Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2527
เมื่อเกาหลีท้าทายญี่ปุ่น เกมนี้น่าจับตามองยิ่งนัก             
 


   
search resources

Economics
International
Knowledge and Theory




เกาหลีใต้เคยกระโดดเข้าสู่เทคโนโลยีเหนือญี่ปุ่นในปี 1592 เมื่อสร้างเรือหุ้มเกราะลำแรกของโลกขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่ผลิตได้มากพอที่จะจมเรือไม้ของศัตรูได้หมด

ญี่ปุ่นบุกเกาหลีในปีนั้นและยึดกรุงโซลได้

ปัจจุบันเกาหลีได้พยายามคลำหาแนวทางอื่น ชนะด้วยการตามแบบอย่างญี่ปุ่น นโยบายก็คือ การส่งเสริมเศรษฐกิจของเกาหลี ซึ่งเจริญขึ้นร้อยละ 9 ในปี 1983 และสร้างความยุ่งยากให้แก่ตารางเวลาของญี่ปุ่นด้วยการไต่ขึ้นไปสู่ระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้นและสูงขึ้นเรื่อยๆ

เศรษฐกิจของโลกนั้นเป็นเสมือนขั้นบันไดที่แน่นเอี้ยด โดยที่แต่ละชาติพยายามตะเกียกตะกายขึ้นสู่เบื้องบนราวกับว่ามีเพลิงไหม้อยู่เบื้องล่าง

ประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่า เช่น จีน อินเดีย ได้ดึงเอาธุรกิจสิ่งทอไปจากเกาหลีใต้ได้

ดังนั้นเกาหลีจึงจำต้องไต่สู่ขั้นที่สูงยิ่งไปกว่านี้อีก แต่พบว่า ญี่ปุ่นยังไม่พร้อมที่จะถูกดันออกไปจากที่

การต่อเรือดูจะเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด

ในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า อู่ต่อเรือเกาหลีอาจจะต่อเรือออกได้จำนวนเท่าๆ กับของญี่ปุ่น

โดยหลักการ ญี่ปุ่นยอมรับว่า การต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมที่ตกต่ำลงแล้ว เท่าๆ กับการที่บีบให้อเมริกายอมรับว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ใช่ธุรกิจที่จะโตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติมันไม่ได้เป็นการง่ายเลยที่จะเปลี่ยนงานให้กับคนงานจำนวน 7,000 คน ในอู่ต่อเรือมิตซูมิชิเฮวี่ อินดัสตรีส์ ให้กลายมาเป็นช่างออพติคัลไฟเบอร์ หรือรูปชิ้นส่วนต่างๆ ของดาวเทียม

นอกจากนี้ โรงงานถลุงเหล็กของเกาหลี ตัดราคาญี่ปุ่นอย่างมาก จนกระทั่งลูกค้าของญี่ปุ่นได้หันมาสั่งซื้อจากเกาหลีมากยิ่งขึ้น

เกาหลียังได้เริ่มท้าทายญี่ปุ่นด้วยการเริ่มเข้าสู่ธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แม้กระทั่งถึงธุรกิจสารกึ่งตัวนำ ซึ่งเคยผูกขาดโดยสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเท่านั้น

การไล่ตามญี่ปุ่นเป็นความฝันระดับชาติของเกาหลีใต้ สำคัญยิ่งในด้านนโยบายเศรษฐกิจพอๆ กับการเหนี่ยวรั้งเกาหลีเหนือในด้านนโยบายทางทหาร

เศรษฐกิจของเกาหลีนั้นใหญ่โตที่สุดในประเทศอุตสาหกรรมแห่งเอเชีย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ แก๊งทั้งสี่ หรือ เสือทั้งสี่ (อีกสามประเทศคือ ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน) ด้วยความเจริญเติบโตที่ปะทุขึ้นในปีที่แล้วผลิตผลรวมทั้งชาติของเกาหลีใต้โตถึง 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

