|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ ธันวาคม 2527
|
|
แม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังมีคนเชื่อว่าคนที่เป็น “ผู้จัดการ” แห่งหนึ่งจะไม่ต่างกับ “ผู้จัดการ” อีกแห่งหนึ่งเท่าใดนัก?
อาจจะเป็นเพราะใน CONCEPT ของ “ผู้จัดการ” นั้นทุกคนจะต้องมีบุคลิก “ผู้นำ”
และ “ผู้จัดการ” ที่ดีก็ต้องมีคุณสมบัติหลายประการ เช่น:-
1. ต้องเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์
2. ต้องเป็นคนที่มีสายตากว้างไกล
3. ต้องเป็นผู้ที่สามารถจูงใจคนได้ดี
4. ต้องเป็นผู้ที่วงกลยุทธ์และนโยบาย
ฯลฯ
เมื่อประมาณ 30 กว่าปีมาแล้วมีนักวิจัยชื่อ STOGDILL ได้วิจัยว่าคนที่เป็น “ผู้จัดการ” ที่ดีได้นั้นจะต้องมีลักษณะผู้นำมาตั้งแต่ต้น ซึ่งคนพวกนี้จะดูได้ไม่ยากและมักจะมีอะไรแตกต่างกว่าคนอื่นเหมือนที่ว่า “เป็นมังกรในหมู่มวลมนุษย์” ทฤษฎีสมัยนั้นเรียกว่า “TRAIT THEORY” หรือ “ทฤษฎีลักษณะ”
แต่ “ทฤษฎีลักษณะ” (TRAIT THEORY) นั้นก็ไม่สามารถจะให้คำตอบได้ว่า “ผู้จัดการ” คนนี้มีประสิทธิภาพหรือเปล่า?
เพราะคนบางคนอาจจะมีลักษณะผู้นำแต่ผลงานอาจจะไม่ได้สะท้อนถึงความเป็น “ผู้จัดการ” เลย
นอกจากนั้นแล้ว “ทฤษฎีลักษณะ” ยังไม่สามารถจะทำให้เราเข้าใจว่า “ผู้จัดการ” ที่ได้ผลในองค์กรหนึ่งนั้นควรจะเป็นคนประเภทใด?
ซึ่งก็มาถึงจุดที่เริ่มมีคนมองว่ามันจะมอง “ผู้จัดการ” ที่พฤติกรรมของเขาหรือที่เรียกว่า “ทฤษฎีพฤติกรรม” (BEHAVIOR THEORY)
เมื่อประมาณ 45 ปีมาแล้ว มหาวิทยาลัยไอโอวา (UNIVERSITY OF IOWA) มีนักวิจัย 3 คน ชื่อ นายเลวิน (LEWIN) นายลิพพิท (LIPPITT) และนายไวท์ (WHITE) ได้วิจัยพฤิตกรรมของ “ผู้จัดการ“ แล้วแตกแขนง “ผู้จัดการ” ออกมาเป็น 3 ประเภท คือ
1. แบบเผด็จการ (AUTHORITARIAN) “ผู้จัดการ” แบบนี้คือแบบสั่งลงมาลูกเดียว
2. แบบประชาธิปไตย (DEMOCRATIC) ชอบปรึกษาหารือและร่วมรับผิดชอบกันกับลูกน้องตลอดจนร่วมกันตัดสินใจ
3. แบบตามบุญตามกรรม (LAISSEZ-FAIRE) แบบนี้อาจจะเรียกว่าแบบไม่รู้ไม่ชี้ก็ได้คือปล่อยให้ลูกน้องทำกันตามใจโดยไม่มีแนวทางจากข้างบนเลย
ในทำนองเดียวกันได้มีการวิจัยศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้นำโดยทีมงานของมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ (OHIO STATE UNIVERSITY) ซึ่งก็พบว่าพฤติกรรมของ “ผู้จัดการ” นั้นน่าจะมีอยู่ 2 ประการคือ
1. ความเอาใจใส่สนใจ (CONSIDERATION)
ซึ่งผู้วิจัยหมายถึงการที่ “ผู้จัดการ” คนหนึ่งจะต้องสนใจในตัวผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ต้องมีมิติของความเป็นกันเอง การให้คำปรึกษาให้เครดิตลูกน้อง มีการสื่อสารที่ดีและเป็นตัวแทนต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของลูกน้อง
2. มีลักษณะของการริเริ่ม (INITIATING DTRUCTURE) การริเริ่มในที่นี้หมายถึงการที่ “ผู้จัดการ” จะต้องสามารถนำลูกน้องไปสู่เป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการวางแผนการประสานงาน การหาวิถีทางให้ลูกน้องทำงานให้ได้ผลมากขึ้น ฯลฯ
ในขณะเดียวกันที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน (UNIVERSITY OF MICHIGAN) ก็ได้วิจัยว่า “ผู้จัดการ” ที่มีประสิทธิภาพน่าจะเป็นคนที่
