Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2527
ที่มาและเป้าหมายของโครงการ             
 


   
search resources

Computer
Knowledge and Theory




โครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนหรือนัยหนึ่งโครงการกำหนดหมายเลขและเก็บข้อมูลประวัติเบื้องต้นของประชาชนทั่วประเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์นี้ มีที่มาจากปัญหา 5 ประการ...ถ้าจะสรุปให้กระชับ คือ

1. การควบคุมประชาชนของประเทศ ในปัจจุบันประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่า 50 ล้านคนและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกประมาณปีละ 1.3 ล้าน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาที่ยุ่งยากแก่การควบคุมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่เป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่บุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือในลักษณะร่อนเร่ชั่วคราว ประชาชนเหล่านี้ยากแก่การพิสูจน์ ตรวจสอบ และควบคุม อันมีผลกระทบไปถึงปัญหาเรื่องความมั่นคงในที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นอยู่เองที่หน่วยงานรัฐผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องหาวิธีการที่สามารถพิสูจน์ตรวจสอบ และควบคุมประชาชนของประเทศไทยได้โดยทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

2. การพิสูจน์และตรวจสอบตัวบุคคล ปัจจุบันการจะตรวจสอบประวัติประชาชนคนใดคนหนึ่งทำได้ยากและต้องเสียเวลานาน เพราะจะต้องค้นหาประวัติของบุคคลนั้นๆ ยังสำนักทะเบียนที่บุคคลคนนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งมีกว่า 800 แห่ง หากไม่ทราบว่าบุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่เท่าไร สำนักทะเบียนไหนก็ไม่สามารถจะตรวจสอบได้เลย ทั้งๆ ที่เอกสารการทะเบียนราษฎรอย่างเช่นทะเบียนบ้าน เป็นเอกสารที่ใช้ในการพิสูจน์และรับรองรายการประวัติของบุคคลที่มีน้ำหนักมากที่สุด

3. การประมวลผลข้อมูลประชากร ข้อมูลและสถิติต่างๆ เกี่ยวกับทะเบียนราษฎรเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญอันหนึ่งในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การทหารและความมั่นคง ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานแต่ละด้านมีความต้องการข้อมูลที่ถูกต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่การประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ทางการทะเบียนราษฎรในขณะนี้ไม่สามารถกระทำได้ด้วยความถูกต้องรวดเร็วและเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เพราะข้อมูลของประชาชนมีจำนวนมาก อีกทั้งเก็บเป็นเอกสารที่กระจัดกระจายกันอยู่ตามสำนักทะเบียน แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยราชการหรือเอกชนได้จัดประมวลผลข้อมูลของประชาชนบางกลุ่มบางจำพวกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แต่ก็เป็นไปแบบต่างคนต่างทำและไม่ครอบคุลมถึงประชาชนทั่วประเทศ เท่ากับเป็นการดำเนินงานที่ซับซ้อนสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ ดังนั้นจำเป็นจะต้องจัดตั้งระบบบานข้อมูล (CENTRAL DATA BASE) เกี่ยวกับประวัติของประชาชนในทางทะเบียนราษฎรไว้ที่ศูนย์กลาง ซึ่งพร้อมจะขยายให้แก่หน่วยงานต่างๆ ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

4. การให้หมายเลขแก่ประชาชน เนื่องจากขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่ริเริ่มจัดทำระบบการให้หมายเลขประจำตัวแก่ประชาชนเพื่อสะดวกในการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดี แต่ละหน่วยงานก็มีวิธีการให้หมายเลขต่างๆ กันไปและก็ไม่ได้ครอบคุลมถึงประชาชนทั้งหมด ผลก็คือประชาชนคนหนึ่งกลับมีเลขประจำตัวหลายหมายเลข บัตรผู้เสียภาษีหมายเลขหนึ่ง บัตรประชาชนอีกหมายเลขหนึ่งอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นระบบมาตรฐานเดียวกันและทำให้เกิดความสับสนในการจดจำและใช้ นอกจากนี้ระบบสวัสดิการทางสังคมที่จะต้องมีในอนาคตก็จำเป็นจะต้องกำหนดหมายเลขสวัสดิการกันอีก จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องจัดตั้งระบบการให้หมายเลขแก่ประชาชนโดยทั่วถึงกันทั้งประเทศและให้ประชาชนแต่ละคนมีเลขประจำตัวเพียงเลขเดียว โดยให้เป็นเลขมาตรฐาน 13 หลักที่หน่วยงานต่างๆ จะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

5. ระบบงานทะเบียนราษฎร เอกสารทะเบียนราษฎรโดยเฉพาะอย่างยิ่งทะเบียนบ้าน เป็นเอกสารของทางราชการที่รับรองและแสดงสิทธิเบื้องต้นของการเป็นพลเมืองประเทศไทยและก็เป็นเอกสารที่หน่วยราชการทุกหน่วยยอมรับเพื่อใช้ประกอบการนิติกรรมสัญญา พิสูจน์ตัวบุคคล ปัจจุบันมีทะเบียนบ้านจำนวนมากกว่า 20 ล้านฉบับจัดแยกเก็บไว้ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ตำบล อำเภอ 800 แห่งทั่วประเทศ ดังนั้นเมื่อทะเบียนบ้านเกิดชำรุดสูญหายจึงยากแก่การคัดลอก รับรองรายการ นอกจากนี้ยังยุ่งยากแก่การตรวจสอบในกรณีเกิดการปลอมแปลงทุจริตเพราะไม่มีศูนย์กลางที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ ความจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์กลางก็เกิดขึ้น

การจัดทำโครงการดังกล่าวข้อมูลที่จะจัดเก็บไว้เป็นทะเบียนประวัติบุคคลและใช้เป็นประโยชน์ในการประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป แบ่งออกเป็น 7 รายการ คือรายการบุคคลทั่วไป รายการเกิด รายการตาย รายการบิดามารดา รายการที่อยู่และรายการย้ายที่อยู่ ซึ่งจะมีขั้นตอนการดำเนินงานจัดเก็บทำบัตรและประมวลผลดังนี้

- เตรียมสถานที่และจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์

- กำหนดระเบียบการปฏิบัติของศูนย์ฯ

- จัดสรรบุคลากรภายในศูนย์ฯ

- บันทึกข้อมูลเพื่อเตรียมไว้ใช้ในการทำบัตรประจำตัวประชาชนและการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

- จัดแฟ้มประวัติของบุคคลเก็บไว้ในคลังข้อมูลหลัก

- ตรวจสอบค้นหาประวัติบุคคลและประมวลผลข้อมูลราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์

- รับรองรายการประวัติบุคคลและออกรายงานสถิติราษฎรตามที่หน่วยงานต่างๆ และเอกชนต้องการได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

- พิมพ์บัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 6 ปี โดยได้รับงบประมาณไว้ใช้จ่ายทั้งสิ้น 490,092,895.00 บาท และหน่วยงานที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการก็คือกรมการปกครองด้วยความร่วมมือจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us