Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2527
“เจ้าเด็กเลว” ผู้สั่นสะเทือนวงการธุรกิจของฝรั่งเศส             
 


   
search resources

Consultants and Professional Services
International
แบร์นาร์ด ตาปี
แบร์นาร์ด ตาปี กรุ๊ป




เป็นที่รู้กันอยู่ในวงการธุรกิจสากลทั่วโลกมานานแล้วว่านักธุรกิจชาวฝรั่งเศสนั้นมีท่าทียโส ลับลมคมในดูพิลึกๆ อยู่ แต่วันนี้มีชายหนุ่มคนหนึ่งโผล่ขึ้นมาในวงการที่แหวกเหล่ากอนักธุรกิจชาวฝรั่งเศสทั่วไปออกมาอย่างโดดเด่น แต่กลับถูกวงการเพื่อนร่วมอาชีพชาวฝรั่งเศสเรียกว่าเป็นคนไม่มีรสนิยมและโอ้อวดตนเองขึ้นมา

คนนอกคอกผู้นี้ชื่อ แบร์นาร์ด ตาปี อายุเพียง 39 ปี แต่เป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่มีคนอิจฉาและหมั่นไส้เต็มเมือง คนนิยมก็มากเพราะหน้าที่การงานของนายตาปีทุกวันนี้คือรับอาสาฟื้นฟูธุรกิจต่างๆ ในประเทศที่ตกต่ำหรือล่มจมให้กระเตื้องขึ้นมา เกิดเป็นดอกผลใหม่ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

คติพจน์ของแบร์นาร์ด ตาปี ที่สร้างความหมั่นไส้ให้เกิดขึ้นโดยทั่วไปในวงการก็คือ “ผมอยู่ในวงการนี้เพื่อชัยชนะและเพื่อความร่ำรวย แต่พวกนักอุตสาหกรรมร่วมชาติรุ่นเก่าๆ ที่แสนจะขี้เกียจกลับยังคิดอยู่ได้ว่าเป็นเรื่องน่าอับอายที่จะเป็นคนรวยเสียนี่”

สำหรับตาปี การทำเงินทองจากธุรกิจไม่ใช่เรื่องน่าอับอายแต่อย่างไรทั้งสิ้น ตั้งแต่สี่ปีที่ผ่านมาแล้วที่เขาก่อสร้างอาณาจักรธุรกิจเล็กๆ ของเขาขึ้นมาด้วยตนเองจนกระทั่งทุกวันนี้มีกิจการต่างๆ อยู่ในมือแล้ว 43 แห่งที่ทำผลกำไรให้แก่เขาปีละ 14 ล้านดอลลาร์ จากรายได้ทั้งหมดปีละ 58 ล้านดอลลาร์

กิจการส่วนมากที่แบร์นาร์ด ตาปีซื้อมักจะเป็นที่ผลิตหรือขายสิ่งทอ อาหาร อุปกรณ์เครื่องกีฬา หรือแม้แต่ผลิตตาชั่งน้ำหนัก และที่สำคัญก็คือกิจการเหล่านี้จะต้องอยู่ในสภาพเจียนไปเจียนอยู่เสียก่อน หรือกำลังจะล่มจมเลิกกิจการแล้ว นั่นแหละเศรษฐีหนุ่มคนนี้จึงจะเอ่ยปากขอซื้อแล้วปลุกกล้ำให้ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ให้จงได้

ระยะหลังมานี้ตาปีเพิ่มขนาดกำลังซื้อของเขาขึ้นมาอีก จะเรียกว่าจับปลาตัวโตขึ้นกว่าเดิมก็ว่าได้ และเรียกกิจการทั้งหมดที่เป็นเจ้าของว่า “แบร์นาร์ด ตาปี กรุ๊ป” ล่าสุดทุ่มเงินอีก 270 ล้านดอลลาร์ซื้อกิจการสิ่งทอหลังล้มชื่อบูซัค แซงต์ แฟลร์ ซึ่งมีกิจการขายเสื้อผ้าของคริสเตียนดิออร์อันมีชื่อเสียงร่วมอยู่ด้วย และเมื่อเร็วๆ นี้ ศาลฝรั่งเศสก็ได้ออกคำสั่งให้เขาเข้าไปเป็นเจ้าของโรงงานผลิตแบตเตอรี่ใหญ่อันดับสองของประเทศชื่อฟิลส์ วอนเดอร์ เสียอีกด้วย

แต่บางคนในวงการธุรกิจร่วมชาติกลับมีความเห็นว่าที่ตาปีทำอยู่นั้นมากมายหนักหนาไปแล้ว จะคุมไว้ไม่อยู่ ในที่สุดจะต้องเจ๊ง นักการธนาคารรุ่นเก่าๆ ก็ไม่เชื่อถือเขานัก ด้วยเห็นว่าทำการเกินตัวไป ที่จะสนับสนุนให้กำลังใจเห็นไม่ค่อยจะมี