การไล่ตามญี่ปุ่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

เศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้นใหญ่กว่าเกาหลีถึง 14 เท่า

เกาหลีใต้มีตลาดภายในประเทศเพียงหนึ่งในสามของญี่ปุ่น

รายได้ต่อคนของประชากรญี่ปุ่นตกราว 9,500 เหรียญสหรัฐ

รองนายกรัฐมนตรีของเกาหลีคือ ชิน เปียง ฮวน กล่าวว่า เป้าหมายล่าสุดของประเทศของเขาคือการพยายามเร่งรายได้ต่อคนจากจำนวนหลายร้อยเหรียญให้เป็น 2,000 เหรียญภายในปีหน้า

คนเกาหลีบางคนคิดว่า สิ่งที่พวกเขาทำได้ดีที่สุดคือ รายได้ต่อคนคงจะได้เพียงครึ่งหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศนี้ยังมีอุปสรรคอื่นๆ เฉพาะพิเศษอีก แม้จะไม่มีปัญหาในการชำระหนี้

หนี้สินต่างประเทศของเกาหลีนั้นใหญ่เป็นลำดับสี่ของโลกรองจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ คือ บราซิล เม็กซิโก อาร์เจนตินา คือ วงเงิน 4,000 ล้านเหรียญ

งบประมาณป้องกันประเทศนั้นเกินร้อยละ 6 ของผลิตผลรวมทั้งชาติ ในขณะที่ญี่ปุ่นใช้ไม่ถึงร้อยละ 1 เสียด้วยซ้ำ เช่นเดียวกับการใช้งบป้องกันประเทศร้อยละเท่าๆ กันในวอชิงตัน เซอูลบ่นพึมพำว่า การเตรียมการณ์ที่ว่านี้ทำให้ญี่ปุ่นหลุดพุ่งไปข้างหน้า

การเดินตามญี่ปุ่นนั้นมีอันตรายเฉพาะอย่างเช่นกัน ถ้าญี่ปุ่นก้าวพลาด เกาหลีใต้ก็ก้าวพลาดตามด้วย

มองย้อนหลังไปอาจเป็นการพลาดสำหรับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในอันที่จะก้าวเข้าไปสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทั้งสองประเทศต่างต้องสั่งวัตถุดิบเข้าหลังจากที่น้ำมันขึ้นราคาอย่างรุนแรงในช่วงปี 1970 เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะอย่างยิ่งในทางเศรษฐกิจที่จะสั่งน้ำมันเข้าจากตะวันออกกลางและแปรเปลี่ยนไปเป็นปุ๋ย ประเทศแคนาดา และสหรัฐฯ สามารถผลิตปุ๋ยได้จากก๊าซธรรมชาติราคาถูก และแม้ว่าเกาหลีใต้และประเทศที่กำลังเติบโตอื่นๆ ในเอเชียได้ตัดสินใจที่จะเลียนแบบความสำเร็จของญี่ปุ่นในธุรกิจรถยนต์นานาชาติ ก็ยังคงมีปัญหาว่า ผู้ติดตามรายใดจะทำกำไรได้บ้าง

การเลียนแบบญี่ปุ่นของเกาหลีใต้นั้นส่วนใหญ่นั้นมีเหตุผล นอกเหนือจากช่องว่างทางเศรษฐกิจขนาดมหาศาลระหว่างสองประเทศแล้วพวกเขายังมีความแข็งแกร่งเหมือนกัน เช่น กำลังแรงงานที่มีวินัย และยังมีความอ่อนแอเหมือนกัน คือ การขาดแคลนวัตถุดิบ

แต่การไล่ตามนั้นถูกลากจูงด้วยอารมณ์ทางหนึ่ง ในช่วงที่ญี่ปุ่นครอบครองคาบสมุทรเกาหลีเป็นเวลายาวนาน จากปี 1910 จนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นพยายามที่จะเปลี่ยนคนเกาหลีใต้ให้กลายเป็นคนญี่ปุ่นชั้นสองด้วยไม่ให้ใช้ภาษาเกาหลี และนักธุรกิจเกาหลีด้วยนายทุนจากญี่ปุ่น

