Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2527
ประโยชน์ของพนักงานที่ออกจากงาน! บางครั้งก็ทำให้หูตาสว่างขึ้นเยอะเหมือนกัน             
โดย สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์
 


   
search resources

Knowledge and Theory




ถ้าหากเราจะยอมเสียเวลาสักเล็กน้อยพูดคุยกับพนักงานที่ออกจากงาน

บางครั้ง เราอาจได้ข้อคิดหรือแนวทางบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเราหรือเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

ชนิดที่เราเอง ก็ไม่เคยคิดมาก่อน!

หรือมิฉะนั้นก็เป็นการสร้างภาพพจน์และความประทับใจที่ดีขององค์การฝากพนักงานคนนั้นออกไป

ครั้งหนึ่งของการพูดคุยกันของผู้จัดการแผนกคนหนึ่งกับลูกน้องที่กำลังจะออกจากงาน

ทำให้ผู้จัดการคนนั้นรู้ว่า ตนเองเป็นคนที่ลูกน้องในแผนกไม่ชอบเลย เพราะเอาแต่งาน และงาน

วันๆ ขลุกอยู่แต่ในห้อง หรือไม่ก็เดินออกมาสั่งงานประเดี๋ยวประด๋าว แล้วก็กลับไปนั่งทำงานในห้องตามเดิม อยากได้อะไรจากลูกน้องคนไหน ก็บอกให้เลขาไปตามตัวลูกน้องมารับคำสั่งหรือมารับงานในห้อง

ต่อเมื่อมีนายใหญ่มา ผู้จัดการคนนั้นจึงจะลงไปดูแลงานในแผนกว่าเรียบร้อยหรือไม่?

แต่...ผู้จัดการคนนั้นกลับคิดว่า ลูกน้องทุกคนชอบตนเองมาก เพราะเวลาเรียกลูกน้องมาถามว่า มีปัญหาอะไรในการทำงานหรือไม่?

ลูกน้องก็ตอบว่า “ไม่มี” ทุกครั้งไป

หัวหน้าแผนกของอีกบริษัทหนึ่งเกือบต้องตายหรือต้องนอนโรงพยาบาลหลายๆ วัน เพราะลูกน้องที่ได้รับการเสนอให้ออกจากงานคิดว่า

หัวหน้าแผนกคนนั้นเป็นคนเสนอไล่ออกเพราะได้ยิน FOREMAN ว่ามาอย่างนั้น

ซึ่งจริงๆ แล้ว FOREMAN เป็นคนเสนอให้ไล่ออกต่างหาก

ดีเสียแต่ว่า ได้พูดคุยกันก่อน และได้อธิบายเหตุผลให้ฟังว่า ทำไมลูกน้องคนนั้นจึงต้องถูกให้ออกจากงาน เพราะมีความผิดในข้อใดบ้าง? และเป็นความจำเป็นอย่างไรที่ต้องลงโทษเช่นนั้น?

ลูกน้องคนนั้นเลยสารภาพบาปว่า “ผมเกือบจะดักตีหัวหน้าเย็นนี้แล้วนะครับเนี่ย”

การที่พนักงานออกจากงานนั้น มีทั้งที่ถูกไล่ออกและลาออกเอง

การถูกไล่ออก ย่อมต้องมีความผิดหรือมีการกระทำบางอย่างที่ไม่ดีไม่ถูกต้อง พนักงานที่ถูกไล่ออกหากเป็นคนไม่มีเหตุผล ย่อมต้องโกรธแค้นบริษัทหรือคนที่ทำให้เขาออกจากงาน

บางคนก็เลยคิดว่า เอาชีวิตเข้าแลกเสียเลยเป็นไง?

ส่วนคนที่ลาออกนั้น มีทั้งที่ลาออกด้วยความตั้งใจหรือเต็มใจ กับมีทั้งที่ลาออกโดยไม่ตั้งใจหรือไม่เต็มใจ

ส่าเหตุของการลาออก จะยังไม่เขียนถึงเพราะมีมากมายหลายสาเหตุ แต่จะมาดูกันว่าเมื่อพนักงานออกจากงาน ไม่ว่าจะถูกไล่ออกหรือลาออกนั้น ควรต้องคุยกับเขาอย่างไร?