แต่แบร์นาร์ด ตาปีก็ดันตัวเองขึ้นมาจนได้กลายเป็นนักธุรกิจที่โด่งดังในประเทศฝรั่งเศสมีชื่อเสียงด้านไม่ให้ความสนับสนุนนักธุรกิจเพื่อนร่วมชาติด้วยกัน เขาออกรายการโทรทัศน์ร่วมกับดารานักร้อง เล็กเชอร์เรื่องธุรกิจให้นักเรียนนักศึกษาฟัง และออกเงินสนับสนุนการสร้างเทปวิดีโอเพลงเสียอีกด้วย เลยดังใหญ่ มีชื่อปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยครั้ง ทำเสียจนเสียงด่าหรือสาปแช่งจากคู่แข่งขันหรือเพื่อนในวงการเดียวกันเริ่มลดลง เริ่มจะเห็นว่าแบร์นาร์ด ตาปีเป็นคนที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติได้บ้างแล้ว ทำให้เริ่มเห็นกันแล้วว่าการทำงานเพื่อเงินทอง เพื่อผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายไปหมดอีกต่อไป

เขาถือกำเนิดมาจากครอบครัวที่ยากจน ซ้ำบิดายังเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสเสียอีก อยู่อาศัยรวมกันในห้องเดียวของอาคารที่เรียกว่าบ้าน แต่แบร์นาร์ด ตาปีตั้งใจไว้แต่แรกแล้วว่าจะไม่เจริญรอยตามความยากจนและอุดมการณ์อย่างบิดา เขาเข้าสมัครเป็นทหารแล้วไปต่อที่โรงเรียนวิศวกรรม และพร้อมๆ กันนั้นก็ขับรถแข่งและแต่งเพลงเป็นรายได้พิเศษไปด้วย เมื่อเรียนจบเขาไปสมัครทำงานในบริษัทที่รับให้คำปรึกษาแก่กิจการที่กำลังจะล่มจม

แบร์นาร์ด ตาปีตั้งเป้าหมายไว้แล้วว่าเขาจะต้องร่ำรวยให้จงได้ “เมื่อเป็นเด็ก ผมรู้สึกต่ำต้อยที่เห็นลูกคนร่ำรวยสวมเสื้อผ้าดีๆ มีรถจักรยานขี่ พูดคุยกันแต่เรื่องหนังหรือหนังสือที่ผมไม่มีโอกาสจะได้รู้จัก” เขาเล่า

แต่มาเดี๋ยวนี้ เด็กยากจนคนนี้มีทุกสิ่งทุกอย่างล้ำหน้าคนรวยอื่นๆ เสียด้วยซ้ำ เช่น ใช้เงินถึง 6 ล้านดอลลาร์ซ่อมเรือยอชต์ยาว 250 ฟุตให้สวยงามขึ้นกว่าเดิม มีเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวที่ปีๆ หนึ่งจะต้องเป็นคนขับไปเที่ยวไหนๆ ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 400 ชั่วโมง มีรถยนต์ 5 คัน คันหนึ่งคือพอร์ชเทอร์โบ 940 และโรลสรอยซ์ มีบ้านหลังใหญ่ราวกับปราสาทอยู่ในย่านที่คนรวยชาวปารีสอยู่อาศัยกันคือเขต 16 แม้แต่จะออกกำลังกายง่ายๆ เช่นวิดพื้นก็จะทำบนพรมขนสัตว์สมัยพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย ที่ซื้อมาด้วยราคาถึงเกือบหนึ่งแสนดอลลาร์

เจ็ดปีก่อนหน้านี้โรงงานแห่งแรกที่ตาปีตัดสินใจซื้อคือโรงงานกระดาษที่กำลังจะเลิกกิจการเพราะขาดทุน ซื้อจากศาลที่ได้พิพากษาว่ากิจการโรงงานแห่งนี้ล้มละลายแล้ว ทำให้ไม่มีราคาค่างวดอะไรทั้งสิ้น และไม่มีใครสนใจอยากจะซื้อเพราะไม่รู้จะซื้อไปทำไม แต่เพียงสี่ปีต่อมาตาปีก็ทำให้โรงงานกระดาษแห่งนั้นมีกำไรขึ้นมาอีก แล้วขายไปเพื่อเอากำไรมาซื้อโรงงานอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพแบบเดียวกันอีก เริ่มสร้างอาณาจักรขึ้นมาในแบบนี้

