|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศุภชัยโวยทีโอที กีดกันการค้ากรณีไม่ยอมจัดสรรเลขหมายให้ออเร้นจ์ ด้าน กทช.ให้เอกชนที่เดือดร้อนส่งหนังสือเร่งรัดให้ออกกฎเกณฑ์ เพื่อใช้ออกมาตรการชั่วคราวจัดสรรเลขหมาย ส่วนกรณีบล็อกสัญญาณ กทช. เตรียมเรียกทุกฝ่ายแบข้อมูลเทคนิคหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวภายหลังนายวิชัย เบญจรงคกุล และนายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค เข้าพบเพื่อหารือเรื่องการจัดสรรเลขหมายโทรศัพท์ว่า ถึงแม้ว่า กทช. จะเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ในการจัดสรรเลขหมายซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ แต่ในขณะนี้เอกชนที่ได้รับความเดือดร้อนเมื่อขอเลขหมายใหม่มาที่ กทช. ก็ยังไม่สามารถจัดสรรให้ได้
แนวทางออกคือเอกชนที่ได้รับความเดือดร้อนต้องทำหนังสือมาที่ กทช. เพื่อขอให้เร่งรัดการออกกฎเกณฑ์การจัดสรรเลขหมายเร่งด่วน ไม่ใช่ส่งหนังสือมาเพื่อขอให้กทช.จัดสรรเลขหมายใหม่ให้
"การให้เร่งรัดออกกฎเกณฑ์จะตรงกับกทช. มากกว่าขอให้จัดสรรเลขหมายใหม่ ซึ่งถ้าเราได้รับหนังสือแล้วก็จะออกมาตรการชั่วคราวมาบังคับใช้เพื่อจัดสรรเลขหมายให้ ซึ่งอาจไม่ทันวันที่ 15 พ.ค. นี้ เนื่องจากต้องทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย"
สำหรับเลขหมายใหม่ที่ กทช. สามารถนำมาจัดสรรให้ทันทีคือ 3 ล้านเลขหมาย ที่ยังไม่ได้จัดสรรให้ผู้ประกอบการรายไหน หรืออีกประมาณ 11 ล้านเลขหมาย ที่บริษัท ทีโอทีจัดสรรให้ไทยโมบายไป ในขณะที่ปัจจุบันมีการใช้งานเพียง 2 แสนเลขหมาย รวมทั้งยังมีเลขหมายว่างอยู่อีกบางหมวดใน ทีโอที
"กรณีดีแทคมีความเดือดร้อน และใช้งานเกิน 70% จริง กทช.ก็จะมีมาตรการชั่วคราวออกมาช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เพราะตอนนี้เรื่องเลขหมาย ไปหาทีโอที ก็โยนมาให้กทช. ซึ่งแผนเลขหมายของเรายังไม่เสร็จ แต่จะออกมาตรการชั่วคราวมาช่วยเหลือก่อน"
ด้านนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการกทช. กล่าวว่า ในเรื่องการจัดสรรเลขหมาย ยังมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและไม่ตรงกันอยู่ระหว่างผู้ประกอบการเอกชนกับทีโอที ซึ่งจะมีการพิจารณาในบอร์ด กทช.วันนี้ (4 พ.ค.) เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนในการปรับข้อมูลดังกล่าวให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน
ส่วนกรณีเรื่องการบล็อกสัญญาณหรือการโทร.ข้ามโครงข่ายไม่ได้นั้น ดีแทคได้รายงานข้อมูลด้านเทคนิคด้วยวาจาให้กทช.ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งจะส่งข้อมูลเป็นเอกสารให้ภายหลัง ซึ่งเป็นข้อมูลด้านดีแทคฟากเดียว ในขณะที่การสื่อสารมีโครงข่ายที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการหลายราย โดยเฉพาะเป็นข้อมูลด้านเทคนิค ดังนั้น กทช.จะเรียกผู้ประกอบการทุกรายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเอไอเอส ดีแทค ทีเอออเร้นจ์ ทีโอที กสท เพื่อมาหารือกัน โดยเฉพาะต้องเอาข้อมูลด้านเทคนิคมาพิจารณาร่วมกันเพื่อหาทางแก้ปัญหา
"เป็นเรื่องของจุดเชื่อมโยง ต้องคุยกันทุกเจ้า ซึ่งข้อมูลจะต้องมีการวิเคราะห์ด้านเทคนิค โดยหากมีการบล็อกสัญญาณจริงต้องมีมาตรการจัดการ อยู่ที่บอร์ดกทช. พิจารณาจาก 1.ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง 2.ต้องมีการวิเคราะห์เทคนิคร่วมกันและ 3.ต้องมีมาตรการจัดการ"
นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคจะส่งหนังสือเร่งรัดให้กทช.ออกกฎเกณฑ์การจัดสรรเลขหมายโดยเร็ว หลังจากที่ทำหนังสือส่งให้กทช.ถึง 3 ครั้งตั้งแต่วันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขอเลขหมายโทรศัพท์ เนื่องจากปัจจุบันดีแทคมีความเดือดร้อนเพราะมีเลขหมายใหม่เพียง 1.3 ล้านเลขหมาย ที่จะขายลูกค้าได้ ซึ่งหากไม่ได้รับเลขหมายใหม่จะขายได้เพียง 4-6 สัปดาห์เท่านั้น