เมื่อจะเริ่มต้นการคุย ซึ่งเขียนเป็นศัพท์เทคนิคว่า EXIT INTERVIEW ควรจะต้องเตรียมตัวหลายๆ อย่าง ตั้งแต่การศึกษาประวัติของพนักงานที่ออกจากงานจากแฟ้มประวัติหรือจากการพูดคุยกับหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานของพนักงานผู้นั้น เตรียมสถานที่ (ควรเป็นสถานที่ที่สามารถพูดคุยกันได้สองคน โดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง เช่น โทรศัพท์หรือคนมาขอพบ) เตรียมคำพูดกิริยาท่าทางของตัวเราเอง

กรณีที่พนักงานถูกไล่ออก

พนักงานอาจจะโต้แย้ง และพยายามปฏิเสธความผิด บางครั้งอาจจะขอความเห็นใจ ขอความเป็นธรรม ถ้ามั่นใจว่าพนักงานทำความผิดจริงโดยตั้งใจและการตัดสินนั้นได้กลั่นกรองมาหลายขั้นก่อนจะถึงคุณ

ก็ควรจะรับฟังด้วยความตั้งใจ ให้เขาได้ระบายความในใจไปเรื่อยๆ แต่อย่าได้แสดงความเห็นใจ และสนับสนุนในทุกๆ เรื่องหลังจากพนักงานระบายความในใจจนจบแล้วอาจจะเริ่มต้นด้วยการชี้แจงให้พนักงานเห็นว่าความผิดที่เขาทำเป็นความผิดที่จำเป็นต้องลงโทษและไม่ว่าจะเป็นใครที่ทำความผิดในลักษณะดังกล่าวก็จะต้องได้รับการลงโทษด้วยการถูกไล่ออกทั้งนั้น (ต้องมั่นใจนะว่า คุณให้ความเป็นธรรมในการลงโทษพนักงานทุกคนโดยเท่าเทียมกัน)

คุณอาจแสดงความเสียใจที่เขาทำผิดเช่นนั้น และขอให้เขาถือเป็นบทเรียน (อาจพูดถึงคุณความดีที่เขาเคยทำมาบ้าง แต่อย่าพูดจนเขาคิดว่า เมื่อเขาทำคุณความดีมาก ทำไมไม่ให้อภัยเขาล่ะ) และอวยพรให้เขาได้งานที่ดี มีความรุ่งโรจน์

โปรดระลึกว่า กรณีที่พนักงานถูกไล่ออกจากงานนี้ ต้องพยายามปรับความรู้สึกของตัวเขา ให้ยอมรับว่าเขาทำผิดจริง เมื่อเขารู้สึกอย่างนี้ เขาจะมองว่าที่เขาได้รับการลงโทษนั้นเป็นการถูกต้องแล้ว

และเขาจะมองคุณและบริษัทด้วยความรู้สึกที่ดี

แต่ถ้าพูดคุยแล้ว พนักงานไม่เปลี่ยนความคิดล่ะ?

นั่นเป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็เป็นการแสดงให้พนักงานที่ถูกไล่ออก เกิดความรู้สึกว่า คุณและบริษัทให้เกียรติและความสำคัญแก่เขา ในการอธิบายชี้แจงถึงความผิดของเขา

มันไม่แน่เหมือนกัน บางครั้งพนักงานอาจพอใจเงียบๆ ที่ผู้บริหารให้ความสำคัญด้วยการพูดคุยกับเขาก็ได้

กรณีพนักงานลาออก การพูดคุยอาจต่างออกไปบ้าง ผู้ที่จะพูดคุยกับพนักงานที่ลาออกนี้ควรจะจับประเด็นให้ได้แน่ชัดว่า พนักงานลาออกจริงๆ หรือจำใจลาออกเก๊ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจหรือเพื่อต่อรองอะไรบางอย่าง