มาปัจจุบัน แบร์นาร์ด ตาปีไม่จำเป็นจะต้องวิ่งวุ่นติดต่อธุรกิจแบบเมื่อก่อนแล้วเพราะมีคนมาติดต่อกับเขาเองถึงที่แทน ธนาคารหลายแห่งเริ่มเชื่อถือเขาแล้ว แถมช่วยสนับสนุนให้เครดิต ให้กู้เงินได้บ้างแล้ว ทำให้สามารถขยายกิจการออกไปได้เรื่อยๆ แม้แต่นักการเมืองและนักธุรกิจเพื่อนร่วมชาติก็เริ่มมาหาเพื่อขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาในฐานะที่เขาเป็นนักรื้อฟื้นกิจการระดับชาติ

ผลงานล่าสุดที่ยิ่งใหญ่ของเขาอีกประการหนึ่งคือซื้อกิจการผลิตเครื่องชั่งน้ำหนักที่เมืองเบทุน ตอนใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นกิจการผลิตเครื่องชั่งน้ำหนักที่ใหญ่ที่สุด ตกอยู่ในสภาพล้มละลายเพราะขาดทุนมาโดยตลอด

เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของตาปี 19 นายเดินทางไปศึกษาหาทางฟื้นฟูกิจการโรงงานแห่งนี้ขึ้นมาโดยค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ตกต่ำ ซึ่งตาปีเล่าว่าพบรูโหว่มากมาย “แม้แต่คุณภาพของตาชั่งเองก็ย่ำแย่ ไม่ได้มาตรฐานและยังแข่งขันกับโรงงานแบบเดียวกันที่เมืองลีอองเสียอีก จะไปอยู่ได้อย่างไร”

เมื่อซื้อหุ้นส่วนของโรงงานดังกล่าวไว้ในมือ 60% แล้วตาปีและพรรคพวกก็เข้าไปบริหารโรงงานทันที เริ่มแรกด้วยการจัดระบบการผลิตเสียใหม่ ปลดคนงานจำนวน 1,400 คนออกเสียเกือบครึ่ง เพียงหนึ่งปีให้หลังโรงงานผลิตตาชั่งแห่งนี้ก็กลับมามีกำไรอีกครั้งหนึ่งจนได้ “กิจการที่ผมซื้อมักจะมีปัญหาเรื่องการบริหารมาก่อนทั้งนั้น” เจ้าตัวเปิดเผย และแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเปลี่ยนอัตราการผลิต เปลี่ยนงบประมาณใหม่ เป็นสำคัญ

ปัญหาที่เขาประสบระหว่างไต่เต้าขึ้นมาก็มีอยู่ เช่นบริษัทของเขาที่มีกิจการผลิตเครื่องมือช่วยคนเป็นโรคหัวใจถูกสั่งปรับเงินฐานโฆษณาสินค้าไม่ตรงกับความจริง เป็นต้น นอกจากนี้แม้ว่าธุรกิจทั้งหมดของเขาจะไม่ต้องเสียภาษีเพราะอยู่ในระยะฟื้นตัวได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอยู่ แต่ทั้งหมดก็เป็นหนี้อยู่ถึง 120 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะต้องครบกำหนดใช้ภายในสองปีนี้ ซึ่งจะต้องเริ่มเอาหุ้นส่วนหรือทรัพย์สินบางอย่างที่มีอยู่เพื่อนำเงินไปใช้หนี้ในเร็วๆ แล้ว จัดเป็นจุดอ่อนที่คนไม่ชอบขี้หน้าเอามาโจมตีอยู่

รัฐบาลสังคมนิยมปัจจุบันของฝรั่งเศสก็เริ่มมองเห็นความสำคัญของแบร์นาร์ด ตาปีในฐานะผู้ช่วยเหลือไม่ให้คนตกงานเพิ่มมากขึ้น เมื่อไปอุ้มกิจการที่ตกต่ำเอาไว้และเข้าใจว่านโยบายของเขาเป็นการดำเนินธุรกิจที่ชาญฉลาด ทั้งๆ ที่เจ้าตัวเองบอกไว้ดังๆ เสมอว่าความคิดทางการเมืองของเขานั้นไม่ซ้ายหรือขวา “ผมเป็นเพียงนักฉกฉวยโอกาสเท่านั้นเอง” เขาบอก

ผลงานแบบทุนนิยมของแบร์นาร์ด ตาปีในประเทศที่มีรัฐบาลเป็นสังคมนิยมจึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามอยู่ไม่น้อย และถ้าหากเขาไปรอดคนที่ปรามาสหน้าเขาไว้จะต้องเริ่มเปลี่ยนความคิดกันบ้างแล้ว ว่าการหาเงินทองด้วยการอุ้มชูธุรกิจที่กำลังจะล้มละลายนั้นก็เป็นอาชีพที่ไม่น่าอับอายแต่อย่างใดเลย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us