Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 พฤษภาคม 2548
5อุตฯ สกัดเมติรุกFTA เสนอเจรจาเกษตรใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   
search resources

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
FTA




สภาหอฯจับมือ ส.อ.ท.ประกาศจุดยืนต่อการเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น เปิดแนวรุกสกัดแผนญี่ปุ่น หวั่น "รัฐมนตรีเมติ" เข้าพบ "ทักษิณ" วันนี้ จะล็อบบี้ไทยหนักแล้วเสียทีเชิงเจรจา ย้ำรัฐควรฟังข้อมูลเอกชนก่อนจะเสียเปรียบ เผยรับไม่ได้สินค้าเกษตรญี่ปุ่นเปิดให้เล็กน้อยแต่จะแลกชิ้นปลามันอุตสาหกรรม วงในเผยจับตาเปลี่ยนหัวหน้าคณะเจรจาให้เข้าทางรัฐ ด้านหัวหน้าเจรจาฝ่ายไทยเห็นด้วยกับเอกชน ยันหากจะผ่าทางตัน ญี่ปุ่นต้องเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ "ทักษิณ" เสนอให้นายกฯญี่ปุ่นพิจารณาเท่านั้น

วานนี้ (5 พ.ค.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ร่วมแถลงจุดยืนต่อการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีหรือ FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยเชิญ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เหล็ก เครื่องนุ่งห่ม เกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม ชี้แจงผ่านสื่อเพื่อส่งสัญญาณไปยังภาครัฐบาล ระหว่างวันที่ 6-7 พ.ค. นายโชอิจิ นาคากาวา รัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (เมติ) ของญี่ปุ่นจะเข้าพบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสำคัญๆ ของไทย

นายพรพินิจ พรประภา รองประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า การมาเยือนของนายโชอิจิ ที่จะเข้าพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นายทนง พิทยะ รมว.พาณิชย์ เป็นต้น สภาหอฯและส.อ.ท.เกรงว่าจะมีการล็อบบี้กัน เอกชนจึงต้องแสดงจุดยืนอีกครั้ง เพื่อให้การเจรจาอยู่บนผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายไม่มีการเสียเปรียบและเอาเปรียบกัน

"เราเป็นห่วงว่าเขาจะเอาอะไรหวานๆ มาจิ้มคอผู้ใหญ่เรา และนำไปสู่การเสียเปรียบเขา จุดยืนก็คือ ถ้าเจรจาแล้วให้คืบจะเอาศอกก็เลิกคุย ญี่ปุ่นแกล้งโง่หรือฉลาดกันแน่ที่ลักไก่บอกว่าเจรจาเกษตรแล้วจะขออุตสาหกรรมเหล็ก ทั้งที่การเจรจาสินค้าเกษตรที่เขาใหญ่มันจบไปแล้ว ให้ลืมไปได้เลยเพราะรับไม่ได้ต้องนำกลับมาเจรจากันใหม่ในรอบที่ 8 อีกครั้ง และควรนำมาเจรจาบนโต๊ะอย่าใช้วิธีล็อบบี้แบบนี้" นาย พรพินิจกล่าว

นายสมพงษ์ ตันเจริญผล รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า เอกชนมิได้คัดค้านการทำ FTA แต่การเจรจาต้องตรงไปตรงมา และที่ผ่านมาการ เจรจาไม่ได้ระบุไว้เลยว่าจะมีการนำสินค้าเกษตรมาแลกอุตสาหกรรม ที่ผ่านมาเอกชนได้พยายามป้อนข้อมูลให้ฝ่ายราชการไปเจรจาซึ่งต้องเข้าใจว่าฝ่ายเจรจาเองก็ไม่ได้เป็นผู้ทำธุรกิจ เอกชนเป็นผู้ทำแต่การเจรจาไม่ได้เป็นหน้าที่ ผล จะออกมาอย่างไรก็ต้องยอมรับดังนั้นเอกชนจึงต้องพยายามป้อนข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะไม่สามารถเข้าไปเจรจาโดยตรงเอง

