้น?             
 


   
www resources

โฮมเพจ อี๊สต์เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย)

   
search resources

Exxon Mobil Corporation
อี๊สต์เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย), บมจ.
Computer
Software
นภดล ยิ่งชัชวาล




ฝ่ายอินฟอร์เมติคส์ของบริษัทอี๊สต์เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย) นั้น เป็นฝ่ายที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยจะมีหน้าที่ดูแลสินค้า 2 ตัวคือ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ฮิตาชิ ซึ่งอี๊สต์เอเชียติ๊กได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายพร้อมกัน 3 ประเทศในย่านเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ส่วนสินค้าอีกตัวที่ควรจะเข้าตลาดควบคู่ไปด้วยก็คือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป “เฟลกซ์เดต้า” ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท อีเอซีเดต้า อันเป็นบริษัทในเครือแห่งหนึ่งของอี๊สต์เอชียติ๊กที่กรุงโคเปนเฮเกนประเทศเดนมาร์ก

สำหรับมินิคอมพิวเตอร์ฮิตาชิ ผลิตภัณฑ์ที่ฝ่ายอินฟอร์เมติคส์จะนำเข้ามาในขณะนี้เป็นรุ่นแอล 330 และอาจจะแถมพ่วงรุ่น แอล 340 เข้าไปอีกรุ่นถ้าลูกค้าเรียกร้อง

แอล 330 มีความจำหลักที่จุข้อมูลได้ตั้งแต่ 256 กิโลไบท์ ถึง 768 กิโลไบท์ ออกแบบโดยพยายามเน้นความสะดวกในการติดตั้งและการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานประจำวันที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจเป็นสำคัญ นอกจากนี้รุ่นดังกล่าวยังสามารถขยายประสิทธิภาพการใช้งานเพื่อความต้องการด้านปริมาณของงานขยายตัวขึ้นด้วย ความจุข้อมูลของแผ่นดิสก์ก็จะจุได้ตั้งแต่ 35 ล้านไบท์ไปจนถึง 280 ล้านไบท์

ส่วนรุ่นแอล 340 เป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่ารุ่นแรกที่ว่า กล่าวคือ มีความจำหลักจุข้อมูลได้ตั้งแต่ 512 กิโลไบท์จนถึง 2,048 กิโลไบท์ และสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแกนในการประมวลผลข้อมูล การใช้งานแบบออนไลน์ระดับสูงใดๆ ได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังถูกออกแบบให้มีโครงสร้างลักษณะของอนาคตที่พอจะเห็นๆ กันว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีจะไปอย่างนั้น หรือนัยหนึ่งก็คือ การทำงานแบบมัลติโพรเซสซิ่งนั่นเอง ด้านความจุข้อมูลของแผ่นดิสก์ก็อยู่ระหว่าง 140 ล้านไบท์ ถึง 2,000 ล้านไบท์

ทั้ง 2 รุ่นนี้กล่าวกันว่า มีระบบซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้ใครและยังมีตัวคอมไพเลอร์หรือตัวแปลกภาษาเครื่องได้อีกหลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาโคบอล ฟอร์แทรน อาร์พีจี รวมทั้ง พีแอล/1 และเอ็นเฮล์พ เป็นต้น

สำหรับซอฟต์แวร์สำเร็จรูป “เฟลกซ์เดต้า” นั้น เป็นซอฟต์แวร์แบบโมดูล่าซึ่งถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสามารถนำไปใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธุรกิจในลักษณะออนไลน์ เช่น งานด้านใบสั่งสินค้าและใบอินวอยซ์ งานบัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีลูกหนี้ บัญชีแยกประเภททั่วไป จนถึงงานด้านสถิติ ทุกงานที่ว่านี้ซอฟต์แวร์เฟลกซ์เดต้าสามารถจับให้เข้ามาประสานกันก็ได้หรือจะให้แยกกันก็ไม่ยาก

ทั้งมินิคอมพิวเตอร์ฮิตาชิและซอฟต์แวร์เฟลกซ์เดต้า เจ้าหน้าที่ของอี๊สต์เอเชียติ๊กใน 3 ประเทศดังกล่าว ได้ร่วมกับผู้ชำนาญการที่ส่งตรงมาจากอีเอซีเดต้า กรุงโคเปนเฮเกน พัฒนาจนสามารถใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี และทางฝ่ายอินฟอร์เมติกส์เองก็เชื่อว่า ขณะนี้มีความพร้อมมากที่จะนำระบบการผสมผสานระหว่างฮาร์ดแวร์ของฮิตาชิกับซอฟต์แวร์เฟลกซ์เดต้าให้กับผู้ซื้อในแบบเทิร์นคีย์ ซึ่งรวมถึงบริการการติดตั้ง การจัดวางระบบงาน วางโปรแกรมและสิ่งจำเป็นอื่นๆ พร้อมสรรพ

การเกิดของฮิตาชิและเฟลกซ์เดต้า ถ้าว่าไปแล้วก็ออกจะเป็นการเกิดภายใต้สถานการณ์ที่น่าวิตกอยู่บ้าง เพราะในตลาดมินิคอมพิวเตอร์ก็มีคู่แข่งที่น่าเกรงขาม ซึ่งเข้าตลาดก่อนหน้านับแล้วไม่น้อยราย ซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องที่ท้าทายฝีไม้ลายมือของทีมงานฝ่ายอินฟอร์เมติคส์ของอี๊สต์เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย) อย่างยิ่ง

ในอนาคตนั้น อี๊สต์เอเชียติ๊กเคยประกาศว่า จะถืองานด้านอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีเป็นสายงานใหญ่สายหนึ่งของกิจการทั้งโครงสร้าง โดยจะรวมฝ่ายออฟฟิศออโตเมชั่นเข้ากับฝ่ายอินฟอร์เมติคส์ แต่สิ่งนี้ถ้าจะเป็นไปได้ก็หมายความว่า ทั้งฮิตาชิและเฟลกซ์เดต้าสามารถสอบผ่านเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้และมีตลาดของตัวเอง

เพราะฉะนั้นก็คงกล่าวได้กระมังว่า อนาคตกิจกรรมด้านอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีของอี๊สต์เอเชียติ๊กนั้น ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการผนึกกำลังระหว่างฮิตาชิกับเฟลกซ์เดต้าก็จะเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งจะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี ในเฉพาะหน้านี้จะขอนำความเห็นของผู้จัดการฝ่ายอินฟอร์เมติคส์-นภดล ยิ่งชัชวาล มาถ่ายทอดสู่กันอ่านเป็นการประเดิมก่อน

นพดลจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาฯ และต่อโทที่มหาวิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ เขาเริ่มงานที่บริษัทน้ำมันเอสโซ่ จากนั้นก็ไปประกอบอาชีพส่วนตัวให้กับเครือญาติ และเข้าทำงานกับอี๊สต์เอชียติ๊กเมื่อ 7 ปีก่อน ตำแหน่งล่าสุดก่อนจะก้าวขึ้นมารับผิดชอบฝ่ายอินฟอร์เมติคส์ นภดลเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบิสสิเนสซีสเต็มส์

ปัจจุบันอายุ 37 ปี งานอดิเรกชอบเล่นกอล์ฟกับเทนนิส ด้านครอบครัว มีภรรยาหนึ่งกับบุตรอีกสอง


การที่อี๊สต์เอเชียติ๊กตัดสินใจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อฮิตาชินั้น มีความเป็นมาอย่างไร?

