ผู้จัดการรายวัน - ผู้บริหาร 'ทีเอ' ปฏิเสธข่าวยกเลิกการให้บริการโทรศัพท์พีซีที
ย้ำมีรายได้ปีละกว่า 3 พันล้านบาท และอัตราผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นยังร่วงต่ออีก
4.96% ลงมาปิดที่ระดับ 6.70 บาท เหตุจากนักลงทุนสถาบันทั้งในและ ต่างประเทศเทขายหุ้น
เพราะกลัวการแข่ง ขันธุรกิจมือถือที่รุนแรง ส่งให้ความสามารถในการสร้างกำไรมีน้อย
ขณะเดียวกันต้องแบกรับผลขาดทุนจาก FLAG บริษัทย่อยที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้
วานนี้ (6 มิถุนายน) ราคาหุ้นของบริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
หรือ TA ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดตลาดซื้อขายที่ราคา 7.05 บาทต่อหุ้น
และปรับตัว ลดลงไปต่ำสุดที่ 6.65 บาท ลดลง 5.67% ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นมาปิดการซื้อขายที่ราคา
6.70 บาท ลดลง 4.96% มูลค่าการ ซื้อขาย 46.26 ล้านบาท
ทั้งนี้ราคาหุ้นของ TA ได้ปรับลดลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่มีเรื่องของ FLAG อันเป็นบริษัทลูกเข้าสู่กระบวนการปรับโครง
สร้างหนี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้วิ่งเหนือระดับ 10 บาทต่อหุ้น แต่หลังจากเดือนมีนาคมเป็น
ต้นมา ราคาหุ้น TA ปรับลดลงเรื่อยมา ปัจจุบันเหนือราคา 6 บาทเพียงเล็กน้อย
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวให้ความเห็นว่า ราคาหุ้น TA ยังคงทรุดลงต่อเนื่อง
เพราะนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศมีคำสั่งขายอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมองว่าความสามารถในการทำรายได้และกำไรมีน้อย
อันเกิดจากการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจมือถือ รวมทั้งบริษัทยังต้องรับภาระการขาดทุนจากบริษัท
FLAG ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในต่างประเทศที่ขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
โดยการรับรู้การขาดทุนจากบริษัท FLAG นั้น จะเริ่มแสดงให้เห็นในผลประกอบการไตรมาสที่
2 ที่จะประกาศออกมา นอกจากนี้การที่บริษัทจดทะ-เบียนอื่นมีผลประกอบการที่ดีขึ้น
ความสามารถในการหารายได้และทำกำไรในอนาคตดีขึ้น นักลงทุนจึงเลือกที่จะขายหุ้น TA
และไปซื้อหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานและการปรับตัวดีขึ้นดังกล่าว
การที่หุ้นทีเอถูกขายมาต่อเนื่องส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจัยทางด้านเทคนิค และนอกจากนี้ยังมีข่าวลือในตลาดด้วยว่า
บริษัทจะเลิกการให้บริการโทรศัพท์พีซีทีเนื่อง จากไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
รวมทั้ง TA ยังมีบริษัทร่วมทุนคือบริษัททีเอ ออเร้นจ์ที่ทำธุรกิจมือถือด้วย แต่โดยส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ทีเอจะเลิกให้บริการโทรศัพท์พีซีที
เพราะบริษัทลงทุนไปค่อนข้างมาก และยังไม่สามารถหารายได้อย่างเต็มที่จากบริษัททีเอ
ออเร้นจ์เนื่องจากเพิ่งเปิดบริการมือถือ นักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าว
ด้านนายพิษณุ สันทรานันท์ รองผู้อำนวยการสายงานการคลัง บริษัท เทเลคอมเอเชีย
คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TA กล่าวถึง กระแสข่าวเกี่ยวกับการยกเลิกให้บริการโทรศัพท์พีซีทีของทีเอ
ว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความ จริงแต่อย่างใด เนื่องจากพีซีทียังทำรายได้ให้กับทีเอปีละกว่า
3,000 ล้านบาท โดยมีอัตราผู้ใช้บริการเพื่อขึ้นต่อเนื่อง
