Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2527
เก๋ไปอีกแบบ ไทยพาณิชย์ “มีท เดอะ เพรส”             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย
โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
กระทรวงการคลัง
บรรณวิทย์ บุญรัตน์
ประจิตร ยศสุนทร
โอฬาร ไชยประวัติ
ชฎา วัฒนศิริธรรม, คุณหญิง
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
Banking and Finance




ปกติของการทำข่าว (ก็ของนักข่าวนั่นแหละ) สายการเงิน-การคลังแล้ว แวดวงของสายข่าวก็มักจะเวียนว่ายอยู่ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับกระทรวงการคลัง เมื่อมองในแง่ของภาคราชการ

ส่วนภาคเอกชนก็เห็นจะไม่แคล้วบรรดาผู้บริหารสถาบันการเงินระดับหัวแถว อันหมายรวมถึงผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ด้วย

และเพราะเช่นนี้แหละที่ผู้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ในบ้านเรา ล้วนต้องเคยอ่านผ่านทัศนะของประจิตร ยศสุนทร กรรมการผู้จัดการไทยพาณิชย์ หรือไม่ก็ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ กรรมการรองผู้จัดการ, ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการหรือแม้แต่ทัศนะของ ชฎา วัฒนศิริธรรม ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและวางแผนคนนั้น นอกเหนือจากกลุ่มผู้บริหารของธนาคารอื่นๆ ซึ่งเมื่อลองประมวลโดยคร่าวๆ แล้วก็จะมีธนาคารกรุงเทพ กับธนาคารกสิกรไทยติดอันดับต้นๆ ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าไทยพาณิชย์

การแสดงทัศนะและให้ข้อมูลข่าวสารของกลุ่มผู้บริหารในแวดวงเงินๆ ทองๆ หลายสำนักนี้ ว่าที่จริงแล้วด้านหนึ่งเท่ากับเป็นการให้ข้อมูลที่รอบด้านขึ้นเมื่อนำมาเทียบเคียงกับความเห็นของภาคราชการ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็คงไม่มีใครปฏิเสธว่า มีการประชาสัมพันธ์ไปพร้อมด้วยเสร็จในตัว ถ้าจะหมายถึงการประชาสัมพันธ์ในเชิงสถาบันมิใช่ความอยากเด่นดังส่วนตัว เพราะสถาบันเป็นอย่างไรก็มักจะวัดได้จากทัศนะของผู้กุมบังเหียนนี่แหละ

เพราะฉะนั้นหากจะกล่าวให้ลึกลงไปอีกนิด การพบปะให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชนก็เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่ผู้บริหารแต่ละสำนักต้องประสานงานอย่างเกาะติดกับผู้ที่ทำหน้าที่ด้านประชาสัมพันธ์ขององค์กรทีเดียว

ขอยกตัวอย่างรายการ “มีท เดอะ เพรส” ของไทยพาณิชย์เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ก็แล้วกัน รายการนี้ถูกจัดขึ้นที่ห้องรับรองบนชั้นที่ 12 ของอาคารสำนักงานใหญ่ในช่วงบ่ายแก่ๆ นัยว่าเพื่อเป็นการแนะนำตัวผู้บริหารทุกๆ ท่าน และแถลงถึงโครงการดำเนินงานในปี 2527 พร้อมไปด้วย

นักข่าวคนไหนที่เคยไปฟังการแถลงข่าวมาก่อน เมื่อย่างเท้าก้าวเข้าไปในห้องรับรองก็คงรู้สึกสงสัยอยู่ครามครันว่าไฉนห้องจึงถูกจัดเป็นโต๊ะเก้าอี้ที่ไปเหมือนกับห้องอาหารห้องหนึ่ง ไม่มีโต๊ะประธาน ไม่มีเครื่องขยายเสียง ยังคงมีหน้าตาของานแถลงข่าวครบก็ตรงมีน้ำชากาแฟไว้บริการ ไม่มีขาดตกบกพร่อง

“ขอแจ้งให้ทราบด้วยนะคะ ว่าการแถลงข่าวของเราครั้งนี้จะไม่เป็นทางการอย่างที่หลายๆ แห่งเขาทำกัน ผู้บริหารของเราทุกคนที่จะมาพบขอให้ทุกคนทำตัวเป็นกันเอง ใครอยากคุยปัญหาอะไรกับผู้บริหารคนไหนเชิญตามสะดวกค่ะ...” ทุกคนถึงบางอ้อ...ก็เมื่อสุภาพสตรีผู้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ช่วยอธิบายออกมาดังๆ นั่นแหละ