- ถ้าจะย้อนหลังไปที่จุดเริ่มต้นเลยก็คือ บริษัทอี๊สต์เอเชียติ๊กซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กนั้น มีบริษัทในเครืออยู่บริษัทหนึ่งคือ บริษัทอีเอซีเดต้า (EAC DATA-THE EAST ASIATIC COMPANY DATA) ซึ่งบริษัทนี้ตั้งมาเป็นเวลา 15 ปีแล้วที่เดนมาร์ก โดยเริ่มแรกก็ทำหน่วยเซอร์วิสของอี๊สต์เอเชียติ๊กหรืออีเอซีโดยตรงก่อน คือเป็นคล้ายๆ อีดีพีดีพาร์ตเมนต์ของอีเอซีนั่นเอง รับเฉพาะงานคอมพิวเตอร์ของอีเอซีกับบริษัทในเครือที่เดนมาร์กและในยุโรป ต่อมาก็ค่อยๆ ขยายออกมารับดีเวลอปซอฟต์แวร์ให้กับคนภายนอกหรือไม่ก็เป็นที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัทต่างๆ ทั้งในเดนมาร์กและยุโรป ตลอดจนในอเมริกา คืออีเอซีก็มีบริษัทอยู่ในอเมริกาด้วย คือบริษัทไฮเดนเบิร์กอิ๊สต์ตัน ซึ่งขายเฉพาะเครื่องพิมพ์ เพราะอีเอซีนี่ด้านเครื่องพิมพ์เรายิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ทีนี้จากการดำเนินงานมา 15 ปี อีเอซีเดต้าก็ได้สร้างซอฟต์แวร์แพ็กเกจขึ้นมาหลายตัว ตัวที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ เฟลกซ์เดต้า (FLEX DATA) เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้กับระบบบัญชีบริษัททั่วๆ ไป อีกอันหนึ่งก็ด้านการผลิตควบคุมสินค้าคงคลัง ควบคุมการผลิต อีกอันใช้ด้านชิปปิ้ง จะสังเกตได้ว่าที่เราทำ 3 อันนี้ก็เพราะมันเป็นหัวใจของกิจการของอีเอซี ซึ่งมีการเดินเรือหรือชิปปิ้ง การอุตสาหกรรมและการค้า เพราะฉะนั้นระบบเฟลกซ์เดต้าทั้ง 3 อันนี้ก็เหมาะกับอีเอซี แต่เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วก็คิดว่าน่าที่จะขายซอฟต์แวร์ตัวนี้ให้กับลูกค้ารายอื่นๆ ด้วย และคิดจะขยายตลาดมาด้านเอเชียด้วย ทีนี้มาคิดอีกทีเมื่อเราจะขายซอฟต์แวร์ก็ควรจะมีฮาร์ดแวร์ออกไปคู่กัน...

เฟลกซ์เดต้าสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อไหม?

-ไม่ทุกยี่ห้อ ครั้งแรกที่สุดโคเปนเฮเกนเราพัฒนามันขึ้นมาบนเครื่องเท็กซัส อินสตรูเม้นท์แต่ถ้าจะนำไปใช้กับเครื่องยี่ห้ออื่นๆ ก็ต้องคอนเวิร์ต (CONVERT) ใหม่...เมื่อเราคิดว่าเราจะขายซอฟต์แวร์ เราก็ว่าไหนๆ แล้วก็ควรจะขายร่วมไปกับฮาร์ดแวร์คือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ก็เริ่มมองหาคู่ร่วมที่เหมาะสม จากการศึกษามา 3-4 ปี เราก็เลือกฮิตาชิ แล้วก็เริ่มก่อตั้งกิจกรรมด้านนี้ 3 ประเทศในเอเชียอาคเนย์คือ ประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

มีจุดไหนบ้างที่ทำให้อีเอซีเลือกฮิตาชิ

-จุดแรก คือความเหมาะเจาะซึ่งกันและกัน คือ 2 บริษัทนี้ก็มีกิจการที่กว้างขวาง มีประวัติการก่อตั้งบริษัทมายาวนานคือ อีเอซีไทยแลนด์นี่ตั้งมา 100 ปี ส่วนฮิตาชิก็ตั้งมาแล้ว 70 ปี ในประเทศญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นหลักการหรือด้านความคิดในการทำธุรกิจนี่คล้ายคลึงกัน ฮิตาชินี่เราชอบเขาอยู่อย่างคือ เขาทุ่มเทในเรื่องคุณภาพการรักษาคุณภาพตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีเขาล้วนแต่ทุ่มเท ส่วนอีเอซีก็จะเห็นได้ว่าการที่เราประสบความสำเร็จมาตลอด 100 ปี ก็เพราะเราพิถีพิถันในการเลือกสินค้า คือเราจะเลือกเฉพาะสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมีชื่อเสียงของโลก เพราะฉะนั้นหลังจากมีการประเมินด้านต่างๆ แล้วเราเชื่อว่า ฮิตาชิเหมาะที่สุด ส่วนทางฮิตาชิเขาก็ต้องการคนค้าขายที่มีคุณภาพด้วย สรุปแล้วฮิตาชิเขาก็พอใจเรา เราเองก็พอใจสินค้าเขา อีกอันที่ฮิตาชิเขาเอากับเราคือเขาก็เลือกเหมือนกัน ที่เขาเลือกเรานี่อันหนึ่งก็เพราะเรามีตัวซอฟต์แวร์สำเร็จรูปซึ่งเขาคิดว่าเหมาะมากที่จะขายควบคู่ไปกับตัวฮาร์ดแวร์ของเขา เนื่องจากเขาก็คงไม่มีซอฟต์แวร์สำเร็จรูปก็คงลำบาก เพราะต่อแต่นี้ไปตัวที่สำคัญมากก็คือ ซอฟต์แวร์

ทางฮิตาชิเขาไม่มีซอฟต์แวร์เฮ้าล์หรือ?

-ไม่มีครับ นโยบายของฮิตาชิไม่ทำซอฟต์แวร์ขาย เขาขายฝ่ายดีลเลอร์หรือดิสทริบิวเตอร์อย่างในญี่ปุ่น พวกดีลเลอร์นี่จะต้องไปหาทางทำซอฟต์แวร์กันขึ้นมาเอง

ก่อนตัดสินใจกระโดดเข้ามาในตลาดคอมพิวเตอร์อีเอซีไทยแลนด์ ได้ศึกษาตลาดบ้านเราแล้วพบว่าเป็นอย่างไรอัตราการเติบโตน่าสนใจไหม?

-อันนี้เป็นสิ่งที่เราได้ทำการศึกษาอยู่เป็นเวลา 2 ปีทีเดียว ก่อนที่เราจะตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์เข้ามาสู่ตลาด คือความจริงแล้วเราได้ทำการศึกษาไปพร้อมๆ กับฝ่ายออฟฟิศออโตเมชั่นซึ่งขายพวกเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ขายเครื่องพิมพ์ดีด รวมทั้งพวกไมโครคอมพิวเตอร์ เราก็มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาศึกษา และจากการศึกษานี่เองที่ทำให้อีเอซีโดยเฉพาะในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ได้ตัดสินใจจะเข้าไปในวงการของอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีนั่นก็คือออฟอิศออโตเมชั่นกับคอมพิวเตอร์

และในอนาคตอีเอซีก็จะรวม 2 ฝ่ายนี้เข้าด้วยกัน?

-ครับ...คือตอนนี้เรามีฝ่ายออฟฟิศออโตเมชั่นและก็มีฝ่ายคอมพิวเตอร์คืออินฟอร์เมติกส์ในอนาคตทั้ง 2 ฝ่ายนี้ก็จะต้องรวมกันเป็นเมนสตรีมอันหนึ่งของอีเอซี คืออีเอซีเราได้ศึกษาวิจัยเพื่อที่จะหานโยบายและทิศทางที่เราจะก้าวหน้าออกไปในอนาคตไว้ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเราทำหลายด้านเหลือเกิน มีทั้งด้านชิปปิ้ง ด้านอุตสาหกรรมมีโรงงานน้ำมันปาล์ม มีไร่น้ำมันปาล์ม มีสวนยางอยู่ในมาเลเซีย สวนมะพร้าวที่เกาะสมุยก็เคยมี กิจการขายรถยนต์ก็เคยมี คือขายจิปาถะทุกอย่าง ทีนี้พอเราโตมากๆ แล้วมันก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมาพิจารณาว่า เราควรจะมุ่งไปด้านไหน ก็เน้นกันขึ้นมา 5 อย่าง คือชิปปิ้งทั้ง 2 สาขา ได้แก่ พวกที่ขนส่งสินค้าประจำกับพวกที่เป็นนอนไลเนอร์คืออาจจะให้เช่าหรือเหมากันไป แล้วก็มีทางด้านจิมเบอร์คือด้านป่าไม้ มีพวกกราฟฟิคอาร์ตคือพวกอุปกรณ์การพิมพ์แล้วก็สุดท้ายคืออินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีหรืออินฟอร์เมติกส์ อันนี้ก็เป็น 5 สาขาใหญ่ๆ ที่อีเอซีจะมุ่งไปในอนาคต

ขอวกมาเรื่องผลการศึกษาตลาดคอมพิวเตอร์ที่อีเอซีทำไว้ต่อ?