ชาวเกาหลีมีความรู้สึกปนเปต่อผู้กดขี่เดิมอย่างมาก ในขณะที่ไม่ชอบพฤติกรรมอย่างหนึ่งเพียงเพราะว่าเป็นญี่ปุ่น แต่กลับชื่นชมพฤติกรรมอีกอย่างเพราะเหตุผลเดียวกัน

ในปี 1982 สมัชชาแห่งชาติได้ออกกฎให้นักเรียนสวมเครื่องแบบในบรรดาข้อโต้แย้งกับเครื่องแบบนั้นข้อหนึ่งบอกว่า เป็นแบบอย่างของญี่ปุ่น

ในขณะเดียวกัน นิสัยการจัดการแบบญี่ปุ่นได้ครอบงำอุตสาหกรรมเกาหลี นับตั้งแต่การออกกำลังกายในตอนเช้าจนกระทั่งธรรมเนียมการจ่ายเงินตอบแทนอย่างงามในการจ่ายโบนัสทุกครึ่งปี

ชาวเกาหลียังเชื่อด้วยว่า เทคโนโลยีของญี่ปุ่นนั้นดีที่สุดในโลก หรืออย่างน้อยที่สุด ก็เหมาะกับเกาหลีมากที่สุด

เกาหลีและญี่ปุ่นนั้นเกี่ยวเนื่องกันเป็นแน่แท้ ถ้ามองย้อนผ่านกาลเวลาไปตามรอยตระกูลจักรวรรดิญี่ปุ่นให้ไกลพอจะพบว่า รากเหง้านั้นอยู่ในเกาหลี

แต่เกาหลีและญี่ปุ่นในทุกวันนี้มีกิริยาที่แตกต่างกันมาก

คนญี่ปุ่นนั้นเป็นแบบแผนของการระมัดระวังท่าที

ส่วนคนเกาหลีนั้นไม่เป็นแบบแผนและโผงผาง

ผู้เสนอขายสินค้าในเกาหลีอาจจะเอามือของเธอวางบนบ่าของลูกค้าเมื่อเดินนำเข้าประตู ผู้บริหารระดับสูงของเกาหลีจะเชิญผู้คุ้นเคยในการทำธุรกิจไปบ้านเพื่อให้รู้จักกับครอบครัวของเขา

การปฏิบัติด้วยความคุ้นเคยอย่างนี้เป็นเรื่องผิดปกติเอามากๆ ในญี่ปุ่น

ต่างไปจากคนญี่ปุ่น คนเกาหลีค่อนข้างจะโต้เถียงเก่ง

นักการทูตคนหนึ่งพูดถึงชาติทั้งสองอย่างชื่นชมกล่าวว่า “ถ้าหากว่าคุณคุ้นเคยกับคนญี่ปุ่นสักหกเดือน เขาอาจจะยอมขัดคุณในบางจุดเพียงนิดเดียว แต่คนเกาหลีจะใช้คำว่าตอแหลในเวลาเพียง 15 นาที เท่าๆ กับความพอใจที่คนอเมริกันพบความตรงๆ นั้น

คนเกาหลีออกจะหงุดหงิดกับความโอนเอียงไปในทางโต้แย้งที่เกิดขึ้นในทีมงาน แนวทางของญี่ปุ่นที่เขาชื่นชม

คุณความดีของเกาหลีอยู่ในความอุทิศตนให้กับงาน งานอะไรก็ได้

ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ชาวเกาหลีได้รับเหรียญมากที่สุดในการแข่งขันที่เรียกว่า International Vocational Training Competition ซึ่งคล้ายกับการแข่งขันโอลิมปิกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ชำนาญงานหนุ่มสาวแข่งกันในงานฝีมือ ตั้งแต่การทำเครื่องมือต่างๆ ไปจนถึงการเชื่อมโลหะ