เคยมีพนักงานบางคนได้งานใหม่แล้ว แต่ยังไม่ค่อยอยากไปทำที่ใหม่เท่าไหร่ จึงลองแหยมๆ กับหัวหน้าด้วยการเขียนใบลาออก เพื่อให้หัวหน้าเรียกไปคุย เพื่อที่จะได้บอกว่าที่ใหม่ให้เงินเดือนและสวัสดิการเท่านั้นเท่านี้

เผื่อว่าหัวหน้าจะยอมให้ก็จะไม่ออก

ดังนั้น การพูดคุยกับพนักงานที่ลาออกนั้นจะต้องทราบประเด็นให้แน่ชัดว่า

เขาลาออกเพราะอะไร?

ในบางกรณี หากการลาออกนั้นเพราะพนักงานไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือถูกกลั่นแกล้ง

ผู้เป็นหัวหน้าก็อาจจะยับยั้งการลาออกนั้นและแก้ไขปัญหา

ในกรณีที่พนักงานได้งานใหม่ที่ดีกว่าทุกๆ ด้านก็ไม่ควรจะไปยับยั้ง หัวหน้าบางคนใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ขอร้องให้ทำงานต่อไป

ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้น ผมคิดว่าออกจะไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการปิดกั้นความก้าวหน้าในการทำงานของพนักงานผู้นั้น

พนักงานที่ตัดสินใจแน่ๆ ว่าจะลาออก มักไม่เปลี่ยนใจ ((โปรดเข้าใจว่า การพูดคุยกับพนักงานที่ลาออกนั้น ไม่ใช่เป็นการชักชวนให้เขาทำงานอยู่ต่อไป)

เมื่อพนักงานตัดสินใจลาออกแน่ๆ แล้ว การพูดคุยควรเป็นไปในทางให้เขาได้เสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาของงานที่เขาทำอยู่หรือที่เกี่ยวกับองค์การรวมตลอดจนถึงโครงการต่างๆ ที่เขายังทำคั่งค้างอยู่

หรือหากเขามีความอัดอั้นตันใจอะไรอยู่ในใจ ก็ให้เขาได้มีโอกาสพูดหรือระบายออกมา

ข้อมูลที่ระบายออกมานี้ อาจมีทั้งที่ถูกและผิด

ก็ไม่เป็นไร รับฟังไว้ จากนั้นค่อยนำมาพิจารณากลั่นกรองกันอีกครั้งว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

บางคนอาจจะทิ้งทวนใส่ร้ายเจ้านาย บางคนอาจจะให้ข้อมูลที่ไม่เคยคิดจะเปิดเผยมาก่อน แต่ที่เปิดเผย เพราะคิดว่าไหนๆ จะไปอยู่แล้ว หูดไปตนเองก็ไม่ได้คุณหรือโทษจากใคร จึงยอมพูด

การพูดคุยกันในกรณีที่พนักงานลาออกนี้ หากกระทำดีๆ แล้ว อาจได้ข้อมูลหรือข้อคิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน แต่ถ้าทำไม่ดี บางครั้งก็เป็นผลลบยิ่งขึ้น

ผู้บริหารทุกคน จึงควรฝึกศิลปนี้และควรจะใช้ให้เป็น

ในบางกรณีที่พนักงานลาออก หากไม่เข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือคัดค้านโต้แย้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างรุนแรง

ผู้บริหารควรจะถือโอกาสชี้แจง ทำความเข้าใจ ไม่ใช่ปล่อยเลยตามเลย

โปรดเข้าใจว่า ถ้าพนักงานที่ลาออกไปจากองค์การของเรา พูดถึงองค์การหรือสินค้าและบริการของเราในทางที่ดี ก็เท่ากับเขาเป็นประชาสัมพันธ์คนหนึ่งขององค์การโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเขาทำในทางตรงกันข้าม เขาก็จะเป็นผู้ทำลายองค์การของเราโดยอัตโนมัติเช่นกัน

การพูดคุยกับพนักงานที่ออกจากงาน จึงเป็นงานหนึ่งของนักบริหารที่ควรเรียนรู้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us