-สำหรับเมืองไทยเราก็พบว่า ขณะที่เราศึกษานั้นตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ยังไม่แพร่หลายนัก มีตลาดที่แพร่หลายก็คือตลาดของเมนเฟรมแล้วก็ของมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นตลาดธุรกิจที่เติบโตถึงขนาดหนึ่งแล้วจะต้องใช้อย่างธุรกิจใหญ่ก็ต้องการเครื่องเมนเฟรมซึ่งตลาดที่สำคัญก็คือ ธนาคารและหน่วยราชการ ธุรกิจที่เล็กลงมาคือเป็นขนาดกลางก็ใช้มินิคอมพิวเตอร์ เมื่อ 7 ปีที่แล้วยังไม่ไปสนใจไมโคร เพราะด้านผู้ผลิตก็ยังไม่ทราบว่า ใครจะขึ้นมามีบทบาทสำคัญและด้านการขายก็ไม่ใช่การขายแบบสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงอย่างเราทำอยู่ อย่างไมโครนี่ในสหรัฐฯ เขาก็วางขายกันทั่วไปในชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ใครอยากได้ก็หิ้วไป มินิคอมพิวเตอร์เป็นตลาดที่น่าสนใจมาก เพราะมีจำนวนลูกค้าโตพอสมควร การเติบโตก็ขยายเร็ว เราก็สรุปว่า ที่เหมาะที่สุดก็คือ มินิคอมพิวเตอร์ อีกอย่างถ้าเราเริ่มตรงจุดนี้ก็ยังจะเป็นช่องทางให้เราได้มีโอกาสค้นหาความจัดเจนก่อนจะก้าวขึ้นไปขายเครื่องใหญ่ด้วย

ฮิตาชิเองก็มีเฟรมอยู่ด้วยใช่ไหม ?

-มีครับ ที่จริงฮิตาชิเขาถนัดเมนเฟรมมาก มากกว่ามินิคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำไป คือ เขาเป็นบริษัทที่ผลิตตั้งแต่เมนเฟรมแล้วก็ไล่เล็กลงมา ไม่เหมือนกับบางบริษัทที่ผลิตเครื่องจิ๋วก่อนจะขึ้นไปสู่เครื่องใหญ่

ในอนาคตอีเอซีก็อาจจะต้องนำเมนเฟรมเข้าตลาดด้วย?

-ก็คงจะเป็นเช่นนั้น

หนักใจไหมที่ดูไปแล้วไอเอซีไทยแลนด์ นำฮิตาชิเข้าตลาดช้ากว่าคู่แข่งขันรายอื่น โดยเฉพาะบริษัทอเมริกันแห่งหนึ่งซึ่งเขามีมินิคอมพิวเตอร์หลายๆ ซีสเต็มส์ที่ติดตลาดมาก?

-เราได้ศึกษาแล้ว ก่อนที่เราจะเอามินิคอมพิวเตอร์ของฮิตาชิเข้ามา คือ เราพอทราบว่าลูกค้าเราควรจะเป็นใคร เขาอาจจะไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกับยี่ห้อที่แข็งอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้าของยี่ห้อแข็งที่ว่าเราก็มองเห็น คือเขาอาจจะไม่ใช่คนที่ออกสตังค์ซื้อเอง เพราะนั้นเขาไม่ห่วงเรื่องราคาแพงราคาถูกเหมือนซื้อโลงศพ คนใช้ไม่ได้ซื้อ เพราะฉะนั้นจะซื้อมาแพงๆ ก็ว่ากันไป แต่ถ้ากลุ่มลูกค้าที่ต้องควักเงินซื้อเองย่อมจะต้องศึกษาจริงๆ ถึงสัดส่วนของไพรซ์/เปอร์ฟอร์แม้นซ์ และคนพวกนี้แหละที่เราคิดว่าจะเป็นทาร์เก็ทกรุ๊ปของเรา หรืออย่างบางคนซื้อที่ชื่ออย่างเดียวราคาไม่เกี่ยง อย่างนั้นเราก็ปล่อย แต่ของเราถ้าลูกค้าเห็นในเรื่องไพรซ์/เปอร์ฟอร์แม้นซ์ เห็นในเรื่องว่าแฟลกซ์เดต้าสามารถช่วยเขาทำงานได้ เขาก็ต้องเลือกเรา

ฮิตาชิจะเดินคู่ไปกับเฟลกซ์เดต้าใช่ไหม?

-ครับ เป็นอย่างนั้น

มีไหมที่ลูกค้าจะซื้อแต่ฮาร์ดแวร์ ส่วนซอฟต์แวร์เขาจะดีเวลล้อปเอง?

-มีครับ อันนั้นเราเองก็ไม่ขัดข้อง เพราะลูกค่อาจจะมีงานที่แตกต่างกับตัวเฟลกซ์เดต้ามากเขาก็อาจจะขอพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง เรายินดีไม่มีปัญหาและก็ยังจะให้ความช่วยเหลือเช่นกัน แบบนี้ก็มีให้น้อย

แต่เห็นว่ากันว่า “เฟลกซ์เดต้า” เป็นซอฟต์แวร์ที่ยืดหยุ่นมาก?

-ใช่ คือเราได้พัฒนาขึ้นตามประสบการณ์ของอีเอซีเอ เราใช้เองแก้ไขเอง ถ้ามันขาดตกบกร่อง เพราะเราเป็นบริษัทใหญ่มีเครือข่ายอยู่กว่า 140 บริษัททั่วโลก คือเราจะต้องเอาผลปฏิบัติงานของทุกบริษัทไปสรุปกันที่โคเปนเฮเกน เพราะฉะนั้นระบบเฟลกซ์เดต้าที่เฮดออฟฟิศใช้กับบริษัทเครือทุกแห่งเป็นระบบเดียวกัน เมื่อเราใช้เองแล้วแก้ไขจนเราพอใจแล้ว เราก็คิดว่าบริษัทอื่นน่าจะเอาไปใช้ได้เหมือนกัน หรือถ้าเป็นบริษัทเล็กหรือบริษัทขนาดกลางที่กำลังจะเติบโตก็สามารถเอาประสบการณ์ของเราไปใช้ได้เลย

มีไหมที่ลูกค้าอยากได้แต่เฟลกซ์เดต้าไปใช้โดยไม่เอาฮาร์ดแวร์

-อันนี้เราไม่แนะนำนะครับ เพราะการคอนเวิร์ตเฟลกซ์เดต้าให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ตัวอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮิตาชินี่นานมาก อย่างที่ผมได้เรียนไว้แล้วว่าเฟลกซ์เดต้านี่ครั้งแรกเราทำที่โคเปนเฮเกน โดยเอาเครื่องเท็กซัสอินสตรูเม้นท์เป็นพื้น จนกระทั่งอีเอซีเป็นเอเย่นต์ขายฮิตาชิเราก็ไปตั้งทีมคอนเวิร์ตที่สิงคโปร์ งานที่ส่งจากมาเลเซียส่งจากเมืองไทยและของสิงคโปร์เองเอาไปคอนเวิร์ตที่นั่น เราคอนเวิร์ตกันเป็นปี โดยผมคิดว่าเราต้องใช้ถึง 80 แมนเยียร์ เพราะฉะนั้นถ้าลูกค้าจะนำเฟลกซ์เดต้าไปใช้กับเครื่องยี่ห้ออื่นก็คงต้องใช้เวลาและกำลังคนมากพอสมควร มันไม่คุ้มกับการลงทุน

คือเท่ากับซื้อคอมพิวเตอร์พร้อมซอฟต์แวร์เฟลกซ์เดต้ามาหนึ่งระบบก็สามารถเปลี่ยนแปลงการบริหารให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานได้โดยอัตโนมัติ?

-ถูกต้อง

วางเป้าหมายการตลาดไว้ปีแรกนี่มากน้อยแค่ไหน?

