ผู้จัดการรายวัน - ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดผลประกอบการธนาคารปี2545 พลิกจากขาด ทุนสู่กำไรทั้งปีประมาณ
24,600 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 274.7% โดยธนาคารรัฐจะมีพัฒนาการดีที่สุด แต่แบงก์ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่รออยู่ในอนาคต
ทั้งเศรษฐกิจที่ยังไม่แข็งแรง ขณะที่หนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้กว่า
6แสนล้านบาท การสะสางทรัพย์สินรอขาย(NPA)ที่พุ่งเป็น เงาตามตัวถึง 152,000 ล้านบาท
และตัวเลขขาดทุนสะสมถึง 5 แสนล้านบาท
การพลิกฟื้นผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ที่ปรับตัวดีขึ้น อาจเป็นเพียงการสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นบ้างของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่าผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2545ของระบบธนาคารไทย
สามารถทำกำไรสุทธิได้ประ มาณ 9,150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,850 ล้านบาท ของไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า
ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 393.35% สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ย
และเงินปันผล
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ในปี 2545ว่า ระบบธนาคารไทยสามารถพลิกจากการขาดทุนในปี
2544(ก่อนรายการพิเศษ) ที่ประมาณ 14,100 ล้านบาท มาเป็นกำไรประมาณ 24,600 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นประมาณ 274.7% เนื่องจากประมาณ ว่า ระบบธนาคารมีราย ได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิเพิ่มขึ้นประ
มาณ17.1% จากปีที่ผ่านมา และแหล่งรายรับดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากตั๋วเงินของบริษัทบริหารสินทรัพย์และบริษัท
บริหารสินทรัพย์ไทย (บบส.) ที่คาดว่า จำนวนรวมกันประมาณ 14,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย
คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก1.6%ในปี 2544 มาที่ 1.8%
ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมและบริการ ทำให้รายได้สุทธิจากการดำเนินงานของระบบธนาคารไทย
น่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า 87.6%มาที่ 48,700 ล้านบาท
ดังนั้น ระบบธนาคารไทยจึงมีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้สูงขึ้นในปีนี้ คาดว่ากลุ่มธนาคารรัฐ
น่าจะมีพัฒนาการดีที่สุด คือ สามารถพลิกจากการขาดทุนที่ประมาณ 14,900 ล้านบาท มาเป็นกำไรได้ประมาณ
9,400ล้านบาท ในปี 2545หรือเพิ่มขึ้น163.3%
เช่นเดียวกัน กลุ่มธนาคารลูกครึ่ง คาดว่าจะพลิกจากการขาดทุนประมาณ 5,000 ล้านบาท
มาเห็นกำไรได้ประมาณ 1,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 133.6%
ขณะที่กลุ่มธนาคารเอกชนไทยขนาดใหญ่นั้น ประมาณว่าจะสามารถทำกำไรได้สูงขึ้นจาก
5,900 ล้านบาท มาที่ 13,500ล้านบาท เพิ่มขึ้น 128.6%
ระบบแบงก์ยังมีปัจจัยเสี่ยง ศก.ไม่แข็งแรง-NPAทะลัก
ถึงแม้ระบบธนาคารพาณิชย์จะมีแนวโน้มของผลประกอบการที่เป็นกำไรมากขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม
แต่ภาพดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าธนาคารได้รอดพ้นผ่านวิกฤตแล้ว เพราะระบบธนาคารยังคงต้องเผชิญหลายหลายอุปสรรคในการดำเนินงานที่คอยอยู่ในอนาคต
ศูนย์วิจัยฯระบุว่านอกเหนือจากปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่แข็งแรงอย่างเต็มที่แล้ว
ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีก ไม่ว่าหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้กว่า 6แสนล้านบาท
ทรัพย์สินรอการขาย(NPA)เพิ่มสูงขึ้น152,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 4ของทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ
ตราบใดที่ยังไม่มีความต้องการลงทุนจากภายนอกที่มากพอ ที่จะรองรับทรัพย์สินก้อนดังกล่าวได้
ธนาคารคงต้องเผชิญความเสี่ยง ของราคาที่อาจตกลงของสินทรัพย์รอการขายในอนาคตยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ อีก 2 ปีข้างหน้า ภาระการไถ่ ถอนสลิปส์ และแคปส์ ที่มีจำนวนรวมกันประ
มาณ 132,000 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันธนาคาร ต้องแบกรับต้นทุนสูงถึง 11% ซึ่งสูงกว่าระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ยปัจจุบันที่ประมาณ
2.2% มากยิ่งไปกว่านั้น ณ สิ้นปีมีนาคม 2545 ระบบธนาคารไทยยังมีผลขาดทุนสะสมอีกเกือบ
500,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารมีความจำเป็นที่จะ ต้องทยอยสะสาง เพราะการขาดทุนสะสมระดับดังกล่าว
ได้ขัดขวางให้ธนาคารไม่สามารถจ่ายเงินปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้นได้ แม้ว่าธนาคารจะมีกำไรจากผลประกอบการก็ตาม