|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"เอ็มเอฟซี" ตีปีกลุยตะวันออกกลาง หลังคณะกรรมการศาสนากองทุนอิสลามิกฟันด์ มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนซูคุก กองทุนกึ่งตราสารหนี้กึ่งทุน เน้นลงทุนในตราสารที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา พร้อมร่อนหนังสือส่ง ก.ล.ต. เสนอให้แยกออกมาเป็นตราสารประเภทใหม่ นอกเหนือจากตราสารทุน-ตราสารหนี้-ตราสารอนุพันธ์ ด้าน "พิชิต" เผยแนวทางเบื้องต้น นำอสังหาริมทรัพย์มาทำซีเคียวริไทเซชัน ก่อนนำไปหารือกับอาบูดาบีอิสลามิกแบงก์อีก 1-2 เดือนข้างหน้า
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการศาสนาของกองทุนอิสลามิกฟันด์ มีมติให้บลจ.เอ็มเอฟซีสามารถจัดตั้งกองทุนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้อิสลาม หรือซูคุก (SUKUK) ที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาได้ โดยบริษัทจะพิจารณาขนาดของกองทุนและกำหนดกรอบการลงทุนต่อไป
สำหรับการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว บริษัทจะนำเสนอข้อมูลให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทราบ เพื่อพิจารณาแยกกองทุนซูคุกออกมาเป็นกองทุนใหม่อีก 1 ประเภท นอกเหนือจากกองทุนตราสารทุน กองทุนตราสารหนี้ และกองทุนตราสารอนุพันธ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากกองทุนซูคุกเป็นกองทุนที่มีลักษณะเฉพาะของมัน
ทั้งนี้ การที่ส่งเรื่องให้ก.ล.ต. พิจารณานั้น ไม่ได้มีสาระที่เป็นนัยสำคัญอะไร เป็นเรื่องของการหารือกันมากกว่า โดยเชื่อว่า ก.ล.ต.จะอนุมัติ ให้แยกออกมาเป็นกองทุนอีกหนึ่งประเภทได้ตามที่ขออย่างแน่นอน ซึ่งหลังจากที่ก.ล.ต.ให้ความเห็นชอบแล้วก็สามารถออกตราสารดังกล่าวได้ โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะเข้าไปหารือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อร่วมจัดตั้งกองทุน และทำการประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ ผลดีผลเสีย รวมทั้งผลตอบแทนของกองทุนดังกล่าว
นายพิชิต กล่าวว่า การพัฒนากองทุนนี้ขึ้นมา ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนเพิ่มขึ้นและประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในด้านตลาดทุน เนื่องจากจะมีตราสารประเภทใหม่เกิดขึ้นมา และที่สำคัญจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนนักลงทุนอิสลามเพิ่มขึ้นด้วย หลังจากที่เราตามหลังประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียมาโดยตลอด
โดยลักษณะของกองทุนดังกล่าวจะคล้ายกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์หรือซิเคียวริไทเซชัน คือการนำค่าเช่าหรือรายได้อื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมาแปลงตราสารทางการเงิน ซึ่งในเบื้องต้นมีการวางกรอบคร่าวๆ ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งเป็นลักษณะกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) เพราะมีการติดต่อและสรรหาสินทรัพย์ไปบ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์เสมอไป เนื่องจากสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
สำหรับแนวทางการจัดตั้งกองทุนซูคุก ในเบื้องต้นคาดว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของทุนอิสลามิกฟันด์ ของบลจ.เอ็มเอฟซีที่มีอยู่ในปัจจุบันหรืออาจจะจัดตั้งกองทุนใหม่ขึ้นมา โดยกรอบการลงทุนจะเป็นการลงทุนในตราสารที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งนักลงทุนสถาบันในประเทศสามารถเข้ามาร่วมลงทุนได้ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดขนาดของกองทุนว่าจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมอีกครั้ง โดยเชื่อว่าหลังจากจัดตั้งกองทุนดังกล่าวแล้วจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนพอสมควร
นายพิชิต กล่าวต่อว่า หลังจากศึกษารายละเอียดและจัดตั้งกองทุนซูคุกเรียบร้อยแล้ว ก็จะเดินทางไปหารือกับอาบูดาบีอิสลามิกแบงก์ (Arbudabe Isalamic Bank) ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อวางกรอบและแนวทางในการร่วมลงทุนกับกองทุนดังกล่าว โดยคาดว่าภายใน 1-2 เดือนนี้จะมีความชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่จำเป็นต้องเดินทางไปก็ได้ เนื่องจากขณะนี้มีการติดต่อระหว่างกันตลอดเวลาอยู่แล้ว
สำหรับกองทุนอิสลามมิกฟันด์ของบลจ. เอ็มเอฟซี ปัจจุบันมีขนาดกองทุนประมาณ 400 ล้านบาท จากจำนวนที่ขออนุมัติไว้ทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท ซึ่งตามที่หนังสือชี้ชวนของกองทุนระบุไว้ว่า กองทุนจะต้องจัดสรรเงินทุนส่วนหนึ่งไว้เพื่อทำการกุศล ซึ่งเป็นข้อบังคับตามหลักศาสนาอิสลาม โดยกำหนดไว้ในอัตรา 0.25% ของเงินทุนที่สามารถระดมมาได้หรือประมาณ 70,000 บาทต่อเดือน ซึ่งในขณะนี้กองทุนดังกล่าวมีวงเงินในส่วนนี้แล้วประมาณ 2-3 แสนบาท ทั้งนี้คาดว่าบริษัทจะนำเงินดังกล่าวไปทำประโยชน์แก่ชุมชนอิสลามที่มีความต้องการและได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งจะจัดสรรเงินส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือชุมชนใน 3 จังหวัดภาคใต้อีกด้วย
ทั้งนี้ การจัดตั้งกองทุนดังกล่าว สืบเนื่องมาจากการที่ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้เดินทางไปโรดโชว์ร่วมกับกระทรวงการคลังที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เมื่อวันที่ 17-23 มีนาคม 2548 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเดินทางนำเสนอข้อมูลการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์และศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยอาบูดาบีอิสลามิกแบงก์ ให้ความสนใจที่ร่วมลงทุนในกองทุนอิสลามิก ฟันด์ เพื่อนำกองทุนดังกล่าวไปขายให้กับนักลงทุนในประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ อาบูดาบีอิสลามิกแบงก์ เคยนำกองทุนประเภทเดียวกันของมาเลเซียมาขายแล้ว
|
|
 |
|
|