โดยในสิ้นปี 2543 มีผู้ใช้พีซีทีจำนวนประมาณ 3.8 แสนเลขหมาย ขณะที่สิ้นปี 2544
เพิ่มขึ้นอีก 2 แสนเลขหมาย หรือประมาณ 60% รวมทั้งสิ้นประมาณ 6.2 แสนดเลขหมาย ขณะที่ใน
4 เดือนแรกขอปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 5-6 หมื่นเลขหมาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักยังเป็นแม่บ้าน
นักศึกษา หรือผู้มีรายได้น้อย
ส่วนเลขหมายทีเอ ออร์เร้นจ์ ซึ่งเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 ในเครือทีเอ
มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น ณ สิ้นเดือนเม.ย.มีประมาณ 4 แสนเลขหมาย
นอกจากนี้พีซีที ยังได้มีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการพีซีทีอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้รับความสะดวกมากขึ้น ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัว
PCT รุ่นใหม่ล่าสุด AWC H-Series 1 พร้อมทั้งเปิดให้บริการ PCT Wireless Internet
ที่ความเร็ว 32 Kbps. อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนา-ยน 2545 ที่ผ่านมา
ส่วนประเด็นผลกระทบจากการปรับโครง สร้างหนี้ของ FLAG นั้น ผู้บริหารของ TA ออกมายืนยันว่า
ผลกระทบจากการเข้าสู่ขบวนการปรับโครงสร้างหนี้ของ FLAG ซึ่ง TA ถือหุ้นอยู่นั้น
จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทอย่างที่หลายฝ่ายกังวล แต่ในทางตรงกันข้าม TA
จะได้รับผลดีมากกว่า เนื่องจาก TA ได้มีหนัง สือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ลงวันที่ 25 เมษายน 2545 ซึ่งบริษัทฯ ได้ชี้แจงว่าจะบันทึกค่าเผื่อการลดมูลค่าของเงินลงทุนจำนวน
รวม 5,739 ล้านบาท ในงบกำไรขาดทุนงวดไตรมาสที่ 1 ปี 2545 นั้น จำนวนดังกล่าวจะลดลงเป็น
5,722 ล้านบาท
เนื่องจากผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2545 และจากการบันทึกกำไรจำนวน
944 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ปี 2545 ตามที่กล่าวข้างต้น จะทำให้ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนของบริษัทมีจำนวนลดลงเป็น
4,778 ล้านบาท
อีกทั้ง TA ยังได้สรุปรายการทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนใน FLAG ของบริษัทฯ
ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะเพิ่มขึ้นสุทธิจำนวนประมาณ
700 ล้านบาท จากค่าเผื่อการลดมูลค่าของเงินลงทุน ณ 31 มีนาคม 2545 และผลจากการยกเลิกสัญญา
SAILS ดังกล่าว
ขณะเดียวกัน TA ก็ต้องรับรู้กำไรถึง 944 ล้านบาท จากการสิ้นสุดสัญญา SAILS ขณะที่หนี้สินระยะยาวที่บันทึกไว้สำหรับสัญญา
SAILS จะยกเลิกนับจาก 30 เมษายน ซึ่ง TA จะบันทึก กำไรจากการขายหลักทรัพย์ด้วยจำนวนเดียว
กันในงบการเงินรวมบริษัทฯ ไตรมาส 2 ปี 2545
โดยทีเอบริษัทฯ มีหนังสือลงวันที่ 25 เมษายน ชี้แจงว่าจะบันทึกค่าเผื่อการลดมูลค่าเงินลงทุนรวม
5,739 ล้านบาทในงบกำไรขาดทุน งวดไตรมาส 1 ปี 2545 จำนวนดังกล่าวจะลดเป็น 5,722
ล้านบาท เนื่องจากผลจากการเปลี่ยน แปลงอัตราแลกเปลี่ยน ณ 31 มีนาคม และจากการบันทึกกำไร
944 ล้านบาทไตรมาส 2 ปี 2545 จะกระทบงบกำไรขาดทุนบริษัทลดลงเป็น 4,778 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานงวดไตร-มาสที่ 1 ของ TA ในปี 2545 ว่าบริษัทยังมีผลกำไรจากการดำเนินงานปกติ
165 ล้านบาท แต่ในภาพรวมผลประกอบการยังติดลบอยู่ 6,253 ล้านบาท โดยเป็นผลขาดทุนจากรายการพิเศษ
2 รายการ จำนวน 7,284 ล้านบาท และผลกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 857 ล้านบาท
ส่ง ผลให้ขาดทุนต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 0.65 บาทเป็น 2.54 บาทต่อหุ้นในปีนี้