คนงานใช้แรงงานชาวเกาหลีทำงานอย่างเหนื่อยยากแต่ได้ค่าแรงต่ำกว่าคนงานญี่ปุ่นมาก

คนงานที่นั่งเรียงแถวในบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเกาหลีใต้ได้ค่าแรงเริ่มต้นราว 3,200 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือร้อยละ 40 ของคนงานประเภทเดียวกันในญี่ปุ่น

ผู้นำในระบบการจัดการในเกาหลีใต้ แม้จะไม่ได้รับการศึกษาดีกว่า อย่างน้อยก็กว้างขวางกว่า

หนทางอาชีพสำหรับคนญี่ปุ่นหนุ่มสาวที่เฉลียวฉลาดนำไปสู่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อ เช่น มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือ เกียวโต และตรงเข้าสู่บริษัท ซึ่งต่อมาอาจจะส่งเขาไปเมืองนอกเพื่อความเชี่ยวชาญพิเศษต่างๆ

หนุ่มสาวเกาหลีที่ทะเยอทะยานเข้ามหาวิทยาลัยโซล และไปต่อปริญญาโทในสหรัฐฯ หรือชั้นที่สูงกว่านี้ก่อนจะเริ่มทำงาน

ชาวเกาหลีราว 8,000 คนกำลังเรียนอยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งพวกเขามักได้รับความทะเยอทะยานแบบอย่างอเมริกันควบคู่ไปกับปริญญา

เช่นเดียวกับคนอเมริกัน แต่ไม่เหมือนคนญี่ปุ่น คนเกาหลีอาจถูกหล่อใจด้วยค่าตัวที่เหมาะสม บริษัทหนึ่งไปยังอีกบริษัทหนึ่ง นายจ้างเกาหลีได้เพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อเร็วๆ นี้ เงินเดือนของผู้จัดการในเกาหลีนั้น สูงเกือบเท่าๆ กับ ผู้จัดการในญี่ปุ่น

ความแข็งแกร่งของผู้นำเกาหลีนั้นทดสอบได้ด้วยความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เมื่อเกาหลีเหนือวางแผนที่จะสังหารประธานาธิบดี ชุน ดู ฮวาน ในขณะที่เขาเดินทางไปเยือนร่างกุ้ง แต่เคราะห์ร้ายกลับตกไปอยู่ที่ผู้ติดตามจำนวน 17 คน ซึ่งในกลุ่มนี้มีมือเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งรวมอยู่ด้วย ภายในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ประธานาธิบดีผู้นี้ก็สามารถสรรหาผู้มารับหน้าที่แทนและยังมีความสามารถเทียบเคียงกันได้

ทูตสหรัฐฯ ประจำเกาหลีใต้ คือ ริชาร์ด วอล์คเกอร์ กล่าวว่า “พวกนี้มีความสามารถลึกล้ำถึง 9 และ 10 ส่วน ผมคิดว่า คนทำธุรกิจและรัฐบาลที่พวกเขามีอยู่เป็นผู้นำที่ได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุดในโลก”

ญี่ปุ่นคิดว่า เกาหลีมีแรงงานที่เฉลียวฉลาดและเสียสละ และการมองเห็นนี้ทำให้เกิดความเป็นกังวลมากยิ่งขึ้น เมื่อเห็นว่าจริยศาสตร์ในการทำงานของตนเองกลับลดลงเล็กน้อย

จากการสำรวจพบว่า หนุ่มสาวญี่ปุ่นมีความเต็มใจที่จะทำงานในชั่วโมงพิเศษหรือวันหยุดพักน้อยกว่ากลุ่มที่สูงอายุกว่า

ในขณะที่ญี่ปุ่นเริ่มระแวงการท้าทายในการแข่งขันของเกาหลีใต้ พวกเขาก็ไม่เต็มใจที่จะให้เกาหลีรู้เทคโนโลยีจากเขาที่จะทำให้ผลิตได้มากกว่าตน