จี้เจรจาสินค้าเกษตรใหม่หมด

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการสภาหอฯ กล่าวว่า ในส่วนของสินค้าเกษตรที่ญี่ปุ่นเสนอให้ฝ่ายไทย เอกชนมีจุดยืนว่ารับไม่ได้ทั้งหมด เพราะญี่ปุ่นมีเงื่อนไขที่เหมือนจะเปิดเสรีแต่แท้จริงแล้วไม่ได้เปิดให้ จึงควรจะกลับมาเจรจากันใหม่ก่อน แล้วจึงค่อยไปคุยกันถึงการแลกกับเปิดเสรีอุตสาหกรรม

นางวรวรา อินทรประสิทธิ์ คณะกรรมการ FTA สภาหอฯ กล่าวว่า สินค้าประมงและประมงแปรรูป โดยเฉพาะทูน่ากระป๋องไทยต้องการให้ญี่ปุ่นลดภาษี 0% ทันทีแต่ญี่ปุ่นกลับจะลดให้เหลือ 0% ใน 5 ปีข้างหน้า และยังกำหนดให้ประมงไทยต้องใช้แรงงานคนไทย 75% และกำหนดใช้วัตถุดิบในประเทศ 40% ซึ่งไทยต้องใช้วัตถุดิบนอกประเทศจำนวนมากจึงรับไม่ได้ ขณะที่ สินค้าอื่นๆ เช่น กุ้งสดแช่แข็ง ปลาหมึกกล้วย อาหารทะเลสำเร็จรูปไทยขอลดภาษีทันทีเหลือ 0% แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมเช่นกัน

"กลุ่มผักผลไม้โดยเฉพาะสับปะรด ญี่ปุ่นระบุว่าอีก 5 ปีค่อยมาคุยกันซึ่งก็ไม่เข้าใจเพราะญี่ปุ่นกำลังจะเลิกปลูกแล้วใน 3 ปีข้างหน้า" นางวรวรากล่าว

น้ำตาล-แป้งมันสำปะหลังร่วมโวย

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ กรรมการสภาหอฯ ผู้บริหารกลุ่มน้ำตาลมิตรผล กล่าวว่า ต้องการให้ญี่ปุ่น ลดภาษี 0% ทันทีแต่ญี่ปุ่นกลับให้โควตา 4,000 ตัน ในปีที่ 3 และเพิ่ม 5,000 ตันในปีที่ 4 ถือเป็นการเลื่อนออกไปถึง 5 ปี และโครงสร้างนำเข้าน้ำตาลของญี่ปุ่นซับซ้อนโดยเฉพาะปกป้อง การผลิตน้ำตาลทรายขาวในประเทศจึงต้องการให้ลดภาษีทันทีเหมือนกับกรณีออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

นายสุนัย สถาพร คณะทำงาน FTA รายสินค้า สภาหอฯ กล่าวว่า แป้งมันสำปะหลังต้อง การให้ลดภาษี เหลือ 0% ใน 7 ปี แต่ญี่ปุ่นกลับกำหนดโควตาเช่นเดิม

ชิ้นส่วนฯชี้ไทยอาจขาดดุล 2 แสนล.

นายชวลิต จริยวัฒน์กุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส.อ.ท. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่ไทยจะลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนฯให้ญี่ปุ่นที่ปัจจุบันอยู่ที่ 30-80% ซึ่งปกติอัตรานี้ไทยก็ขาดดุลการค้าญี่ปุ่นในหมวดนี้ถึง 77,000 ล้านบาท หากลดภาษีฯจะยิ่งขาดดุลกว่าเท่าตัวซึ่งอาจสูงกว่า 200,000 ล้านบาทในอีก 5 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันจะทำลายผู้ผลิตชิ้นส่วนฯที่เป็นคนไทย 400-500 แห่ง มีผลต่อการจ้างงานไม่น้อยกว่า 300,000 คน ฯลฯ

