Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2527
การพยากรณ์การขายด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PERSONAL COMPUTER-BASED FORECASTING MODEL)             
โดย สุรเดช มุขยางกูร
 


   
search resources

Computer
Knowledge and Theory




ในแวดวงอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมนั้น ถ้าฝ่ายจัดการของกิจการใดสามารถคาดคะเนความต้องการของตลาดได้อย่างแม่นยำแล้ว กิจการนั้นๆ จะต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

แต่เดิมนั้น ผู้บริหารหรือฝ่ายการจัดการอาจอาศัยความรู้สึกส่วนตัวประกอบกับโชคลางในการคาดคะเนหรือพยากรณ์การขายสินค้า แต่เมื่อโลกวิวัฒนาการไป ธุรกิจต่างก็แข่งขันกันมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารต้องแสวงหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมกับกิจการของตนเข้ามาช่วยประกอบการตัดสินใจ

ในที่นี้ขอเน้นถึงประสิทธิภาพและความเหมาะสมคู่กันไป ดังเช่น สุภาษิตที่กล่าวว่าขี่ช้างจับตั๊กแตนในวงการธุรกิจนี้ ผู้บริหารมักจะต้องพิจารณาทั้งประสิทธิภาพและต้นทุน (COST EFFECTIVENESS) ควบคู่กันไป

นับเป็นโชคดีของคนในทศวรรษนี้ เพราะผลพวงของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสารกึ่งตัวนำ (SEMI CONDUCTOR) ทำให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้เกิดขึ้น และราคาถูกพอที่กิจการต่างๆ สามารถซื้อหามาเป็นของตนเองได้ ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลบางเครื่อง มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในทศวรรษก่อนๆ

การพยากรณ์การขาย (SALES FORECAST) คือขบวนการทางสถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลการขาย หรือปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบถึงความต้องการของสินค้า การพยากรณ์การขายจะเป็นการลดความเสี่ยงให้แก่เจ้าของกิจการ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจลงทุนหรือวางแผนการผลิต

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการพยากรณ์การขายนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่เฉพาะแต่กิจการที่ดำเนินธุรกิจด้านการตลาดอย่างเดียว แม้แต่กิจการอุตสาหกรรมก็จำเป็นต้องใช้พยากรณ์การขายเช่นกัน

ผลจากการพยากรณ์การขายจะเป็นตัวกำหนดปริมาณการผลิต

ในรูปที่ 1 แสดงขั้นตอนการวางแผนการผลิตอย่างย่อ จะเห็นได้ว่าการพยากรณ์การขายนั้นเป็นจุดเริ่มต้น ถ้าการพยากรณ์มีความแม่นยำเพียงใด ผลการดำเนินงานทั้งหมดก็จะเป็นไปอย่างดีที่สุด (OPTIMAL OPERATION)

เทคนิคในการพยากรณ์การขายมีมากมาย อาทิ :-

1.การพยากรณ์ในเชิงคุณภาพ (QUALITATIVE TECHNIQUE) คือการพยากรณ์ที่มิได้อาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์เข้าช่วย ส่วนใหญ่จะเป็นการพิจารณาจากยอดขายโดยใช้ประสบการณ์ของผู้บริหารการตลาด (MARKETING MANAGEMENT) หรือการวิจัยตลาด (MARKET RESEARCH) เป็นต้น วิธีการนี้เหมาะสมกับการพยากรณ์สินค้าที่เพิ่งเข้าสู่ตลาด หรือยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการขายเพียงพอ

2.การพยากรณ์ในเชิงปริมาณ (QUANTITATIVE TECHNIQUE) คือการพยากรณ์ที่ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติเข้าช่วย เทคนิคนี้ยังแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการคือ

2.1 TIME SERIES MODEL เป็นวิธีการทางสถิติที่ต้องอาศัยข้อมูลด้านการขายในอดีตพอสมควร และสามารถวิจัยผลการแปรเปลี่ยนตามฤดูกาลได้ (SEASONAL VARIATION)

2.2 CAUSAL MODEL เป็นวิธีการที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์อย่างละเอียด โดยพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการขาย เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (ECONOMICE FACTORS) วิธีการนี้ต้องใช้เงินลงทุนและเวลาในการพัฒนาระบบค่อนข้างมากกว่าวิธีอื่นๆ

การเลือกเทคนิคการพยากรณ์การขายต้องพิจารณาลักษณะของกิจการ สินค้า จนถึงความแม่นยำที่ต้องการ และการลงทุนในการพัฒนาการขาย ในเรื่องของความแม่นยำ (ACCURACY) นั้นขึ้นอยู่กับระยะที่หวังผลด้วย กล่าวคือ บางวิธีการอาจได้ผลดีกับการพยากรณ์ในระยะสั้น แต่ความแม่นยำอาจลดลงสำหรับการพยากรณ์ในระยะที่นานขึ้น

ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงการพยากรณ์แบบ TIME SERIES ซึ่งจะได้ผลดีในการพยากรณ์ระยะสั้น และระยะปานกลาง ปัจจุบันนี้หลายกิจการด้วยกันที่นิยมใช้การพยากรณ์การขายแบบนี้และยิ่งสามารถใช้งานได้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PERSONAL COMPUTER) ยิ่งทำให้นักบริหารการตลาดสามารถรับผลประโยชน์จากการพยากรณ์การขายยิ่งขึ้น

ระบบพยากรณ์การขายโดยใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ ประกอบด้วยระบบย่อยภายในอีก 4 ระบบ ซึ่งแต่ละระบบก็เป็นระยะพยากรณ์แบบ TIME SERIES แต่วิธีการต่างกันดังนี้คือ.-

1). ระบบ WINTERS

2). ระบบ ADDITIVE DECOMPOSITION

3). ระบบMULTIPLICATIVE DECOMPOSITION

4). ระบบ TRIGONOMETRIC

โดยทั่วไป การพยากรณ์การขายนั้นมักเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งผู้เลือกพิจารณาแล้วว่าความแม่นยำดีกว่าวิธีการอื่นๆ แต่ความแม่นยำอาจลดลงได้เมื่อข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลที่ได้จากการพยากรณ์ขาดความเชื่อถือไปได้

ดังนั้นจุดประสงค์ของระบบพยากรณ์ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ ก็เพื่อที่จะให้ระบบนี้เป็นระบบที่สมบรูณ์ จึงได้รวบรวมระบบพยากรณ์ย่อยที่ใช้เทคนิคที่ได้เลือกสรรแล้วมารวมกัน และระบบก็จะช่วยเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับข้อมูลในขณะใดๆ โดยอาศัยหลักการของสัญญาณเตือน (TRACKING SIGNAL)

หลักการของสัญญาณเตือนมีได้หลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพิจารณาจาก ความเบี่ยงเบนของผลการพยากรณ์กับค่าจริง

หลักการของระบบพยากรณ์นี้ ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบ INTERACTIVE ซึ่งผู้ใช้สามารถติดต่อกับเครื่องได้โดยตรง ทั้งการแก้ข้อมูล การเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ได้ตามต้องการ ตลอดจนสามารถทราบผลได้ทันทีทันใด ทำให้ระบบงานคล่องตัวมากขึ้น

เมื่อผู้ใช้ใส่ข้อมูลด้านการขายในอดีตเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 75% ของข้อมูลนี้จะถูกใช้ไปในการกำหนดค่าต่างๆ ในระบบการพยากรณ์แต่ละระบบ (ตามที่ได้กล่าวมาแล้วมีทั้งหมด 4 ระบบ) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็จะทดลองพยากรณ์ยอดขายในช่วง 25% ที่เหลือและคำนวณหาสัญญาณเตือนภัย (TRACKING SIGNAL) ของทุกระบบพยากรณ์ย่อย เมื่อเปรียบเทียบสัญญาณเตือนภัยทั้ง 4 ระบบแล้วคอมพิวเตอร์ก็สามารถเลือกได้ว่า ระบบย่อยใดมีความเหมาะสมที่สุด จากนั้นก็จะแสดงผลการพยากรณ์ยอดขายในช่วงเวลาที่ผู้ใช้ต้องการอาจจะเป็น 6 หรือ 12 เดือนข้างหน้า เป็นต้น

หลักการตามที่กล่าวมานี้แสดงไว้ในรูปที่ 2

การพยากรณ์การขายโดยใช้คอมพิวเตอร์มิใช่เรื่องใหม่ แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีราคาค่อนข้างแพง และระบบการทำงานค่อนข้างยุ่งยากเกินไปสำหรับกิจการขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็กทำให้หลายกิจการไม่สามารถใช้งานได้ แต่ปัจจุบันด้วยเงินลงทุนไม่มากนักสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ท่านก็สามารถพัฒนาระบบการพยากรณ์การขายที่มีประสิทธิภาพได้ เพียงแค่งานนี้งานเดียวก็คุ้มแล้วสำหรับการลงทุน แต่มิใช่ว่าท่านจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนี้เพียงแค่การพยากรณ์การขาย ท่านอาจพัฒนาระบบงานอื่นๆ ขึ้นมาได้อีกมากมาย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us