-เราคิดว่าควรพยายามดึงส่วนแบ่งในตลาดให้ได้สัก 10 เปอร์เซ็นต์ใน 4 ปีแรกนี้แล้วก็ควรจะโตขึ้นไปประมาณปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ คือตลาดมินิคอมพิวเตอร์นี่อัตราการเจริญเติบโตมันตกประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี คือเนื่องจากเราพอระแคะระคายว่ายังจะมีหลายบริษัทที่จะเข้ามา ก็เลยประมาณการไว้ให้ต่ำหน่อย ไม่...หลอก ตัวเองนอกจากนี้เราก็ยังเป็นผู้มาใหม่ คงยังต้องใช้เวลาในการสร้างชื่อ แม้ชื่ออีเอซีกับฮิตาชินี่จะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแล้วก็ตาม คือ ปัจจุบันเราไม่มีปัญหาเรื่องชื่อ จุดที่เราเข้าไปนี้ทุกคนรู้จัก เพียงแต่เราก็พยายามสำรวจดูเท่านั้นว่า ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของเราจะช่วยอะไรลูกค้าได้บ้าง

นอกจากนี้บ้านเราเองก็ยังทำเสร็จช้ากว่าสิงคโปร์ด้วย?

-ครับเราช้ากว่าสิงคโปร์ประมาณ 1 ปี เพราะเรามีภาษาไทยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ตอนนี้สิงคโปร์เขาขายไปประมาณ 10 เครื่องแล้ว ส่วนที่ฮ่องกงดุเหมือนจะขายไป 60 กว่าเครื่องในช่วง 3-4 ปีนี้

ด้านทีมงานเป็นอย่างไรบ้าง?

-ผมมั่นใจมากนะ คือระหว่างเตรียมการนี่คนของเราหลายคนไปร่วมคอนเวิร์ตอยู่ด้วยที่สิงคโปร์และเราเฟ้นคนที่มีคุณภาพมาก มีประสบการณ์ยาวนานในตลาด

ถ้าจะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมตัวเฟลกซ์เดต้าให้กับลูกค้าบางรายสามารถทำได้ที่นี่หรือต้องเอาไปที่สิงคโปร์?

-ทำได้ที่นี่เลยครับ คือเพื่อให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าเราก็อาจจะต้องแก้ไขสัก 5-10 เปอร์เซ็นต์ ก็จะสามารถทำได้โดยคนของเราที่นี่ทันที

ข้อเสนอที่อีเอซีจะติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์แบบเทิร์นคีย์ก็เป็นจุดที่น่าสนใจจุดหนึ่งอยากให้ช่วยเล่าในรายละเอียดสักนิด?

-คืออย่างลูกค้าสมมุติมีระบบบัญชีที่ทำด้วยมือมาตลอดนี้ ก็อาจจะเป็นระบบที่ลูกค้ารายนั้นตั้งขึ้นเองตามความต้องการของเขา ไม่เป็นระบบบัญชีที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปของกิจการที่กำลังจะเติบโตขึ้นไปในอนาคต เมื่อเขาซื้อคอมพิวเตอร์ไปใช้แล้วพยายามจะเอาระบบที่เคยทำด้วยมือใส่เข้าไป เพียงแต่เขียนโปรแกรมตามระบบการทำงานเดิมเท่านั้น เขาก็จะต้องตั้งแผนอีดีพีของเขาขึ้นมา อย่างนี้ก็จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มันก็จะช่วยให้เขาคำนวณตัวเลขต่างๆ เร็วขึ้นเท่านั้น และก็ต้องลงทุนสูงพอสมควรโดยเฉพาะตัวบุคลากร เราเห็นว่าระบบต่างๆ มันก็ไม่ได้รัดกุมเพิ่มขึ้นหรือทันสมัยเพิ่มขึ้น ในแง่นี้ถ้าเปรียบเทียบกับการที่ซื้อฮาร์ดแวร์และเฟลกซ์เดต้าของเราไป เปลี่ยนแปลงระบบของเขานิดหน่อยให้มาเข้ากับเฟลกซ์เดต้า เขาก็ไม่ต้องลงทุนจ้างพนักงานมีแต่คนที่คอยโอเปอเรตเท่านั้นเอง อันนี้เป็นการขายแบบเทิร์นคีย์ของเรา คือเราให้ทั้งแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์กับเขาหมด

สำหรับเจ้าของกิจการที่จะมาเป็นลูกค้าเขาจะไม่รู้สึกวิตกหรือว่า คนนอกจะเข้ามาทราบข้อมูลภายในของเขา?

-ไม่นะ คือเรื่องข้อมูลที่ป้อนเข้าไป มันเป็นหน้าที่คนของเขา เราเพียงไปวางระบบให้ และแม้แต่คนของเราที่ไปซับพอร์ตงานในระยะหลังถ้าไม่รู้พาสเวิร์ด (PASSWORD) หรือซีเคียวริตี้ในนั้น จะไปเอาข้อมูลออกมาก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว พาสเวิร์ดนี่ลูกค้าเขาตั้งเองเราไม่รู้ตัวเลขต่างๆ ลูกค้าเขาลงเอง

ตอนนี้ทีมงานฝ่ายอินฟอร์เมติคส์มีกี่คน?

-เรามีทั้งหมด 10 กว่าคน แบ่งเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายสนับสนุนแล้วก็ฝ่ายเทคนิค

มินิคอมพิวเตอร์ของฮิตาชิยังเพิ่งเข้ามารุ่นเดียวใช่ไหม?

-ครับ เราเอารุ่นแอล 300 เท่านั้นเข้ามาส่วนอีกรุ่นเป็นรุ่นที่ใหญ่กว่านี้เรายังไม่เอาเข้ามามันเป็นระบบที่โตขึ้นก็คงอยู่ที่ลูกค้าว่าจะเอาไหม

ในแง่จุดเด่นทางฮาร์ดแวร์พอจะชี้ออกมาได้ไหมว่ามีอะไรบ้าง?

-ก็มี 2 จุดที่สำคัญคือ จุดแรกก็คือความเชื่อถือได้ของคุณภาพของฮิตาชิ คือเขามีโรงงานทำเองหมดไม่ว่าจะเป็นซีพียูปรินเตอร์ หรือตัวมีเดียต่างๆ อันนี้อาจจะต่างจากโรงงานอื่น คือบางแห่งเขาอาจจะไม่ได้ทำปรินเตอร์เอง ไม่ได้ทำดิสก์ไดรฟ์เอง เป็นต้น ซึ่งอันนี้ทำให้ฮิตาชิสามารถควบคุมคุณภาพทุกชิ้นส่วนได้ ระบบควบคุมคุณภาพของเขานี่ครับ เขาใช้ไปไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของเวลาที่ใช้ในการผลิต คือมีการทดสอบกันมา อันที่สองเราเห็นว่าฮาร์ดแวร์ของเรานี่เป็นเมนเฟรมที่ขายในราคามินิคอมพิวเตอร์ คือมันมีฟีเจอร์ (FEATURE) ของเมนเฟรมอยู่ในนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราจะโตขึ้นไปใช้เมนเฟรมจึงไม่มีปัญหาอะไร แล้วโดยเฉพาะโอเปอเรตติ้งซีสเต็มฟีเจอร์ต่างๆ นี่มันเป็นระบบเดต้าเบส (DATA BASE) ซึ่งมินิคอมพิวเตอร์น้อยยี่ห้อมากที่ใช้ระบบเดต้าเบส

ถ้าจะชื้อมาใช้สักระบบหนึ่ง ต้องมีเงินสักเท่าไหร่?

-(หัวเราะ) ถ้าพูดถึงมินิมันคอนฟิกูเรชั่น (MINIMUM CONFIGURATION) คือมีตัวซีพียูมีดิสก์ไดรฟ์มีปรินเตอร์แล้วก็มีจอภาพสัก 2 จอ อย่างนี้ราคาก็จะตกประมาณ 1 ล้าน 5 แสนบาท ถ้ามีอะไรมากกว่านั้นก็มีราคาขึ้นไปตามราคาของส่วนที่เพิ่ม ก็เป็นราคาที่สู้เขาได้ในตลาด

คิดว่าในปัจจุบันการที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่เครื่องไมโครฯ ต้องพิจารณาจุดไหนบ้าง?