ส่วนการบล็อกสัญญาณนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ก่อนสงกรานต์ ซึ่งจากจุดเชื่อมโยง 4 จุดที่มีอยู่ มี 2 จุดที่การเชื่อมโยงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุดคือมีอัตราการโทร.สำเร็จเพียง 3% เท่านั้น แต่ปัญหาเรื่องการบล็อกสัญญาณจะเป็นลักษณะเกิดๆ หายๆ และส่วนใหญ่เกิดในกรุงเทพฯ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะดีแทคกับออเร้นจ์ทำโปรโมชันเกินไป เพราะไม่ใช่ความผิดที่จะมีลูกค้าจำนวนมากเข้ามาใช้บริการและโทร.ปริมาณมาก เนื่องจากโอเปอเรเตอร์ก็จำเป็นต้องขยายจุดเชื่อมโยงเพื่อรองรับการใช้งานอย่างกรณีดีแทคมีการขยายวงจรเชื่อมโยงกับออเร้นจ์อีก 5,400 วงจร
ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเลขหมายของออเร้นจ์สำคัญมากกว่าการบล็อกสัญญาณ ซึ่งมีลูกค้าร้องเรียนเข้ามาพอสมควร เนื่องจากปัจจุบันออเร้นจ์ได้รับการจัดสรรเลขหมาย 6.5 ล้านเลขหมาย มีลูกค้าใช้งานประมาณ 4 ล้านเลขหมาย เป็นเลขหมายที่อยู่ในช่วง 60 หรือ 90 วันเพื่อรอกลับมาใช้งานใหม่ หรือตัดสัญญาณ รวมทั้งทำให้เป็นเลขหมายที่พร้อมใช้งานประมาณ 1 ล้านเลขหมาย และเป็นเลขหมายที่อยู่ในช่องทางจำหน่ายที่มีอยู่ประมาณ 2 หมื่นแห่งอีก 1 ล้านเลขหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าออเร้นจ์เหลือเลขหมายใหม่ไว้ขายเพียง 5 แสนเลขหมาย หากเทียบกับยอดขายใหม่ในแต่ละเดือนที่ 1.5-2 แสนเลขหมาย ออเร้นจ์ก็จะเหลือเลขหมายขายเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น
"ที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาเรื่องเลขหมาย ทีโอทีให้การสนับสนุน แต่คราวนี้บอกว่าจะให้ 1 ล้านเลขหมาย แต่ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมกรรมการผู้จัดการใหญ่กับบอร์ดถึงไม่ให้ ทำไมทีโอทีเปลี่ยนไป"
เขาย้ำว่าหากเรื่องเลขหมายไม่เดือดร้อนจริง โอเปอเรเตอร์ 2 ราย คงไม่ออกมาร้องพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ออเร้นจ์เริ่มได้รับผลกระทบในการทำธุรกิจแล้วโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ภาคกลางและภาคตะวันออก เนื่องจากเลขหมายจะขาดแคลนในบางพื้นที่ซึ่งไม่สามารถโยกเลขหมายมาได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ที่เมื่อตู้เหลือเลขหมายไว้ขายเพียง 5 เลขหมาย จากเดิมที่มี 10 เลขหมาย แล้วออเร้นจ์ไม่สามารถใส่เลขหมายใหม่ลงไปได้ เท่ากับเป็นการสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด
"ผมมองว่าการที่ทีโอทีไม่ยอมให้เลขหมายใหม่กับเรา ถ้ามองเราเป็นคู่แข่ง แล้วมากีดกันทางการค้า ถือว่าไม่แฟร์เท่าไหร่"
นายศุภชัยกล่าวว่า การจัดสรรเลขหมายโดยกำหนดกฎเกณฑ์ว่าต้องใช้งานกี่เปอร์เซ็นต์แล้วถึงจะได้รับการจัดสรรเลขหมายใหม่ เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติจริง โดยที่กทช.น่าจะดูจากสัดส่วนเลขหมายที่เหลือเทียบกับยอดการขายจริงในแต่ละเดือนจะเหมาะสมกว่า อย่างกรณีออเร้นจ์เหลือเลขหมายเพียง 5 แสนเลขหมาย ในขณะที่ยอดขายเดือนละ 1.6 แสน ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา หรืออย่างไทยโมบายที่มีลูกค้า 2 แสน ยอดขายใหม่แต่ละเดือนไม่ชัดเจนแต่มีเลขหมายในมือถึง 11 ล้านเลขหมาย หรือเอไอเอสที่เหลือเลขหมายถึง 7 ล้านเลขหมาย
"ถ้าดูยอดขายต่อเดือนกับเลขหมายที่เหลือของออเร้นจ์จะเหลือน้อยที่สุดในขณะที่ดีแทคจะรองลงมา"
นายดิเรก เจริญผล หัวหน้าคณะทำงานร่างแผนเลขหมายโทรคมนาคม กล่าวว่า เลขหมายปัจจุบันที่ได้จากการเพิ่มเป็น 9 หลักมีจำนวนถึง 90 ล้านเลขหมาย เทียบกับประชากร 60 ล้านคน จะเห็นว่าเลขหมายยังเหลืออีกมากและน่า จะพอเพียง แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบ การมีการใช้เลขหมายสิ้นเปลืองมาก โดยเฉพาะในระบบพรีเพด ซึ่งเข้าใจว่า หากให้มีการปรับปรุงระบบของโอเปอเรเตอร์เองเพื่อจัดการเลขหมายให้มีประสิทธิภาพ อาจต้องใช้เวลาและไม่สะดวกเท่ากับการขอเลขหมายใหม่ ซึ่งในฐานะคณะทำงานก็เร่งแผนเลขหมายอย่างเต็มที่ โดยกรอบเวลาสามารถเสนอแผนให้กทช.ได้ในต้นเดือนมิ.ย.
|
|
|
|
|