บริษัทของญี่ปุ่นบางแห่งขายวิชาการให้ง่ายดายกว่านี้ในอดีต ยกตัวอย่างเช่น ในต้นทศวรรษ1970 บริษัทนิปปอนสตีล ได้ช่วยเกาหลีสร้างคอมเพล็กซ์ขนาดยักษ์ของบริษัท โปฮัง ไอออน แอนด์ สตีล

ญี่ปุ่นยังขายเหล็กให้เกาหลีใต้มากกว่าที่ซื้อทั้งหมดในช่วงทศวรรษที่เหลือ

เดี๋ยวนี้ ลูกค้าของญี่ปุ่นซื้อเหล็กจากเกาหลีมากขึ้นจนยอดขายเหล็กของทั้งสองประเทศเกือบใกล้เคียงกัน

อู่ต่อเรือของญี่ปุ่นเริ่มระแวงเมื่อเกาหลีใต้ตามเข้ามาใกล้ในช่วงทศวรรษ 1970

ญี่ปุ่นยังคงขายเชื้อเพลิงและเครื่องจักรตัดเหล็กให้ก็จริงอยู่ แต่เกาหลีต้องหันไปหาอังกฤษ สวีเดน และอเมริกาให้ช่วยด้านการออกแบบ

ผู้ต่อเรือเกาหลีรายหนึ่งกล่าวว่า “คนญี่ปุ่นละโมบเกินไป” พวกเขาต้องการทุกสิ่งทุกอย่างและได้คุมธุรกิจต่อเรือมาตั้งสองทศวรรษแล้ว ตอนนี้ควรจะผ่านมือไปให้คนอื่นบ้างได้แล้ว”

ญี่ปุ่นยังคงต่อเรือมากกว่าชาติใดๆ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 1983 ได้ใบสั่งซื้อถึงร้อยละ 58 จากทั่วโลก แต่เกาหลีใต้ก็ได้สัญญาใหญ่ๆ บางราย บริษัท เดหวู่ ชิปบิวดิ้ง แอนด์ เฮวี่ เมชีนเนอรี ได้สร้างเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์จำนวน 12 ลำ ให้กับสายเดินเรือของสหรัฐฯ ในวงเงินถึง 570 ล้านเหรียญ

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 1983 เช่นกัน เกาหลีได้ใบสั่งจองถึงร้อยละ 20 ของโลก ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่กว่าปี 1977 ถึง 4 เท่า

เกาหลีใต้ได้แสวงหาประโยชน์ในการเปิดตลาด ในขณะที่ญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะต่อเรือแบบโหล เกาหลีกลับต่อให้ตามแบบสั่งพิเศษของลูกค้า

ผู้เชี่ยวชาญบางคนคิดว่า ในไม่กี่ปีส่วนของญี่ปุ่นในธุรกิจนี้จะตกลงมาเหลือเพียงร้อยละ 35 ในขณะที่เกาหลีจะไต่ไปเป็นร้อยละ 30

การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ระหว่างชาติทั้งสองดูจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดูจะเป็นธุรกิจส่งออกที่เบ่งบานและโตเร็วที่สุดของเกาหลีใต้ซึ่งมีมูลค่าถึงราว 1 พันล้านเหรียญ หรือราวร้อยละ 4 ของยอดขายส่งออกทั้งหมดในปี 1983

บริษัทผู้นำสองรายที่ชี้นำเศรษฐกิจของเกาหลีใต้คือ กลุ่มซัมซุง ซึ่งขายได้ราว 5,900 ล้านเหรียญ ในปี 1982 และกลุ่มลักกี้ซึ่งขายได้ 5,400 ล้านเหรียญในปีเดียวกัน