นายสัญชัย งามพรสุขสวัสดิ์ นายกสมาคมอู่กลางประกันภัย สภาหอฯ กล่าวว่า ญี่ปุ่นได้ขอ ให้ไทยมีการยกเลิกการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นโดยให้ญี่ปุ่นถือได้ 100% เพื่อที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาตั้งอู่ซ่อมรถในไทยเองทั้งหมดซึ่งจะเป็นการทำลายอู่ซ่อมรถที่เป็นกิจการของคนไทย เหมือน กับกรณีค้าปลีกที่เป็นอยู่

เบนซ์อาจทบทวนลงทุนในไทย

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการสภาหอฯกล่าวว่า ผู้ประกอบการรถยนต์ค่ายยุโรป ทั้งอังกฤษ อิตาลี เยอรมนี รวมถึงอเมริกาได้แจ้งผ่านสภาหอฯว่า หากไทยลดภาษีนำเข้ารถยนต์ให้กับญี่ปุ่นก็จะทำให้ค่ายรถยุโรปเสียเปรียบ ซึ่งล่าสุดทางเดมเลอร์ไครสเลอร์ ค่ายเบนซ์เองเตรียมที่จะตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมในไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ก็ระบุว่าหากไทยลดภาษีให้ญี่ปุ่นจริงก็จำเป็นต้องทบทวนการลงทุนในไทยใหม่

นายสมพงษ์ เผอิญโชค ผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ส.อ.ท.กล่าวว่า ไม่ต้องการให้ไทยลดภาษีนำเข้าโดยจะยอมลดหลังปี 2010 ไปแล้ว เช่นเดียวกับรถยนต์นั่งขนาดเกิน 3000 ซีซี เพราะจะทำให้รถขนาดดังกล่าวมาทดแทนรถที่มีขนาดต่ำกว่าซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภค

เหล็กชงข้อมูลวันนี้

นายกรกฎ ผดุงจิตต์ เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท. กล่าวว่า จะส่งข้อมูลให้กับหัวหน้าคณะเจรจาวันนี้โดยเสนอ 3 ข้อ 1. เหล็กพิกัด 7201-7207 ยินดีที่จะให้อากรขาเข้าลงเป็น 0% ทันที 2. เหล็กทุกประเภทคงภาษีขาเข้า 10 ปีทยอยลดให้เป็น 0% ใน 15 ปี และ 3. เหล็กที่ผลิตไม่ได้จะจัดให้เป็นโควตานำเข้าที่ลดลงทุกปี

เครื่องนุ่งห่มจี้ปรับแหล่งกำเนิด

นายสุชาติ จันทรานาคราช ที่ปรึกษากลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ส.อ.ท.กล่าวว่า ต้องการให้ญี่ปุ่นกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าในการเปิดเสรีเครื่องนุ่งห่มเป็น Step เดียว คือ การแปรรูป สภาพจากวัตถุดิบผ้าผืนไปเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทนการกำหนด 2 Step ที่ระบุต้องมาจากด้ายไปผ้า และผ้าไปเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพราะส่วนหนึ่งไทยต้องนำเข้าผ้าผืนจากจีน ซึ่งหากตกลงได้เสื้อผ้าไทยจะขยายส่งออกไปญี่ปุ่น 4-5 เท่าตัวแต่หากไม่ยอมก็ไม่ควรจะทำข้อตกลง

วงในเผยวิ่งเต้นเปลี่ยนหัวหน้าเจรจา

แหล่งข่าวจาก ส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้มีนักการเมืองรายหนึ่งต้องการปรับเปลี่ยนหัวหน้าคณะเจรจา FTA ไทย-ญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันคือ นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นผู้รับฟังข้อมูลจากเอกชนอย่างตรงไปตรงมา โดยพยายามจะปรับเปลี่ยนมาเป็น นายการุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวงพาณิชย์แทน เพื่อตอบสนองนโยบายที่ต้องการปิดการเจรจา FTA ไทย-ญี่ปุ่นที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าควรจะเสร็จภายใน 3 เดือนหรือในก.ค.นี้ โดยเรื่องนี้เห็นว่ารัฐไม่ควรจะกำหนดกรอบการเจรจาทำให้ญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องยอมเจรจาใดๆ ก็ได้เพราะท้ายที่สุดเมื่อถึงกำหนดไทยก็ต้องยอมตกลง

