|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2527
|
|
เคยมีใครบางคนกล่าวไว้ว่าถ้าหากมนุษย์ลิงมีเครื่องพิมพ์ดีดและมีเวลามากพอ เขาจะสามารถสร้างผลงานเลียนแบบเช็คสเปียร์ได้ ดังนั้นสำหรับฮิวเลตต์-แพ็คการ์ด ฉันใดฉันนั้น แผนการที่วางไว้เป็นระยะเวลานาน 5 ปีของเขาเพื่อเข้าสู่ธุรกิจไมโครคอมพิวเตอร์ด้วยโมเดล HP 150 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่สิ่งที่ทำให้รุ่นนี้เด่นก็เพราะมันคือ “จอภาพที่ไวต่อการสัมผัส” ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่ได้จากการใช้เพียงปลายนิ้วเท่านั้น
มันเป็นการประดิษฐ์ที่ท้าทายธุรกิจคอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์แบบส่วนบุคคล (Personal Computer) ของ IBM และลิซ่า (LISA) ของแอปเปิล (APPLE) ถ้าหากว่าจอภาพเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการโปรแกรมเครื่อง อีกไม่นานไมโครคอมพิวเตอร์ก็คงต้องแข่งขันกันดุเดือดขึ้นแน่
หลังจากที่ฮิวเลตต์-แพ็คการ์ดได้ใช้เวลา 15 เดือนในการพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นนี้พร้อมกับคำนวณว่าบริษัทฯ ได้นำหน้าคู่แข่งไปแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์รุ่นนี้จะใช้รหัสว่า “สัมผัสมหัศจรรย์” (MAGIC TOUCH) แต่ว่าในเชิงเทคโนโลยีมันไม่ใช่เช่นนั้นเพราะความจริงก็คือ มันใช้ระบบการติดต่อทางฟิสิกส์โดยแทนที่จอภาพจะใช้ได้โดยเรืองแสง (LIGHT-EMITTING DIODES-LED) ซึ่งจะสร้างภาพสัญญาณไฟฟ้าให้ปรากฏบนจอภาพโดยลำแสงที่มองไม่เห็นจะสร้างภาพขึ้นมานั้น มันจะใช้วิธีที่เครื่องจะตอบสนองเมื่อสัญญาณถูกทำให้ขาดตอนที่จุดนั้น
ระบบนี้จะป้อนโปรแกรมซอฟต์แวร์โดยวิธีเดียวกันกับเครื่องลิซ่า คือใช้แผ่นหรือภาพ ข้อแตกต่างคือไม่ต้องใช้เมาส์ (Mouse) อย่างเช่น การสร้างกราฟ เราจะสามารถระบายสีได้โดยใช้นิ้วทาหรือใช้ดินสอก็ได้ลงไปบนที่ต้องการ หรือการหาข้อมูลก็สามารถค้นได้โดยใช้นิ้วค้นหาข้อมูลรายการที่ปรากฏบนจอโปรแกรม ข้อมูลที่สร้างภาพตามแบบของโรโลแด็กซ์ (ROLODEX CARD FILE) จะปรากฏขึ้นบนจอภาพและจะค่อยๆ เลื่อนขึ้นจากด้านล่างของจอภาพจนกระทั่งพบชื่อที่คุณต้องการ คุณก็เพียงแต่ชี้ไปที่ชื่อนั้นแล้วข้อมูลทุกอย่างก็จะปรากฏขึ้นมา ดังนั้นแป้นพิมพ์จึงแทบไม่ต้องใช้เลย
ตัวเครื่องพิมพ์จะมีความเร็วสูงมาก นอกจากนี้ก็ยังมีโปรแกรมสำเร็จรูปอย่างเช่น VISCALC และ WORDSTAR ไว้ให้เลือกอีกด้วยและมีโปรแกรมอื่นๆ อีกกว่า 30 โปแกรมที่สามารถนำมาใช้กับเครื่องรุ่นนี้ได้ รวมทั้งโปรแกรม LOTUS 1-2-3 ที่กำลังขายดีอีกด้วย ระบบจะทำงานภายใต้ MS-DOS 2.0 ดังนั้นจึงสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้มากมาย (แม้ว่าจะไม่ใช่แบบสัมผัสก็ตาม) นอกจากนี้คุณยังใช้มันสำหรับให้คำแนะนำหรือเมื่อมีความรู้สึกยุ่งเหยิงเพราะมันจะให้คำตอบที่เข้าท่ากับคุณได้
ราคาของเครื่องที่มีสองดิสก์ไดร์ฟจะขายเพียงประมาณสี่พันเหรียญ ซึ่งถูกกว่าเครื่องของ IBM มาก และถูกเป็นครึ่งหนึ่งของลิซ่า นอกจากนี้จากหน่วยความจำ 256 กิโลไบต์ (KILOBYTES) นั้นยังสามารถเพิ่มขึ้นไปได้ถึง 640 มันมีหน่วยเข้าของข้อมูล 3 หน่วย และสามารถต่อกับเครื่องของ IBM และตัวเครื่องใหญ่และมินิของ HP ได้เช่นกัน
แต่ฮิวเลตต์-แพ็คการ์ด วางแผนที่จะไม่ขยายขนาดเครื่อง (เครื่องใช้ชิปแบบ INTEL 8086 16 bit) เพราะต้องการให้สะดวกต่อการโยกย้าย ขนาดของเครื่องรวมทั้งแท่นพิมพ์ซึ่งประกอบเข้ากับตัวแสดงภาพที่จะใช้เนื้อที่เพียง 1.7 ตารางฟุตของพื้นที่โต๊ะ ใช้ดิสเก็ตขนาด 3 นิ้วครึ่งแทนขนาดห้านิ้วครึ่ง ซึ่งเป็นขนาดที่ใช้ในเครื่องไมโครทั่วๆ ไป นอกจากนี้ก็มีจอภาพขนาดเก้านิ้วแทนที่จะเป็นแบบ 12 นิ้วโดยทั่วไป
เครื่องรุ่นนี้จะสามารถติดตั้งได้กับมุมของโต๊ะทุกประเภทซึ่งลดความต้องการพื้นที่ ต้องเพิ่มเฟอร์นิเจอร์เพื่อวางเครื่อง และแน่นอน ผู้บริหารส่วนใหญ่จะพอใจกับสิ่งที่ “เล็กกว่า” มากกว่า “เล็ก” ถ้าหากเป็นไปตามที่คิด IBM คงต้องเจอคู่แข่งที่น่ากลัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
|
|
|
|
|