1. เน้นไปทางพนักงาน (EMPLOYEE-ORIENTED) ซึ่งตรงกับการวิจัยของมหาวิยาลัยโอไฮโอในข้อ “ความเอาใจใส่” (CONSIDERATION)
2. เน้นไปทางการผลิต (PRODUCTION ORIENTED) ซึ่งก็คงคล้ายกับ “ลักษณะของการริเริ่ม” (INITATING STRUCTURE) เพราะ “ผู้จัดการ” ที่มี PRODUCTION ORIENTED ATTITUDE นั้นก็มักจะเป็นผู้ที่ชอบวางแผน ตั้งเป้าหมาย และทำให้ได้ตามเป้าหมาย
ความจริงในคำจำกัดความของ “ผู้จัดการ” นั้นมันก็น่าจะมีมากพอแล้วจากการวิเคราะห์วิจัยของบรรดานักวิชาการทั้งหลาย
แต่เผอิญในชีวิตของการเป็น “ผู้จัดการ” นั้นมันเหมือนละครชีวิตเหมือนกันที่นอกจากจะต้องสวมหัวใจหัวโขนเข้าไปแล้ว ยังจะต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ นานา ที่ไม่เหมือนกันและสถานการณ์เหล่านี้จะไม่คงที่นอกจากนี้ก็ยังจะมีตัวแปรอีกมากเข้ามาเกี่ยวข้อง
มันก็เลยมีทฤษฎี “ผู้จัดการ” ขึ้นมาอีกอันหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะทันสมัยมาก
ทฤษฎีนี้เรียกว่า “ทฤษฎีสุดแล้วแต่เหตุการณ์” (CONTINGENCY THEORY)
โดยสรุปแล้ว ทฤษฎีนี้บอกว่า “ผู้จัดการ” คนหนึ่งจะเก่งไม่เก่งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของ “ผู้จัดการ” คนนั้นสภาพเหตุการณ์ในขณะนั้น
แปลเป็นภาษาชาวบ้านก็คือว่า “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อาจจะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ดีในสมัยที่ท่านมีอยู่ 18 เสียงแต่มาสมัยนี้ตัวท่านเองก็จะไม่สามารถเป็นนายกฯ ได้ดีในภาวการณ์เช่นนี้” หรือ
“ดร.อำนวย วีรวรรณ อาจจะเป็น “ผู้จัดการ” อยู่ธนาคารกรุงเทพในภาวการณ์เช่นนี้ได้ดีกว่าภาวการณ์อื่น”
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะพฤติกรรมของ “ผู้จัดการ” เช่น ม.ร.ว.คึกทธิ์ ปราโมช และ ดร.อำนวย วีรวรรณ เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองความต้องการขององค์กรนั้นๆ ได้ดีที่สุด ภายใต้สถานการณ์ที่องค์กรนั้นประสบอยู่
ก็คิดว่าได้ปูพื้นฐานมานานพอสมควรแล้วในเรื่อง “ผู้จัดการ” ซึ่งคิดว่าคงจะได้คำตอบกับท่านผู้อ่านได้ว่าทำไมเราถึงต้องมี “ผู้จัดการ” แห่งปีขึ้นมา 3 ท่าน
สำหรับปีนี้เราได้ตัดสินใจเลือก “ผู้จัดการ” แห่งปีขึ้นมา 3 ท่าน
วิธีการคัดเลือกนั้นเราใช้วิธีค่อนข้างเผด็จการอย่างมากๆ นั่นคือ เราใช้การวิเคราะห์สอบถามและดูผลงานด้วยพวกเราเอง โดยไม่เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ นอกจากการไปพุดคุยและแอบสอบถาม
ทั้งนี้เพราะเราคิดว่าการเลือก “ผู้จัดการ” แห่งปีขึ้นมานั้นควรจะเลือกด้วยตัวเราเอง เพราะจะได้รับผิดชอบแต่ผู้เดียว
เราไม่มีรางวัล ประกาศนียบัตร หรือโล่อะไรที่จะไปมอบให้บรรดา “ผู้จัดการ” แห่งปีทั้งหลายที่เราเลือก
เราเลือกเขาขึ้นมาเพราะในสายตาเราเขาเป็นบุคคลที่น่าได้รับเลือก
เมื่อเราคิดว่าเขาเหมาะที่สุดเรื่องก็น่าจะจบลงแล้ว
และเราไม่คิดว่าจะมีการเลี้ยงอะไรหรือมอบอะไรให้ทั้งสิ้นตามระเบียบหรือพิธีการที่ชอบทำกันในหลายสาขา และเห็นกันอยู่อย่างดาษดื่นจนน่ารำคาญ
หน้าที่ของเราในฐานะเป็นสื่อมวลชนซึ่งอยู่ในสายธุรกิจคือหน้าที่ของการรายงาน วิเคราะห์และวิจารณ์อย่างเป็นธรรม
และเราก็คิดว่าเราได้ทำหน้าที่สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว!
|
|
|
|
|