-คือถ้าเราจะไปดูที่สปีดหรือจำนวนเมมโมรี่อย่างเดียว นี่มันไม่ได้บอกอะไรมาก จะต้องดูว่าโอเปอเรตติ้งซีสเต็มเป็นอย่างไร แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ที่เราจะมีให้นี่เป็นอย่างไร ผมว่าเราควรจะพิจารณาให้ความสำคัญกับตัวซอฟต์แวร์ 60 เปอร์เซ็นต์ แล้วฮาร์ดแวร์ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ มันต่างจากสมัยก่อนที่ทั่วๆ ไปเราจะคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ 80 ดูเรื่องซอฟต์แวร์เพียง 20-30ฝ่ายอินฟอร์เมติคส์ของบริษัทอี๊สต์เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย) นั้น เป็นฝ่ายที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยจะมีหน้าที่ดูแลสินค้า 2 ตัวคือ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ฮิตาชิ ซึ่งอี๊สต์เอเชียติ๊กได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายพร้อมกัน 3 ประเทศในย่านเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ส่วนสินค้าอีกตัวที่ควรจะเข้าตลาดควบคู่ไปด้วยก็คือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป “เฟลกซ์เดต้า” ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท อีเอซีเดต้า อันเป็นบริษัทในเครือแห่งหนึ่งของอี๊สต์เอชียติ๊กที่กรุงโคเปนเฮเกนประเทศเดนมาร์ก

สำหรับมินิคอมพิวเตอร์ฮิตาชิ ผลิตภัณฑ์ที่ฝ่ายอินฟอร์เมติคส์จะนำเข้ามาในขณะนี้เป็นรุ่นแอล 330 และอาจจะแถมพ่วงรุ่น แอล 340 เข้าไปอีกรุ่นถ้าลูกค้าเรียกร้อง

แอล 330 มีความจำหลักที่จุข้อมูลได้ตั้งแต่ 256 กิโลไบท์ ถึง 768 กิโลไบท์ ออกแบบโดยพยายามเน้นความสะดวกในการติดตั้งและการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานประจำวันที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจเป็นสำคัญ นอกจากนี้รุ่นดังกล่าวยังสามารถขยายประสิทธิภาพการใช้งานเพื่อความต้องการด้านปริมาณของงานขยายตัวขึ้นด้วย ความจุข้อมูลของแผ่นดิสก์ก็จะจุได้ตั้งแต่ 35 ล้านไบท์ไปจนถึง 280 ล้านไบท์

ส่วนรุ่นแอล 340 เป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่ารุ่นแรกที่ว่า กล่าวคือ มีความจำหลักจุข้อมูลได้ตั้งแต่ 512 กิโลไบท์จนถึง 2,048 กิโลไบท์ และสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแกนในการประมวลผลข้อมูล การใช้งานแบบออนไลน์ระดับสูงใดๆ ได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังถูกออกแบบให้มีโครงสร้างลักษณะของอนาคตที่พอจะเห็นๆ กันว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีจะไปอย่างนั้น หรือนัยหนึ่งก็คือ การทำงานแบบมัลติโพรเซสซิ่งนั่นเอง ด้านความจุข้อมูลของแผ่นดิสก์ก็อยู่ระหว่าง 140 ล้านไบท์ ถึง 2,000 ล้านไบท์

ทั้ง 2 รุ่นนี้กล่าวกันว่า มีระบบซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้ใครและยังมีตัวคอมไพเลอร์หรือตัวแปลกภาษาเครื่องได้อีกหลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นภาษาโคบอล ฟอร์แทรน อาร์พีจี รวมทั้ง พีแอล/1 และเอ็นเฮล์พ เป็นต้น

สำหรับซอฟต์แวร์สำเร็จรูป “เฟลกซ์เดต้า” นั้น เป็นซอฟต์แวร์แบบโมดูล่าซึ่งถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสามารถนำไปใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานธุรกิจในลักษณะออนไลน์ เช่น งานด้านใบสั่งสินค้าและใบอินวอยซ์ งานบัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีลูกหนี้ บัญชีแยกประเภททั่วไป จนถึงงานด้านสถิติ ทุกงานที่ว่านี้ซอฟต์แวร์เฟลกซ์เดต้าสามารถจับให้เข้ามาประสานกันก็ได้หรือจะให้แยกกันก็ไม่ยาก

ทั้งมินิคอมพิวเตอร์ฮิตาชิและซอฟต์แวร์เฟลกซ์เดต้า เจ้าหน้าที่ของอี๊สต์เอเชียติ๊กใน 3 ประเทศดังกล่าว ได้ร่วมกับผู้ชำนาญการที่ส่งตรงมาจากอีเอซีเดต้า กรุงโคเปนเฮเกน พัฒนาจนสามารถใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี และทางฝ่ายอินฟอร์เมติกส์เองก็เชื่อว่า ขณะนี้มีความพร้อมมากที่จะนำระบบการผสมผสานระหว่างฮาร์ดแวร์ของฮิตาชิกับซอฟต์แวร์เฟลกซ์เดต้าให้กับผู้ซื้อในแบบเทิร์นคีย์ ซึ่งรวมถึงบริการการติดตั้ง การจัดวางระบบงาน วางโปรแกรมและสิ่งจำเป็นอื่นๆ พร้อมสรรพ

การเกิดของฮิตาชิและเฟลกซ์เดต้า ถ้าว่าไปแล้วก็ออกจะเป็นการเกิดภายใต้สถานการณ์ที่น่าวิตกอยู่บ้าง เพราะในตลาดมินิคอมพิวเตอร์ก็มีคู่แข่งที่น่าเกรงขาม ซึ่งเข้าตลาดก่อนหน้านับแล้วไม่น้อยราย ซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องที่ท้าทายฝีไม้ลายมือของทีมงานฝ่ายอินฟอร์เมติคส์ของอี๊สต์เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย) อย่างยิ่ง

ในอนาคตนั้น อี๊สต์เอเชียติ๊กเคยประกาศว่า จะถืองานด้านอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีเป็นสายงานใหญ่สายหนึ่งของกิจการทั้งโครงสร้าง โดยจะรวมฝ่ายออฟฟิศออโตเมชั่นเข้ากับฝ่ายอินฟอร์เมติคส์ แต่สิ่งนี้ถ้าจะเป็นไปได้ก็หมายความว่า ทั้งฮิตาชิและเฟลกซ์เดต้าสามารถสอบผ่านเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้และมีตลาดของตัวเอง

เพราะฉะนั้นก็คงกล่าวได้กระมังว่า อนาคตกิจกรรมด้านอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีของอี๊สต์เอเชียติ๊กนั้น ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการผนึกกำลังระหว่างฮิตาชิกับเฟลกซ์เดต้าก็จะเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งจะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี ในเฉพาะหน้านี้จะขอนำความเห็นของผู้จัดการฝ่ายอินฟอร์เมติคส์-นภดล ยิ่งชัชวาล มาถ่ายทอดสู่กันอ่านเป็นการประเดิมก่อน

นพดลจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาฯ และต่อโทที่มหาวิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ เขาเริ่มงานที่บริษัทน้ำมันเอสโซ่ จากนั้นก็ไปประกอบอาชีพส่วนตัวให้กับเครือญาติ และเข้าทำงานกับอี๊สต์เอชียติ๊กเมื่อ 7 ปีก่อน ตำแหน่งล่าสุดก่อนจะก้าวขึ้นมารับผิดชอบฝ่ายอินฟอร์เมติคส์ นภดลเคยดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบิสสิเนสซีสเต็มส์

ปัจจุบันอายุ 37 ปี งานอดิเรกชอบเล่นกอล์ฟกับเทนนิส ด้านครอบครัว มีภรรยาหนึ่งกับบุตรอีกสอง


การที่อี๊สต์เอเชียติ๊กตัดสินใจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อฮิตาชินั้น มีความเป็นมาอย่างไร?

