Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2527
อำนวย วีรวรรณ กับทิศทางของธนาคารกรุงเทพจากนี้ไป ส่งเสริมการส่งออกคือหัวใจหลัก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Import-Export
แดน ชินสุภัคกุล
Banking and Finance
ธนาคารกรุงเทพ
อำนวย วีรวรรณ




ดร.อำนวย วีรวรรณ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ผู้จัดการ” ในวันที่ 18 มกราคม 2527 ในหลายเรื่องที่ธนาคารกรุงเทพกำลังดำเนินการอยู่ และจะดำเนินการต่อไปตามนโยบายหลักที่คณะกรรมการได้วางเอาไว้

ดร.อำนวย วีรวรรณ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ

- พูดถึงเหตุผลของการคุมสินเชื่อของธนาคารกรุงเทพ

- การเจริญเติบโตของธนาคาร

- เสถียรภาพและค่าเงินบาทใน 2527

- พูดถึงความใหญ่ของธนาคารกรุงเทพว่าไม่เสียหาย

- พูดถึงการส่งเสริมการส่งออกเป็นนโยบายหลัก

ผู้จัดการ: ธนาคารกรุงเทพปล่อยกู้มากกว่าเงินฝากที่มีอยู่

อำนวย: เป็นลักษณะปกติของธนาคารกรุงเทพ ได้ปล่อยสินเชื่อมากกว่าเงินฝากติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2518 ที่เป็นเช่นนี้เพราะธนาคารมีลูกค้าประเภทธุรกิจซึ่งต้องการสินเชื่อมากประการหนึ่ง และเพราะธนาคารมีสาขาอยู่ในต่างประเทศและมีความสัมพันธ์กับธนาคารในต่างประเทศมาก สามารถระดมกำลังเงินมาเสริมเงินฝากในประเทศได้อีกประการหนึ่ง

ผู้จัดการ: ธนาคารมีเงินฝาก 120,000 แต่ปล่อยกว่า 130,000 ล้าน

อำนวย: ครับ เป็นตัวเลขเงินฝากและสินเชื่อในประเทศเมื่อสิ้นปี 2526 ในงบดุลของธนาคารซึ่งเปิดเผยต่อสาธารณะเป็นปกติ

ผู้จัดการ: ถ้าทำมานานแล้ว ทำไมถึงมาเริ่มบีบทางสินเชื่ออย่างหนักในมกราคมนี้

อำนวย: การปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์หลายอย่าง และตามกฎหมายจะต้องมีสัดส่วนสัมพันธ์กับเงินกองทุนของธนาคาร ไม่ว่าจะสามารถระดมเงินฝากหรือเงินกู้จากต่างประเทศได้หรือไม่ก็ตาม

สำหรับกรณีของธนาคารกรุงเทพ ปรากฏว่าสินเชื่อในประเทศในปี 2526 ได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 38 ทำให้สินเชื่อของธนาคารมียอดสูงเกือบติดเพดานของกฎหมาย จึงมีความจำเป็นต้องขยายตัวช้าลง แต่ก็มิได้หมายความว่าจะระงับหรือตัดทอนสินเชื่อ เพราะการปล่อยสินเชื่อเป็นช่องทางทำมาหากินของธนาคาร ไม่มีธนาคารใดอยากจะชะลอการขยายตัวของสินเชื่อด้วยความสมัครใจ

นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดว่า มาตรการจำกัดสินเชื่อหลายอย่างของธนาคารแห่งประเทศไทยได้แก่ การจำกัดสินเชื่อ L/C เพื่อการนำเข้า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธปท. และการปรับลดสินเชื่อในตลาดขายพันธบัตรคืน น่าจะเป็นผลทำให้สินเชื่อของระบบธนาคารไทยพาณิชย์ไทยมีอัตราขยายตัวต่ำลงจากประมาณร้อยละ 35 ในปี 2526 เป็นประมาณร้อยละ 20 ในปีนี้

ผู้จัดการ: แสดงว่าอัตราการขยายตัวจะลดลง 15%

อำนวย: ความจริงอัตราขยายตัวร้อยละ 20 ทั้งปี ก็ไม่ใช่อัตราต่ำ เพราะถ้าดูย้อนหลังไปหลายๆ ปีก็จะเห็นว่าอัตราเติบโตของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยก็เฉลี่ยประมาณร้อยละ 20 อยู่แล้ว ต้องถือว่าปี 2526 มีลักษณะพิเศษ ไม่มีทางที่จะคงอัตราเติบโตนี้ไว้ตลอดไปได้

ผู้จัดการ: ปีที่แล้วขยาย 35% เพราะเหตุใด?