ยันกรอบเจรจารอบใหม่ทำตาม จม.ทักษิณ

ด้าน นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของเอกชนทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายเจรจาของไทยได้รับความร่วมมือจากเอกชนเป็นอย่างดี ทำให้ตระหนักถึงความเป็นห่วงของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่มาของการประชุมเพื่อหาข้อยุติจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 22 เม.ย. และหนังสือของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลงวันที่ 27 เม.ย. ที่มีไปถึงนายจุนอิชิโร โคอิซูมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นขอให้นายกฯ ญี่ปุ่น พิจารณาเลือกจาก 2 แนวทางเพื่อให้การเจรจาเดินหน้าต่อไปได้

ทั้งนี้ ข้อเสนอของไทย คือ 1. หากฝ่ายญี่ปุ่น ยอมรับข้อเสนอที่ไทยให้ไว้ในการเจรจารอบที่ 7 ที่เขาใหญ่ ไทยก็ยินดี หรือ 2. หากฝ่ายญี่ปุ่น ยังยืนยันที่จะให้ไทยตอบสนองเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อน ไทยก็พร้อมที่จะเจรจาต่อในระดับหัวหน้าคณะและยินดีที่จะพิจารณาหาทางออกร่วมกับญี่ปุ่นในเรื่องเหล็ก แต่ญี่ปุ่นจะต้องยอมตอบสนองข้อเรียกร้องไทยที่ต้องเปิด เสรีสินค้าเกษตรมากกว่าที่ให้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องน้ำตาล รองเท้า สับปะรดกระป๋องและสินค้าประมง นอกจากนี้ การเจรจาเรื่องแหล่ง กำเนิดสินค้าจะต้องคืบหน้าโดยเร็วและไม่เป็นอุปสรรคต่อการที่สินค้าไทยจะเข้าไปขายในญี่ปุ่น และสุดท้าย ญี่ปุ่นจะต้องมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทย และการพัฒนาไทยไปสู่การเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียในแนวทางที่ฝ่ายไทยวางไว้

นายพิศาลกล่าวถึงข้ออ้างของฝ่ายญี่ปุ่นที่ระบุว่า การเจรจาสินค้าเกษตรได้จบลงไปแล้วจะไม่มีการเจรจาเพิ่มนั้นว่า เป็นความเข้าใจของ ญี่ปุ่นฝ่ายเดียว ซึ่งในการเจรจารอบเขาใหญ่ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทราบความต้องการว่า หากญี่ปุ่นต้องการให้ไทยเปิดเสรีเหล็กตามที่เมติเสนอไทย ก็จะขอเจรจาเพิ่มในการเปิดสินค้าเกษตรซึ่งหนังสือของพ.ต.ท.ทักษิณ และแนวทางที่นายสมคิดได้ให้ไว้กับคณะเจรจาก็ชัดเจนมากว่า ไทยมีจุดยืนอย่างไร

"ผมพร้อมที่จะบินไปเจรจาเร็วที่สุด หากญี่ปุ่นเลือกแนวทางตามที่ไทยเสนอให้ แต่ก็ต้องเข้าใจญี่ปุ่นด้วยว่า การตัดสินใจทำงานเรื่องเอฟทีเอของเขาเป็นลักษณะแยกการทำงาน ไม่มีศูนย์กลางที่ชัดเจน เมื่อนายกฯ ของเขาได้รับหนังสือจากนายกฯเรา สิ่งที่เราทำได้คือรอคอยคำตอบ แต่ไม่ควรที่จะคาดหวังว่าการมาของปลัดเมติในวันนี้จะมีคำตอบให้เราเลยทันที การเจรจาระหว่างเรากับญี่ปุ่น ผมพยายามจะทำให้ออกมาในกรอบที่ทั้งสองรับได้ ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน" นายพิศาลกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us