- ถ้าจะย้อนหลังไปที่จุดเริ่มต้นเลยก็คือ บริษัทอี๊สต์เอเชียติ๊กซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กนั้น มีบริษัทในเครืออยู่บริษัทหนึ่งคือ บริษัทอีเอซีเดต้า (EAC DATA-THE EAST ASIATIC COMPANY DATA) ซึ่งบริษัทนี้ตั้งมาเป็นเวลา 15 ปีแล้วที่เดนมาร์ก โดยเริ่มแรกก็ทำหน่วยเซอร์วิสของอี๊สต์เอเชียติ๊กหรืออีเอซีโดยตรงก่อน คือเป็นคล้ายๆ อีดีพีดีพาร์ตเมนต์ของอีเอซีนั่นเอง รับเฉพาะงานคอมพิวเตอร์ของอีเอซีกับบริษัทในเครือที่เดนมาร์กและในยุโรป ต่อมาก็ค่อยๆ ขยายออกมารับดีเวลอปซอฟต์แวร์ให้กับคนภายนอกหรือไม่ก็เป็นที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัทต่างๆ ทั้งในเดนมาร์กและยุโรป ตลอดจนในอเมริกา คืออีเอซีก็มีบริษัทอยู่ในอเมริกาด้วย คือบริษัทไฮเดนเบิร์กอิ๊สต์ตัน ซึ่งขายเฉพาะเครื่องพิมพ์ เพราะอีเอซีนี่ด้านเครื่องพิมพ์เรายิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ทีนี้จากการดำเนินงานมา 15 ปี อีเอซีเดต้าก็ได้สร้างซอฟต์แวร์แพ็กเกจขึ้นมาหลายตัว ตัวที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ เฟลกซ์เดต้า (FLEX DATA) เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้กับระบบบัญชีบริษัททั่วๆ ไป อีกอันหนึ่งก็ด้านการผลิตควบคุมสินค้าคงคลัง ควบคุมการผลิต อีกอันใช้ด้านชิปปิ้ง จะสังเกตได้ว่าที่เราทำ 3 อันนี้ก็เพราะมันเป็นหัวใจของกิจการของอีเอซี ซึ่งมีการเดินเรือหรือชิปปิ้ง การอุตสาหกรรมและการค้า เพราะฉะนั้นระบบเฟลกซ์เดต้าทั้ง 3 อันนี้ก็เหมาะกับอีเอซี แต่เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วก็คิดว่าน่าที่จะขายซอฟต์แวร์ตัวนี้ให้กับลูกค้ารายอื่นๆ ด้วย และคิดจะขยายตลาดมาด้านเอเชียด้วย ทีนี้มาคิดอีกทีเมื่อเราจะขายซอฟต์แวร์ก็ควรจะมีฮาร์ดแวร์ออกไปคู่กัน...

เฟลกซ์เดต้าสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อไหม?

-ไม่ทุกยี่ห้อ ครั้งแรกที่สุดโคเปนเฮเกนเราพัฒนามันขึ้นมาบนเครื่องเท็กซัส อินสตรูเม้นท์แต่ถ้าจะนำไปใช้กับเครื่องยี่ห้ออื่นๆ ก็ต้องคอนเวิร์ต (CONVERT) ใหม่...เมื่อเราคิดว่าเราจะขายซอฟต์แวร์ เราก็ว่าไหนๆ แล้วก็ควรจะขายร่วมไปกับฮาร์ดแวร์คือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ก็เริ่มมองหาคู่ร่วมที่เหมาะสม จากการศึกษามา 3-4 ปี เราก็เลือกฮิตาชิ แล้วก็เริ่มก่อตั้งกิจกรรมด้านนี้ 3 ประเทศในเอเชียอาคเนย์คือ ประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

มีจุดไหนบ้างที่ทำให้อีเอซีเลือกฮิตาชิ

-จุดแรก คือความเหมาะเจาะซึ่งกันและกัน คือ 2 บริษัทนี้ก็มีกิจการที่กว้างขวาง มีประวัติการก่อตั้งบริษัทมายาวนานคือ อีเอซีไทยแลนด์นี่ตั้งมา 100 ปี ส่วนฮิตาชิก็ตั้งมาแล้ว 70 ปี ในประเทศญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นหลักการหรือด้านความคิดในการทำธุรกิจนี่คล้ายคลึงกัน ฮิตาชินี่เราชอบเขาอยู่อย่างคือ เขาทุ่มเทในเรื่องคุณภาพการรักษาคุณภาพตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีเขาล้วนแต่ทุ่มเท ส่วนอีเอซีก็จะเห็นได้ว่าการที่เราประสบความสำเร็จมาตลอด 100 ปี ก็เพราะเราพิถีพิถันในการเลือกสินค้า คือเราจะเลือกเฉพาะสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมีชื่อเสียงของโลก เพราะฉะนั้นหลังจากมีการประเมินด้านต่างๆ แล้วเราเชื่อว่า ฮิตาชิเหมาะที่สุด ส่วนทางฮิตาชิเขาก็ต้องการคนค้าขายที่มีคุณภาพด้วย สรุปแล้วฮิตาชิเขาก็พอใจเรา เราเองก็พอใจสินค้าเขา อีกอันที่ฮิตาชิเขาเอากับเราคือเขาก็เลือกเหมือนกัน ที่เขาเลือกเรานี่อันหนึ่งก็เพราะเรามีตัวซอฟต์แวร์สำเร็จรูปซึ่งเขาคิดว่าเหมาะมากที่จะขายควบคู่ไปกับตัวฮาร์ดแวร์ของเขา เนื่องจากเขาก็คงไม่มีซอฟต์แวร์สำเร็จรูปก็คงลำบาก เพราะต่อแต่นี้ไปตัวที่สำคัญมากก็คือ ซอฟต์แวร์

ทางฮิตาชิเขาไม่มีซอฟต์แวร์เฮ้าล์หรือ?

-ไม่มีครับ นโยบายของฮิตาชิไม่ทำซอฟต์แวร์ขาย เขาขายฝ่ายดีลเลอร์หรือดิสทริบิวเตอร์อย่างในญี่ปุ่น พวกดีลเลอร์นี่จะต้องไปหาทางทำซอฟต์แวร์กันขึ้นมาเอง

ก่อนตัดสินใจกระโดดเข้ามาในตลาดคอมพิวเตอร์อีเอซีไทยแลนด์ ได้ศึกษาตลาดบ้านเราแล้วพบว่าเป็นอย่างไรอัตราการเติบโตน่าสนใจไหม?

-อันนี้เป็นสิ่งที่เราได้ทำการศึกษาอยู่เป็นเวลา 2 ปีทีเดียว ก่อนที่เราจะตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์เข้ามาสู่ตลาด คือความจริงแล้วเราได้ทำการศึกษาไปพร้อมๆ กับฝ่ายออฟฟิศออโตเมชั่นซึ่งขายพวกเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ขายเครื่องพิมพ์ดีด รวมทั้งพวกไมโครคอมพิวเตอร์ เราก็มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาศึกษา และจากการศึกษานี่เองที่ทำให้อีเอซีโดยเฉพาะในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ได้ตัดสินใจจะเข้าไปในวงการของอินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีนั่นก็คือออฟอิศออโตเมชั่นกับคอมพิวเตอร์

และในอนาคตอีเอซีก็จะรวม 2 ฝ่ายนี้เข้าด้วยกัน?

-ครับ...คือตอนนี้เรามีฝ่ายออฟฟิศออโตเมชั่นและก็มีฝ่ายคอมพิวเตอร์คืออินฟอร์เมติกส์ในอนาคตทั้ง 2 ฝ่ายนี้ก็จะต้องรวมกันเป็นเมนสตรีมอันหนึ่งของอีเอซี คืออีเอซีเราได้ศึกษาวิจัยเพื่อที่จะหานโยบายและทิศทางที่เราจะก้าวหน้าออกไปในอนาคตไว้ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเราทำหลายด้านเหลือเกิน มีทั้งด้านชิปปิ้ง ด้านอุตสาหกรรมมีโรงงานน้ำมันปาล์ม มีไร่น้ำมันปาล์ม มีสวนยางอยู่ในมาเลเซีย สวนมะพร้าวที่เกาะสมุยก็เคยมี กิจการขายรถยนต์ก็เคยมี คือขายจิปาถะทุกอย่าง ทีนี้พอเราโตมากๆ แล้วมันก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมาพิจารณาว่า เราควรจะมุ่งไปด้านไหน ก็เน้นกันขึ้นมา 5 อย่าง คือชิปปิ้งทั้ง 2 สาขา ได้แก่ พวกที่ขนส่งสินค้าประจำกับพวกที่เป็นนอนไลเนอร์คืออาจจะให้เช่าหรือเหมากันไป แล้วก็มีทางด้านจิมเบอร์คือด้านป่าไม้ มีพวกกราฟฟิคอาร์ตคือพวกอุปกรณ์การพิมพ์แล้วก็สุดท้ายคืออินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยีหรืออินฟอร์เมติกส์ อันนี้ก็เป็น 5 สาขาใหญ่ๆ ที่อีเอซีจะมุ่งไปในอนาคต

ขอวกมาเรื่องผลการศึกษาตลาดคอมพิวเตอร์ที่อีเอซีทำไว้ต่อ?