อำนวย: สินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ประการแรก เป็นเพราะในระยะต้นปี ธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูงมาก เงินฝากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศมีระดับลดลงมาก ประการที่สอง เศรษฐกิจเมื่อต้นปี 2526 เริ่มฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน ทำให้วงการธุรกิจเริ่มกล้าลงทุน และสั่งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา ความต้องการซื้อสินค้าของประชาชนในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะถูกกดมานาน เนื่องจากต้องคอยกันเงินไว้ใช้ในด้านพลังงาน จะเห็นว่าการนำเข้าและการขายสินค้าผู้บริโภคประเภทคงทนถาวรทำได้ดีมากเป็นพิเศษในระยะนี้ โดยเฉพาะรถยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมก่อสร้างก็มีการลงทุนขยายตัวกันมาก ด้วยเหตุนี้สินเชื่อรวมของระบบธนาคารจึงพุ่งทะยานเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

ผู้จัดการ: เมื่อเร็วๆ นี้ได้ข่าวว่ามีการประชุมผู้จัดการสาขาธนาคารกรุงเทพ เพื่อให้ปฏิบัติตามนโยบายบีบสินเชื่อใช่ไหมครับ?

อำนวย: อย่าเรียกว่าบีบสินเชื่อเลย เป็นการชี้แจงมาตรการชั่วคราวเพื่อให้การขยายตัวทางธุรกิจของธนาคารไม่เร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ทำได้ ทั้งนี้โดยระงับอำนาจการปล่อยสินเชื่อของผู้จัดการสาขาในระยะไตรมาสแรกเป็นการชั่วคราว โดยให้การปล่อยสินเชื่ออยู่ในอำนาจของสำนักงานใหญ่ในช่วงระยะนี้

ผู้จัดการ: มีเหตุผลอะไรครับ?

อำนวย: เพื่อประโยชน์ในด้านการควบคุมอัตราการขยายตัวเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันมิให้สินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มสูงกว่า 12.5 เท่าของเงินกองทุนตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อมีการเพิ่มเงินทุน ธนาคารในระยะต้นปี 2527 แล้ว ความจำเป็นในด้านนี้ก็คงจะหมดไป จะมีการมอบและกระจายอำนาจให้แก่สาขาได้ตามกฎเกณฑ์ปกติของธนาคาร นอกจากนี้การปล่อยสินเชื่อ L/C รายใหญ่ๆ เพื่อสั่งสินค้าเข้ามาในประเทศ ก็จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดเพราะธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารถูกกำหนดโควตาไม่ให้ปล่อย L/C สูงกว่ายอดที่เคยปล่อยในปีที่ผ่านมา

ผู้จัดการ: ได้ข่าวว่าลูกค้าธนาคารระดับเล็กกับกลางเดือดร้อนมาก เพราะเคยใช้เงินเกินวงได้เล็กน้อย ตอนนี้ถูกตัดหมด

อำนวย: ลูกค้าตามปกติจะมีสินเชื่อประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชีหรือ O/D การยืดหยุ่นเกินวงเงินไปบ้างนั้น มีกฎเกณฑ์ให้ทำได้อยู่แล้วด้วยดุลยพินิจของผู้จัดการสาขา แต่ควรมีลักษณะเป็นการชั่วคราวเท่านั้น การใช้วงเงินเกินบัญชีเป็นการถาวรได้ หรือเกินวงเงินได้มากๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ย่อมจะทำลายระบบควบคุม และเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของธนาคารรวมทั้งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของผู้ฝากเงินด้วย

ผู้จัดการ: มีข่าวว่า ธนาคารกรุงเทพไม่แคร์เท่าไหร่กับลูกค้ารายย่อย

อำนวย: ไม่จริงแน่นอน ธนาคารกรุงเทพกับลูกค้าทุกราย โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นตลาดใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ

ผู้จัดการ: มีความรู้สึกว่ามีการพยายามจำกัดการขยายตัวของธนาคารกรุงเทพ นับตั้งแต่มีรายงานของธนาคารโลกตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารกรุงเทพอาจจะใหญ่เกินไป ประกอบกับมาตรการหลายอย่างที่ออกมา ทำให้ดูเหมือนว่าจะพยายามคุมการโตของธนาคารกรุงเทพ

อำนวย: ผมไม่ทราบว่าผู้อื่นคิดอย่างไร แต่คณะผู้บริหารงานธนาคารกรุงเทพเห็นว่ามีความใหญ่ไม่ใช่เป็นเรื่องเสียหาย อยู่ที่การปฏิบัติตนมากกว่า ฉะนั้นนโยบายของธนาคารกรุงเทพจึงเป็นการแสดงออกในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และพยายามขยายตัวให้ทัดเทียมกับระบบธนาคารพาณิชย์เท่านั้น ไม่คิดก้าวร้าวหรือมีแผนไปยื้อแย่งธุรกิจของธนาคารอื่นใด

ผู้จัดการ: ถึงจะขยายตัวตามระบบ แต่อัตราส่วนการครองตลาดก็อาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยใช่ไหมครับ?

