Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2527
พนักงานดีๆ องค์กรจะรักษาไว้ได้อย่างไร?             
โดย ชัยทวี เสนะวงศ์
 


   
search resources

Knowledge and Theory




องค์กรใดๆ ก็ตาม ที่มีอัตราการเข้าออกงานสูงๆ จะเปรียบเสมือนหนึ่งว่าองค์กรนั้นๆ กำลังเจ็บป่วยอยู่ ซึ่งถ้ารุนแรงมากๆ ก็ย่อมจะไม่สามารถดำเนินกิจการแข่งขันกับคนอื่นๆ ได้

การเข้าออกจากงานจะเป็นการทำลายความสามัคคีของพนักงานภายในองค์กร และองค์กรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งในการสรรหาบุคลากรมาทดแทน

เมื่อได้มาแล้วก็ต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเพื่อให้ผู้มาใหม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ในทางตรงกันข้ามองค์กรที่มีอัตราการเข้าออกจากงานต่ำๆ ก็มิได้แสดงว่าองค์กรนั้นๆ ไม่มีปัญหา

การมีอัตราการเข้าออกจากงานต่ำๆ อาจจะสะท้อนให้เห็นปัญหาได้ว่าองค์กรนั้นเต็มไปด้วยพวก “deadwood” หรือองค์กรมีระบบค่าตอบแทนที่จ่ายเกินกว่าที่ควรจะจ่าย (overpay) ไป หรือองค์การนั้นขาดผู้บริหารระดับกลางที่มีความสามารถ เป็นต้น

เนื่องจากการเข้าออกจากงานของพนักงานจะมีส่วนในการทำลายบรรยากาศที่ดีขององค์กรได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่บรรดาผู้บริหารทั้งหลายจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดในการจะป้องกันมิให้เสียพนักงานที่ดีๆ ไป ซึ่งก็จะมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลายอย่างด้วยกัน คือ:-

1. ทบทวนนโยบายการว่าจ้าง

สิ่งแรกที่จะป้องกันและควบคุมการเข้าออกจากงานก็คือนโยบายการว่าจ้างของแต่ละองค์กรซึ่งมีข้อที่จะต้องพิจารณา คือ:-

…ตัดสินใจเสียก่อนว่าองค์กรต้องการคนประเภทไหน?

เมื่อมีตำแหน่งงานว่าง ควรตัดสินใจให้แน่เสียก่อนว่างานนั้นๆ ต้องการคนในลักษณะไหน?

มีความสามารถด้านใดบ้าง?

มีบุคลิกลักษณะอย่างไรบ้าง?

เพราะแต่ละองค์กรก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไป และต้องการพนักงานที่มีลักษณะพิเศษบางอย่างคล้ายๆ กัน

…เปิดเผยและตรงไปตรงมา

ในระหว่างสัมภาษณ์ควรให้ข้อมูลที่เปิดเผยและตรงไปตรงมาแก่ผู้มาสมัคร ทั้งในแง่ของนโยบายบริษัท ลักษณะงาน โอกาสในความก้าวหน้า และสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น พนักงานใหม่จะได้เกิดความรู้สึกว่าองค์กรมีความจริงใจต่อเขา

…คัดเลือกจากผู้สมัครที่พนักงานภายในองค์กรแนะนำมา

จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นพบว่าการว่าจ้างพนักงานที่ได้รับการแนะนำมาจากพนักงานขององค์กรเอง บุคคลเหล่านี้จะอยู่องค์กรนานกว่าพนักงานที่เข้ามาโดยไม่มีใครแนะนำ แต่ในกรณีนี้จะต้องคำนึงไว้เสมอว่าผู้สมัครนั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามตำแหน่งที่กำลังทำการคัดเลือก และผ่านการทดสอบตามขั้นตอนปกติทุกประการ

…ว่าจ้างพนักงานที่ออกไปแล้ว

ในกรณีที่พนักงานลาออกไปโดยไม่มีปัญหาใดๆ เช่น ลาออกไปศึกษาต่อ หรือนิสิตฝึกงานต่างๆ เป็นต้น ถ้าบุคคลเหล่านี้กลับเข้ามาสมัครงานกับองค์กรใหม่ ถ้าผลงานในอดีตของเขาอยู่ในเกณฑ์ดี และการลาออกของเขาไม่มีปัญหาจริงๆ ก็ควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ เพราะบุคคลเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะอยู่กับองค์กรนานๆ

…อย่าจ้างคนที่มีคุณสมบัติสูงกว่าลักษณะงาน

ต้องแน่ใจว่าบุคลากรที่จะรับเข้ามาใหม่นั้นมีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ เพราะคนเราจะเกิดความรู้สึกเบื่อเมื่อต้องทำอะไรที่ใช้ความพยายามหรือความสามารถไม่เต็มที่

…ให้ความสนใจเป็นพิเศษสำหรับพนักงานใหม่

ทั้งในแง่ของการปฐมนิเทศ การสอนงาน การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ถ้าพบว่ามีอะไรผิดปกติควรจะรีบแก้ไขโดยทันที

…ทำสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน

ในกรณีที่มีงานระยะสั้นๆ หรืองานชั่วคราว การว่าจ้างในลักษณะของการทำสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนจะตัดปัญหาไปได้บ้าง

2. สร้างความรู้สึกว่าพนักงานก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

ถ้าพนักงานได้รับการปฏิบัติที่ดีจากองค์กรเขาก็จะรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร จะทำให้เขาเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร ซึ่งการที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกเช่นนี้ขึ้นได้นั้น ควรให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้ คือ:-