-สำหรับเมืองไทยเราก็พบว่า ขณะที่เราศึกษานั้นตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ยังไม่แพร่หลายนัก มีตลาดที่แพร่หลายก็คือตลาดของเมนเฟรมแล้วก็ของมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นตลาดธุรกิจที่เติบโตถึงขนาดหนึ่งแล้วจะต้องใช้อย่างธุรกิจใหญ่ก็ต้องการเครื่องเมนเฟรมซึ่งตลาดที่สำคัญก็คือ ธนาคารและหน่วยราชการ ธุรกิจที่เล็กลงมาคือเป็นขนาดกลางก็ใช้มินิคอมพิวเตอร์ เมื่อ 7 ปีที่แล้วยังไม่ไปสนใจไมโคร เพราะด้านผู้ผลิตก็ยังไม่ทราบว่า ใครจะขึ้นมามีบทบาทสำคัญและด้านการขายก็ไม่ใช่การขายแบบสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงอย่างเราทำอยู่ อย่างไมโครนี่ในสหรัฐฯ เขาก็วางขายกันทั่วไปในชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ใครอยากได้ก็หิ้วไป มินิคอมพิวเตอร์เป็นตลาดที่น่าสนใจมาก เพราะมีจำนวนลูกค้าโตพอสมควร การเติบโตก็ขยายเร็ว เราก็สรุปว่า ที่เหมาะที่สุดก็คือ มินิคอมพิวเตอร์ อีกอย่างถ้าเราเริ่มตรงจุดนี้ก็ยังจะเป็นช่องทางให้เราได้มีโอกาสค้นหาความจัดเจนก่อนจะก้าวขึ้นไปขายเครื่องใหญ่ด้วย

ฮิตาชิเองก็มีเฟรมอยู่ด้วยใช่ไหม ?

-มีครับ ที่จริงฮิตาชิเขาถนัดเมนเฟรมมาก มากกว่ามินิคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำไป คือ เขาเป็นบริษัทที่ผลิตตั้งแต่เมนเฟรมแล้วก็ไล่เล็กลงมา ไม่เหมือนกับบางบริษัทที่ผลิตเครื่องจิ๋วก่อนจะขึ้นไปสู่เครื่องใหญ่

ในอนาคตอีเอซีก็อาจจะต้องนำเมนเฟรมเข้าตลาดด้วย?

-ก็คงจะเป็นเช่นนั้น

หนักใจไหมที่ดูไปแล้วไอเอซีไทยแลนด์ นำฮิตาชิเข้าตลาดช้ากว่าคู่แข่งขันรายอื่น โดยเฉพาะบริษัทอเมริกันแห่งหนึ่งซึ่งเขามีมินิคอมพิวเตอร์หลายๆ ซีสเต็มส์ที่ติดตลาดมาก?

-เราได้ศึกษาแล้ว ก่อนที่เราจะเอามินิคอมพิวเตอร์ของฮิตาชิเข้ามา คือ เราพอทราบว่าลูกค้าเราควรจะเป็นใคร เขาอาจจะไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกับยี่ห้อที่แข็งอยู่แล้ว ซึ่งลูกค้าของยี่ห้อแข็งที่ว่าเราก็มองเห็น คือเขาอาจจะไม่ใช่คนที่ออกสตังค์ซื้อเอง เพราะนั้นเขาไม่ห่วงเรื่องราคาแพงราคาถูกเหมือนซื้อโลงศพ คนใช้ไม่ได้ซื้อ เพราะฉะนั้นจะซื้อมาแพงๆ ก็ว่ากันไป แต่ถ้ากลุ่มลูกค้าที่ต้องควักเงินซื้อเองย่อมจะต้องศึกษาจริงๆ ถึงสัดส่วนของไพรซ์/เปอร์ฟอร์แม้นซ์ และคนพวกนี้แหละที่เราคิดว่าจะเป็นทาร์เก็ทกรุ๊ปของเรา หรืออย่างบางคนซื้อที่ชื่ออย่างเดียวราคาไม่เกี่ยง อย่างนั้นเราก็ปล่อย แต่ของเราถ้าลูกค้าเห็นในเรื่องไพรซ์/เปอร์ฟอร์แม้นซ์ เห็นในเรื่องว่าแฟลกซ์เดต้าสามารถช่วยเขาทำงานได้ เขาก็ต้องเลือกเรา

ฮิตาชิจะเดินคู่ไปกับเฟลกซ์เดต้าใช่ไหม?

-ครับ เป็นอย่างนั้น

มีไหมที่ลูกค้าจะซื้อแต่ฮาร์ดแวร์ ส่วนซอฟต์แวร์เขาจะดีเวลล้อปเอง?

-มีครับ อันนั้นเราเองก็ไม่ขัดข้อง เพราะลูกค่อาจจะมีงานที่แตกต่างกับตัวเฟลกซ์เดต้ามากเขาก็อาจจะขอพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเอง เรายินดีไม่มีปัญหาและก็ยังจะให้ความช่วยเหลือเช่นกัน แบบนี้ก็มีให้น้อย

แต่เห็นว่ากันว่า “เฟลกซ์เดต้า” เป็นซอฟต์แวร์ที่ยืดหยุ่นมาก?

-ใช่ คือเราได้พัฒนาขึ้นตามประสบการณ์ของอีเอซีเอ เราใช้เองแก้ไขเอง ถ้ามันขาดตกบกร่อง เพราะเราเป็นบริษัทใหญ่มีเครือข่ายอยู่กว่า 140 บริษัททั่วโลก คือเราจะต้องเอาผลปฏิบัติงานของทุกบริษัทไปสรุปกันที่โคเปนเฮเกน เพราะฉะนั้นระบบเฟลกซ์เดต้าที่เฮดออฟฟิศใช้กับบริษัทเครือทุกแห่งเป็นระบบเดียวกัน เมื่อเราใช้เองแล้วแก้ไขจนเราพอใจแล้ว เราก็คิดว่าบริษัทอื่นน่าจะเอาไปใช้ได้เหมือนกัน หรือถ้าเป็นบริษัทเล็กหรือบริษัทขนาดกลางที่กำลังจะเติบโตก็สามารถเอาประสบการณ์ของเราไปใช้ได้เลย

มีไหมที่ลูกค้าอยากได้แต่เฟลกซ์เดต้าไปใช้โดยไม่เอาฮาร์ดแวร์

-อันนี้เราไม่แนะนำนะครับ เพราะการคอนเวิร์ตเฟลกซ์เดต้าให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ตัวอื่นๆ ที่ไม่ใช่ฮิตาชินี่นานมาก อย่างที่ผมได้เรียนไว้แล้วว่าเฟลกซ์เดต้านี่ครั้งแรกเราทำที่โคเปนเฮเกน โดยเอาเครื่องเท็กซัสอินสตรูเม้นท์เป็นพื้น จนกระทั่งอีเอซีเป็นเอเย่นต์ขายฮิตาชิเราก็ไปตั้งทีมคอนเวิร์ตที่สิงคโปร์ งานที่ส่งจากมาเลเซียส่งจากเมืองไทยและของสิงคโปร์เองเอาไปคอนเวิร์ตที่นั่น เราคอนเวิร์ตกันเป็นปี โดยผมคิดว่าเราต้องใช้ถึง 80 แมนเยียร์ เพราะฉะนั้นถ้าลูกค้าจะนำเฟลกซ์เดต้าไปใช้กับเครื่องยี่ห้ออื่นก็คงต้องใช้เวลาและกำลังคนมากพอสมควร มันไม่คุ้มกับการลงทุน

คือเท่ากับซื้อคอมพิวเตอร์พร้อมซอฟต์แวร์เฟลกซ์เดต้ามาหนึ่งระบบก็สามารถเปลี่ยนแปลงการบริหารให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานได้โดยอัตโนมัติ?

-ถูกต้อง

วางเป้าหมายการตลาดไว้ปีแรกนี่มากน้อยแค่ไหน?

-เราคิดว่าควรพยายามดึงส่วนแบ่งในตลาดให้ได้สัก 10 เปอร์เซ็นต์ใน 4 ปีแรกนี้แล้วก็ควรจะโตขึ้นไปประมาณปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ คือตลาดมินิคอมพิวเตอร์นี่อัตราการเจริญเติบโตมันตกประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี คือเนื่องจากเราพอระแคะระคายว่ายังจะมีหลายบริษัทที่จะเข้ามา ก็เลยประมาณการไว้ให้ต่ำหน่อย ไม่...หลอก ตัวเองนอกจากนี้เราก็ยังเป็นผู้มาใหม่ คงยังต้องใช้เวลาในการสร้างชื่อ แม้ชื่ออีเอซีกับฮิตาชินี่จะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแล้วก็ตาม คือ ปัจจุบันเราไม่มีปัญหาเรื่องชื่อ จุดที่เราเข้าไปนี้ทุกคนรู้จัก เพียงแต่เราก็พยายามสำรวจดูเท่านั้นว่า ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของเราจะช่วยอะไรลูกค้าได้บ้าง

นอกจากนี้บ้านเราเองก็ยังทำเสร็จช้ากว่าสิงคโปร์ด้วย?