อำนวย: ถ้าเป็นไปตามเป้าหมาย อัตราส่วนการครองตลาดก็อยู่คงที่ แต่ถ้าธนาคารกรุงเทพขยายตัวตามเป้าหมาย แต่ผู้อื่นหลายๆ รายไม่สามารถทำได้ หรือทำได้เกินเป้าหมาย อัตราส่วนการครองตลาดของธนาคารกรุงเทพก็อาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ แต่ความจริง ความสำเร็จในการบริหารธนาคารไม่ได้อยู่มี่อัตราเติบโตหรืออัตราการครองตลาดเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การปรับปรุงอัตรากำไรในระยะยาวมากกว่าโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์และเงินกองทุนซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ถือหุ้นพึงต้องการ

ผู้จัดการ: ปีที่แล้ว ธนาคารกรุงเทพขาดทุนจากกิจการต่างประเทศที่อินโดนีเซียเพราะการลดค่าเงินรูเปียมากไหมครับ?

อำนวย: ไม่มากนัก เพราะสามารถตัดบัญชีได้ภายใน 2 ปี กิจการธนาคารในต่างประเทศนั้นมีปัญหาความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องบริหารงานด้านการเงินในลักษณะที่มีการสมดุล เช่นในกรณีของอินโดนีเซีย การปล่อยสินเชื่อก็ได้พยายามให้มีความสมดุลกับเงินฝากสกุลท้องถิ่นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉะนั้นโดยปกติเราจะพยายามให้เงินกู้แก่ลูกค้ารายใหญ่ในอินโดนีเซียเป็นเงินดอลลาร์ ซึ่งเป็นการขจัดภาระการเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยยอมรับดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ในกรณีที่ให้กู้เป็นเงินรูเปียก็อาจจะได้ดอกเบี้ยในอัตราสูง แต่ก็มีการเสี่ยงสูงเช่นกัน ซึ่งจำเป็นต้องชั่งใจเอา โดยคำนึงถึงภาวะการเงินของแต่ละประเทศ

ผู้จัดการ: ปีที่แล้ว (2526) ธนาคารกรุงเทพกำไรเท่าไร?

อำนวย: ก่อนภาษีประมาณสองพันหนึ่งร้อยกว่าล้าน ถ้าหลังภาษีประมาณพันสี่ร้อยล้าน หรือประมาณร้อยละ 15 ของเงินกองทุน

ผู้จัดการ: ปี 1983 คงเป็นปีที่ดีของธนาคาร

อำนวย: เป็นปีที่ดีที่สุดปีหนึ่ง ถ้าวัดจากความเติบโตและผลกำไร

ผู้จัดการ:1984 ล่ะครับ คาดคะเนว่าอย่างไร?

อำนวย: คาดคะเนยาก เพราะมีความผันผวนทางเศรษฐกิจมาก

ผู้จัดการ: คิดว่าปีนี้จะมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจหรือไม่

อำนวย: หวังว่ามีและควรจะมีการวางแผนบริหารงานของเรา ก็คาดคะเนว่าจะมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ผู้จัดการ: โดยส่วนตัวแล้วขอความเห็นเรื่องค่าเงินบาทหน่อยครับ

อำนวย: ค่าของเงินบาทมีความผูกพันอยู่กับสมรรถภาพในการส่งออกของเรา และขึ้นอยู่กับค่าเงินดอลลาร์ในตลาดโลก ถ้าดอลลาร์แข็งตัวขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นแรงกดดันทำให้เรามีปัญหาในการส่งออก และอาจกระทบถึงการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทได้ ถ้าดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนตัวลง และการส่งออกของไทยซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งในด้านราคาและปริมาณอยู่แล้ว ก็เชื่อว่าจะช่วยพยุงค่าเงินบาทไว้ได้ เพราะจะทำให้ปัญหาการค้าขาดดุลของเราผ่อนคลายลงไป อย่างไรก็ดี ความสำเร็จของประเทศในเรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาลและภาคเอกชนที่จะร่วมมือกันส่งเสริมและขยายสินค้าออกอย่างจริงจัง สร้างความสำนึกหรือ export consciousness ขึ้นมาในประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้ธนาคารกรุงเทพก็ได้กำหนดเป็นนโยบาย ที่จะขยายบริการในด้านการส่งออกและจะร่วมมือกับรัฐบาลและธุรกิจเอกชนในการรณรงค์ขยายการส่งออกและการหารายได้เงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้โดยแถลงเป็นนโยบายไว้ในรายงายประจำปี 2526 ของธนาคาร

ผู้จัดการ: ยกตัวอย่างได้ไหมครับ?