…ให้รางวัลพิเศษสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานดีเด่น

พนักงานคนใดที่มีความสามารถมากๆ ปฏิบัติงานดี ควรให้รางวัลตอบแทนเป็นพิเศษซึ่งอาจจะเป็นทั้งในรูปของรางวัลที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เช่น ปรับค่าจ้างให้เป็นพิเศษ ให้คำชมเชยเมื่อพนักงานทำงานดี เป็นต้น

…เลื่อนตำแหน่งจากคนภายใน

วิธีการนี้หลายองค์กรใช้แล้วประสบความสำเร็จ สามารถลดอัตราการออกจากงานได้มาก โดยเฉพาะองค์กรที่ใช้วิธีการบริหารงานระบบญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในวิธีการนี้เป็นพิเศษ

…มีการติดต่อสื่อสารแบบเปิด

เมื่อพนักงานมีปัญหาก็ต้องการคำตอบ ถ้าองค์กรเปิดโอกาสให้เขาได้ถามและตอบคำถามของเขา พนักงานจะเกิดความรู้สึกว่าเขามีที่พึ่ง การติดต่อสื่อสารแบบเปิดจะช่วยให้พนักงานได้ทราบข้อมูลเท่าๆ กัน สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวให้เกิดขึ้นจะจูงใจให้พนักงานผูกพันอยู่กับองค์กรได้

…ต้องยุติธรรม

ในทุกๆ ประการ เช่น กฎระเบียบต่างๆ การประเมินผลงาน และระบบค่าตอบแทนต่างๆ เป็นต้น

…ลงโทษพนักงานที่ประพฤติตนไม่ดี

พนักงานที่ประพฤติตนผิดไปจากกฎระเบียบขององค์กร ถ้าปล่อยไว้ก็จะเป็นตัวอย่างสำหรับพนักงานคนอื่นๆ ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อใครทำผิดก็ต้องลงโทษ แต่การลงโทษต้องคำนึงไว้เสมอว่าเพื่อให้เขากลับตนเป็นคนดีและต้องยุติธรรม

…อย่าลืมสิ่งเล็กๆ น้อยๆ

ผู้บริหารควรจะนึกถึงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ บางอย่างเกี่ยวกับพนักงาน เช่น คำขอบคุณเมื่อเขาทำงานให้ การทักทายเมื่อพบกัน การตั้งชื่อตำแหน่งให้ดูน่าเชื่อถือ การให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นต้น

3. เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำงาน

ในองค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายๆ องค์กร ผู้บริหารจะให้วิธีการบริหารที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานและการตัดสินใจโดยใช้วิธีการเหล่านี้ คือ

…ใช้วิธีการทำงานเป็นทีม

…รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงาน

…การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม

…จัดทำวารสารภายในบริษัท

ฯลฯ

4. ระบบค่าตอบแทนจะต้องแข่งขันกับคนอื่นๆ ได้

ระบบค่าตอบแทนจะเป็นส่วนหนึ่งในการจะช่วยรักษาและจูงใจพนักงานได้ การบริหารระบบค่าตอบแทนควรคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้บ้างคือ

…จ่ายสูงกว่าคนอื่นๆ นิดหน่อย ในกิจการที่ประเภทเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน

…ระบบค่าตอบแทนจะต้องยืดหยุ่นได้ สามารถจูงใจพนักงานแต่ละกลุ่มได้

…ต้องยุติธรรมและมีเหตุผล

นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การป้องกันมิให้พนักงานที่ดีออกไปจากองค์กรยังจะต้องคำนึงถึงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อีกมากมาย จากการศึกษาพบว่า 70% ขององค์กรขนาดใหญ่จะใช้วิธีการดังต่อไปนี้ในการป้องกันการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่ดี

* การจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี

• มีระบบการจูงใจที่มีประสิทธิภาพ

• เปิดโอกาสให้พนักงานซื้อหุ้นของบริษัท

• การบริหารงานแบบกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน

• สวัสดิการในระยะยาว เช่น เงินสะสม เงินบำเหน็จหรือบำนาญ เงินสงเคราะห์ เมื่อปลดเกษียณ เป็นต้น

• การแบ่งปันผลกำไร

• การขจัดข้อขัดแย้งภายในองค์กร

• การส่งบัตรไปแสดงความยินดีกับพนักงานที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง

• ให้ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันครบรอบแต่งงาน เป็นต้น

• ให้บัตรไปชมกีฬา หรือโชว์นัดพิเศษ

• พักดื่มกาแฟและขนมฟรี

• บริการขายอาหารในราคาถูก

• จัดรถบริการรับส่งพนักงาน

การที่คนเราจะมีความสุข ความพอใจ ในงานที่ตัวเองทำนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ เขาจะต้องเหมาะกับงานนั้นๆ เขาจะต้องไม่ทำงานนั้นๆ มากจนเกินไป และสุดท้ายเขาจะต้องมีความรู้สึกว่าเขาจะประสบความสำเร็จจากการงานที่เขากำลังทำอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าท่านผู้บริหารทั้งหลายตระหนักในสิ่งเหล่านี้บ้างก็จะช่วยในการป้องกันมิให้องค์กรสูญเสียพนักงานที่ดีไป เมื่อคนดีๆ อยู่กับองค์กรมากๆ องค์กรก็จะดำเนินการเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ในอนาคต   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us