บริษัทหนึ่งในกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลีใต้คือ ซัมซุง เริ่มในปี 1938 เป็นบริษัทที่ทำการค้าเกี่ยวกับสิ่งทอ เสื้อผ้า และน้ำตาล และเริ่มทำธุรกิจอื่นๆ ต่างออกไปอีก รวมทั้งการประกันชีวิต การต่อเรือ เครื่องจักรกล และงานก่อสร้างในตะวันออกกลาง

คู่แข่งของบริษัทนี้คือ บริษัทลัคกี้ เริ่มธุรกิจหลังซัมซุงเก้าปี แต่มีความทะเยอทะยานในขอบข่ายที่กว้างขวางไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เริ่มด้วยการขายเครื่องสำอาง และปัจจุบันทำทั้งเหมือง ทองแดง โรงกลั่นน้ำมัน ผลิตพลาสติก บริษัทซึ่งขายหุ้น และปลูกต้นแอพพริคอต นอกเหนือจากกิจกรรมอื่นๆ

เกาหลีใต้ยังไม่ปะทะกับธุรกิจส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับหมื่นล้านเหรียญต่อปีของญี่ปุ่น เพราะเกาหลีนั้นส่วนใหญ่ยังคงวนเวียนในอุตสาหกรรมแบบเก่าซึ่งญี่ปุ่นสนใจน้อยลง

เกาหลีใต้เป็นผู้ผลิตโทรทัศน์ขาวดำรายใหญ่ที่สุดของโลก และยังคงค้าคล่องในเขตต่างๆ หลายแห่งในโลก แม้ว่า เมื่อเร็วๆ นี้จะมีคู่แข่งที่พยายามตามมา คือมาเลเซีย ดังนั้นเกาหลีใต้จึงได้เริ่มขั้นต่อไปคือโทรทัศน์สี ซึ่งยังคงเป็นธุรกิจใหญ่ของญี่ปุ่น

แม้จะไม่ใช่ธุรกิจที่โตได้แต่แผนกโกลด์สตาร์ของลัคกี้ ได้สร้างโรงงานขึ้นในเมือง ฮันท์สวิลล์ รัฐแอละบามา และในกลางปีนี้คาดว่าจะสามารถนำเอาเครื่องรับโทรทัศน์สีจำนวน 500,000 เครื่องและเตาไฟฟ้าจำนวน 400,000 เครื่องต่อปีออกขาย ส่วนคู่แข่งคือ ซัมซุง กำลังปรับพื้นที่ในนิวเจอร์ซีย์ เพื่อสร้างโรงงานอย่างเดียวกัน

แผนการตามหลังญี่ปุ่นของเกาหลีขั้นต่อไปคือ ธุรกิจการสร้างเครื่องบันทึกเทปวิดีโอ ซึ่งน่าจะเป็นส่วนของอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขายได้มากที่สุดในช่วงที่เหลือของทศวรรษ

บริษัท มัตซุชิตะ ผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อเนชั่นแนล ควาซาร์ พานาโซนิค และเทคนิคส์ ปฏิเสธคำขอซื้อวิธีการผลิตเครื่องวีซีอาร์เอสจากบริษัทโกลด์สตาร์ของเกาหลี

โกลด์สตาร์จึงได้นำเอาเครื่องของมัตซุชิตะถอดออกเป็นชิ้นๆ และเลียนแบบเพื่อขายแก่ตลาดในประเทศ

มัตซูชิตะจะต้องฟ้องร้องแน่หากโกลด์สตาร์ส่งเครื่องนี้ออกขายนอกประเทศ แต่ซัมซุงเพิ่งได้ตกลงกับโซนี่และวิคเตอร์แห่งญี่ปุ่นแล้ว จะมีสิทธิ์ส่งเครื่องวีซีอาร์เอสออกขายนอกประเทศได้ในเดือนมกราคม ปี 1985

การแข่งขันดูน่าสนุก สังเวียนของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากับค่าแรงที่ต่ำ แต่วิธีการผลิตผลิตภัณฑ์เกาหลีมาตรฐานญี่ปุ่นยังคงเป็นระบบเก่า