อำนวย: บริการที่จะให้มีทั้งบริการทางด้านสำรวจวิจัย หรือวิชาการ บริการธุรกิจในด้านสินเชื่อหรือการเงิน และบริการในด้านการติดต่อหาตลาด โดยระดมกำลังของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศไปในการนี้

ผู้จัดการ: ธนาคารกรุงเทพจะรับภาระค่าใช้จ่ายเองหมด?

อำนวย: เราต้องใช้งบประมาณก้อนหนึ่งเพื่อการนี้ แต่ก็ถือได้ว่า เรามีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ค่อนข้างพร้อมอยู่แล้ว การดำเนินงานตามโครงการส่งออก ก็จะต้องทำในลักษณะที่เป็นการร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้มีการปรึกษาหารือกับส่วยราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงพาณิชย์ด้วยแล้ว

ผู้จัดการ: อันนี้เป็นนโยบายเลยใช่ไหมครับ?

อำนวย: เป็นนโยบายที่มีการกำหนดแผนงานขึ้นมาสนับสนุนด้วย

ผู้จัดการ: ในด้านกำลังคนมีพร้อมหมดแล้วใช่ไหมครับ

อำนวย: เชื่อว่ากำลังคนของธนาคารในด้านนี้มีพร้อมอยู่ ถ้าขาดเหลือในบางด้านก็อาจจัดหาเพิ่มเติมมาได้

ผู้จัดการ: ก็คงต้องใช่งบพิเศษพอสมควรใช่ไหมครับ?

อำนวย: จะใช้ตามความจำเป็น ผมคิดว่าจะเป็นการปรับแผนงานธนาคารให้ไปเสริมและสร้างสรรค์กิจการส่งออก ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นประโยชน์ต่อธนาคารในด้านธุรกิจด้วย

ผู้จัดการ: มีรายอื่นไหมที่คิดจะทำแบบนี้ นอกจากธนาคารกรุงเทพ?

อำนวย: แผนรณรงค์ส่งออกนี้เป็นเรื่องที่ธุรกิจภาคเอกชนทุกด้านควรจะร่วมมือร่วมใจกันจัดทำ จึงหวังอยู่ว่าธุรกิจอื่นๆ หรือธนาคารอื่นๆ จะให้ความสนใจในกิจกรรมด้านนี้ และมีผลเป็นการสร้างความสำนึกหรือ export consciousness อย่างจริงจังขึ้นมาในประเทศไทย

ผู้จัดการ: สมมุติว่าจะมีธนาคารอื่นมาร่วมด้วย

อำนวย: ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง

ผู้จัดการ: มีการพูดกันหรือเปล่าครับ

อำนวย: ยังไม่ได้พูดกับธนาคารอื่น เพราะต้องการบุกเบิกโดยยอมรับภาระเองก่อน เมื่อเป็นประโยชน์ก็ยินดีที่จะชักชวนผู้อื่นเข้ามาร่วมมือ

ผู้จัดการ: แสดงว่าการขยายตัวและอัตรากำไรของธนาคาร ควรจะมีลักษณะสัมพันธ์กับการเจริญของชาติด้วย ทำให้เราต้องมองตลาดต่างประเทศเป็นหลักใช่ไหมครับ?

อำนวย: ต้องมองมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะความอยู่รอดและความเจริญของประเทศชาติในอนาคตจะต้องขึ้นอยู่กับสมรรถภาพในการแข่งขันอยู่ในตลาดต่างประเทศ จะหวังทำมาหากินอยู่แต่ในรั้วบ้านอย่างเดียวไม่ได้ ปัญหาการค้าขาดดุลถึงกว่า 89,000 ล้านบาท เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องสำนึกถึงเรื่องนี้

ผู้จัดการ: การส่งออกในที่นี้หมายถึงรายได้ทุกรูปแบบใช่ไหมครับ ทั้งแรงงาน ทั้งฝีมือ

อำนวย: ต้องรวมถึงรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศทั้งสิ้น รวมทั้งสินค้าและบริการ

ผู้จัดการ: แสดงว่าตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปนี่ ผู้ส่งออกจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากธนาคารกรุงเทพใช่ไหมครับ?

อำนวย: แน่นอน เราต้องศึกษาหากิจการธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีลู่ทางการส่งออกสูง และพยายามให้การสนับสนุนด้วยบริการของธนาคารอย่างเต็มที่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us