-ครับเราช้ากว่าสิงคโปร์ประมาณ 1 ปี เพราะเรามีภาษาไทยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ตอนนี้สิงคโปร์เขาขายไปประมาณ 10 เครื่องแล้ว ส่วนที่ฮ่องกงดุเหมือนจะขายไป 60 กว่าเครื่องในช่วง 3-4 ปีนี้

ด้านทีมงานเป็นอย่างไรบ้าง?

-ผมมั่นใจมากนะ คือระหว่างเตรียมการนี่คนของเราหลายคนไปร่วมคอนเวิร์ตอยู่ด้วยที่สิงคโปร์และเราเฟ้นคนที่มีคุณภาพมาก มีประสบการณ์ยาวนานในตลาด

ถ้าจะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมตัวเฟลกซ์เดต้าให้กับลูกค้าบางรายสามารถทำได้ที่นี่หรือต้องเอาไปที่สิงคโปร์?

-ทำได้ที่นี่เลยครับ คือเพื่อให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าเราก็อาจจะต้องแก้ไขสัก 5-10 เปอร์เซ็นต์ ก็จะสามารถทำได้โดยคนของเราที่นี่ทันที

ข้อเสนอที่อีเอซีจะติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์แบบเทิร์นคีย์ก็เป็นจุดที่น่าสนใจจุดหนึ่งอยากให้ช่วยเล่าในรายละเอียดสักนิด?

-คืออย่างลูกค้าสมมุติมีระบบบัญชีที่ทำด้วยมือมาตลอดนี้ ก็อาจจะเป็นระบบที่ลูกค้ารายนั้นตั้งขึ้นเองตามความต้องการของเขา ไม่เป็นระบบบัญชีที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปของกิจการที่กำลังจะเติบโตขึ้นไปในอนาคต เมื่อเขาซื้อคอมพิวเตอร์ไปใช้แล้วพยายามจะเอาระบบที่เคยทำด้วยมือใส่เข้าไป เพียงแต่เขียนโปรแกรมตามระบบการทำงานเดิมเท่านั้น เขาก็จะต้องตั้งแผนอีดีพีของเขาขึ้นมา อย่างนี้ก็จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มันก็จะช่วยให้เขาคำนวณตัวเลขต่างๆ เร็วขึ้นเท่านั้น และก็ต้องลงทุนสูงพอสมควรโดยเฉพาะตัวบุคลากร เราเห็นว่าระบบต่างๆ มันก็ไม่ได้รัดกุมเพิ่มขึ้นหรือทันสมัยเพิ่มขึ้น ในแง่นี้ถ้าเปรียบเทียบกับการที่ซื้อฮาร์ดแวร์และเฟลกซ์เดต้าของเราไป เปลี่ยนแปลงระบบของเขานิดหน่อยให้มาเข้ากับเฟลกซ์เดต้า เขาก็ไม่ต้องลงทุนจ้างพนักงานมีแต่คนที่คอยโอเปอเรตเท่านั้นเอง อันนี้เป็นการขายแบบเทิร์นคีย์ของเรา คือเราให้ทั้งแอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์กับเขาหมด

สำหรับเจ้าของกิจการที่จะมาเป็นลูกค้าเขาจะไม่รู้สึกวิตกหรือว่า คนนอกจะเข้ามาทราบข้อมูลภายในของเขา?

-ไม่นะ คือเรื่องข้อมูลที่ป้อนเข้าไป มันเป็นหน้าที่คนของเขา เราเพียงไปวางระบบให้ และแม้แต่คนของเราที่ไปซับพอร์ตงานในระยะหลังถ้าไม่รู้พาสเวิร์ด (PASSWORD) หรือซีเคียวริตี้ในนั้น จะไปเอาข้อมูลออกมาก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว พาสเวิร์ดนี่ลูกค้าเขาตั้งเองเราไม่รู้ตัวเลขต่างๆ ลูกค้าเขาลงเอง

ตอนนี้ทีมงานฝ่ายอินฟอร์เมติคส์มีกี่คน?

-เรามีทั้งหมด 10 กว่าคน แบ่งเป็นฝ่ายขาย ฝ่ายสนับสนุนแล้วก็ฝ่ายเทคนิค

มินิคอมพิวเตอร์ของฮิตาชิยังเพิ่งเข้ามารุ่นเดียวใช่ไหม?

-ครับ เราเอารุ่นแอล 300 เท่านั้นเข้ามาส่วนอีกรุ่นเป็นรุ่นที่ใหญ่กว่านี้เรายังไม่เอาเข้ามามันเป็นระบบที่โตขึ้นก็คงอยู่ที่ลูกค้าว่าจะเอาไหม

ในแง่จุดเด่นทางฮาร์ดแวร์พอจะชี้ออกมาได้ไหมว่ามีอะไรบ้าง?

-ก็มี 2 จุดที่สำคัญคือ จุดแรกก็คือความเชื่อถือได้ของคุณภาพของฮิตาชิ คือเขามีโรงงานทำเองหมดไม่ว่าจะเป็นซีพียูปรินเตอร์ หรือตัวมีเดียต่างๆ อันนี้อาจจะต่างจากโรงงานอื่น คือบางแห่งเขาอาจจะไม่ได้ทำปรินเตอร์เอง ไม่ได้ทำดิสก์ไดรฟ์เอง เป็นต้น ซึ่งอันนี้ทำให้ฮิตาชิสามารถควบคุมคุณภาพทุกชิ้นส่วนได้ ระบบควบคุมคุณภาพของเขานี่ครับ เขาใช้ไปไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของเวลาที่ใช้ในการผลิต คือมีการทดสอบกันมา อันที่สองเราเห็นว่าฮาร์ดแวร์ของเรานี่เป็นเมนเฟรมที่ขายในราคามินิคอมพิวเตอร์ คือมันมีฟีเจอร์ (FEATURE) ของเมนเฟรมอยู่ในนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราจะโตขึ้นไปใช้เมนเฟรมจึงไม่มีปัญหาอะไร แล้วโดยเฉพาะโอเปอเรตติ้งซีสเต็มฟีเจอร์ต่างๆ นี่มันเป็นระบบเดต้าเบส (DATA BASE) ซึ่งมินิคอมพิวเตอร์น้อยยี่ห้อมากที่ใช้ระบบเดต้าเบส

ถ้าจะชื้อมาใช้สักระบบหนึ่ง ต้องมีเงินสักเท่าไหร่?

-(หัวเราะ) ถ้าพูดถึงมินิมันคอนฟิกูเรชั่น (MINIMUM CONFIGURATION) คือมีตัวซีพียูมีดิสก์ไดรฟ์มีปรินเตอร์แล้วก็มีจอภาพสัก 2 จอ อย่างนี้ราคาก็จะตกประมาณ 1 ล้าน 5 แสนบาท ถ้ามีอะไรมากกว่านั้นก็มีราคาขึ้นไปตามราคาของส่วนที่เพิ่ม ก็เป็นราคาที่สู้เขาได้ในตลาด

คิดว่าในปัจจุบันการที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช่เครื่องไมโครฯ ต้องพิจารณาจุดไหนบ้าง?

-คือถ้าเราจะไปดูที่สปีดหรือจำนวนเมมโมรี่อย่างเดียว นี่มันไม่ได้บอกอะไรมาก จะต้องดูว่าโอเปอเรตติ้งซีสเต็มเป็นอย่างไร แอพพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ที่เราจะมีให้นี่เป็นอย่างไร ผมว่าเราควรจะพิจารณาให้ความสำคัญกับตัวซอฟต์แวร์ 60 เปอร์เซ็นต์ แล้วฮาร์ดแวร์ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ มันต่างจากสมัยก่อนที่ทั่วๆ ไปเราจะคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ 80 ดูเรื่องซอฟต์แวร์เพียง 20-30   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us