ชั่วอึดใจผู้บริหารก็ค่อยๆ ทยอยเข้ามาในห้องรับรองทีละท่านสองท่าน เริ่มต้นจากท่านแรกซึ่งคุ้นหูคุ้นตานักข่าวน้อยหน่อยคือ ประกิต ประทีปะเสน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่แล้วก็ตามมาติดๆ โดย ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการอีกท่านหนึ่งซึ่งดูเหมือนกว่าจะเดินพ้นประตูเข้ามาได้ก็แทบทุลักทุเลเต็มที เพราะกลุ่มนักข่าวตั้งกำแพงคำถามกันเป็นชั้นๆ

จากนั้นก็เป็นบรรณวิทย์ บุญยรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์ คนนี้พกทั้งโครงการใหม่ที่จะแถลงให้ทราบเกี่ยวกับแผนงานด้านคอมพิวเตอร์ของธนาคารในช่วงปี 2527 และคำตอบอีกไม่น้อยสำหรับข้อสงสัยของนักข่าวผู้ติดตามความเคลื่อนไหวด้านอิเล็กทรอนิกส์แบงกิ้ง

แล้วก็มาถึงผู้ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในรายการวันนั้น...ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่...จนอีกหลายสิบนาทีต่อมา ประจิตร ยศสุนทร กรรมการผู้จัดการจึงค่อยๆ ก้าวเข้ามาในห้องและปิดท้ายด้วย ชฎา วัฒนศิริธรรม

“พอดีบางท่านติดงานด่วนค่ะ เลยต้องค่อยๆ ทยอยขึ้นมาพบ...” ประชาสัมพันธ์กระซิบบอกนักข่าวขี้สงสัย

นอกจากประเด็นสำคัญที่รวบรวมจากการพูดคุยบ้างแถลงบ้าง อันได้แก่ เรื่องมาตรการล่าสุดที่ธนาคารชาติขอให้ทุกแบงก์อย่าได้ขยายสินเชื่อเกิน 18 เปอร์เซ็นต์ตลอดปี 2527 นี้ และขอให้แบ่งเป็น 9 เปอร์เซ็นต์ ทุกๆ 6 เดือน เรื่องการแตกหุ้นรายย่อยให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ก่อนวันที่ 8 มีนาคม 2527 ซึ่งกระทรวงการคลังขีดเส้นตายไว้และตัวธารินทร์เองกล่าวว่า ไทยพาณิชย์คงไม่สามารถปฏิบัติได้ทัน และเรื่องแผนงานใหม่ๆ ในระยะใกล้ๆ โดยเฉพาะแผนงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งรายละเอียดคงได้อ่านผ่านตาไปบ้างแล้วจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ (เพราะวันนั้นก็คงมีไปเกือบทุกฉบับนับรวมนักข่าวแล้วไม่ต่ำกว่า 40 คน) นอกจากข่าวสารที่ได้รับติดไม้ติดมือกลับมาแล้ว นักข่าวหลายคนยังช่วยกันโหวตอีกว่า มาตรการแถลงข่าวครั้งนี้ เฉียบอยู่ไม่น้อย...

วิเคราะห์ให้ดีแล้ว ก็จะพบว่า การเปิดให้มีการพบปะแสดงความเห็นเป็นกลุ่มๆ อย่างนี้ ช่วยให้นักข่าวบ้านเราซึ่งมักนิยมคุยเป็นการเฉพาะ ไม่นิยมถามคำถามอย่างเป็นทางการ หรือฟังคำตอบอย่างเป็นทางการสบายใจโดยถ้วนหน้า อีกทั้งยังสามารถแถลงได้หลายเรื่องหรือตอบคำถามได้หลายปัญหา แทนที่หากจัดอย่างเป็นทางการแล้ก็จะตอบได้จำกัดปัญหาและจำกัดตัวผู้ตอบกว่ากันมาก

“แล้วผมว่า มันกันเอง ไม่เครียด ปัญหาไหนที่เรากลัวเชย ไม่กล้าถาม มาคุยกันอย่างนี้ถามได้สบายมาก” นักข่าวหนุ่มคนหนึ่งช่วยสรุป

ก็ขอผ่านความดีความชอบนี้ไปที่ฝ่ายบริหารทุกท่านของไทยพาณิชย์รวมทั้งฝ่าย พี.อาร์.ด้วยก็แล้วกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us