ในโรงงานผลิตวีซีอาร์เอสอายุสามปีของมัตซูชิตะ ในเมืองโอซาก้า หุ่นยนต์ทำงานถึงร้อยละ 80

แต่ในโรงงานวีซีอาร์เอสของซัมซุงซึ่งเพิ่งเปิดได้สามเดือน ในเมืองซูวอน คนทำงานคือสาวๆ ซึ่งมีรายได้เพียงเล็กน้อยและชดเชยด้วยค่าอาหารมื้อละ 10 เซนต์ ซึ่งหาได้จากห้องอาหารของบริษัท พร้อมที่พักฟรีในหอพักของบริษัทเช่นกัน

หญิงสาวในซัมซุงจะสามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าหุ่นยนต์ในมัตซุชิตะได้หรือไม่นั้นส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความสามารถของซัมซุงในการคงค่าจ้างของพวกเขาได้ ส่วนที่เหลือคือความสามารถของเกาหลีใต้ในการดึงภาวะเงินเฟ้อให้ลดลง ในขณะนี้ดูเหมือนประเทศจะทำได้ดี ส่วนใหญ่เพราะการเก็บเกี่ยวที่เป็นกอบเป็นกำและราคาน้ำมันที่ลดลง ดัชนีราคาสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ในปี 1983

เกาหลีได้ก้าวไปสู่ธุรกิจสารกึ่งตัวนำด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็เช่นเดียวกัน ญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะร่วมมือด้วย

ราว 10 ปีก่อน ซัมซุงได้เริ่มผลิตชิ้นส่วนง่ายๆ ของนาฬิกาข้อมืออิเล็กทรอนิกส์ ปลายปีที่แล้วบริษัทได้เริ่มที่จะจับเอาส่วนตัวบันทึกความจำรุ่น 64K RAMS ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลถึง 64,000 บิท ออกมาได้

ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ และญี่ปุ่นได้เขย่งไปถึงระดับ 256K ซึ่งทำให้เกิดปัญหาว่า ทำไมเกาหลีจึงต้องการที่จะลงทุนในเทคโนโลยีที่กลายเป็นของกลางเก่าเสียแล้ว ฮี จุน ปัก ประธานกรรมการของบริษัท ซัมซุง เซมิคอนดัคเตอร์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น ยอมรับว่า “ชายคนหนึ่งในสหรัฐฯ กล่าวว่า เราจะถึงวาระสุดท้ายถ้าเราเข้าสู่ธุรกิจในตอนนี้ แต่ผมก็บอกกับเขาว่า เราไม่มีทางเลือก เราต้องรู้”

ความรู้นั้นราคาแพงมาก ซัมซุงวางแผนที่จะลงทุนกว่า 400 ล้าน ในไม่กี่ปีข้างหน้า ถ้าไม่ได้นำหน้าตัวเบี้ยในเกมแล้วเกาหลีใต้ไม่อาจจะเป็นผู้เล่นเกมที่มีเวลามากรายใหญ่ ด้านอิเล็กทรอนิกส์ระดับสูง เช่น คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และโทรคมนาคม นั่นเป็นหนทางที่ญี่ปุ่นนำไปข้างหน้าอย่างเด่นชัด และเกาหลีใต้ต้องการค้นรอยตามไปอย่างสดๆร้อนๆ

ญี่ปุ่นเป็นต่อเกาหลีใต้อยู่ 3-2 เช่นเดียวกับที่เป็นต่อสหรัฐฯ แต่ช่องว่างของเกาหลีใต้หดแคบลงจาก 5-1 ในช่วง 10 ปีที่แล้ว ในขณะที่ของสหรัฐฯ กลับกว้างกว่าเก่า นัยนี้เกาหลีใต้จะจัดการกับปัญหาญี่ปุ่นได้ดีกว่าสหรัฐฯ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us